PDCA : แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย

บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง

จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่

1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง  

3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด

4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด

5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยสำหรับบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดและป้องกันข้อผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และให้รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ และมีคุณภาพมากที่สุด ไม่เกิดความสับสนในการเลือกหัวเรื่องที่ถูกต้องมาใช้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  2. เพื่อลดข้อผิดพลาดของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย
  3. เพื่อลดความซ้ำซ้อนของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย

ขั้นตอนการทำงาน

1. เข้าสู่หน้า Dashboard ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib 

1.1 เข้าสู่หน้า Dashboard

2. เลือก Authority Control และ เลือก Search authority records

3. เข้าสู่หน้าสืบค้นระเบียนหลักฐาน

3.1 เลือกหัวเรื่อง

3.2 เลือกทั้งหมด

4. พิมพ์หัวเรื่องที่ต้องการสืบค้น ตามลำดับตัวอักษร ก-ฮ  และเลือกรายการหัวเรื่องที่ถูกต้อง เพื่อผนวกระเบียน

   ตัวอย่าง หัวเรื่อง อินเดีย

จากตัวอย่าง จะเห็นได้ว่ามีการลงรายการเขตข้อมูล (Tag) ผิดพลาด มีทั้ง Tag 150 และ Tag 151 รายการที่ถูกต้อง คือ Tag 151 หัวเรื่องทางภูมิศาสตร์

5. ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ว่าหัวเรื่องนั้นถูกต้องหรือไม่

https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

6. ที่หน้าระเบียนหลักฐาน ผนวกระเบียน (Merge records) จากหัวเรื่องที่ไม่ถูกต้องไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือ หัวเรื่องไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้

6.1 เลือก Merge records

6.2 เลือกปุ่ม Search records

6.3 พิมพ์หัวเรื่องที่ต้องการ Merge แล้วกดปุ่มตกลง

6.4 เลือกหัวเรื่องที่ต้องการ Merge แล้วกดปุ่มตกลง

6.5 กดปุ่ม Merge record แล้วกดปุ่ม Yes

6.6 กดปุ่ม OK

6.7 กดปุ่ม Save record

6.8 หัวเรื่องมีความถูกต้อง มีสัญลักษณ์ ระเบียนที่สมบูรณ์ สามารถใช้ได้

  

จากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เรื่องแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib พบข้อผิดพลาดและความซ้ำซ้อนของหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง        จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยขึ้น เพื่อลดความซ้ำซ้อนและป้องกันข้อผิดพลาดของหัวเรื่อง เพื่อให้หัวเรื่องมีความถูกต้องสมบูรณ์ และมีคุณภาพมากที่สุด ตามแนวทางการปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. การลงรายการหัวเรื่องในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ให้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาก่อนทุกครั้ง

https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

2. ตรวจสอบหัวเรื่องจากรายการหลักฐานหัวเรื่อง (Subject Authority Control)

2.1 กดปุ่ม Inset Tag 

2.2 พิมพ์ Tag ที่เป็นรายการหัวเรื่อง เช่น Tag 650 แล้วกดปุ่มตกลง

2.3 พิมพ์หัวเรื่องที่ต้องการสืบค้น โดยใส่เครื่องหมาย การพิมพ์ต้องใส่ $  (Subfield) ด้วย   ตัวอย่างเช่น $aกฎหมาย  แล้วกดปุ่ม Search

2.4 หัวเรื่องที่ได้  เลือกหัวเรื่องที่ต้องการ แล้วกดปุ่มตกลง

2.5  กดปุ่ม Save Record ที่หน้าแก้ไขระเบียนบรรณานุกรม

3. จำแนกข้อมูลและลงรายการหัวเรื่องให้ถูกเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 รวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และตัวบ่งชี้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการลงรายการ Tag 600, 610, 611, 630, 650 และ 651

4. ตรวจสอบการสะกดคำ หรือพิมพ์หัวเรื่องให้ถูกต้อง

จากการออกแบบกระบวนการ เรื่อง แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ช่วยให้เกิดผลดีดังนี้

  1. ลดปัญหาบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องไม่ได้ลงรายการไปในทิศทางเดียวกัน
  2. ลดข้อผิดพลาดของหัวเรื่องซึ่งเกิดจากการสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด ไม่ได้ตรวจสอบจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง และฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
  3. ลดความซ้ำซ้อนของหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่าหัวเรื่องเหมือนกัน อยู่ในเขตข้อมูลที่เหมือนกัน แต่ไม่ได้อยู่ในระเบียนหลักฐานเดียวกัน จะต้องผนวกให้มาอยู่ในระเบียนเดียวกัน

ผลลัพธ์จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าว ส่งผลต่อผู้ปฏิบัติงานและงานที่ปฏิบัติดังนี้

  1. เป็นแนวปฏิบัติให้บรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  2. ช่วยให้การกำหนดหัวเรื่องผิดพลาดน้อยลง ซ้ำซ้อนน้อยลง
  3. รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ และมีคุณภาพมากที่สุด
  4. บรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องไม่เกิดความสับสนในการเลือกหัวเรื่องที่ถูกต้องมาใช้

จึงสรุปได้ว่าแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ที่ได้จัดทำขึ้น ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยมาตรฐานเดียวกัน ลดความผิดพลาดและความซ้ำซ้อนของหัวเรื่องได้

ที่มารูปภาพ : https://www.freepik.com/

Visits: 58

Comments

comments

Back To Top