ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สรุปเนื้อหา รายวิชาใน ThaiMOOC

ความคิดสร้างสรรค์เป็นเป็นการใช้สมองให้สามารถคิดได้หลายทิศทาง หลายแง่มุมและคิดได้กว้างไกล เป็นการขยายขอบเขตของความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ความคิดในการสร้างสรรค์สามารถพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งมีจินตนาการกว้างไกล ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นจินตนาการเหล่านั้น ต้องรับฟังเหตุผล เปิดกว้าง ยอมรับในความคิดและจินตนาการเหล่านั้น

เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์มักเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ มีเหตุผล ไม่คล้อยตามผู้อื่นง่าย ๆ ชอบคิดและทำสิ่งที่แปลกใหม่ สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนได้ ความคิดสร้างสรรค์นั้น ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือโครงสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ในการส่งเสริมให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ โดยบรรยากาศในการดำรงชีวิต ต้องไม่มีการสร้างกรอบหรือมาตรฐานต่าง ๆ มาบีบรัด ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรี

ตรงกันข้ามกับผู้ที่อยู่ในสังคมที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ คือสังคมที่มีลักษณะเผด็จการ ปิดกั้นทางความคิด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีจนเกินไป หากอยู่ในสังคมดังกล่าวความคิดสร้างสรรค์ก็จะชงักลง เช่นการเรียนหนังสือหากเน้นแต่การท่องจำ จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้คิดอะไรใหม่ขึ้นมา ไม่มีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ

กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิด ซึ่งทุกคนสามาถสามารถฝึกได้

 1. ฝึกมองต่างมุม การมองสิ่งเดียวกันแต่แตกต่างไปจากเดิม

 2. ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ โดยลองฝึกสร้างจินตนาการให้กับสิ่งที่เราไม่เคยพบเห็น ไม่เคยได้ยิน

 3. ฝึกขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ โดยการฝึกจินตนาการเพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้ของสิ่งนั้นๆ ช่วย ให้ความคิดของเราไม่ยึดติดกับการตีความสิ่งนั้นเพียงมุมมองเดียว

4. ฝึกตั้งคำถามแบบมองต่างมุม ซึ่งเมื่อพบปัญหาให้ลองตั้งคำถามว่า เรื่องนี้มองได้กี่มุมมอง มีความเป็นไปได้กี่ หนทาง

5. ฝึกเป็นคนไม่พอใจอะไรง่าย ๆ

6. ฝึกกระตุ้นความคิดด้วยคำถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า…”

7. ฝึกมองมุมตรงข้าม ตั้งคำถามและหาคำตอบ

6 เชื่อของเราที่คิดว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น ไปสู่การมองในมุมใหม่ จากนั้นท้าทายตนเองให้หาคำตอบ คำถามเหล่านั้นจะ นำไปสู่การสืบค้น หรือการเห็นภาพใหม่ๆ จากสิ่งเดิมๆ ในเรื่องปกติที่ไม่เคยคิดว่าจะมีความเป็นไปได้

8. ฝึกเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จะไม่จำกัดความคิดไว้ที่ความจริงทั่วไปหรือสิ่งที่เรายอมรับ กัน แต่จะพยายามผสมผสานเชื่อมโยงในสิ่งที่ดูเหมือนเป็นไปไม่ได้ ไม่เคยมีใครทำเช่นนั้นมาก่อน หรือกระทำในสิ่งที่คนอื่น บอกว่าเป็นสิ่งที่ผิดเพี้ยน โดยนำมาคิดต่อ ซึ่งอาจทำให้ได้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ไม่มีใครเคยได้คิดมาก่อน

9. ฝึกคิดทางลัด เป็นการฝึกมองภาพรวมแล้วมุ่งผลไปที่เป้าหมายที่ต้องการได้มาโดยเฉพาะ ดังเช่นการเล่มเกม

 10. ฝึกค้นหาข้อบกพร่องเพื่อพัฒนา

11. ฝึกคิดเองทำเอง โดยลองจดปัญหาของตัวเองออกมาให้มากที่สุด แล้วลองคิดดูว่าคุณจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เหล่านั้นได้อย่างไร

ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ทุกคนสามารถฝึกให้มีความคิดสร้างสรรค์ได้ ดังนั้นเพื่อให้สังคมมีรากฐานการคิดสร้างสรรค์ที่แข็งแรงจึงควรวางรากฐาน ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีความคิดเป็นอิสระ มีความคิดนอกกรอบ ยอมรับในความคิดเห็น ปรับปรุงการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ อันจะเป็นรากฐานสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ อันเป็นหนทางที่นำไปสู่การพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญ รุ่งเรืองเทียบเท่าอารยะประเทศต่อไป

Visits: 78

Comments

comments

Back To Top