ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย | Thai for Contemporary Communication

การเข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ

บทที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาและการสื่อสาร

ในความเปลี่ยนแปลง อันเป็นอนิจจัง และเป็นพลวัต “การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” ดูจะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สมานฉันท์ บนหลักการแห่ง..ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย..ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์            
ความหมายของการสื่อสาร
                การสื่อสารว่า คือ กระบวนการที่บุคคลคนหนึ่ง ถ่ายทอดสารไปยังอีกบุคคลหนึ่งและบุคคลหลังมีปฏิกริยาตอบโต้ โดยใช้สัญลักษณ์คือเครื่องหมายทั้งเป็น ภาษาคือคำพูดและภาษาที่ไม่ใช่คำพูด และปฏิสัมพันธ์นั่นคือปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร
                จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าการสื่อสารเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันเช่น เดียวกับพฤติกรรมอื่น ๆ โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญสองฝ่ายคือ ฝ่ายถ่ายทอดและฝ่ายรับสาร และทั้งสองฝ่ายมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันภายใต้สัญลักษณ์ต่าง ๆ และเกิดการตอบสนอง

ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

  • วัจนภาษา คณาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (2548) ได้ให้ความหมายของวัจนภาษาไว้ว่า วัจนภาษา คือ ภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มีระบบระเบียบวิธีในการใช้สำนวน
  • อวัจนภาษา หรือภาษาท่าทาง คือ การไม่ใช้ภาษาถ้อยคำเป็นตัวสื่อ ผู้รับสารอาจจะสังเกตจากการมองเห็น น้ำเสียงหนักเบา ความสูงต่ำของเสียง ความรู้สึกจากการชิมรส ได้กลิ่น

บทที่ 2 การฟัง

“นักฟังที่ดีจะพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด บางครั้งเขาอาจไม่เห็นด้วยอย่างแรง แต่เพราะการที่เขาไม่เห็นด้วยนั่นแหละ  เขาจึงอยากทราบให้แน่ชัดว่าอะไรที่เขาไม่เห็นด้วย”

ความหมายของคำว่า การฟัง  คือ  ตั้งใจสดับ คอยรับเสียงด้วยหู  ส่วนการได้ยิน หมายถึง “รับรู้เสียงด้วยหู” จากทั้งสองความหมายนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า  การฟังมีความเกี่ยวข้องกับการตั้งใจฟัง ต่างจากการได้ยินซึ่งเป็นเพียงการรับรู้เสียงด้วยหูเท่านั้น

               ความสำคัญของการฟัง  มนุษย์รู้จักรับสารด้วยการฟังมาตั้งแต่เริ่มรับรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดังนั้น การพูดและการฟังจึงเป็น กระบวนการสื่อสารที่มนุษย์ใช้มาก่อนการเขียนและการอ่าน ปัจจุบัน มนุษย์สามารถขยายขอบข่ายของ การติดต่อสื่อสารด้วยการฟังออกไปอย่างกว้างขวาง เช่น แทนที่จะพูดและฟังกันโดยตรงระหว่างบุคคล ต่อบุคคล มนุษย์ยังสามารถติดต่อสื่อสารด้วยการฟังโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือแม้แต่ดาวเทียม มนุษย์ก็ยังสามารถใช้เป็นสื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ถึงแม้การติดต่อนั้นจะอยู่ข้ามทวีปหรืออยู่คนละซีกโลกก็ตาม

องค์ประกอบของการฟัง
                การได้ยิน เป็นขั้นการฟังที่มนุษย์ทำได้ง่าย โดยรับฟังเสียงได้ แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่เคย ได้ยินมาก่อน หรือเป็นภาษาที่ไม่รู้จักก็ตาม
                ความพุ่งความสนใจ เมื่อผู้ฟังได้ยินเสียงพูดก็พุ่งความสนใจไปยังเสียงที่ได้ยินนั้น
                การเข้าใจ ขั้นนี้ผู้ฟังจะต้องรู้จักภาษาหรือคุ้นเคยกับภาษาของผู้พูดเป็นอย่างดี เสียก่อน จึงจะเกิดความเข้าใจ ขณะเดียวกัน ถึงแม้ผู้พูดพูดภาษาเดียวกับผู้ฟังก็ตาม แต่การส่งสารด้วยการพูด มีอุปสรรค หรือไม่เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ของการสื่อสารตามที่ตกลงกันไว้ ก็ไม่สามารถเข้าใจได้ตรงกัน อย่างครบถ้วน ยิ่งถ้าผู้พูดพูดภาษาอื่นที่ผู้ฟังไม่เคยรู้จักมาก่อน ก็ยิ่งสื่อความหมายกันไม่ได้เลย

การตีความ เป็นขั้นของการทำความเข้าใจกับความหมายของสารที่ผู้พูดส่งมาว่า มีเจตนาอันแท้จริงอย่างไร เป็นการมองเรื่องเดิมในแง่ใหม่ซึ่งต้องอาศัยการแปลความเป็นพื้นฐานกล่าวคือ การตีความต้องใช้การแปลความกับความสามารถย่นย่อเรื่องราวต่าง ๆ มารวมกัน การแปลความเพียงแต่ถอด ความซ้ำๆ กับความเดิม แต่การตีความต้องสามารถจับความหมายสำคัญ ๆ ของเรื่องมาเปรียบเทียบสัมพันธ์ กัน เพื่อคาดคะเนหรือหยั่งความสำคัญของเรื่องในแง่มุมใหม่ๆ ด้วย
                การตอบสนอง เมื่อผู้ฟังซึ่งอยู่ในฐานะของผู้รับสารตีความของสารได้แล้ว ก็จะ ตอบสนองกลับ เช่น ยิ้ม หน้าบึ้ง หน้าซีด เลือดขึ้นหน้า หรืออาจเป็นการตอบสนองกลับด้วยคำพูด

 บทที่ 3 การพูดในที่ชุมชน

สามารถแยกได้ออกเป็น 2 ประเภทด้วย
                 – การพูดอภิปราย
                – การพูดโต้วาที

การอภิปราย คือ การพูดจา การปรึกษาหารือของกลุ่มบุคคล เพื่อพิจารณาออกความเห็นให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง การพูดของคณะบุคคลที่มีความประสงค์จะปรึกษาหารือกัน เกี่ยวกับปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เพื่อหาทางแก้ปัญหานั้นหรือเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

จุดมุ่งหมายของการอภิปราย

                1. แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

                2. ให้ทราบข้อมูล ข้อเท็จจริง

                3. รวบรวมความรู้จากบุคคลหลาย ๆ ฝ่าย

                4. เปิดโอกาสให้บุคคลได้แสดงออก

การโต้วาที คือ
                1. ศิลปะของการพูดระหว่างคณะบุคคลสองฝ่าย
                2. การโต้เถียงกันในญัตติ
                3. การโต้แย้งด้วยการใช้ค าพูดที่ประกอบด้วยเหตุผล

จุดมุ่งหมายในการโต้วาที
                1. เพื่อฝึกหาข้อเท็จจริง
                2. เพื่อฝึกฝนการพูดอย่างมีเหตุผล
                3. เพื่อเตรียมคนให้มีลักษณะผู้น าที่ดี
                4. เพื่อพัฒนาความรู้ความคิด
                5. เพื่อฝึกฝนให้เป็นนักฟังที่ดี

 แบบแผนและจรรยาบรรณของผู้โต้วาทีมีดังนี้
                1. เคารพผู้ฟังเมื่อประธานแนะน า
                2. ออกไปพูดเมื่อประธานเชิญ
                3. รักษามารยาทในการพูด
                4. รักษาเวลาโดยเคร่งครัด
                5. รักษาธรรมเนียมการพูด
                6. เพื่อความเพลิดเพลิน
                7. เพื่อส่งเสริมการพูดในระบอบประชาธิปไตย

บทที่ 4 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

4.1 การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

 4.2 กระบวนการอ่าน

การอ่าน เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นกับผู้คนในสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานนและวัยศึกษาเล่าเรียน เพื่อมุ่งในการเรียนรู้ ค้นคว้า เข้าใจสาร (Message) ที่ผู้สื่อสำร (Receiver) ต้องการส่งสาร (Sender) ความบันเทิง รวมถึงการรับรู้ข่าวสาร จะเห็นได้ว่า สังคมปัจจุบันมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ จำนวนมาก ผู้อ่านจึงจำเป็นต้องมีนิสัยรักการอ่าน และจำเป็นต้องรู้หลักการอ่านหนังสือ เพื่อให้อ่านได้เนื้อหาสาระตรงตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อสาร และสามารถนำไปปรับใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

จุดมุ่งหมายในการอ่าน สำหรับจุดมุ่งหมำยในการอ่านนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกันเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง ในการอ่านแต่ครั้งส่งผลก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านทั้งสิ้น โดยแบ่งประเภทของ

จุดมุ่งหมายในการอ่าน ดังนี้

1. อ่านเพื่อศึกษาหาความรู้ การอ่านเพื่อศึกษาความรู้ หรือเพิ่มพูนความรู้ เป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องการสั่งสมความรู้และประสบการณ์ของผู้อ่าน เสริมสร้ำงความรู้หรือ สร้างองค์ความรู้ใหม่ ในสิ่งที่ตนเองต้องการทราบในทำงาน การศึกษาหรือพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นความรู้ที่ได้จากหนังสือประเภท ตำรำทางวิชาการ สารคดีทางวิชาการ งานวิจัยศาสตร์ต่าง ๆ

2. อ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร การอ่านเพื่อรับรู้ข่าวสาร เป็นการอ่านเพื่อรับรู้ ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ประเทศของตน และสังคมโลก ส่งผลให้ผู้อ่านรอบรู้เรื่องราวต่าง ๆ และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นต้นว่า การอ่านาหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร การอ่านหนังสือประเภทบทวิจารณ์ข่าว

3. อ่านเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อความบันเทิง ความเพลิดเพลิน เป็นการอ่านที่ผู้อ่านต้องการความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ความสุข คลายความเครียด โดยการอ่านหนังสือประเภทบันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน บทเพลง เป็นต้น

4. อ่านเพื่อผ่อนคลาย การอ่านเพื่อผ่อนคลำย เป็นการอ่านที่ส่งเสริมให้ผู้อ่านพัฒนาด้านจิตใจ ยกระดับจิตใจ พัฒนา วิจารณาณและค่านิยม เป็นหนังสือที่มีข้อคิดที่ดี ช่วยเสริมสร้างกำลังใจสำหรับผู้อ่านที่มีปัญหาในชีวิตหรือขาดกำลังใจ ให้มีสภาพจิตใจ และแนวคิดที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น เช่น หนังสือธรรมะ หนังสือเข็มทิศชีวิต รวมถึงหนังสือเกี่ยวกับจิตวิทยา

5. อ่านเพื่อความต้องการอื่น ๆ การอ่านเพื่อความต้องการอื่น ๆ เช่น การอ่านเพื่อธุรกิจ เพื่อประโยชน์เฉพาะกิจ อ่านหนังสือสัญญาเงินกู้ จำนอง หรือซื้อขาย หรือผู้อ่านต้องการประกอบอาหารคาวหวาน ก็เลือกที่จะอ่านหนังสือคู่มือการทำอาหารคาวหวาน เป็นต้น

บทสรุป

การอ่านมีความสำคัญกับชีวิตเรามาก เพราะหนังสือได้ถ่ายทอดมันสมองของนักปราชญ์ผู้แต่งไว้เป็น ตำรำ ซึ่งเป็นมันสมองชั้นยอดเยี่ยมของท่าน เราอ่านหนังสือเท่ากับเราถ่ายทอดมันสมองของท่านไว้ในมันสมองของเรา เราก็จะมีมันสมองของนักปราชญ์ ดังนั้นการอ่านเป็นกระบวนการพื้นฐานที่เสริมสร้างองค์ความรู้ความคิด ประสบการณ์ รวมถึงการพัฒนาตนเองทางด้านการพูดและการเขียนให้ดียิ่งขึ้น

Visits: 954

Comments

comments

Back To Top