การถ่ายภาพเบื้องต้น | Basic Photography

จากการไปศึกษาการถ่ายภาพเบื้องต้น จะได้รู้ถึงด้านวิทยาศาสตร์และด้านศิลปศาสตร์มารวมกัน การถ่ายภาพจึงหมายถึง การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนะคติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นคือการปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนจากวัตถุผ่านเข้ามา กระทบกับวัสดุไวแสงและนำวัสดุไวแสงนั้นไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏออกมา หากเป็นระบบฟิล์มแบบเก่าเราไปล้างกับน้ำยาและมีภาพปรากฏออกมา หากเป็นระบบดิจิทัลคือการแปลงสัญญาณไฟฟ้าออกมาเป็นภาพ เป็นความหมายของการถ่ายภาพที่รวบรวมทั้งในส่วนของ วิทยาศาสตร์และศิลปะเข้ามาร่วมมือกัน

ประเภทของกล้องถ่ายภาพ
ประเภทของกล้องถ่ายภาพสามารถที่จะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ
1) กล้องฟิล์ม เป็นกล้องที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่สมัยการถ่ายภาพยุคแรกไปจนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใช้งานอยู่แต่อาจจะเฉพาะเจาะจงอยู่ในกลุ่มที่อนุรักษ์นิยมหรือเป็นงานอดิเรก กล้องฟิล์มสามารถจำแนกตามขนาดของฟิล์มที่ใช้กับกล้อง

2) กล้องถ่ายภาพแบบทันที (Instant Camera) หรือทั่วไปเรียกว่า กล้อง Polaroid (โพลารอยด์) เป็นกล้องถ่าย
ภาพที่ใช้ฟิล์มและกระดาษอัดภาพผสมน้ำยาเรียบร้อยแล้วบรรจุภายในกล้อง โดยหลังจากกดปุ่มบันทึกภาพแล้วกลไกในกล้องจะทำให้ฟิล์มเลื่อนผ่านลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งจะรีดน้ำยาให้กระจายไปทั่วฟิล์มและทำปฏิกิริยาสร้างภาพขึ้นบนกระดาษ เมื่อลอกฟิล์มกับกระดาษออกจากกันจะทำให้เห็นภาพที่บันทึกไว้ กระบวนการทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายในเวลาเพียง 2-3 นาที เท่านั้น กล้องชนิดนี้จึงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว เช่น การถ่ายภาพติดบัตร การถ่ายภาพท่องเที่ยวสถานที่ต่าง ๆ หรือใช้สำหรับถ่ายภาพเพื่อทดสอบสภาพแสงและการจัดองค์ประกอบภาพก่อนถ่ายจริงในสตูดิโอ

3) กล้องดิจิทัล (Digital Camera) เป็นกล้องที่กำลังได้รับความนิยมในยุคปัจจุบัน โดยแทนที่จะบันทึกภาพลงในฟิล์ม
ภาพที่ถ่ายจะถูกแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลดิจิทัลและบันทึกลงหน่วยความจำในกล้อง ช่างภาพสามารถเห็นภาพได้ทันทีจากจอภาพของกล้องหรือต่อผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์มและอัดลงบนกระดาษเหมือนกล้องฟิล์ม อุปกรณ์สำคัญที่ทำหน้าที่รับภาพและแปลงเป็นไฟล์ข้อมูลนี้เรียกว่า “ตัวรับภาพ” หรือ “อิมเมจเซ็นเซอร์” (Image Sensor) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนฟิล์มในการบันทึกภาพ โดยการแปลงค่าแสงที่รับมาด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประมวลผลให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ข้อมูลดิจิทัล อิมเมจเซ็นเซอร์ที่นิยมนำมาใช้ในกล้องดิจิทัลได้แก่ ซีซีดี (CCD) และ ซีมอส (CMOS) ซึ่งให้ความละเอียดของภาพแตกต่างกันไปในกล้องแต่ละรุ่นกล้องดิจิทัลในปัจจุบัน

กล้อง DSLR (Digital Single Lens Reflex) หรือ กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวแบบดิจิทัล (ในระบบฟิล์มเรียกว่า กล้อง SLR ซึ่งนิยมใช้กับฟิล์ม 35 มม.) กลไกการทำงานภายในจะมีกระจกสะท้อนภาพกั้นระหว่างเลนส์กับอิมเมจเซ็นเซอร์ เมื่อแสงหรือภาพผ่านเลนส์เข้ามาจึงสะท้อนกระจกดังกล่าว (ซึ่งวางเป็นมุมเฉียง 45 องศา) ขึ้นไปยังช่องมองภาพด้านบนเพื่อให้ช่างภาพเล็ง และเมื่อกดชัตเตอร์ กระจกจะกระดกขึ้นเพื่อเปิดทางให้แสงวิ่งผ่านไปยังอิมเมจเซ็นเซอร์ที่อยู่ด้านหลัง แล้วหลังจากนั้นกระจกก็จะดีดตัวกลับลงมาบังตามเดิม ภาพที่ได้มีคมชัดกว่ากล้องคอมแพกต์ เพราะสามารถปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้มากและที่สำคัญสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ จึงเป็นที่นิยมใช้ทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพ โดยมีราคาสูงกว่ากล้องคอมแพกต

เทคนิคการถ่ายภาพประเภทต่างๆ

การถ่ายภาพบุคคล
การถ่ายภาพบุคคล (Portrait) หากจำแนกตามสภาพแสงที่ใช้ถ่ายภาพ แบ่งออกได้2 ประเภท คือ แสงธรรมชาติ
และแสงประดิษฐ์ แสงธรรมชาติคือแสงจากดวงอาทิตย์ ส่วนแสงประดิษฐ์คือแสงที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น ไฟสตูดิโอ สำหรับเทคนิคในการถ่ายภาพบุคคลด้วยแสงธรรมชาตินั้น

การถ่ายภาพสัตว

ควรศึกษานิสัยของสัตว์ที่ต้องการถ่ายเพื่อจะได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ของมัน และสามารถวางแผนการถ่ายภาพได้อย่างรอบคอบ เช่น สัตว์ชนิดนี้ชอบเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้ความไวชัตเตอร์สูง สัตว์ชนิดนั้นชอบนอนนิ่งๆแต่จะกระตือรือร้นเมื่อพบสิ่งที่สนใจ หรือสัตว์บางชนิดชอบอาศัยอยู่ในที่มืดจึงจำเป็นจะต้องเตรียมเลนส์ที่มีช่องรับแสงกว้าง ๆ และขาตั้งกล้องในกรณีที่ไม่สามารถใช้แฟลชได้

การถ่ายภาพทิวทัศน์ และสถาปัตยกรรม

สิ่งสำคั ญ อั น ดั บ แ ร กใ น ก า ร ถ ่ า ย ภ าพ ทิ ว ทั ศ น ์ แ ล ะ สถาปัตยกรรม คือ การเลือกจุดสนใจในบริเวณทั้งหมดเสียก่อน โดยใช้สายตามองเพื่อหาสิ่งที่เด่นและน่าสนใจที่สุด เช่น ต้นไม้บ้าน กระท่อมกองฟาง บึงหรือสระน้ำ แม่น้ำ เรือ ภูเขา พระอาทิตย์เมฆ แล้ววางสิ่งนั้นลงในตำแหน่งที่เป็นจุดสนใจตามหลักกฎสามส่วน แต่ในบางมุม ก็
อาจต้องรอส่วนประกอบอื่น ๆ เข้ามาในเฟรม เช่น เรือ รถ คน นก เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้ภาพ

การถ่ายภาพกลางคืน

ที่ต้องการบรรยากาศเหมือนจริง ไม่นิยมใช้แฟลชในการถ่าย สิ่งสำคัญที่สุดจึงเป็นขาตั้ง สาย
ลั่นชัตเตอร์ หรือรีโมตคอนโทรล รวมทั้งนาฬิกาจับเวลาและไฟฉายขนาดเล็กที่ควรติดตัวไปด้วย เพราะการถ่ายภาพใน
สภาพแสงที่น้อยต้องใช้ความไวชัตเตอร์ที่ต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-45 วินาทีอย่างไรก็ตาม ควรถ่ายเผื่อหลายระยะเวลาเช่น ถ่ายมุมเดียวกัน 3 ภาพ แต่ละภาพห่างกัน 5-10 วินาทีเนื่องจากระยะเวลาต่างกันจะให้สภาพแสงมีความสวยงามต่างกัน และแต่ละสถานที่ก็เหมาะกับการถ่ายด้วยระยะเวลาต่างกัน การถ่ายกลางคืนโดยทั่วไป ควรตั้งช่องรับแสงกลาง ๆ เช่น f8 แต่หากต้องการถ่ายสถานที่ที่ตกแต่งและประดับไฟกลางคืน ควรตั้งช่องรับแสงให้แคบลง เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพฟุ้งเกินไปและจะช่วยให้ได้ลักษณะแสงไฟที่เป็นแฉกสวยงาม

อ้างอิง ไทยมุก

https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:KMITL+KMITL001+2017/course/

Visits: 352

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

Back To Top