ความเป็นมา และ ความสำคัญ               เพื่อให้การปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak holder) ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ วางนโยบาย และติดตามผลการให้บริการอย่างต่อเนื่องอันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการงานโสตทัศนูปกรณ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา             ดังนั้น ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในปี 2566 ได้ดำเนินการให้บริการประเมินความพึงพอใจงานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่อมือวิทยาศาสตร์ ผ่านการใช้งาน LINE OA ด้วย Google Form ซึ่งสามารถรับทราบผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ   วัตถุประสงค์ 2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของงานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา   3. สร้างทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่องานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา     4. สร้างการรับรู้ต่อผู้ใช้บริการด้วยระบบ LINE OA ผ่าน Google Form สาระก่อนเข้าเนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ LINE OA LINE OA คือ บัญชีRead More →

ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบRead More →

บทนำ       ปัจจุบันการศึกษาของไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้นเพราะเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาในยุคสังคมสารสนเทศเป็นอย่างมาก  การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคอมพิวเตอร์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544  บัญญัติไว้ว่าผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเท่าที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่น  สนองความต้องการของผู้เรียนผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  ผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้หรือนำสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวและในระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน  รวมถึงจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน       การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ  มีการนำสื่อต่างๆ มาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยเว็บไซต์  ในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้  จากสถานที่ใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  เพียงแค่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาในเรื่องที่ตนเองสนใจได้  นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนยังสามารถติดต่อสื่อสาร  สนทนา  อภิปรายกับผู้เรียนด้วยกัน  หรือกับผู้สอนได้อีกด้วย ความหมายของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต           บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หมายถึง  การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีการจัดสภาพการเรียนการสอนที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ  โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิล์ดไวด์เว็บมาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เพียงส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการก็ได้  การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นวิธีการเรียนแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และช่วยขจัดปัญหาอุปสรรค์ของการเรียนในเรื่องของเวลาและสถานที่  เพราะในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  ขอเพียงผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเรียนได้  โดยในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต       ในการจัดทำบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  มีองค์ประกอบในการจัดทำบทเรียนได้แก่            1. องค์ประกอบของหน้าเว็บ ประกอบด้วยข้อความ  พื้นหลัง  และภาพ ข้อความที่ใช้ในบทเรียนต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมโดยข้อความส่วนที่เป็นหัวข้อหลักต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  สีข้อความที่ใช้ต้องไม่กลมกลืนกับสีพื้นหลังพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรมีลวดลายเพราะจะทำให้เป็นที่สนใจมากกว่าตัวหนังสือซึ่งเป็นเนื้อหา  สีพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรใช้สีเข้มเกินไป  ควรใช้สีอ่อนๆ ที่ดูแล้วสบายตา  ภาพที่ใช้มีหลายชนิดทั้งภาพที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว Read More →

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียนภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณอนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จักสืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ความรู้และระดับขั้นของความรู้ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554) มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลาRead More →

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) พลังงานหมุนเวียน พลังงานเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ในการอยู่อาศัย การเดินทาง การประกอบอาหาร ฯลฯ นับวันมนุษย์ยิ่งจะมีแต่ความต้องการในการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหมายถึงว่าจะมีการดึงพลังงานมาจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น ดังนั้น มนุษย์จึงต้องริเริ่มการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่าและยังคงเหลือไว้ให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อด้วย ปัจจุบัน แหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นจึงกลายเป็นแหล่งพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และจะเป็นแหล่งพลังงานที่มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในอนาคต พลังงานหมุนเวียน คืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เนื่องจากเป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น แกลบ ใบ ลำต้นและชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือมูลสัตว์Read More →

จากการที่การผลิตแบบกระจายมีโรงไฟฟ้ามากมายหลายขนาดกระจายอยู่ทุกระดับของโครงข่ายทำให้เกิดปัญหา และความซับซ้อนในการควบคุมโครงข่ายให้มีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้ จึงเกิดแนวความคิดใน การพัฒนาระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยนิยามทั่วไปของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ นั้นค่อนข้างกว้างและมีการตี ความแตกต่างกันแล้วแต่หน่วยงานที่นำไปปฏิบัติ แต่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเก็บข้อมูลและทำการสั่งการควบคุมโครงข่ายไฟฟ้า โดยใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจ ยกตัวอย่าง เช่น เก็บข้อมูลพฤติกรรมของโหลดจากผู้ใช้งานและการผลิตไฟฟ้าจากผู้ผลิต การควบคุมอัตโนมัติของระบบโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อทำการปรับปรุงประสิทธิภาพความเชื่อถือได้ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และความยั่งยืนในการผลิตและจ่ายไฟฟ้าในระบบโครงข่ายไฟฟ้า นิยามของระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ Union Commission Task Force for Smart Grids กำหนดนิยามของ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า ระบบโครงข่ายไฟฟ้าที่มีความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรวมพฤติกรรมและการกระทำของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าในวิธีการเพื่อให้แน่ใจได้ว่าเป็นระบบไฟฟ้าที่มีความยั่งยืน และมีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ โดยมีการสูญเสียภายในระบบที่ต่ำ มีคุณภาพในระดับที่สูง มีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้า และมีความปลอดภัย ในส่วนของ The U.S. Department of Energy Smart Grid Task Force ได้ทำการนิยาม ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ว่า มีความมุ่งหมายและตอบสนองต่อระบบไฟฟ้าที่ปั่นป่วน โดยการแก้ไขการปั่นป่วนนั้นด้วยตัวเองRead More →

สื่อดิจิทัล

ปัจจุบันความการรับส่งข้อมูลข่าวสารมีเพิ่มมากทั้งด้านปริมาณและด้านรูปแบบหรือชนิดของข้อมูลจึงทำให้มีการพัฒนาและขยายตัวของระบบสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้น โครงข่ายข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital Data Network) เป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองการขยายตัว ในยุคเริ่มแรกการรับส่งข้อมูลเป็นลักษณะการส่งข้อมูลแบบแอนะล็อก (Analog)ทั้งหมด เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเทคโนโลยีทางด้านดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทแทนที่ระบบแอนะล็อกเนื่องด้วยประสิทธิภาพการรับส่ง ข้อมูลที่รวดเร็วแม่นย าและการจัดเก็บที่คงทน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้สะดวก รูปแบบกระบวนการสื่อสารในระบบดิจิทัลมีลักษณะคล้ายคลึงกับกระบวนการสื่อสารทั่วไป ประกอบด้วย ผู้ส่งสาร (Sender) ข้อมูลหรือสาร (Message)สื่อกลาง (Media) และผู้รับสาร (Receiver) เป็นการส่งข้อมูลหรือสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ส่วนตัวกลางท าหน้าที่ส่งสารก็คือสื่อความแตกต่างก็อยู่ตรงที่ “สื่อกลาง” ของกระบวนการสื่อสารระบบดิจิทัลจะจัดเก็บและจัดส่งเฉพาะข้อมูลที่ถูกบันทึกในรูปของรหัสดิจิทัลเท่านั้น (ดารา ทีปะปาล,2553) ดังนั้นในขั้นตอนการส่งสารจึงจำเป็นต้องแปลงสารให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัลที่พร้อมจัดเก็บไว้ในสื่อกลางได้เสียก่อน และเมื่อสื่อทำการส่งสารดิจิทัลไปถึงผู้รับสาร ก็ต้องมีการเปลี่ยนสารดิจิทัลให้เป็นรูปแบบธรรมชาติอีกครั้งเพื่อผู้รับสารเข้าใจได้ ความหมายของสื่อดิจิทัลความหมายของ สื่อ (media) ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542หมายความว่า คนหรือสิ่งที่ติดต่อให้ข้อมูลถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน ส่วนคำว่า media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง(between) ที่มีหมายถึงว่าอะไรก็ตามที่บรรทุกนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ จากแหล่งกำเนิดสารไปยังผู้รับสาร นอกจากนี้ศาสตราจารย์ไฮนิช (Heinich) นักเทคโนโลยีทางด้านสื่อของมหาวิทยาลัยอินเดียน่าRead More →

ผลิตรายการ TV

การผลิตรายการโทรทัศน์จะมีสถานที่ทำงานที่เปลี่ยนไปตามรูปแบบของรายการ  บางรายการอาจจะต้องประจำอยู่ที่สตูดิโอ หรือ บางรายการอาจจะเป็นรายการที่ต้องออกไปถ่ายทำนอกสถานที่ ซึ่งสถานที่ก็จะเปลี่ยนไปตามเรื่องที่จะถ่าย อีกเช่นกัน และนอกเหนือจากขั้นตอนการถ่ายทำยังมีขั้นตอนอื่นๆอีก เช่น  ในการทำสคริปอาจจะต้องลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูล                          การออกไปเก็บภาพบรรยากาศต่างๆเพื่อนำมาประกอบในรายการ  การสัมภาษณ์ผู้รู้หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เราจะนำมาออกอากาศในครั้งนั้น  การออกไปหาหรือติดต่อสถานที่ถ่ายทำรายการ  ซึ่งโดยรวมแล้วการทำงานของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะมีการเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปเรื่อยๆ และจะมีการเข้าออฟฟิศในช่วงเตรียมงานก่อนการถ่ายทำ แต่ในบางครั้งการเขียนสคริปหรือถ่ายทำนั้นสามารถทำได้เลยที่ออฟฟิศ ซึ่งบรรยากาศในออฟฟิศของผู้ผลิตรายการโทรทัศน์นั้น ก็จะมีทั้งบริษัทใหญ่ๆ และ บริษัทที่จัดตั้งกันเองเล็กๆ บรรยากาศโดยรวมจะสนุกสนานมีระบบการทำงานแบบเป็นพี่เป็นน้องกัน ด้วยรูปแบบการทำงานที่เป็นงานสายบันเทิง ระบบการทำงานก็จะแตกต่างไปจากงาน routine คือเวลาเข้าและออกงานจะไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับงานในวันนั้น โดยเฉพาะวันที่มีการถ่ายทำรายการอาจกินเวลาในการทำงานมากกว่า 8  ชั่วโมง ปัจจัย และองค์ประกอบที่จะต้องคำนึงทุกครั้ง ในกระบวนการผลิตรายการโทรทัศน์ (4 M + 1 T) คน (MAN) อุปกรณ์Read More →

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถเชิงแข่งขันสูงสุด การจัดการความรู้ คือเครื่องมือเพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ (1) การบรรลุเป้าหมายของงาน (2) การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาคน (3) การบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (4) การบรรลุเป้หมายของการเป็นชุมชน หมู่คณะ ที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน — นพ.วิจารย์ พาณิช ประเภทขององค์ความรู้ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) ความรู้ที่ชัดแจ้ง (explicit knowledge) ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่นRead More →

สื่อสังคมออนไลน์(Social Media) หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการ ทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วม (Collaborative)อย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง (User-GenerateContent:UGC) ในรูปของข้อมูล ภาพ และเสียง โดยที่เครือข่ายสังคมออนไลน์ มักนำมาใช้ดำเนินงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีบุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันเป็นเครือข่ายเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยน แบ่งปันทรัพยากร ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ ปัจจุบันคำว่า (Social Network) หมายถึงระบบเครือข่ายบนโลกออนไลน์ หรือการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งปัจจุบันบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการนำมาใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคล เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ หรือการสื่อสารของหน่วยงานราชการ ตลอดจนองค์กรต่าง ๆ มีลักษณะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง ที่มีรูปแบบการทำงานในลักษณะออนไลน์และสามารถที่จะใช้สร้างและเพิ่มเติมเนื้อหาได้สื่อสังคมออนไลน์จึงเป็นช่องทางการสื่อสารอีกช่องทางหนึ่งที่หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานของเอกชนในทุกหน่วยงาน สามารถจะนำมาใช้ในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ได้เพื่อเผยแพร่ข้อมูล การให้ความรู้รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และใช้ติดต่อสื่อสารกับสาธารณะ ซึ่งกล่าวโดยทั่วไปแล้ว สื่อสังคมออนไลน์จึงมีทั้งข้อดีและข้อด้อยRead More →

เคล็ดลับการถ่ายภาพด้วยโดรนสำหรับมือใหม่ ค้นพบมุมมองที่น่าตื่นตาตื่นใจและเพอร์สเปกทีฟใหม่ๆ ด้วยโดรน เรียนรู้วิธีใช้กล้องของโดรนถ่ายภาพทางอากาศที่ดึงดูดสายตาอย่างคุ้มค่าที่สุด ตั้งแต่จังหวะที่บินขึ้นฟ้าไปจนถึงตอนบินกลับลงมาสู่พื้น พลิกโฉมวงการการถ่ายภาพทางอากาศ โดรนได้พลิกโฉมการถ่ายภาพไปอย่างสิ้นเชิง คอปเตอร์สี่ใบพัดสารพัดประโยชน์ที่ขับเคลื่อนโดยโรเตอร์ของโดรนนั้นช่วยให้สามารถถ่ายภาพด้วยมุมมองและองค์ประกอบภาพที่มีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร ซึ่งเป็นการถ่ายภาพในลักษณะที่ไม่อาจทำได้หรือมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไปสำหรับช่างภาพทั่วไปหากไม่ใช้โดรน แต่การเรียนรู้วิธีควบคุมโดรน การจ่ายเงินซื้อโดรน และการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับทางกฎหมายก็ยังอาจเป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวได้ สำรวจดูเคล็ดลับเหล่านี้เพื่อเรียนรู้ว่าคุณควรทำอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จในฐานะช่างภาพโดรน มุมมองคือหัวใจสำคัญ เมื่อคุณมีข้อได้เปรียบด้านความสูง คุณจะมองเห็นภาพภูมิทัศน์ที่ต่างออกไปจากเดิมและทิวทัศน์ที่น่าตื่นตาตื่นใจจากมุมสูงในแบบที่ช่างภาพไม่อาจสัมผัสได้หากไม่มีโดรน หนึ่งในเทคนิคการถ่ายภาพด้วยโดรนยอดนิยมคือการถ่ายตรงลงมา ซึ่งช่างภาพ Steve Schwindt อธิบายว่าเป็นเทคนิคที่ช่วยให้ภาพถ่ายดูทรงพลังได้ “คุณจะได้เห็นภูมิประเทศตามความเป็นจริง และจะได้เห็นรูปแบบและรูปร่างที่ไม่รู้มาก่อนว่ามี” ภาพถ่ายทางอากาศเหล่านี้กลายที่นิยมมากขึ้นเนื่องจากราคาของโดรนที่ค่อนข้างเอื้อมถึงได้มากกว่าเดิม ก่อนที่จะมีการใช้โดรน ทางเดียวที่ช่างภาพจะสามารถถ่ายภาพทางอากาศได้คือต้องเช่าเครื่องบินซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง โดรนจึงเปิดโอกาสให้ช่างภาพถ่ายภาพทางอากาศได้มากขึ้นอย่างยิ่ง “ตอนนี้คุณสามารถใช้โดรนถ่ายภาพที่เคยต้องใช้เงินหลายพันดอลลาร์ได้ในราคา 1,200 ดอลลาร์ บวกกับค่าใบอนุญาตบินโดรนอีก 150 ดอลลาร์ โดรนช่วยให้ผู้สร้างภาพยนตร์และช่างภาพถ่ายภาพในมุมมองที่เหนือกว่าใครๆ ได้” ช่างภาพ David Green อธิบาย “คุณจะได้เห็นรูปแบบและรูปร่างที่ไม่รู้มาก่อนว่ามี” น่าตื่นใจกับรูปที่ดูเป็นธรรมชาติ ถ่ายภาพให้โดดเด่น คุณต้องมีทิศทางในการถ่ายภาพที่ชัดเจน เพื่อถ่ายภาพออกมาให้โดดเด่นต่างจากภาพที่ถ่ายด้วยโดรนจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่ง Schwindt อธิบายว่า “ภาพถ่ายจากโดรนที่ยอดเยี่ยมนั้นถ่ายโดยใช้องค์ประกอบภาพอันเป็นเอกลักษณ์ในแบบที่ไม่สามารถถ่ายได้หากไม่ใช้โดรน ในขณะที่ยังยึดหลักการถ่ายภาพที่ดี” องค์ประกอบภาพที่ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและการคำนึงถึงเรื่องแสงจะส่งผลให้ภาพดูมีอะไรให้Read More →

ทำงานในพื้นที่อับอากาศอย่างไรให้ปลอดภัย          หมายถึง สถานที่ทำงานที่มีทางเข้าออกจำกัด มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ ไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศ ภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะ และปลอดภัยซึ่งอาจเป็นที่สะสม ของสารเคมีเป็น พิษ สารไวไฟ รวมทั้งออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น ถังน้ำมัน ถังหมัก ไซโล ท่อ ถัง ถ้ำ บ่อ อุโมงค์ เตา ห้องใต้ดิน ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ ด้วยเหตุนี้เราจะนำวิธี การทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย มา แจ้งให้ทราบกันดังนี้ อันตรายจากการทำงานในสถานที่อับอากาศ การขาดออกซิเจน สาเหตุใหญ่ของการตายในสถานที่อับอากาศ คือ ขาดออกซิเจนในการหายใจ หมายถึง ปริมาณออกซิเจนในสถานที่อับอากาศนั้นน้อยกว่า 19.5 Vol.% หรือมากกว่า 23.5 Vol.% สาเหตุเกิดจากมีการติดไฟ หรือ การระเบิด ไฟจะใช้ออกซิเจนเพื่อการลุกไหม้ การแทนที่ออกซิเจนด้วยก๊าซอื่น เช่น มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เกิดการกัดกร่อนRead More →

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทักษะงานช่างพื้นฐาน งานช่าง มีมาควบคู่กับมนุษย์ตั้งแต่ในยุคต่าง ๆ ตั้งแต่ในยุคหิน ยุคโลหะ จนกระทั่งในยุคปัจจุบัน เพื่อประโยชน์ในด้านการดำรงชีวิตและความสะดวก  สบาย ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือ กลายเป็นอาชีพในสาขาต่าง ๆ           งานช่างจึงมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่  การมีความรู้ความเข้าใจในงานช่างตลอดจนการมีทักษะงานช่าง  สามารถปฏิบัติตามทักษะกระบวนการทางช่างอย่างถูกต้อง ก็จะเกิดประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างดี  ทั้งในเรื่องการเลือกและการใช้วัสดุสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้าน งานพื้นฐานช่างไฟฟ้า ชนิดของไฟฟ้า ไฟฟ้า สามารถเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดหลาย ๆ แบบ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบใหญ่ ๆ ดังนี้ ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current หรือ D.C .) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวกัน โดยตลอดระยะทางที่วงจรกระแสไฟฟ้าปิด เช่น ถ่านไฟฉาย ไดนาโม เป็นต้น ไฟฟ้ากระแสสสลับ (Alternating current หรือ A.C.) เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีการไหลวนเวียนกลับไปกลับมา ทั้งขนาดของกระแสไฟฟ้าRead More →

หลอด LED หลอดประหยัดพลังงานหลอดไฟ LED เป็นหลอดไฟที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้เนื่องจาก ใช้พลังงานน้อยในการส่องสว่าง จึงทำให้ประหยัดพลังงาน และอายุการใช้งานที่ยาวนานทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนหลอดไฟบ่อยๆ จึงช่วยลดขยะอันตรายที่เกิดจากหลอดไฟได้เนื่องจากหลอดไฟ LED ใช้พลังงานน้อย และแปลงกระแสไฟฟ้าเป็นแสงสว่างโดยไม่ต้องแปลงเป็นความร้อน จึงไม่เกิดการสูญเสียพลังงาน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าไฟ ที่กำลังขึ้นราคาอย่างทุกวันนี้ได้เป็นอย่างดีประวัติความเป็นมาของหลอด LEDหลอดLED นั้นมีมานานแล้ว เริ่มปรากฎในแผงวงจรครั้งแรกเมื่อปี 1962 ซึ่งโดยช่วงแรกๆนั้น LED ให้ความเข้มแสงไม่มากนัก และมีใช้ในเฉพาะ ความถี่ในช่วงแสง infra-red ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้(ซึ่งเรายังคงเห็นรูปแบบการใช้งานในช่วงแสง infra-red นี้ตามอุปกรณ์ ประเภทรีโมทคอนโทรลในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนปัจจุบัน)ต่อมา LED ถูกพัฒนาให้สามารถเปล่งแสงที่มองเห็นได้ โดยแสงสีแดง ถูกคิดค้นขึ้นได้ก่อน แต่ก็ยังมีความเข้มแสงที่ต่ าอยู่ หลังจากนั้น LED ก็ถูกพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งสามารถให้แสงที่ครอบคลุมย่านความถี่ตั้งแต่ infrared แสงที่มองห็นไปจนถึงย่าน ultraviolet หรือ UV ต่อจากนั้น LED ก็ถูกน ามาใช้อย่างแพร่หลาย ในอุปกรณ์ไฟแสดงตามแผงควบคุมต่างๆ ในไฟแสดงตัวเลข sevenRead More →