เสริมสร้างธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต

การประเมินคุณธรรมและความโปรงใสในการดําเนินงานของหน่วยงานภาครัฐได้เริ่มดําเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เป็นตนมา และมีการขยายขอบเขตและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นตามลําดับ โดยคำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ การกำหนดระเบียบวิธีการประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการทางสถิติและทางวิชาการเพื่อให้ ผลการประเมินสามารถสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริง โดยมีการ เก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้

stop-corruption
  1. แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) โดยการให้บุคลากรที่ทำงานให้กับหน่วยงานมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปีตั้งแต่ระดับ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการ หัวหน้า ข้าราชการ พนักงาน ไปจนถึงลูกจ้าง เป็นผู้ประเมิน 
  1. แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยการให้บุคคล นิติบุคคล บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานของรัฐที่มารับบริการหรือมาติดต่องานตามภารกิจของหน่วยงาน ในปีงบประมาณที่ประเมิน เป็นผู้ประเมิน
  1. แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ทำการประเมินโดยหน่วยงานที่รับการประเมินทุกหน่วยงานเพื่อตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดข้อมูลที่จำเป็นต้องให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและตรวจสอบได้ มีความครบถ้วนหรือไม่
กระบวนทัศน์หลักธรรมาภิบาลเพื่อการป้องกันการทุจริต

ทุจริต หมายถึง การกระทำใด ๆ ที่เป็นการบิดเบือนการใช้อำนาจหน้าที่ หรือการไม่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แก่ตนหรือกลุ่ม ซึ่งการกระทำนั้นส่งผลเสียหายต่อประชาชน สังคม และประเทศชาติ สร้างความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมและกลายเป็นปัญหาทางสังคม
รูปแบบการทุจริตในภาพรวม อาจแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

  1. การทุจริตในรูปแบบพื้นฐาน เช่น การเรียกรับสินบน
  2. การทุจริตแบบเครือข่าย ที่มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายฝ่ายโดยใช้ช่องว่างทางกฎหมาย
  3. การทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นการใช้อำานาจที่มีในการออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เอื้อต่อการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มี 6 ประการคือ
  1. หลักนิติธรรม 
  2. หลักคุณธรรม
  3. หลักความโปร่งใส
  4. หลักการมีส่วนร่วม
  5. หลักความรับผิดชอบ
  6. หลักความคุ้มค่า
ประโยชน์ที่ได้จากการปฏิบัติราชการโดยยึดธรรมาภิบาล มีดังนี้
  1. ภาครัฐ มีการปฏิบัติที่ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นเป้าหมาย มีประสิทธิภาพ มีระบบที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม บุคลากรของรัฐตระหนักถึงความรับผิดชอบและการทำงานที่มีตัวชี้วัดชัดเจน ภาคประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร มีส่วนร่วมกับรัฐในการพัฒนาหรือแก้ปัญหา
  2. ภาคเอกชน ได้รับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ ลดรายจ่ายนอกระบบ (การให้สินบน) ส่งผลให้มีการแข่งขันทางธุรกิจทั้งระดับประเทศและนอกประเทศ เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ส่งผลให้ประชาชนได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

Cr. 1) คู่มือเกี่ยวกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการด าเนินงานของส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
2) สรุปความรู้จากการอบรม หลักสูตร “เสริมสร้างธรรมาภิบาล”

Visits: 14

Comments

comments

Back To Top