Author: Nassara_Jampaklai

PDCA : การพัฒนากระบวนการการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯ และงานผลิตสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานควบคุมห้องประชุม หรือสถานที่ที่อธิการบดีไปร่วมพิธี กิจกรรม […]

การเรียนรู้ที่มีคุณค่า : Open Educational Resources (OER) คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด

• การเรียนรู้ที่มีคุณค่า ก็คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ การแบ่งปันความรู้ ไม่ยึดถือในความเป็นเจ้าของมากเกินไป แนวคิดการสร้างช่องทางการเรียนรู้ที่เข้าถึงได้อิสระเสรี จึงเป็นแนวคิดของการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันแหล่งทรัพยากรด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสู่สังคมโลกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาได้อย่างเสรี • แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ OER : Open Educational Resources เป็นนวัตกรรมหนึ่งในวงการศึกษาที่ก่อกำหนดขึ้นมาภายใต้แนวคิดดังกล่าว โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากโครงการขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพัฒนารวบรวมสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเปิด (Open Courseware) เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่มีข้อจำกัดในการใช้งาน ความสำเร็จของโครงการทำให้แนวคิดในการพัฒนาและแบ่งปันความรู้แก่มวลมนุษยชาติได้รับการยอมรับในชื่อของ “แหล่งทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด” • ปัจจุบันมีแหล่งสนับสนุนและให้บริการ OER เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ และห้องสมุดสถาบันการศึกษาจำนวนมาก ก็ได้ผนวกทรัพยากรการเรียนรู้ดังกล่าว เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสื่อการเรียนรู้แนะนำสำหรับนักศึกษาและผู้สอน สำหรับประเทศไทยมี OER ที่มีชื่อว่า คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด หรือ Thai Open Educational […]

เขียนคอนเทนต์แบบไหน? ให้โดนใจในยุคดิจิทัล

  ในปัจจุบันมีการพูดถึงคอนเทนต์ หรือ Content กันมากขึ้น โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย หรือสื่อออนไลน์ทุกประเภท และยังเป็นเทรนด์ในตอนนี้ว่าถ้าอยากทำการตลาด อยากเพิ่มยอดขาย อยากสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ต้องรีบทำคอนเทนต์ ซึ่งทุกวันนี้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ หากคุณเป็นมือใหม่ที่อยากจะเรียนรู้การทำคอนเทนต์ อยากรู้ว่าคอนเทนต์คืออะไร? คอนเทนต์มีแบบไหนบ้าง? มีประโยชน์อย่างไร? และจะเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจ ในบทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับคอนเทนต์ (Content) รวมถึงสรุปสิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ ประเภทคอนเทนต์แบบต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว     ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ถึงไปถึงการเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจในยุคดิจิทัล ไปทำความรู้จักกับคำว่า “คอนเทนต์ ” กันก่อนนะคะ Content หรือ คอนเทนต์ คือ การสื่อสารข้อมูลไปหาผู้รับสารโดยใช้สื่อรูปแบบต่างๆ โดยคอนเท้นต์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปแบบข้อความ สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น Video, Image, Infographic, Sound การสื่อสารข้อมูลผ่านคอนเทนต์ที่ดี ต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ผู้รับฟัง ประเภทของเนื้อหา และ ช่องทางการสื่อสาร ประเภทของคอนเทนต์มีอะไรบ้าง 1. Topical Content หรือคอนเทนต์ที่เป็นกระแส ณ ขณะนั้น […]

การออกแบบการนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย | Creative and Modern Presentation Design

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา PSU: PSU008 การออกแบบการนำเสนองานอย่างสร้างสรรค์และทันสมัย | Creative and Modern Presentation Design สรุปได้ดังนี้ เทคนิคการออกแบบการนำเสนอผลงานอย่างสร้างสรรค์ การเลือกใช้ Background การเลือก Template หรือการจัดวาง layout ในการนำเสนอการใช้ background หรือ template ถือเป็นประการแรกๆ ในการวางแผนการออกแบบ presentation ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมหรือการวาง layout ของงาน โดยให้เริ่มต้นจากการออกแบบสไลด์นำเสนอโดยการสร้างพื้นที่ว่าง หรือหน้าสไลด์เปล่าขึ้นมาแล้วออกแบบสไลด์นำเสนอให้ดูเรียบง่าย ดูสะอาดตา หรือมีความแปลกใหม่ หรือเลือกการออกแบบที่เข้ากับ Trend อย่างเช่นในปัจจุบัน ก็จะให้ความสนใจกับงานออกแบบที่เป็น Flat Design ซึ่งเน้นเป็นงานแบนราบ ลดองค์ประกอบที่เป็นมิติ เน้นไปที่ Content มากกว่า จะทำให้งานออกแบบมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น การกำหนดบรรทัดหรือข้อความในการนำเสนอ ไม่ควรมีตัวอักษรที่มากเกินไป ผู้นำเสนอจึงควรเลือกเฉพาะหัวข้อที่ต้องการนำเสนอ หรือข้อความสำคัญ ดังนั้นสไลด์ที่ดีในแต่ละหน้าจึงไม่ควรมีเนื้อหาที่กระจุกเกินไปหรือ ไม่ควรเกิน 6-8 บรรทัด เพื่อความสนใจของผู้ชม การเลือกตัวอักษรในการนำเสนอ […]

ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ | Southern Folk Art

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา PSU: PSU009 ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ | Southern Folk Art สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ 1. ภูมิปัญญาท้องถิ่นชายแดนใต้ ภูมิปัญญาเป็นวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่สะสมจากการปฏิบัติจริงในห้องทดลองของสังคม เป็นความรู้ดั้งเดิมที่ถูกค้นพบ มีการทดลองใช้ แก้ไขดัดแปลง จนเป็นองค์ความรู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและถ่ายทอดสืบต่อกันมา ภูมิปัญญาไทยเป็นขุมทรัพย์ทางปัญญาที่คนไทยทุกคนควรรู้ ควรศึกษา ปรับปรุงละพัฒนาใช้เพื่ออนาคตแห่งการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การการศึกษา การนับถือศาสนาของเผ่าชนที่อาศัยในประเทศไทย สมัยโบราณวิวัฒนาการมาจากความกลัวปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว ฝนตก ฯลฯ ปรากฏการณ์ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีพของมนุษย์ และเชื่อว่าธรรมชาติมีอำนาจลึกลับเหนือมนุษย์ สามารถบันดาลความสุข ความทุกข์แก่มนุษย์ได้ จึงพยายามหาวิธีการเอาใจอำนาจลึกลับของธรรมชาติด้วยการ เซ่นไหว้ บวงสรวง บูชา ซึ่งปรากฏในงานจิตกรรมของมนุษย์ในยุคหิน ซึ่งเป็นความเชื่อในอำนาจลึกลับและจิตวิญญาณหรือเรียกว่านับถือผีและเทพปกรนัมโดยจำแนกได้ดังนี้ เทวดา อารักษ์ ผีบรรพบุรุษ ผีวีรบุรุษ ผีร้าย คตินับถือผีนี้ ยังคงฝังลึกจิตใจของชาวไทย แม้นว่าสมัยต่อมาจะได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์ คติการนับถือผีก็ยังคงอยู่ โดยผสมผสานกับลัทธิศาสนาที่เผยแพร่เข้ามา เช่น ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม 2. ศิลปกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ เครื่องแต่งกายมลายู เสื้อผ้าของทั้งมุสลิมชาย และมุสลิมหญิง ต้องสะอาด ประณีต เรียบร้อย ดูสวยงามเหมาะสมกับบุคลิกภาพ โดยการดำรงตนสมถะหรือการเคร่งครัดในศาสนา ซึ่งไม่จำเป็นต้องหมายถึงการใส่เสื้อผ้าเก่าแลดูซอมซ่อ เพื่อให้บุคคลอื่นเห็นว่าไม่ใส่ใจใยดีต่อโลก แต่ควรแต่งกายให้เหมาะสมด้วยสีสันและลวดลาย โดยหลักการศาสนาอิสลาม เสื้อผ้าที่มีลวดลายเป็นรูปสัตว์ หรือรูปมนุษย์ ต้องพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ และสำหรับมุสลิมชายนั้น มีข้อห้ามในการสวมผ้าไหม และสิ่งทอที่ประกอบหรือประดับด้วยทองคำแท้ ชนิดของว่าวมลายู ได้แก่ 1. ว่าวบูหลัน (Wau Bulan) หรือว่าวดวงจันทร์  2. ว่าวกูจิง (Wau Kucing) หรือว่าวแมว 3. ว่าวจาลาบูดี (Wau Jalabudi) หรือว่าวเกี่ยวกับเพศหญิง 4. ว่าวมือรัก (Wau Merak) หรือว่าวนกยูง ว่าวทั้ง 4 ชนิดนี้จะอยู่ในว่าวตระกูลเดียวกัน แต่ส่วนท้ายจะมีลักษณะต่างกันไปตามชื่อของตัวว่าว ส่วนท้ายของว่าวจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ทั้งนี้ว่าวบูหลันจะมีลักษณะแตกต่างจากว่าวอื่น และมีรูปทรงที่เด่นชัดกว่า ว่าวบูหลันจึงเป็นที่นิยมเล่นมากกว่าว่าวอื่น แต่ความงามของตระกูลว่าวจำพวกนี้ก็ยังคงซึ่งถึงลวดลายที่บรรจงลงบนตัวว่าว เรือกอและ หมายถึง เรือประมงที่ใช้กันแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้  มีลักษณะเป็นเรือยาวที่ต่อด้วยไม้กระดาน โดยทำส่วนหัวและส่วนท้ายสูงจากลำเรือ   มีการทาสีแล้วเขียนลวดลายด้วยสีฉูดฉาด เป็นลายไทยและลายอื่นๆ เรือกอและประเภทปาตะกือระ (ท้ายตัด) หมายถึง เรือประมงที่มีลักษณะเหมือนเรือกอและแบบดั้งเดิมเกือบทุกประการ แต่มีท้ายตัดเพื่อวางเครื่องยนต์สำหรับขับเคลื่อนลวดลาย หมายถึง ลวดลายตกแต่งที่เป็นลายประดิษฐ์ ได้แก่ ลวดลายพรรณไม้แบบเถาเลื้อย อิทธิพลศิลปะอิสลาม ลวดลายเถาเลื้อย ลวดลายหน้ากระดาน ลวดลายประจำยามฯลฯอิทธิพลศิลปะไทยจิตรกรรม หมายถึง ภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยประสบการณ์ทาวสุนทรีภาพ และความชำนาญ โดยใช้สีชนิดต่างๆ เป็นสื่อในการแสดงออก ได้แก่ภาพสัตว์ในจินตนาการประเพณี ศาสนา วรรณคดีศิลปะการแสดง สัตว์หิมพานต์ สัตว์ในจินตนาการของจีน ภาพสัตว์น้ำ ภาพทิวทัศน์ ฯลฯ 3. ดนตรีและการแสดงท้องถิ่นชายแดนใต้ หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่น อย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นมหรสพที่นิยมแพร่หลายอย่างยิ่ง มาเป็นเวลานาน นักวิชาการเชื่อว่ามหรสพการแสดงเงา ประเภทหนังตะลุงนี้ เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ของมนุษยชาติ เคยปรากฏแพร่หลายทั้งในแถบประเทศยุโรปและเอเชีย ในแถบเอเชียการแสดงหนังตะลุงได้แพร่หลายเข้าสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศอินโดนีเซีย (ชวา) เขมร พม่า มาเลเซีย และประเทศไทย ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า “ลิเก” หรือ”ดิเกร์”เป็นศัพท์เปอร์เซีย  “ฮูลู หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็นการละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล  การแสดงปัณจักสิลัต ได้รับอิทธิพลจากชาวมุสลิมที่เข้ามาจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย การเล่นสิละซึ่งเป็นศิลปะชั้นเชิงการต่อสู้ด้วยอาวุธมือเปล่าเป็น และได้กลายมาเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นจนทุกวันนี้ในระยะเริ่มแรกลักษณะการเล่นยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนแต่เป็นการละเล่นเพื่อประลองความสามารถกัน ในสมัยก่อนชาวมุสลิมส่วนมากที่ความสามารถในการต่อสู้ด้วยมือเปล่าหรือมีการใช้อาวุธต่อสู้ด้วย คือ กริช เพื่อไว้ป้องกันตัวจากการศึกสงครามเมื่อหมดศึกสงคราม สิละจึงกลายเป็นการละเล่นที่มีการประชันขันแข่ง จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย  4. สถาปัตยกรรมท้องถิ่นชายแดนใต้ เรือนมลายู หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีการต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้  นอกจากหลังคาทั้ง 3 แบบ ดังกล่าวแล้ว เรือนชาวไทยมุสลิมโบราณในจังหวัดปัตตานียังมีลักษณะเด่น คือ การประดิษฐ์ลวดลายไม้แกะสลักทั้งบริเวณช่องลมและประดับฝาเรือนอีกด้วย ไม่นิยมฝังเสาเรือนลงไปในดิน และไม่นิยมสร้างรั้วกั้นบริเวณเรือน แต่จะปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน กล้วย เพื่อให้ร่มเงา และเป็นการแสดงอาณาเขตของบ้านเรือนซึ่งนิยมสร้างแยกกันเป็นหลัง ลวดลายที่ใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรม […]

การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา NIDA: NIDA001 การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization สรุปได้ดังนี้ • ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายของข้อมูลสูง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นั้นจะถูกนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินการด้านการตลาดดิจิทัลขององค์กรได้ โดยความสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลนั้น เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมตัวกันมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด ช่วยให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเรียลไทม์ สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย สร้างรูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เจาะจงสอดคล้องกับความต้องการและดึงดูดลูกค้าเป้าหมายได้ โดยที่กระบวนการทำงานของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) การสร้างข้อมูล คือ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม : Information Technology for Archives and Cultural Heritage Information Management

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา SU-MOOC: SU007 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม สรุปได้ดังนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม เป็นทักษะเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี มาตรฐาน กระบวนการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล วงจรกลยุทธ์การจัดการ และเครื่องมือเชิงเทคนิค สำหรับจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม ระบบการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ จากหลายๆ หอจดหมายเหตุของต่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้ชุดเมทาเดทาที่เป็นมาตรฐานนระบบ ISAD การจัดระบบและการอธิบายเอกสารจะเริ่มจากชุดเอกสารที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ระดับ collection ช่วงช้ันเพิ่มเติมที่ตามมาคือ series, sub-series, file, sub-file, item ตามลำดับ แต่ละช่วงชั้นต้องให้คำอธิบายเอกสาร มาตรฐานสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ได้แก่ 1. ดับลินคอร์ (Dublin Core) เป็นแบบแผนของเมทาดาตาที่อธิบายเนื้อหาและบริบทของงานดิจิทัล เช่น วีดีทัศน์ เสียง ภาพ ข้อควำม สื่อผสม หรือเว็บเพจเป็นต้น ปัจจุบันของดับลินคอร์อยู่บนพื้นฐานของ XML และ Resource Description Framework (RDF) Dublin Core Metadata Elements […]

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต | Information Technology for life

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา CPRU: CPRU001 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต | Information Technology for life สรุปได้ดังนี้ ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต คือเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ กำลังมีบทบาทอย่างกว้างขวางในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการ สังคม สิ่งแวดล้อมไปจนถึงด้านการศึกษา และในขณะที่สังคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่มิติใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำสมัยมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามความต้องการของประเทศ และเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต การทำงาน การเรียน และเล่น ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติในการเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสอดแทรก และเสริมสร้างสมรรถนะในกิจกรรมและการดำเนินการต่าง ๆ  ด้วยเหตุนี้สังคมไทยในปัจจุบันจึงกลายเป็นสังคมสารสนเทศ (Information society) ไม่ว่าบุคคลจะอยู่ในอาชีพใด วัยใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพรวมทั้งพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทางบวก ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์  ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น  ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง  ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทางลบ ทำให้เกิดอาชญากรรม  ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย […]

Back To Top