PDCA: เกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี @ CLM

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เราคุ้นเคยและเรียกสั้น ๆ ว่า อีบุ๊ค (e-Book) คือ รูปแบบการนำเสนอข้อมูลที่แสดงผลด้วยภาพ ข้อความ เสียง สีสัน และภาพเคลื่อนไหว อ่านผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องช่วยอ่าน

ความแตกต่างระหว่างหนังสือทั่วไปและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบัน e-Book เข้ามามีบทบาทด้วยคุณสมบัติ:

  • อ่านได้ทุกที่ ทุกเวลา แค่คลิกก็สามารถอ่านหนังสือที่ต้องการได้
  • ไม่ใช้กระดาษ รักษ์โลก
  • เก็บรักษาง่าย ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ ประหยัดค่าดูแลรักษา
  • ค้นหาข้อความ หัวข้อได้ เชื่อมต่อภายในเล่ม และภายนอกได้
  • บันทึกได้ พิมพ์ได้ คัดลอกได้
  • ราคาถูกกว่าในรูปแบบหนังสือ
  • อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ไม่ยับ ไม่เสียหาย

การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเปลี่ยนสังคมเป็นสังคมดิจิทัล อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำกิจกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนเป็นออนไลน์ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน รวมถึงพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การปรับเปลี่ยนทรัพยากรในห้องสมุดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งจำเป็น การอ่านหนังสือ เอกสารผ่านออนไลน์ คลิกเดียวก็เปิดอ่านฉบับเต็มได้ โทรศัพท์มือถือถูกนำมาใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านหนังสือ เพราะใช้งานง่าย สะดวกรวดเร็วและมีอินเทอร์เน็ต ข้อเสียมีเพียงอย่างเดียวคือหน้าจอที่มีขนาดเล็ก

บรรณารักษ์ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้คัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรีเข้ามาให้บริการ โดยไม่มีเกณฑ์การคัดเลือก และพบว่ามีปัญหา:

  • รูปแบบการแสดงผลที่หลากหลาย
  • ชนิดของไฟล์ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • เว็บไซต์ที่เผยแพร่ปิดไปแล้ว

จึงมีความจำเป็นต้องสร้างเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี เพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นระบบ มีมาตรฐานเดียวกัน ได้รับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรีที่มีคุณภาพ ถูกต้องและนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับทราบถึงเกณฑ์ในการคัดเลือกและนำไปปฏิบัติได้ 

PLAN – P

คัดเลือกกระบวนการสร้างเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรีเพราะ:

  1. ประหยัดงบประมาณ
  2. พฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยน
  3. นโยบายผู้บริหาร
  4. ไม่มีเกณฑ์

ขั้นตอนการดำเนินการที่วางไว้

  • กำหนดชื่อเรื่อง ➔ นำเสนอ ➔ เปลี่ยนชื่อเรื่อง ➔ กำหนดวัตถุประสงค์ของกระบวนการ ➔ กำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ ➔ ออกแบบกระบวนการ ➔ นำกระบวนการที่ออกแบบไปทดลองปฏิบัติ ➔ ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขกระบวนการ ➔ จัดทำเอกสาร

DO – D

วัตถุประสงค์ที่สร้างเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี

  • สร้างเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี ที่เป็นมาตรฐานใช้ร่วมกัน เพื่อคัดเลือกให้ได้ free e-Book รูปแบบเดียวกัน
  • เพิ่มคุณภาพ เนื้อหามีความถูกต้อง ครบถ้วน การเผยแพร่ถูกลิขสิทธิ์
  • เพิ่มหนังสือ และช่องทางการเข้าใช้ ผู้ใช้บริการสามารถเข้าอ่านได้ทุกที่ ทุกเวลา  เข้าอ่านพร้อมกันได้ อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถบันทึก พิมพ์ และคัดลอกได้

เป้าหมาย

  • มีเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี เป็นระบบ มีมาตรฐาน ชัดเจน
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี มีคุณภาพนำไปใช้ได้ บันทึก พิมพ์ คัดลอก และมีเนื้อหาครบถ้วนถูกต้อง
  • ลดงบประมาณ เพิ่มจำนวนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ขอบเขต

Free E-book จัดเป็นทรัพยากรประเภทแนะแหล่งสารสนเทศ เพราะมีเพียง URL link ไปยังข้อมูล กระบวนการเริ่มต้นที่ รับระเบียน pre-cat สิ้นสุดที่สามารถเปิดอ่านฉบับเต็มได้

  • สืบค้นระเบียน pre-cat ➔ พิจารณาตามเกณฑ์การคัดเลือก ➔ เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลรายการในระเบียน ➔ บันทึก ➔ ตรวจสอบหน้า OPAC ➔ สามารถเข้าอ่านฉบับเต็มได้

คลิกเดียวเข้าสู่ฉบับเต็ม รูปแบบการแสดงผลที่อ่านง่าย สบายตา เหมือนเปิดอ่านหนังสือหนึ่งเล่ม สืบค้นได้ บันทึกได้ พิมพ์ได้ ถูกลิขสิทธิ์

กระบวนการสร้างเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  • รับระเบียน pre-cat
  • เข้าสู่หน้า dashboard Walai AutoLib
  • สืบค้นชื่อเรื่อง เข้าสู่หน้าระเบียน คัดลอก URL จาก tag 856
  • เปิด web browser วาง URL ที่คัดลอกมา
  • เปิดอ่านหนังสือได้ พิจารณาหนังสือตามเกณฑ์การคัดเลือก
  • หนังสือมีเนื้อหา องค์ประกอบสมบูรณ์ ผ่านตามเกณฑ์ที่วางไว้ หากไม่ผ่านตามเกณฑ์ให้สืบค้น URL ใหม่ จากชื่อเรื่องเดิม แต่หากไม่มีให้สืบค้นชื่อเรื่องใหม่
  • เพิ่มแก้ไขข้อมูลในระเบียน บันทึกระเบียน
  • Link item เปลี่ยนสถานะ
  • ระเบียนถูกต้องสมบูรณ์ กรณีที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระเบียนให้ถูกต้องสมบูรณ์
  • ตรวจสอบการเข้าถึงฉบับเต็มหน้า OPAC
  • เข้าสู่หน้าจอ http://library.wu.ac.th สืบค้นชื่อเรื่อง
  • เข้าสู่ตัวเล่ม คลิก เปิดอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่ / connect to resource
  • เปิดอ่านฉบับเต็มได้ กรณีที่เปิดอ่านไม่ได้ให้สืบค้น URL ใหม่ เข้าไปแก้ไขข้อมูลในระเบียนให้ถูกต้องสมบูรณ์ บันทึก
  • เปิดอ่านฉบับเต็มได้
  • จบ

CHECK – C

สร้างแบบประเมิน Free e-Book ตาม เกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ฟรี

  • รูปแบบการแสดงผลเหมือนเอกสารต้นฉบับ เนื้อหาถูกต้อง สมบูรณ์
  • สามารถ อ่าน บันทึก พิมพ์เอกสารได้
  • การเชื่อมโยงภายในเล่ม สามารถสืบค้นหัวข้อ ใช้คำค้น ภายในเอกสารและไปยังหัวข้อหรือหน้าที่ต้องการได้
  • องค์ประกอบของเอกสาร ปก สารบัญ คำนำ เนื้อเรื่อง อ้างอิง
  • URL ควรเป็น HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure)
  • ลิขสิทธิ์ถูกต้อง และความมั่นคง ถาวร ของหน่วยงานที่เผยแพร่

โดยคัดเลือกระเบียนจาก google sheet ที่รวบรวม free e-Book ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เป็นหนังสือที่คัดเลือกเข้ามาโดยไม่มีเกณฑ์การคัดเลือก นำมาประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ทั้ง 6 ข้อ สุ่มเลือกจากบรรณารักษ์ 6 ท่าน แทนด้วยจำนวนตัวเลข 1-6 และสุ่มเลือกระเบียนด้วยเงื่อนไข หมายเลข 1 ลำดับที่ของระเบียนลงท้ายด้วย 1 หมายเลข 2-6 ลำดับที่ของระเบียนลงท้ายด้วย 2-6 สร้างตารางสำหรับประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตามภาพ

สรุปผลจากการประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็ทรอนิกส์ที่นำเข้ามาให้บริการโดยไม่มีเกณฑ์การคัดเลือก ค่าเฉลี่ยรวมที่ผ่านเกณฑ์ = 82.67% และรายละเอียดผ่านเกณฑ์ในแต่ละข้อตามตาราง ซึ่งก่อนการประเมินได้แอบตั้งค่าเฉลี่ยที่ 90% และค่าประมาณการที่ +/-10

ACTION – A

จบกระบวนการประเมินระเบียน free e-Book ได้พบปัญหาและนำมาปรับปรุงเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ฟรีเพื่อใช้จริงดังนี้

เกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี

  • รูปแบบการแสดงผลเหมือนเอกสารต้นฉบับ เนื้อหาถูกต้องสมบูรณ์ องค์ประกอบของเอกสาร ปก สารบัญ คำนำ เนื้อเรื่อง อ้างอิงถูกต้องสมบูรณ์
  • สามารถ อ่าน บันทึก พิมพ์เอกสาร ย่อ-ขยาย ได้
  • การเชื่อมโยงภายในเล่ม สามารถสืบค้นหัวข้อ ใช้คำค้น ภายในเอกสาร และไปยังหัวข้อหรือหน้าที่ต้องการได้
  • URL ควรเป็น HTTPS (Hypertext Transfer Protocol Secure)
  • ลิขสิทธิ์ถูกต้อง และความมั่นคง ถาวร ของหน่วยงานที่เผยแพร่
  • ต้องมีการตรวจสอบ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL ทุก 90 วัน
  • หนึ่งระเบียน กำหนดให้มี tag 856 สูงสุดได้ 3 tag หมายถึง มีช่องทางการเข้าสูงสุดได้ 3 URL โดยพิจารณารูปแบบที่ผู้ใช้นำข้อมูลไปใช้ต่อได้สะดวก ง่าย เป็นหลัก

เกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี สร้างขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติงาน เป็นระบบ มีมาตรฐานเดียวกัน ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจและรับทราบเกณฑ์และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรีที่ได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น e-Book อ่านได้ไม่จำกัดเวลา สถานที่ อ่านพร้อมกันได้ ลดกระดาษ พกพาสะดวก และถ้าเราจะรวม e-Book เป็นผลิตภัณฑ์สีเขียวด้วยก็น่าจะได้ ลองเปิดอ่าน e-Book ในศูนย์บรรณสารฯ ดูสักเล่ม…เริ่ม

อ้างอิง

สุดท้ายต้องขออนุญาตใช้พื้นที่ขอบคุณผู้มีอุปการะคุณอย่างเป็นทางการสำหรับ PDCA ฉบับจริง ซึ่งคงจะได้เห็นกันในไม่ช้าแต่จะเป็นช่องทางไหนลุ้นเอานะคะ

  • พี่เป้า. (2566). ที่ช่วยปรับเนื้อหาให้ตลอดเวลา. ฝ่ายพัฒนาทรัพยาการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • เฮียชัชช. (2566). draw io : สอนก็แล้ว แนะนำก็แล้ว ปรับให้เลยแล้วกันสำหรับ flowchart สวยงามตามที่เห็น. ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • น้องนัส. (2566). ปรับบทนำ/บทสรุปให้ สุดท้ายเขียนให้(ซะเลย) : และทำหน้าปก blog ด้านบนให้. ฝ่ายพัฒนาทรัพยาการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • น้องจูน. (2566). แนะนำการเขียนอ้างอิงบรรณานุกรม ในรูปแบบที่ถูกต้องสวยงาม. ฝ่ายพัฒนาทรัพยาการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  • น้องหรา. (2566). ปรับความคิด เขียน แก้ไข ออกมาจนเสร็จ. ฝ่ายพัฒนาทรัพยาการสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

Visits: 118

Comments

comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

For security, use of Google's reCAPTCHA service is required which is subject to the Google Privacy Policy and Terms of Use.

Back To Top