เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม : Information Technology for Archives and Cultural Heritage Information Management

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา SU-MOOC: SU007 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม สรุปได้ดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม เป็นทักษะเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี มาตรฐาน กระบวนการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล วงจรกลยุทธ์การจัดการ และเครื่องมือเชิงเทคนิค สำหรับจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม

ระบบการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ จากหลายๆ หอจดหมายเหตุของต่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้ชุดเมทาเดทาที่เป็นมาตรฐานนระบบ ISAD การจัดระบบและการอธิบายเอกสารจะเริ่มจากชุดเอกสารที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือ ระดับ collection ช่วงช้ันเพิ่มเติมที่ตามมาคือ series, sub-series, file, sub-file, item ตามลำดับ แต่ละช่วงชั้นต้องให้คำอธิบายเอกสาร

มาตรฐานสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานจดหมายเหตุ ได้แก่

1. ดับลินคอร์ (Dublin Core) เป็นแบบแผนของเมทาดาตาที่อธิบายเนื้อหาและบริบทของงานดิจิทัล เช่น วีดีทัศน์ เสียง ภาพ ข้อควำม สื่อผสม หรือเว็บเพจเป็นต้น ปัจจุบันของดับลินคอร์อยู่บนพื้นฐานของ XML และ Resource Description Framework (RDF) Dublin Core Metadata Elements ประกอบด้วยรายการที่แสดงลักษณะพื้นฐานของ
สารสนเทศจำนวน 15 ข้อ เพื่อให้พัฒนาข้อมูลดิจิทัลและทำดัชนีสำหรับสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้

1. TITLE ชื่อเรื่อง

2. AUTHOR OR CREATOR ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน

3. SUBJECT OR KEYWORDS หัวเรื่อง หรือ คำสำคัญ

4. DESCRIPTION ลักษณะ

5. .PUBLISHER สำนักพิมพ์

6. OTHER CONTRIBUTORS ผู้ร่วมงาน

7. DATE ปี

8. RESOURCE TYPE ประเภท

9. FORMAT รูปแบบ

10. RESOURCE IDENTIFIER รหัส

11. SOURCE ต้นฉบับ

12. LANGUAGE ภาษา

13. RELATION เรื่องที่เกี่ยวข้อง

14. COVERAGE สถานที่และเวลา

15. RIGHT MANAGEMENT สิทธิ

2. มาตรฐานสำหรับงานจดหมายเหตุ หรือ ISAD(G)
ISAD(G) ย่อมาจาก General International Standard Archival Description เป็นมาตรฐานให้ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุที่ได้รับกการยอมรับจากสมาคมจดหมายเหตุสากล (the International Council on Archives (ICA/CIA) ว่าเป็นมาตรฐานในการจัดระบบเอกสารจดหมายเหตุโดยมาตรรฐานจะระบุว่าการให้ข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุมี
องค์ประกอบ (elements) และกฎ (rules) การจัดการเอกสาร การให้เมทาเดทา และการให้คำอธิบายเอกสาร รวมไปถึงระบบการค้นคืนเอกสาร
ระบบการจัดการเอกสารจดหมายเหตุจากหลายๆ หอจดหมายเหตุของต่างประเทศส่วนใหญ่ใช้ชุดเมทาเดทำที่เป็นมาตรฐานในระบบ ISAD โดยการจัดระบบและการอธิบายเอกสารจะเริ่มจากชุดเอกสารที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดคือระดับ collection ช่วงชั้นเพิ่มเติมที่ตามมาคือ series, sub-series, file, sub-file, item ตามลำดับ แต่ละช่วงชั้นต้อให้คำอธิบายเอกสาร ซึ่งการสร้สงเนื้อหาต้องเชื่อมโยงกันในแต่ละลำดับ

3. มาตรฐานสำหรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
การอธิบายข้อมูลสำหรับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นรูปแบบหรือแบบแผนของเมทาเดตาที่ใช้ในการอธิบายข้อมูลหรือกลุ่มของข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นอีกแบบแผนหนึ่งของการอธิบาย ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการวิชาการชุดที่ 211 ขององค์กรมาตรฐานระหว่ำงประเทศ หรือ ISO/TC211

การประยุกต์ใช้กับงานจดหมายเหตุและคลังสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

สิ่งที่ได้จากการเรียนในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวัฒนธรรม สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานจดหมายเหตุฯ ในเรื่องของแบบแผนของเมทาดาตาที่อธิบายเนื้อหาและบริบทของงานจดหมายเหตุดิจิทัล และรายการที่แสดงลักษณะพื้นฐานของสารสนเทศ 15 ข้อ และเมทาเดทาที่เป็นมาตรฐานระบบ ISAD โดยจัดระบบและจัดทำคำอธิบายเอกสาร เพื่อให้พัฒนาข้อมูลดิจิทัลและทำดัชนีสำหรับสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง : https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:SU+SU007+2018/course/

Visits: 161

Comments

comments

Back To Top