Tag: Thai MOOC

การสร้างแผนภูมิด้วย Microsoft Excel

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เซลล์ Microsoft Excel (โปรแกรมการคำนวณ) จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนของหัวข้อ Manage Tables and Table Data = จัดการตารางและข้อมูลตารางการทำข้อมูล ในเรื่องของการ Create Charts มาเป็นตัวอย่างที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการจะสร้างแผนภูมิ เพื่อดูผลลัพธ์ของข้อมูลแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแม้คุณจะไม่เก่งเรื่อง Microsoft Excel ก็สามารถทำได้คะ มาเรียนรู้กันเลยนะคะ การสร้างแผนภูมิด้วย Microsoft Excel เตรียมข้อมูลที่ต้องการสร้างแผนภูมิ (ข้อมูลตัวอย่าง) 2. คลิกที่เมนู Insert ที่เมนูด้านบนสุด 3. จะเห็นว่ามีตัวอย่างของแผนภูมิในรูปแบบต่างๆ  อยู่ด้านขวามือ 4. ให้ทำการคลิกคลุมข้อมูลที่เราอยากจะสร้างแผนภูมิ 5. เสร็จแล้วให้คลิกไปที่คอลัมน์แผนภูมิที่เราต้องการ 6. ระบบจะสร้างแผนภูมิให้ตามที่เราต้องการ 7. เราสามารถเปลี่ยนเป็นแผนภูมิในรูปแบบต่าง ๆ ที่เราต้องการได้ตามความเหมาะสม 8. หากเราจะเพิ่มข้อมูลหรือเปลี่ยนข้อมูลในอีก sheet ตัวอย่างเช่น จะเอาข้อมูล “ขนมปัง” ออก ก็ให้ Click เครื่องหมายถูก […]

ทักษะพื้นฐานการซ่อมบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน | Basic Skills in The Maintenance Office

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานมากมายหลายรูปแบบ  หลายยี่ห้อ  แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานและราคา ซึ่งหลักการพิจารณาเลือกใช้เครื่องใช้สำนักงานมีดังนี้        1.  ความจำเป็นในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน  โดยพิจารณาว่าหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทใด เพราะเหตุใด จึงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทนั้น ๆ         2.  ลักษณะงาน  คือการพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานที่นำเครื่องใช้สำนักงานมาใช้ว่ามีประสิทธิภาต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เช่น ได้ผลงานมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และประหยัด มีความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา        3.  ความต้องการของบุคลากร  การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์กรจากการใช้แรงงานคนมาเป็นการใช้เครื่องจักรนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดการว่างงานซึ่งกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากร  เพื่อให้ปัญหา  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนพนักงานและการใช้เครื่องใช้สำนักงานหมดไป ผู้บริหารจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่ามี  ความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่าย มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในงาน ขณะเดียวกันจะต้อง  ไม่เกิดความขัดแย้ง นอกจากนั้นควรคำนึงถึงปัญหาการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทต่าง ๆ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของเครื่องใช้นั้น ๆ ว่าสามารถลดความเบื่อหน่ายจากการทำงานในสภาพเดิมได้ และสามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานรูปแบบเดิมได้ ทำให้พัฒนางานได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   […]

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management […]

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในการทหารและกระทรวงกลาโหม แต่เดิมใช้เพื่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และมีการใช้งานเชิงพาณิชย์และวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัด และการถือกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กรต่างๆ โซลูชันเครือข่ายยุคใหม่ไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อแล้ว แต่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันด้วย ความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานนั้นสามารถตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติและปลอดภัย เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ทำงานแบบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานจริงของเครือข่ายพื้นฐานสามารถแบ่งสัดส่วนตามตรรกะเพื่อสร้างเครือข่าย “ซ้อนทับ” ได้หลายเครือข่าย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบซ้อนทับ โหนดต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงแบบเสมือนจริง และสามารถส่งข้อมูลระหว่างโหนดทั้งสองผ่านอุปกรณ์จริงได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น เครือข่ายองค์กรจำนวนมากถูกซ้อนทับกันบนอินเทอร์เน็ต ผสานรวมในวงกว้าง บริการระบบเครือข่ายสมัยใหม่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายทางกายภาพ บริการเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายผ่านระบบอัตโนมัติและการตรวจสอบเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูงได้ บริการเครือข่ายสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่าย ศึกษา รวบรวม และจัดระเบียบเนื้อหา – […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations)  

ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking )  เป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอันยั่งยืน เคล็ดลับในการมีความคิดสร้างสรรค์  คือ  อย่าหยุดคิด แต่อาจพักได้บ้าง ความคิดสร้างสรรค์ มาจากไหน? จากพรสรรค์  อัจฉริยะ มาตั้งแต่เกิด จากพรแสวง   การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์บ่อย ๆ  ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกพูด  ฝึกลงมือทำ     จนเกิดเป็นความคิดสร้างสวรรค์ สิ่งจำเป็นที่ต้องมี เพื่อเตรียมรับกับความคิดสร้างสรรค์ คือ เชื่อมั่นในตนเองว่าเราทำได้  อย่าปิดกั้นความคิด อย่าหยุดคิด อ่านให้มากจะได้มีไอเดีย มองประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคต มีทิศทางที่ชัดเจน เราได้อะไรจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานที่รวดเร็วขึ้น  ในงานประจําหากปรับเล็กน้อย ฝึกสังเกตุ ฝึกคิดจะสามารถทํางานได้ดีขึ้น รวดเร็วเร็วขึ้น  ลดขึ้นตอนในการทำงาน ทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ ๆ จินตนาการ ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้  ต้องรู้จักว่าเราต้องการทำอะไร  นำเสนอชิ้นงานลักษณะไหน  ดังนั้นแล้ว ก่อนจะเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ความคิด เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการทำงานขึ้นมา  จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องสร้างมุมมอง ทัศนะคติใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจจะได้มาจากการฟัง  […]

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication)  

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์ “๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย” องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม (Culture) เดียวกัน สาร (Message)  คือ เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร อาจจะเป็น ความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของ สาร (Message Code) เนื้อหาของสาร (Message […]

การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives)  

ขั้นแรกในการเปิดมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ คือต้องละวางการตัดสินใจที่อยู่ในใจของเราก่อนและต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น “Empathy” การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ เริ่มต้นด้วยการสำรวจมุมมองในมุมของตนเองในแต่ละพฤติกรรมก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจตัวเองนั้น ไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารในการการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการสร้างความเข้าอกเข้าใจ “Empathy” ด้วยการละวางคำตัดสินในใจ ถ้าเราเอามุมมอง ความรู้สึกของเราไปวัดคนอื่น ว่ามันใช่ หรือ ไม่ใช่ ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้ในใจเรา ก็จะทำให้เกิดความคิดตัดสินใจคนอื่นทันที  มัก จะมีคำว่า ทำไมไม่ทำแบบนี้  ทำไมเป็นแบบนี้  น่าจะทำอย่างนี้นะ  ไม่ไหวเลยนะทำแบบนี้  ถ้าเป็นเราจะทำแบบนี้ ดังนั้นจะต้องลดคำตัดสินใจในใจลงก่อน  ซี่งเป็นประตูบานใหญ่ในการโอบรับความรู้สึกของคนอื่น หากเรามีคำตัดสินในใจ เท่ากับเราปิดประตูในการเปิดรับ การสร้าง Empathy  Empathy  เป็นส่วนซ้อนทับความรู้สึกระหว่างคนสองคนเราและอีกคน เป็นเรื่องมุมมองความคิดต่าง  ๆ ที่มีส่วนร่วมด้วยกัน การสร้าง Empathy  สามารถสร้างได้ด้วยการสังเกต การถามด้วยคำถามปลายเปิดและคำถามปลายปิด เพื่อให้รับรู้ว่าเราเข้าใจเขาถูกต้อง ดังนั้นการสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives)    คือ  การมีมุมมอง มีทัศนคติที่ดี  ดังนั้นแล้ว รายวิชานี้จะเป็นการเปิดมุมมอง ทัศนคติของเราต่อเรื่องราว […]

เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์  (Influencer)

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างมาก เพราะคนยังไม่รู้จักเราและเรายังเป็นมือใหม่คอนเทนต์ที่ทำออกมาอาจยังมีข้อบกพร่องอยู่หรือไม่โดนใจผู้ติดตาม เราต้องทุ่มเทและปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สักวันเราก็จะประสบความสำเร็จเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มากด้วยประสบการณ์และมีผู้ติดตามจำนวนมากในที่สุด การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ดีต้องคุณสมบัติอย่างไรบ้าง 1. มีสไตล์ของตัวเอง           การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งที่จำเป็นประการแรกคือ ต้องเป็นคนที่มีสไตล์ของตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ติดตามเรามักจะติดตามจากตัวตนของเราเป็นสำคัญ เช่น เป็นคนเฮฮา สนุกสนาน จริงจัง หรือรักสวย รักงาม  เป็นต้น 2. มีความน่าเชื่อถือ            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถึงจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายตลกเฮฮา สนุกสนาน แค่ไหนเราก็ต้องมีขอบเขตของความตลก รู้จักกาลเทศะ หากไม่มีขอบเขตเลย อาจจะมีคนชอบแค่ช่วงแรกๆ แต่นาน ๆ ไปผู้ติดตามอาจจะลดลงเพราะทำตัวไม่เหมาะ ถ้ามากเข้าก็อาจถึงขั้นอาจโดนชาวเน็ตแบน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง และการทำงานได้ ดังนั้นถ้าจะให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ติดตาม ก็ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ 3. มีความใส่ใจในการทำคอนเทนต์            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์นอกจากมีความเป็นตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์แล้ว สิ่งที่จะทำให้คนติดตามคือคอนเทนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบภาพ คลิปวิดีโอ หรือบทความ ควรมีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้าน และผนวกกับไอเดียความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ […]

การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ

“การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) เป็นทักษะที่สำคัญมาก ในการสื่อสาร การทำงาน การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพ หากเราเรียนรู้ ที่จะฟัง  เราก็จะได้ความรู้” การฟังอย่างใส่ใจ รายวิชานี้มุ่งเน้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการฟังอย่างใสใจ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน รวมไปถึงทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟังอย่างใส่ใจ รวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านการดูตัวอย่างของการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต                การฟังอย่างใส่ใจ โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแต่ไม่ได้เป็นทุกข์ตามการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ หรือ การฟังสื่อสังคมออนไลน์  ข้อแตกต่างระหว่างการฟังและการได้ยิน    ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การทวนความเข้าใจ การสรุปความ การแสดงความเข้าใจความรู้สึก / ความคิด  และ ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การถาม การใช้เทคนิคการสื่อสารทางจิตวิทยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟัง                   ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้  เมื่อได้ศึกษา เรื่องการฟังอย่างใส่ใจอย่างละเอียดแล้ว  ทำให้รู้สึกว่า จากที่เราเคยคิดว่าเราเป็นผู้ฟังที่ดี  หรือ การฟังเป็นเรื่องง่าย  ๆ ใคร ๆ ก็ฟังเป็นอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด  ในบทเรียนนี้สอนให้เราเป็นผู้ฟังที่ดี  คือ การฟังอย่างเข้าอก […]

Google Scholar เพื่อการค้นหาข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการ

การใช้งาน Google scholar เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ทางวิชาการรับประกันเลยว่าเครื่องมือตัวนี้มีประโยชน์แน่นอน เพราะว่าเวลาเราต้องการหาบทความวิชาการ หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตเครื่องมือตัวนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ๆ ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมตัวนี้ ก่อนอื่นเลยเราต้องเปิดเข้ามาที่ scholar.google.co.th หรืออาจจะเป็น.com ก็ได้ เมื่อเปิดเข้ามาแล้วถ้าเรา Login เข้าด้วยชื่อของ Gmail อยู่แล้วก็สามารถเข้าได้เลย แต่ถ้าใครไม่เคยสมัครบางทีอาจจะต้องกดลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้งหนึ่งตัวอย่างเช่น pthawatc2545@gmail.com แล้วก็ถัดไปใส่รหัสผ่าน เรียบร้อยและเข้ามาสู่หน้าต่างนี้ อันนี้คือ Google scholar เราสามารถ Search article ต่าง ๆ จาก เมนูอยู่ฝั่งซ้ายมือซึ่งจะมีเมนู – my profile – My library – Alerts -Metrics – Advanced Search มาดูเมนูแรกกัน เมื่อกดไปที่ My profile ก็คือหน้าประวัติของเรา ว่าเรามี paper อะไรที่เคยไปอยู่ในระบบของฐานของ Google scholar […]

เทคโนโลยี AR & VR กับการศึกษา

เทคโนโลยี AR & VR กับการศึกษา                 การนําเทคโนโลยีโลกเสมือนก้าวสู่โลกความจริงใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้โปรแกรม ความเสมือนจริง (Virtual Reality : VR) ความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality : AR) และบูรณาการเทคโนโลยีความจริงผสม (Mixed Reality : MR) มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ ทางด้านสื่อการศึกษาที่ผู้เรียนเกิดความสนใจ อยากรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ เกิดปฏิสัมพันธ์เชื่อมโยงเข้าสู่ห้องเรียน นําเอาประสบการณ์เข้าสู่สถานการณ์จริงที่ผสมผสาน กับสถานการณ์เสมือนจริงผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ช่วยส่งเสริมผู้เรียนเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) ผู้เรียนเพื่อเกิดพื้นฐานสังคมวิถีใหม่ (New Normal) รูปแบบการเรียนวิชาสังคมศึกษานำไปใช้ดำเนินชีวิตอย่างใหม่ ที่แตกต่างจากอดีตในการจัดการเรียนการสอน การใช้สื่อเทคโนโลยี  Mixed Reality (MR) ใช้ในห้องเรียนออนไลน์ในปัจจุบันและอนาคตในการสอนที่เกิดประสิทธิภาพที่ดี AR (Augmented Reality) การนำเทคโนโลยีมาผสานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง Real และความเสมือน Virtual เข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ระบบซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น […]

เครื่องมือและช่องทางติดต่อสื่อสารยุคดิจิทัล

  การสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นยุคที่มีผู้คนเผชิญหน้าหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพน้อยลง แต่สื่อสารกันผ่าน “เครื่องมือ” มากขึ้น และสื่อสารอย่างกว้างขวาง บ่อยครั้งมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันเอื้ออำนวยให้มนุษย์สามารถกระทำกิจกรรมได้เกือบทุกอย่างผ่าน เครื่องมือสื่อสารในโลกดิจิทัล ทั้งกิจกรรมการทำงาน การติดต่อเพื่อนร่วมงาน การศึกษา การเรียนการสอน การประชุม สัมมนา การซื้อขายของและบริการ การให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ กิจกรรมบันเทิงทั้งรับชมรายการโทรทัศน์ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ อ่านนิยายและดูคอนเสิร์ตสด ๆ เวลาเดียวกับที่คนเดินทางไปดูในเหตุการณ์จริง การทำข่าว ถ่ายทอดเหตุการณ์สด ตัดต่อคลิป  การทำบุญ การกระทำพิธีกรรมทางศาสนา การระลึกถึงและสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ  ไปจนถึงกิจกรรมทางการเงิน หุ้น เศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ การทหาร และรวมกลุ่มจัดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น       เครื่องมือที่สำคัญมากในการติดต่อสื่อสารในยุคนี้ มีหลายประเภท ได้แก่       1. คอมพิวเตอร์       2. โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต       3. อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้ผลิตสื่อได้ทันทีเพื่อทำให้ภาพสมบูรณ์ […]

Data + AI for Communication: Chatbot โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม | Data + AI for Communication: Build AI Chatbot without Programming

Chatbot คืออะไร Chatbot มาจาก Chat + Robot ก็คือ หุ่นยนต์หรือคอมพิวเตอร์ที่โต้ตอบกับเราได้ ด้วยภาษามนุษย์ อย่างเช่น Botnoi หรือว่า SIRI หรือว่า Google Assistant เราก็โต้ตอบกับเขาได้ อาจจะโต้ตอบกันด้วยการพิมพ์หรือว่าเสียงก็ได้ Chatbot เป็นการสื่อสารแบบ 2 Way Communication นั่นก็คือการคุยกับผู้เชี่ยวชาญ ครู หมอ ตำรวจ เจ้าหน้าที่ Call Center ข้อดีคือ เราสามารถถามไปกลับจนจบความสงสัย แต่ข้อเสียคือจำนวนผู้เชี่ยวชาญไม่ได้มีมากพอ และว่างตลอดเวลาให้เราคุยได้ เราสามารถประยุกต์ใช้ Chatbot ในการให้ข้อมูลกับลูกค้า ข้อมูลสินค้า โปรโมชัน แพ็กเกจ แจ้งสิทธิ สะสมแต้ม ข้อกำหนด สิทธิประโยชน์ การจัดส่ง ถามทาง ถามเวลาเปิด-ปิด หรือให้บริการลูกค้า ซื้อของ สั่งของ จ่ายเงิน สมัครแพ็กเกจ ยกเลิก จองออเดอร์ […]

Back To Top