องค์การแห่งการเรียนรู้ | Learning Organization

โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก แนวคิดในการพัฒนาองค์กรก็เน้นในเรื่องความรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และเน้นการนำองค์ความรู้ที่มีมารวบรวม และพัฒนาคน พัฒนาองค์กร

          เมื่อโลกเปลี่ยน สภาพสังคม สภาพแวดล้อมเปลี่ยน คนก็ต้องพัฒนาและเปลี่ยนตาม เพื่อความอยู่รอดในด้านการดำรงชีวิตและการทำงาน ข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานก็ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ที่มี

          ผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ Peter Senge (1990) ซึ่งกล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบัลดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้

1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่

2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้ จาก Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

3. Combination เป็นขั้นตอนที่สามในการแปลงความรู้ขั้นต้น เพื่อการสร้าง Explicit Knowledge จาก Explicit Knowledge ที่ได้เรียนรู้เพื่อการสร้างเป็นความรู้ประเภท Explicit Knowledge ใหม่ ๆ

4. Internalization เป็นขั้นตอนที่สี่และขั้นตอนสุดท้ายในการแปลงความรู้จาก Explicit Knowledge กลับสู่ Tacit Knowledge ซึ่งจะนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการปฏิบัติงาน หรือใช้ในชีวิตประจำวัน

Business education isometric design concept with online school, discussions during training, lecturer and listeners isolated vector illustration

องค์กรที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming (PDCA : Plan, Do, Check, Action)

2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ มีประโยชน์ต่อองค์กรเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program

3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์กรได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก

4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) ฯลฯ

กลยุทธ์ที่จะส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น

1. ปฏิบัติต่อบุคลากรในฐานะผู้เรียนรู้ มากกว่าผู้เข้าฝึกอบรม

2. ส่งเสริมให้บุคลากรมีอิสระ มีกำลังความสามารถ และความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ตลอดเวลา

3. ให้อำนาจความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและของกลุ่ม

4. ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดกลยุทธ์ และการวางแผนการพัฒนาตนเอง

5. เชื่อมโยงผลของการเรียนรู้ของบุคลากร เข้ากับการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง

องค์กรที่ประสบความสำเร็จจะมีค่านิยมต่างๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่

1. บรรยากาศองค์กรที่ให้คุณค่าและรางวัลในการเรียนรู้

2. ทุกคนร่วมกันมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างทั่วถึง

 3. มีความเชื่อถือและความเป็นอิสระ

4. มีการให้รางวัลกระตุ้น สำหรับการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ทดลอง และการยอมเสี่ยง

5. มีการทุ่มเท การจัดสรรงบประมาณสำหรับการอบรมและพัฒนาพนักงาน

6. มีความหลากหลายและมีการสร้างความร่วมมือความหลากหลายทางด้านปฏิบัติการ จะได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อที่จะหาวิธีที่จะบรรลุเป้าหมาย

7. มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและบริการอย่างต่อเนื่อง

8. คุณภาพของชีวิตในการทำงาน องค์กรแห่งการเรียนรู้จะเน้นการพัฒนาของมนุษย์ในสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการร่วมมือและความสุขในการทำงาน

กลยุทธ์การเรียนรู้ หรือ Learning strategy หมายถึง วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบุคลากรและ องค์กร กลยุทธ์ การเรียนรู้ เช่น

1. ประสานความสำเร็จของบุคคลและธุรกิจเข้ากับการเรียนรู้ในองค์กร

2. สร้างการเรียนรู้ให้เข้ากับวิธีการทำงาน หรือกิจกรรมต่างๆ

3. เชื่อมนโยบายด้านพนักงาน เพื่อไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้หนึ่งวิธีที่จะได้ผลมากที่สุด

4. ยกย่องและให้รางวัลแห่งการเรียนรู้

5. มีการวัดผลและเผยแพร่ผลกระทบ รวมทั้งประโยชน์ของกลุ่มที่องค์กรจะได้รับ

6. สร้างโอกาสในการเรียนรู้

7. จัดสรรเวลาเพื่อการเรียนรู้

8. สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและช่องว่างในการเรียนรู้ 9. เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในงานให้มากที่สุด

องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้

1. มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming คือ PDCA ได้แก่ Plan, Do, Check, Action

2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น  Demonstration Project หรือ Ongoing program

3. มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของสมาชิก

4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview) การสังเกต (Observation) ฯลฯ

5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

ที่มา :

โครงการ Thai MOOC (thaimooc.org). องค์การแห่งการเรียนรู้ | Learning Organization. Retrieved 12 เมษายน from https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:CU+CU015+2018/course/

Visits: 1329

Comments

comments

Back To Top