สื่อสังคมออนไลน์ เป็นสื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool)
เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม(Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใด ๆที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง ซึ่งปัจจุบันเราใช้สื่อออนไลน์ในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น จึงต้องมีการเรียนรู้มารยาทในการสื่อสารต่อกันก่อนเริ่มใช้สื่อสังคมออนไลน์
มารยาทเน็ต (netiquette) คือ กิริยาอาการที่พึงประพฤติปฏิบัติในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ มารยาทเน็ต คือ ชุดวิธีประพฤติตนที่เหมาะสมเมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต

  1. “อย่าลืมว่าคุณกำลังติดต่อกับคนที่มีตัวตนจริง ๆ” ก่อนส่งอีเมล หรือโพสต์ข้อความอะไรบนอินเทอร์เน็ต
    คุณต้องถามตัวเองว่า ถ้าเจอกันต่อหน้าคุณจะพูดแบบนี้กับเขาหรือไม่ ถ้าคำตอบคือไม่ ก็จงแก้ไขข้อความนั้นแล้ว
    อ่านใหม่อีกครั้ง ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนรู้สึกว่าไม่ลำบากใจที่จะพูดแบบนี้กับใครแล้วจึงค่อยส่ง
  2. “การสื่อสารออนไลน์ให้ยึดมาตรฐานความประพฤติเดียวกับการสื่อสารในชีวิตจริง” ในชีวิตจริง คนส่วน
    ใหญ่มักจะเคารพกฎหมาย เพราะกลัวโดนจับ แต่ในโลกอินเทอร์เน็ต โอกาสถูกจับมีน้อย ก็เลยปฏิบัติต่อกันโดยมี
    มาตรฐานทางศีลธรรมต่ำกว่าในโลกจริง ถ้าอยากทำอะไรผิดกฎหมายในไซเบอร์สเปซ สิ่งที่คุณกำลังจะทำนั้นก็
    น่าจะผิดด้วย
  3. “รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหนในไซเบอร์สเปซ” การกระทำอะไรก็ตามอาจเป็นเรื่องยอมรับได้ในที่แห่งหนึ่ง แต่ถ้า
    เป็นที่แห่งอื่นๆ อาจจะไม่ใช่ลองใช้เวลาสักพักสังเกตการณ์ก่อนว่า ที่นั่นเขาคุยอะไรกัน ปฏิบัติต่อกันอย่างไร หรือ
    เข้าไปอ่านข้อความเก่าๆ จากนั้นค่อยเข้าไปมีส่วนร่วมกับเขา
  4. “เคารพเวลาและการใช้แบนด์วิธ” ปัจจุบันดูเหมือนคนจะมีเวลาน้อยลงกว่าที่เคยเป็นมามากนัก เมื่อ
    คุณส่งอีเมลหรือโพสต์ข้อความลงเน็ต รู้ไว้ว่าคุณกำลังทำให้คนอื่นเสียเวลามาอ่าน ดังนั้นเป็นความรับผิดชอบที่คุณ
    ควรแน่ใจก่อนส่ง ว่าข้อความหรืออีเมลนั้นไม่ทำให้ผู้รับเสียเวลา
    “สำหรับกระดานสนทนา” ผู้ที่เข้ามาอ่านกระดานแบบนี้ส่วนใหญ่นั่งแช่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไปอยู่
    แล้ว ไม่มีใครชอบหรอกถ้าต้องเสียเวลาทำทั้งหมดนั้นแล้วพบว่าไม่เห็นจะคุ้มค่าเวลาที่เสียไปเลย หากจะส่งข้อมูล
    อะไรไปให้ใคร ลองถามตัวเองดูก่อนว่าเขาจำเป็นจะต้องรู้เรื่องในอีเมลนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ ก็อย่าส่ง ถ้าอาจจะอยากรู้
    ก็ทบทวนก่อนส่ง
  5. “ทำให้ตัวเองดูดีเวลาออนไลน์” โลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนโลกจริง คนที่สื่อสารกันในนั้นอยากให้คนอื่น
    ชอบ แต่คุณไม่ต้องถูกตัดสินด้วย สีผิว, สีตา, สีผม, น้ำหนัก, อายุ หรือการแต่งตัวของคุณ คุณจะถูกตัดสินผ่าน
    คุณภาพของสิ่งที่คุณเขียน ดังนั้น การสะกดคำให้ถูกและเขียนให้ตรงตามหลักไวยากรณ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรรู้ว่า
    ตัวเองกำลังพูดอะไรอยู่ และพูดอย่างมีเหตุมีผล
  6. “แบ่งปันความรู้ของผู้เชี่ยวชาญ” จุดแข็งของไซเบอร์สเปซ คือ มีผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อ่านคำถามบน
    อินเทอร์เน็ต และถึงแม้ว่าจะมีส่วนน้อยมากในจำนวนนั้นที่ตอบคำถาม ความรู้โดยรวมของโลกก็เพิ่มขึ้นอยู่ดี แม้ว่า
    มารยาทเน็ตจะมีข้อห้ามยาวเหยียด คุณก็มีความรู้ที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น อย่ากลัวที่จะแบ่งปันในสิ่งที่คุณรู้
  7. “ช่วยกันควบคุมสงครามการใส่อารมณ์” เวลาที่ต้องการแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ควรรู้จักยับยั้ง
    ชั่งใจหรือพยายามควบคุมอารมณ์ให้มาก
  8. “เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น” คุณไม่ควรไปเปิดอ่านอีเมลของคนอื่น การไม่เคารพความเป็น
    ส่วนตัวของผู้อื่นไม่ได้เป็นแค่มารยาทเน็ตที่เลวทราม เท่านั้น มันยังอาจทำให้คุณเสียงานด้วย
  9. “อย่าใช้อำนาจในทางไม่สร้างสรรค์” การรู้มากกว่าคนอื่นหรือมีอำนาจมากกว่า ไม่ได้แปลว่าคุณมีสิทธิที่
    จะเอาเปรียบคนอื่นได้ เช่น ผู้ดูแลระบบไม่ควรอ่านอีเมลส่วนตัวของคนอื่น
  10. “ให้อภัยในความผิดพลาดของผู้อื่น” ทุกคนเคยเป็นมือใหม่มาก่อน บางคนจึงทำผิดพลาดในแง่มารยาท
    เน็ต จงใจเย็นเข้าไว้ ถ้าคุณตัดสินใจจะบอกคนที่ทำผิดมารยาทเน็ต ก็จงบอกอย่างสุภาพและเป็นส่วนตัว ดีกว่าไป
    ป่าวประกาศให้คนอื่นรับรู้ด้วย จงให้โอกาสในความไม่รู้ของคนอื่น การประณามว่าผู้อื่นไม่มีมารยาทตรงๆ ก็มักจะ
    เป็นตัวอย่างของมารยาทที่ไม่ดีเช่นกัน

    *** ขอบคุณข้อมูลจากรายวิชา การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ | Creative Use of social media

Visits: 1262

Comments

comments