พื้นฐาน Internet of Things (IoTs) | Basic Internet of Things (IoTs)

Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน  รวมไปถึงการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงของสิ่งของ ผู้คน ข้อมูลและการบริการ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบรรจุอุปกรณ์สมองกลฝังตัวหรือที่เรียกว่า “embedded system device” เข้าไปใน “สิ่งของ (Things)” หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ตรวจวัดหรือเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลมายังสมองกลและส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางและจัดเก็บในฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า “Cloud Storage” รวมถึงบริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์

Colored isolated semiconductor electronic components isometric icon set with motherboard chips and other elements vector illustration

Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน

ความหมายของ “Internet of Things” โดย Kevin ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้คิดค้นคำว่า “Internet of Things” หรือ IoTs  หมายถึง “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ก็ตามที่สามารถสื่อสารกันได้ก็ถือเป็น “internet-like” หรือพูดง่าย ๆ ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารแบบเดียวกันกับระบบอินเตอร์เน็ตนั่นเอง โดยคำว่า “Things” ก็คือคำที่ใช้แทนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง โดยในเวลาต่อมามีการนำแนวคิด IoTs ไปพัฒนาต่อและใช้ชื่อเรียกที่ต่างกันออกไป เช่น Machine-to-Machine(M2M), Ubiquitous Computing, Embedded Computing, Smart Service หรือ Industrial Internet เป็นต้น

Internet of Things (IoTs) คือ การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องมีคนป้อนข้อมูลไปจนถึงการเชื่อมโยงกันของสิ่งของ ผู้คน ข้อมูลและการบริการเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนเกิดเป็นชื่อเรียกต่าง ๆ ได้แก่ Smart Device, Smart Farm, Smart Car, Smart Grid, Smart Home, Smart Network, Smart Intelligent Transportation เป็นต้น

   การทำงานของ IoTs ประกอบด้วย

  • Smart Device  คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่เฉพาะจุดหรืออุปกรณ์ตรวจวัดค่าต่าง ๆ เป็นจุดเริ่มต้นที่ตอบโจทย์การใช้ IoT โดยจำเป็นต้องมีการบรรจุอุปกรณ์สมองกลฝังตัวหรือที่เรียกว่า embedded system device รวมถึง Microprocessor และ Communication Device อยู่ภายในเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
  • Cloud Computing หรือ Wireless Network สื่อกลางรับส่งข้อมูลจาก Smart Device ไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีทั้งการส่งข้อมูลผ่านระบบ Wireless ไปยังผู้ใช้และการส่งผ่าน Cloud Computer
  • Dashboard คือ ส่วนแสดงผลและควบคุมการทำงานของผู้ใช้อยู่ในรูปของ Device หรือแอปพลิเคชันในคอมพิวเตอร์หรือ Smartphone

ทั้ง 3 ส่วนจะต้องทำงานสอดประสานกันเพื่อให้ระบบทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและต้องทำได้เองโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้มีหน้าที่เพียงติดตั้งและซ่อมแซมอุปกรณ์ รับข้อมูลและอัพเดทการทำงานของ Smart Device ได้โดยตรงผ่าน Dashboard เท่านั้น

Internet of things isometric flowchart on green background with wifi, mobile devices, smart household appliances vector illustration

Internet of Things มีประโยชน์ในหลายด้าน ดังนี้

  1. ช่วยลดต้นทุน
  2. รับส่งข้อมูลรูปแบบดิจิทัลและเป็นปัจจุบัน
  3. ลดภาระงานของบุคลากร
  4. ทำงานตรวจสอบในจุดที่คนเข้าไม่ถึง

ข้อดี  Internet Of Things

  1. เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานและการดำเนินชีวิต
  2. เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการทำงาน
  3. ช่วยลดต้นทุนในด้านต่าง ๆ ลง

ข้อเสีย  Internet Of Things

  1. อาศัยระบบอินเทอร์เน็ต หากไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้อาจเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
  2. ความปลอดภัยของข้อมูล
  3. ความผิดพลาดที่เกิดจากการประมวลผลผิดพลาด

การประยุกต์ใช้ Internet of Things     

สามารถนำมาใช้เพื่อเพื่อความสะดวกในชีวิตประจำวัน ทางด้านสุขภาพ การสื่อสาร การขนส่ง ด้านพลังงาน การบริหารจัดการเมือง อุตสาหกรรมการผลิต การเกษตร ฯลฯ

ที่มา :

โครงการ Thai MOOC (thaimooc.org). พื้นฐาน Internet of Things (IoTs) | Basic Internet of Things (IoTs). Retrieved 12 เมษายน from https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:HU+HU008+2019/course/

Visits: 634

Comments

comments

Back To Top