เรียนอะไร เทคนิคการถ่ายภาพในแบบสื่อสาธารณะ Shooting techniques for Public Media

เพื่ออะไร ภาพสวย ๆ นำมาใช้งาน ลงในฐานข้อมูล คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด ในนามของ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ได้อะไร

  • ภาพสวยสุด
  • ใช้กล้องมือถือให้คุ้มค่าที่สุด

ถ่ายภาพให้สวยด้วยมือถือ เทคนิคง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้ แล้วทำไมต้องใช้มือถือถ่ายภาพเหตุผลง่าย ๆ คือ

  • ทุกคนมีมือถือติดตัวไปด้วยทุกที่
  • มือถือทุกเครื่องมีกล้องที่ใช้งานได้ง่าย
  • กล้องที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้นทุกวันตามเทคโนโลยี
  • มี Application แต่งภาพที่สามารถ download มาใช้งานบนมือถือได้
  • สร้างมุมมองใหม่ ๆ ให้ภาพถ่าย
  • ส่งภาพเหล่านั้นเข้าสู่สื่อสังคมที่เราต้องการได้ทันที

เทคนิคเล็ก ๆ ประสามือใหม่ ถ่ายอย่างไรก็สวย

  • ทำความสะอาดเลนส์ ใครจะไปรู้เลนส์มือถือเราอาจจะมัว ไม่ใส อันนี้เป็นปัจจัยสำคัญเลนส์ใสเพื่อภาพสวย
  • เลือกจุดโฟกัส ง่ายมากเราสามารถกดล็อกแสงและจุดโฟกัสได้อย่างง่าย ๆ ด้วยการแตะค้างที่หน้าจอของมือถือจนปรากฏไอคอน ล็อค AF/AE แล้วจึงกดชัตเตอร์
  • หลีกเลี่ยงการ Zoom เดินเข้าไปใกล้ ๆ แล้วถ่าย เพราะมือถือไม่เหมาะกับการ Zoom ด้วยประการทั้งปวง
  • นิ่งและนิ่งที่สุดก่อนกดชัตเตอร์
  • ใช้เทคนิคมุมกล้องช่วย กฎสามส่วน เส้นนำสายตา และลองถ่ายมุมแปลกบ้าง
  • เปิดใช้งานจุดตัด 9 ช่อง มือถือทุกรุ่นจะมี Grid เพื่อเปิดใช้งานจุดตัด 9 ช่อง แต่บางรุ่นจะมีฟีเจอร์ Golden Spiral เพื่อเปิดใช้งานสัดส่วนทองคำ
  • Background หรือพื้นหลังก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญ เลือกพื้นหลังก่อนกดชัตเตอร์
  • ถ่ายภาพที่สวยและเป็นธรรมชาติ คือการไม่แต่งเยอะจนเกินไป
  • ใช้ application การตั้งค่า กล้อง ตัวช่วยนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของมือถือที่ใช้

ลองนำเทคนิคง่าย ๆ เหล่านี้ไปใช้ในการถ่ายภาพครั้งต่อไปของคุณดูนะคะ

การจัดองค์ประกอบภาพ ทำภาพถ่ายให้น่าสนใจ

  • จุดตัด 9 ช่อง” หรือ Grid กฎนี้ใช้ได้กับภาพทุกสัดส่วน ในหน้าจอภาพจะมีเส้นขีดแบ่งออกเป็นสามส่วนเท่า ๆ กันทั้งแนวตั้งและแนวนอน จุดที่เส้นแนวตั้งแนวนอนตัดกันจะมีทั้งหมด 4 จุด จุดที่สำคัญที่สุดคือจุดบนขวา ต่อด้วยล่างขวา สาเหตุเพราะคนเราอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา วางจุดที่ต้องการโฟกัสในจุดบนขวา และหากมีจุดโฟกัสรองให้วางไว้ในจุดล่างขวา
  • เส้นนำสายตาดึงความสนใจไปที่จุดโฟกัส เส้นแนวนอน ไม่ควรอยู่กลางภาพ และถ้าเป็นภาพคนไม่ควรมีเส้นแนวนอนในระดับคอหรือศีรษะ เส้นแนวนอนสร้างความรู้สึกที่สงบนิ่งและมั่นคง เส้นตรงหรือเส้นตั้ง แสดงถึงความแข็งแรง มั่นคง สง่างาม เละเส้นโค้ง แสดงถึงความอ่อนโยน ร่าเริง เบิกบานและงดงาม
  • น้ำหนักสี โทนสี มีผลต่อการมองภาพ ภาพสีสว่างขาว สีสว่างหรือสีขาวมาก ลักษณะนี้ให้ความรู้สึกสดใส มีชีวิตชีวา สนุกสนานร่าเริง ภาพสีมืดเข้ม สีมืดมากหรือสีดำมาก ให้ความรู้ที่โศกเศร้าเสียใจ ลึกลับน่ากลัวเคร่งขรึม ภาพสีส่วนสว่างขาวตัดกับสีมืด ให้ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้น สะดุดตา ภาพน้ำหนักสีกลมกลืนต่อเนื่องกัน ให้ความรู้สึกที่ลึก ไกล
  • ช่องว่าง การจัดที่ว่างช่วยเน้นให้จุดโฟกัสเด่น มองภาพแล้วไม่อึดอัด
  • ส่วนเกิน ก่อนกดชัตเตอร์ทุกครั้งมองฉากหลังหรือสิ่งแวดล้อมให้ดี อย่าให้มีส่วนเกินเกิดขึ้นในภาพ
  • สมดุลภาพ การจัดวางให้เกิดความสมดุลในภาพถ่าย

ปัจจุบันมือถือได้พัฒนากล้องให้ใกล้เคียงกับกล้องถ่ายรูปมากขึ้น แต่กล้องมือถือก็ยังมีข้อจำกัดมากมาย การถ่ายภาพจากมือถือให้ดีที่สุด ใช้งานได้คือโจทย์ของผู้เขียน “ใช้ของที่มีอยู่สร้างงานให้ออกมาดีที่สุด

ที่มา:

1. เทคนิคการถ่ายภาพในแบบสื่อสาธารณะ Shooting techniques for Public Media

2. อบรมการถ่ายภาพพื้นฐานกับครู Shine / by ชวนอ่าน

Visits: 88

Comments

comments