อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการRead More →

ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ (Automatic Speed Enforcement System) จะทำหน้าที่คอยตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งเกินกำหนด (สามารถกำหนดค่าความเร็วของรถได้) ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ ● สามารถตรวจจับได้ในระยะ 120 เมตร จากตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์● ตรวจจับพร้อมกันได้ถึง 4 เลน● ตรวจจับความเร็วรถสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง● ใช้หลักการของ Doppler Radar ที่มีความแม่นยำสูง● สามารถแยกประเภทรถได้ถึง 3 ประเภท● สามารถตรวจจับและถ่ายภาพได้แม้ในช่วงเวลากลางคืน● บันทึกภาพรถ, ป้ายทะเบียน, ความเร็ว, วันเวลาที่กระทำผิด ตรวจสอบย้อนหลังได้● ส่งสัญญาณและข้อมูลที่ได้ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ง่ายต่อการควบคุมและจัดการ● มีโปรแกรมวิเคราะห์จับภาพป้ายทะเบียนเพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานประกอบการออกใบสั่ง● มีโปรแกรมจัดการเพื่อออกใบสั่ง ได้แบบ Real Time และย้อนหลังได้, ใบสั่งจัดเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี● รองรับการเชื่อมต่อกับกรมการขนส่ง เพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลเจ้าของรถ ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบตรวจจับความเร็วติดตั้งแบบถาวรเป็นระบบกล้องตรวจจับความเร็วยานพาหนะRead More →

ระบบป้องกันฟ้าผ่า (Lightning Protection System) เป็นระบบทางวิศวกรรมที่มีความสำคัญ ช่วยลดความเสียหาย จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่าที่อาจเกิดกับโครงสร้างของอาคาร ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคารนั้น หากไม่ได้มีการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่าที่ครอบคลุมหรือมีการติดตั้งที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานหรือขาดการตรวจสอบบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ก็อาจทำให้อาคารนั้นๆ มีความเสี่ยงหรือได้รับความเสียหายจากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า อาจทำให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้  ซึ่งในปัจจุบันสามารถแบ่งตามรูปแบบการติดตั้งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. ระบบสายล่อฟ้า แบบ Early Streamer Emission (ESE)หลักการทำงานของระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE หรือ หัวล่อฟ้าแบบ ESE เมื่อมีลำประจุเริ่มจากก้อนเมฆลงมา ทำให้สนามแม่เหล็กมีค่าสูงขึ้นทำให้หัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นปล่อยประจุออกมา และสร้างลำประจุอย่างรวดเร็วทำให้ฟ้าผ่าลงมาที่หัวล่อฟ้าแบบ ESE โดยหัวล่อฟ้าแบบ ESE นั้นถูกสร้าง ออกแบบ และออกมาตรฐาน โดยประเทศฝรั่งเศส ระบบสายล่อฟ้า ESE นั้น 1 หัวสามารถป้องกันเป็นรัศมีวงกว้าง ตามแต่สเปคของแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ หากพื้นที่ที่เราต้องการให้มีการป้องกันฟ้าผ่านั้นกว้าง ระบบสายล่อฟ้าแบบ ESE ทำให้ลดต้นทุนในเรื่องของสายทองแดงและแท่งกราวด์ได้ การติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบRead More →

ตั้งแต่ปี 2002 เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง AM แบบโซลิดสเตตถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวาง ด้วยโซลูชั่นวิทยุ AM แบบเบ็ดเสร็จที่สมบูรณ์ ทดแทนเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง AM แบบเดิมที่เป็นเครื่องส่งแบบหลอด โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพการออกอากาศ มีขนาดกระทัดรัดและลดต้นทุนในการสร้างสถานีกระจายเสียง AM ใหม่หรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยที่ยังสามารถรักษาขนาดกำลังส่งเทียบเท่ากับเครื่องส่งแบบหลอด และคุณภาพเสียงที่มีประสิทธิภาพสูง องค์ประกอบในการออกอากาศของเครื่องส่งวิทยุ AM จะประกอบไปด้วย ห้องส่งวิทยุกระจายเสียง(สตูดิโอ) เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงระบบกันในกระบวนการทางเสียงและแหล่งกำเนิดเสียงพิเศษอื่นๆประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญๆ คือ บรอดคาสต์คอนโซล(Broadcast Console)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นำเอาสัญญาณต่างๆที่ส่งเข้ามาเพื่อทำการขยายสัญญาณและปรับแต่งความสมดุล(Balance) ผสมสัญญาณเสียง (Mix) และจัดระบบเสียงเพื่อทำการส่งสัญญาณออกอากาศ, เครื่องช่วยเสียง (Signal Processors), ไมโครโฟน (Microphone) และคอมพิวเตอร์ (Computer) ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาทำงานร่วมกับอุปกรณ์ระบบเสียง อื่นๆ ทดแทนการใช้งาน เครื่องเล่นคอมแพ็คดิสก์ (Compact Disc)และคาสเซ็ทเทปเรคคอร์ดเดอร์ (Cassette Tape Recorder) เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเล่นบันทึกและตัดต่อเสียง ตลอดจน เพื่อการใช้งานเสียงซาวเอฟเฟ็ค(Sound Effect)ต่างๆของเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียง เครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงระบบ AMRead More →