Author: Anurak Khongkit

>>การพัฒนา App Script เพื่อตรวจสอบหนี้สินและข้อผูกพันพนักงานของงานยืมคืนฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์<<

ตัวอย่างฟอร์ม การค้นหารายชื่อพนักงานที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การบันทึกเพิ่มข้อมูล รายชื่อพนักงานยืมคืนงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การคีย์ข้อมูลค้นหารายชื่อพนักงานยืมคืนที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างการเก็บฐานข้อมูลใน Google Sheet งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ Visits: 62Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

ทักษะพื้นฐานการซ่อมบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน | Basic Skills in The Maintenance Office

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานมากมายหลายรูปแบบ  หลายยี่ห้อ  แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานและราคา ซึ่งหลักการพิจารณาเลือกใช้เครื่องใช้สำนักงานมีดังนี้        1.  ความจำเป็นในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน  โดยพิจารณาว่าหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทใด เพราะเหตุใด จึงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทนั้น ๆ         2.  ลักษณะงาน  คือการพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานที่นำเครื่องใช้สำนักงานมาใช้ว่ามีประสิทธิภาต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เช่น ได้ผลงานมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และประหยัด มีความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา        3.  ความต้องการของบุคลากร  การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์กรจากการใช้แรงงานคนมาเป็นการใช้เครื่องจักรนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดการว่างงานซึ่งกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากร  เพื่อให้ปัญหา  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนพนักงานและการใช้เครื่องใช้สำนักงานหมดไป ผู้บริหารจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่ามี  ความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่าย มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในงาน ขณะเดียวกันจะต้อง  ไม่เกิดความขัดแย้ง นอกจากนั้นควรคำนึงถึงปัญหาการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทต่าง ๆ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของเครื่องใช้นั้น ๆ ว่าสามารถลดความเบื่อหน่ายจากการทำงานในสภาพเดิมได้ และสามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานรูปแบบเดิมได้ ทำให้พัฒนางานได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   […]

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management […]

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในการทหารและกระทรวงกลาโหม แต่เดิมใช้เพื่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และมีการใช้งานเชิงพาณิชย์และวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัด และการถือกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กรต่างๆ โซลูชันเครือข่ายยุคใหม่ไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อแล้ว แต่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันด้วย ความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานนั้นสามารถตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติและปลอดภัย เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ทำงานแบบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานจริงของเครือข่ายพื้นฐานสามารถแบ่งสัดส่วนตามตรรกะเพื่อสร้างเครือข่าย “ซ้อนทับ” ได้หลายเครือข่าย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบซ้อนทับ โหนดต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงแบบเสมือนจริง และสามารถส่งข้อมูลระหว่างโหนดทั้งสองผ่านอุปกรณ์จริงได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น เครือข่ายองค์กรจำนวนมากถูกซ้อนทับกันบนอินเทอร์เน็ต ผสานรวมในวงกว้าง บริการระบบเครือข่ายสมัยใหม่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายทางกายภาพ บริการเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายผ่านระบบอัตโนมัติและการตรวจสอบเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูงได้ บริการเครือข่ายสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

ห้องประชุม ที่ดีและเป็นมืออาชีพ ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง

ในการสร้างห้องประชุมเพื่อให้ได้มาตรฐานระดับมืออาชีพ นอกเหนือจากการออกแบบความสวยงามและการใช้งานแล้ว โสตทัศนูปกรณ์เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้การใช้งานห้องประชุมเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ  โสตทัศนูปกรณ์คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อ “หอประชุม” โสตทัศนูปกรณ์ คือ อุปกรณ์ในระบบโสตทัศน์ โดยระบบโสตทัศน์เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับเสียงและภาพ ซึ่งโสตทัศน์เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากการประชุมเป็นกิจกรรมที่สื่อสารด้วยเสียงกับภาพเป็นหลัก ดังนั้นความชัดเจนของสารที่สื่อจึงเป็นหัวใจหลักที่ทำให้การประชุมมีประสิทธิภาพ หอประชุม ต้องมีโสตทัศนูปกรณ์อะไรบ้าง โสตทัศนูปกรณ์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ทำให้เกิดหอประชุม นอกเหนือจากที่นั่ง, โต๊ะและไฟ ระบบโสตทัศน์นี้แหละคือระบบปฏิบัติการณ์ภายในห้องประชุม โดยโสตทัศนูปกรณ์สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการสื่อสารดังนี้ ระบบเสียง  ระบบเสียงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหอประชุม เนื่องจากในการประชุมนั้นใช้เสียงในการสื่อสารเป็นหลัก ดังนั้นความสำคัญและประสิทธิภาพของระบบเสียงจึงพิจารณาจากความชัดเจนในการสื่อสารทั้งการพูดและการได้ยิน สำหรับโสตทัศนูปกรณ์ด้านระบบเสียงที่สำคัญต่อหอประชุมมีดังนี้ 1. ไมโครโฟน ไมโครโฟนเป็นต้นกำเนิดเสียง โดยไมโครโฟนที่ใช้สำหรับการประชุมมักพบในรูปแบบของไมโครโฟนชุดประชุม หรือไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ มีการวางระบบเสียงเชื่อมต่อกันระหว่างไมโครโฟนประธานกับผู้เข้าร่วมประชุม  นอกเหนือจากไมโครโฟนชุดประชุมแล้ว อีกหนึ่งไมโครโฟนที่พบได้คือ ไมโครโฟนแบบไร้สาย (Wireless) โดยไมโครโฟนประเภทนี้มีให้เลือกใช้หลายประเภทการใช้งาน เช่น แบบมือถือ แบบหนีบปกเสื้อ แบบคาดศรีษะ ฯ 2. ลำโพง สำหรับหอประชุมไม่เพียงแค่ต้นกำเนิดเสียงจากไมโครโฟนที่สำคัญต่อระบบเสียง แต่ส่วนต่อขยายเสียงอย่างลำโพงก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะลำโพงเป็นโสตทัศนูปกรณ์ที่ช่วยกระจายเสียงไปสู่ผู้เข้าร่วมประชุม หากลำโพงไม่ดีเสียงไม่ชัดเจน สารที่ส่งไปก็ลดประสิทธิภาพลง 3. Equalizer  นอกเหนือจากไมโครโฟนและลำโพงแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญสำหรับระบบเสียงคือ Equalizer โดย Equalizer เป็นอุปกรณ์ในการปรับแต่งลด-เพิ่มของแต่ละย่านความถี่เสียง หรือปรับแต่งชดเชยย่านความถี่ของเสียง เพื่อให้แต่ละความถี่อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน และอะคูสติกส์ของห้องประชุมนั้นๆ […]

ปัญหาไมค์ห้องประชุม ปัญหาเล็กที่สะท้อนความเป็นมืออาชีพ

ไมค์ห้องประชุมถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญในดำเนินการประชุม เพราะเป็นหัวใจหลักของการนำเสนอข้อมูล ทั้งการอภิปรายข้อมูลและการเสนอความคิดเห็นล้วนแล้วแต่ต้องใช้ไมโครโฟนทั้งสิ้น ดังนั้นห้องประชุมต้องเตรียมไมโครโฟนให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตั้งแต่การเลือกใช้ไมโครโฟนไปจนถึงการศึกษาปัญหาของไมโครโฟนเพื่อให้การประชุมดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น ทำความเข้าใจไมค์ห้องประชุมเบื้องต้น ก่อนจะเริ่มต้นศึกษาปัญหาของไมโครโฟน เพื่อความเข้าใจหลักการทำงานของไมโครโฟน ควรทำการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของไมค์ห้องประชุมก่อน ทั้งลักษณะที่แตกต่างกันทั้งรูปลักษณ์ภายนอกและการรับเสียง และเมื่อเห็นภาพแล้วจะทำให้เข้าใจปัญหาง่ายมากขึ้น ประเภทของไมค์ห้องประชุม สำหรับไมโครโฟนที่นิยมใช้ในห้องประชุมนั้น เป็นประเภทตั้งโต๊ะเป็นส่วนใหญ่ ไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบถือ (ยกเว้นห้องประชุมอเนกประสงค์ ที่เน้นการทำกิจกรรมเป็นหลัก) ซึ่งไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะเหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนความเห็น เนื่องจากผู้พูดมีไมโครโฟนประจำตำแหน่งสามารถตอบโต้ได้ทันที ทั้งนี้ไมค์ห้องประชุมแบบตั้งโต๊ะสามารถแยกเป็นสองประเภทได้ดังนี้ 1. Gooseneck Microphone Gooseneck Microphone หรือ ไมโครโฟนก้านยาว/ไมโครโฟนคอห่าน เป็นไมโครโฟนตั้งโต๊ะที่มีลักษณะเฉพาะตัว ด้วยก้านจับไมโครโฟนที่ยาวและสามารถงอก้านไปยังทิศทางที่ต้องการได้ มีปุ่มเปิด-ปิดไมโครโฟนขณะพูด โดยส่วนมากจะพบไมโครโฟนก้านยาวได้ตามห้องประชุมสัมมนาและห้องประชุมผู้บริหาร เป็นต้น 2. Boundary Microphone Boundary Microphone เป็นไมโครโฟนชนิดฝังโต๊ะ ประเภทเดียวกันกับไมโครโฟน Flush Mount ที่ฝังสายสัญญาณไปใต้โต๊ะ แต่แตกต่างกันที่ไมโครโฟนประเภท Boundary หัวไมโครโฟนจะเรียบไปกับโต๊ะ ส่วน Flush Mount ยังคงมีก้านไมโครโฟนอยู่ ซึ่งการเลือกใช้ไมโครโฟนประเภทนี้จะเน้นไปที่งานดีไซน์ และการออกแบบตกแต่งภายในห้องประชุม รูปแบบการรับเสียงของไมค์ห้องประชุม Cardioid คือ รูปแบบไมโครโฟนที่สามารถรับเสียงด้านหน้าได้ดีที่สุด ส่วนด้านข้างประสิทธิภาพการรับเสียงจะลดน้อยลง […]

การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ | Creative Photography

ทักษะการถ่ายภาพพื้นฐานเป็นคุณสมบัติที่มีในช่างภาพทุกคน แต่สิ่งที่สามารถสร้างความแตกต่างและน่าสนใจให้กับผลงานภาพถ่ายของตนเองได้ก็คือการถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์ซึ่งอาจมาจากมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร หรือการใช้เทคนิคพิเศษในการปรับตั้งค่ากล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสริม ดังนั้น การถ่ายภาพด้วยเทคนิคสร้างสรรค์จึงเป็นทักษะการถ่ายภาพสำคัญที่สามารถยกระดับให้กับช่างภาพที่ต้องการสร้างผลงานที่แตกต่าง และยังช่วยสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับบุคคลทั่วปที่สนใจการถ่ายภาพเป็นงานอดิเรกก่อนที่จะก้าวสู่การเป็นช่างภาพอาชีพในอนาคต การถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบหยุดนิ่ง (Stop Action/Stop Motion) ภาพที่หยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ เช่น การเล่นกีฬา วัตถุหรือสัตว์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือที่นิยมถ่ายกันในปัจจุบันก็คือการกระโดดลอยตัว ซึ่งอาจจะสื่อถึงความสนุกสนานหรือจะทำท่าแปลก ๆ เสมือนลอยอยู่กลางอากาศ หรือที่เรียกว่า ภาพแนว Levitation เทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องการบันทึกภาพวัตถุให้หยุดนิ่งเช่นนี้ก็ คือการเลือกใช้ความไวชัตเตอร์สูง (High  Speed Shutter) โดยอาจใช้โหมด M หากมีความชำนาญ  สำหรับการถ่ายภาพ stop motion สามารถเลือกใช้ได้ 2  โหมด คือ M กับ TV (Canon) หรือ S (Nikon) เพื่อความสะดวกในการปรับตั้งค่าความไวชัตเตอร์เพียงอย่างเดียวแล้วให้กล้องปรับค่าที่เกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติ ความไวชัตเตอร์ที่สามารถหยุดความเคลื่อนไหว ควรเริ่มตั้งแต่ 1/250 วินาที แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุ เช่น นกบินหรือผีเสื้อบินก็ราว 1/1000 แต่หากถ่ายกระสุนปืนต้องใช้ถึง 1/8000 ขึ้นไป นอกจากนี้ […]

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน Interpersonal Communication Skills in Workplace

รายวิชาทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal Communication Skills in Workplace) รายวิชานี้จะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแนวคิดสำคัญของทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน การตระหนักรู้ในตนเอง การรับฟังผู้อื่น การจูงใจผู้อื่น การให้ข้อมูลย้อนกลับ การเสริมพลังใจ การจัดการปัญหาอารมณ์และความเครียด และการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม แนวคิดเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน การสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงานคือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เนื่องจากทุกคน ไม่ได้ มีเวลาพูด และเวลาฟังเท่ากัน โดยเฉพาะในการทำงานที่จะต้องมีการประชุม อภิปราย หาข้อสรุปในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้แต่ละคนก็มีความคิด มุมมอง ประสบการณ์ บทบาทหน้าที่ที่ต่างกัน การพูดคุยกันแต่ละครั้งจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจกันอย่างมาก โดยหากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสาร คือ สื่อสารได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองต้องการสื่อ ควบคุม อารมณ์ได้ดี มีความสามารถในการสื่อสาร ก็จะทำให้การประชุม การอภิปรายนั้น โดยสามารถหาข้อสรุปได้ และทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน (Interpersonal Communication Skills in Workplace) ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ตรงข้ามกันหากองค์การใด มีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม หรือการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง จนกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้ในตนเอง […]

การแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ความคิดสร้างสรรค์ | Creative Problem-solving

รายวิชานี้พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาด้วยการนำความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยเรียนรู้แนวคิดสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ แหล่งที่มาของความสร้างสรรค์ เทคนิคการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยศึกษากรณีที่เกิดขึ้นจริง การพัฒนาปัจจัยส่งเสริมหรือสนับสนุน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา ป้องกันปัญหาหรือพัฒนาผลงานและองค์การ Visits: 193Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

หลักสูตรการบริหารจัดการข้อมูลออนไลน์ด้วย Google Drive | Online Data Management Course with Google Drive

เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลบนระบบออนไลน์ การเข้าใช้งานข้อมูลและทำงานร่วมกันบนระบบออนไลน์ การกำหนดการใช้งานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม คุณสมบัติของ Google Drive 1. เนื้อที่ในการจัดเก็บข้อมูลฟรี สำหรับบัญชีทั่วไปของ Google ให้เนื้อที่ในการจัดเก็บ 15 GB โดยจะรวมการทำงานใน 3 แอปพลิเคชัน คือ Google Drive, Gmail และ Google Photo สำหรับองค์กรหรือหน่วยงานทางการศึกษาที่มีบัญชีเป็นของหน่วยงาน ได้เนื้อที่ไม่จำกัด 2. การจัดเก็บข้อมูล สามารถจัดเก็บข้อมูลไฟล์ได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร ไฟล์วิดีโอ ไฟล์เสียง ฯลฯ 3. เข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทาง 4. สามารถแบ่งปันและทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว หน้าจอการทำงานของ Google Drive ตำแหน่งที่ 1 เมนูสำหรับการเพิ่มข้อมูลใน Google Drive ตำแหน่งที่ 2 กลุ่มเมนูสำหรับการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ใน Google Drive ตำแหน่งที่ 3 ส่วนของพื้นที่แสดงปริมาณเนื้อที่ในการใช้งานใน Google Drive […]

การถ่ายภาพเบื้องต้น | Basic Photography

จากการไปศึกษาการถ่ายภาพเบื้องต้น จะได้รู้ถึงด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์มารวมกัน การถ่ายภาพจึงหมายถึง การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนะคติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือการปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้ามา กระทบกับวัสดุไวแสงและนำวัสดุไวแสงนั้นไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏออกมา หากเป็นระบบฟิล์มแบบเก่าเราไปล้างกับน้ำยาและมีภาพปรากฏออกมา หากเป็นระบบดิจิทัลคือการแปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นภาพ เป็นความหมายของการถ่ายภาพที่รวบรวมทั้งในส่วนของ วิทยาศาสตร์และศิลปะเข้ามาร่วมมือกัน ประเภทของกล้องถ่ายภาพประเภทของกล้องถ่ายภาพสามารถที่จะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ1) กล้องฟิล์ม เป็นกล้องที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยการถ่ายภาพยุคแรกไปจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานอยู่แต่อาจจะเฉพาะเจาะจงอยู่ในกลุ่มที่อนุรักษ์นิยมหรือเป็นงานอดิเรก กล้องฟิล์มสามารถจำแนกตามขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้อง 2) กล้องถ่ายภาพแบบทันที (Instant Camera) หรือทั่วไปเรียกว่า กล้อง Polaroid (โพลารอยด์) เป็นกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มและกระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้วบรรจุภายในกล้อง โดยหลังจากกดปุ่มบันทึกภาพแล้วกลไกในกล้องจะทำให้ฟิล์มเลื่อนผ่านลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งจะรีดน้ำยาให้กระจายไปทั่วฟิล์มและทำปฏิกิริยาสร้างภาพขึ้นบนกระดาษ เมื่อลอกฟิล์มกับกระดาษออกจากกันจะทำให้เห็นภาพที่บันทึกไว้ กระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น กล้องชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เช่น การถ่ายภาพติดบัตร การถ่ายภาพท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สำหรับถ่ายภาพเพื่อทดสอบสภาพแสงและการจัดองค์ประกอบภาพก่อนถ่ายจริงในสตูดิโอ 3) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นกล้องที่กำลังได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยแทนที่จะบันทึกภาพลงในฟิล์มภาพที่ถ่ายจะถูกแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัลและบันทึกลงหน่วยความจำในกล้อง ช่างภาพสามารถเห็นภาพได้ทันทีจากจอภาพของกล้องหรือต่อผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดลงบนกระดาษเหมือนกล้องฟิล์ม อุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่รับภาพและแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลนี้เรียกว่า “ตัวรับภาพ” หรือ “อิมเมจเซ็นเซอร์” (Image […]

Back To Top