เรียนรู้รายวิชา ThaiMOOC WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย | Thai for Contemporary Communication

เพื่อนำ ภาษาไทย ไปประกอบการเขียนบทความใน Blog และการเขียนสรุป/แนะนำหนังสือใน Digital Content ชวนอ่าน หนังสืออ่านประกอบรายวิชาพื้นฐาน ทักษะภาษาไทยจึงมีความจำเป็น

เพื่อให้เข้าใจและพัฒนาทักษะภาษาไทย:

  • การรับสารและส่งสาร
  • การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง
  • การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นจากเรื่องที่ฟังและอ่าน
  • การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผล
  • การนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้ มีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ
  • การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น
  • การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ

ฟัง

องค์ประกอบของการฟัง

  • การได้ยิน รับฟังเสียงได้ แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือเป็นภาษาที่ไม่รู้จักก็ตาม
  • พุ่งความสนใจ เมื่อผู้ฟังได้ยินเสียงพูดก็พุ่งความสนใจไปยังเสียงที่ได้ยินนั้น
  • การเข้าใจ ผู้ฟังจะต้องรู้จักภาษาหรือคุ้นเคยกับภาษาที่ได้ยิน
  • การตีความ เข้าใจกับความหมายของสารที่ผู้พูดส่งมา การตีความต้องใช้การแปลความกับความสามารถย่นย่อเรื่องราวต่าง ๆ มารวมกัน
  • การตอบสนอง เช่น ยิ้ม หน้าบึ้ง หน้าซีด เลือดขึ้นหน้า หรืออาจเป็นการตอบสนองกลับด้วยคำพูด

ลักษณะการฟัง

  • การฟังอย่างเข้าใจ
  • การฟังอย่างมีจุดมุ่งหมาย
  • การฟังอย่างมีวิจารณญาณ
  • การฟังอย่างประเมินคุณค่า

ประโยชน์ของการฟัง

  • การติดต่อสื่อสารในชีวิตประจาวัน
  • ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการฟังให้ดียิ่งขึ้น
  • ได้รับทราบความรู้สึกนึกคิดหรือความคิดเห็นของผู้อื่น มีจิตใจกว้างขวางและเปิดกว้าง
  • เป็นคนรู้จักคิดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจ มีเหตุผล ไม่หลงเชื่อผู้พูดโดยง่าย
  • ได้รับความเพลิดเพลินและสร้างจินตนาการเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • ได้รับทราบความเคลื่อนไหวต่าง ๆ รอบ ๆ ตัวเป็นการเรียนรู้สิ่งแปลก ๆ ใหม่ๆ
  • ช่วยให้การคิดและการพูดมีประสิทธิภาพ

พูด

การอภิปราย มีลักษณะคล้ายการสนทนา แต่การอภิปรายมีความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน เช่น การตัดสินใจหรือการแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ส่วนการสนทนาโดยทั่วไปไม่ได้กำหนดเรื่องที่จะสนทนาไว้ก่อน และอาจเปลี่ยนเรื่องไปได้ต่าง ๆ สุดแต่เหตุการณ์ โดยการอภิปรายประกอบด้วย ผู้พูด ผู้ฟัง หัวข้อเรื่อง และสถานที่

การอภิปราย คือ การพูด การปรึกษาหารือของกลุ่มบุคคล เกี่ยวกับปัญหาใด เพื่อพิจารณาออกความเห็นให้เกิดประโยชน์ หาทางแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

จุดมุ่งหมายของการอภิปราย

  • แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
  • ให้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง
  • รวบรวมความรู้จากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย
  • เปิดโอกาสให้บุคคลได้แสดงออก

การโต้วาที คือ

  • ศิลปะของการพูดระหว่างคณะบุคคลสองฝ่าย
  • การโต้เถียงกันในญัตติ
  • การโต้แย้งด้วยการใช้คำพูดที่ประกอบด้วยเหตุผล

ศิลปะการโต้วาทีมีดังนี้

  • การพูดจาหรือการใช้ภาษา
  • เนื้อหาสาระ
  • ไหวพริบ
  • การวางท่าและกิริยามารยาท
  • การเสนอและการหักล้าง

แบบแผนและจรรยาบรรณของผู้โต้วาทีมีดังนี้

  • เคารพผู้ฟังเมื่อประธานแนะนำ
  • ออกไปพูดเมื่อประธานเชิญ
  • รักษามารยาทในการพูด
  • รักษาเวลาโดยเคร่งครัด
  • รักษาธรรมเนียมการพูด

อ่าน

กระบวนการอ่าน

1. การอ่านจับใจความสำคัญ อ่านเพื่อหาสาระสำคัญของเรื่อง

  • ใจความสำคัญ (Main Ideas)
  • เป็นถ้อยคำภาษาหรือข้อความที่ทำหน้าที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละย่อหน้า
  • หนึ่งย่อหน้ามีใจความสำคัญเพียงประเด็นเดียวเท่านั้น
  • ใจความสำคัญอาจเป็นประโยคความเดียว หรือเป็นเพียงใจความแฝง
  • รายละเอียด (Details) หรือเรียกว่า ส่วนขยาย หรือ พลความ เป็นการขยายใจความสำคัญ อาจเป็นการยกตัวอย่างที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น

วิธีการอ่านจับใจความสำคัญ ดังนี้

  • อ่านเรื่องที่จะจับใจความทั้งหมด และอาจพิจารณาจากชื่อเรื่องเพราะมักจะแสดงแนวคิดสำคัญไว้
  • จับใจความสำคัญทีละย่อหน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ใจความสำคัญและส่วนขยายหรือรายละเอียด

2. การอ่านตีความ การอ่านเพื่อเข้าใจความหมาย ความรู้สึก อารมณ์จากบทประพันธ์ ต้องมีพื้นฐานในการแปล การจับใจความสำคัญ การสรุปความ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของข้อความ

ปัจจัยสำคัญในการตีความ คือ ผู้อ่านต้องเข้าใจเจตนารมณ์ ความหมายของผลงาน เพื่อสรุปว่าผู้เขียนต้องการสื่อหรือเจตนาให้ข้อคิดใดแก่ผู้อ่าน

3. การสรุปหรือย่อความ การอ่านเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้ทราบเรื่องราวทั้งหมดโดยสรุป

  • เก็บใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้า
  • เรียบเรียง และเขียนสรุป

ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านได้

ลักษณะของข้อเท็จจริง

  • มีความเป็นไปได้
  • มีความสมจริง
  • มีหลักฐานเชื่อถือได้
  • มีความสมเหตุสมผล

ลักษณะของข้อคิดเห็น

  • เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก
  • เป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน
  • เป็นข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมย
  • เป็นข้อความที่เป็นเป็นข้อเสนอแนะหรือเป็นความคิดของผู้พูดและผู้เขียนเอง

เขียน

เทคนิคการเขียนความเรียง ได้แก่

  • เขียนเรื่องที่รู้จริง เพราะการเล่าในสิ่งที่เรารู้จริงจะสามารถสื่อความคิดออกมาได้อย่างลึกซึ้ง
  • เขียนถึงมุมหรือจุดเล็ก ๆ เพราะมุมเล็ก ๆ ของการมองเป็นฉนวนสำคัญของการกำเนิดและสะเทือนอารมณ์ที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้อ่านเสมอ
  • เขียนให้รู้สึกเหมือนกับเล่าเพื่อน เพราะการเขียนความเรียง ควรถ่ายทอดอารมณ์ที่ไม่กดดัน และเป็นตัวเองที่สุด เพื่อข้อมูลที่แสดงถึงทรรศนะแท้จริงของผู้เขียน
  • เขียนให้มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น การเขียนความเรียงสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ ทั้งก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

การเขียนความเรียง

1. หัว ตัว ตีน

  • หัว คือ การเปิดเรื่อง เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการเขียน
  • ตัว คือ เนื้อเรื่อง เป็นการการลำดับเรื่องราวที่เขียนให้ชวนติดตาม
  • ตีน คือ ปิดเรื่อง เป็นการเขียนจบเรื่องเพื่อสร้างความระทับใจให้ผู้อ่าน

2. อดีต ปัจจุบัน อนาคต การเขียนให้เห็นอดีต ที่เคยเกิดขึ้นในสังคม เพื่อพัฒนาปัจจุบัน และส่งผลให้อนาคต

3. คำนำ เนื้อหา สรุป หลักการเขียนสอดคล้องกับ หัว ตัว ตีน

สรุปหัวข้อเรียนรู้ข้างต้น คือหัวข้อที่นำมาใช้งานได้จริง เป็นวิชาภาษาไทยที่เรียนสนุก เรียนเร็ว เข้าใจง่าย สำคัญที่สุดนำมาปรับใช้งานได้ “ภาษาไทยมีไว้ให้เรียนรู้”

ที่มา: ThaiMOOC WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย

Visits: 27

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.