รู้ทันภัยไซเบอร์

การกดเข้าไปในเว็บไซต์หรือ link ต่างๆ ที่มากับอีเมล์รู้ไหมว่า.. คุณกำลังเสี่ยงกับไวรัสร้าย ภัยไซเบอร์หากกดเข้าไปดู อาจส่งผลให้เครื่องและไฟล์ต่างๆ ในคอมพิวเตอร์หายไปในพริบตา

แบบที่ 1 เรารู้จักกันในชื่อเรียกว่า Malware มันจะถูกสร้างและออกแบบมา เพื่อให้เข้าไปทำลายระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย

แบบที่ 2 คือไวรัส ช่วงแรกมันถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อก่อกวนและแร่เชื้อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกอีกเครื่องหนึ่ง ต่อมามันถูกพัฒนาขึ้นไปให้มีความสามารถในการทำลายล้างไฟล์ข้อมูล

แบบที่ 3 Trojan หรือเจ้าม้าไม้มันจะแอบซ่อนอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วเวลากลางค่ำกลางคืนหรือตามช่วงเวลาที่ถูกกำหนดไว้ จะทำงานแบบเงียบๆ โดยการส่งไวรัสไปให้เพื่อนๆในรายชื่อ E-Mail ของเรา

แบบที่ 4 Spyware ใครที่ชอบเล่น Internet หรือชอบเข้าเว็บไซต์แปลกๆทั้งหลายมักจะโดนตัวนี้เล่นงานเพราะเป็นโปรแกรมที่อาศัยช่องโหว่ของเว็บไซต์พอเราคลิกดาวน์โหลดปั๊บมันจะเปิดประตูให้ Spywareเข้ามาขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราได้ทันทีอย่างเช่นเข้ามา Hack Password เข้า E-Mail ของเรา

แบบที่ 5 Ransomware จะแตกต่างกับ Malware ประเภทอื่นๆคือไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลผู้ใช้แต่อย่างใดแต่จะทำการเข้ารหัสหรือ Lock ไฟล์ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร หรือรูปภาพ วีดีโอผู้ใช้จะไม่สามารถเปิดไฟล์ใดๆได้เลยหากไฟล์เหล่านั้นถูกเข้ารหัสซึ่งถูกเข้ารหัสก็หมายความว่าต้องใช้คีย์ในการปลด Lock เพื่อกู้ข้อมูลคืนมาผู้ใช้งานจะต้องจ่ายเงินตามข้อความเรียกค่าไถ่

รู้ทันภัยไซเบอร์

ฟังดูน่ากลัวใช่ไหมครับ แต่เราสามารถป้องกันได้เพียงแค่เราติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและเปิดโปรแกรมทำงานอย่าสม่ำเสมอรวมทั้ง Firewall เพื่อป้องกันอันตรายจาก Internet และ Network ภายนอก

วิธีง่ายๆที่เราจะป้องกัน Malware

  1. ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่แน่ใจโดยเฉพาะจากใน E-mail
  2. อัปเดต OS อย่างสม่ำเสมอ
  3. Backup ข้อมูลสำคัญของคุณอยู่สม่ำเสมอ
  4. ติดตั้ง Antivirus และอัปเดตอยู่สม่ำเสมอ

นอกจากคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว ภัยคุกคามจากไซเบอร์ก็สามารถผ่านเข้ามาโดยการใช้งานโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมันก็มาจากการใช้งาน Application บนมือถือหาเราดาว์โหลดโปรแกรมจากแหล่งที่ไม่รู้จัก นั่นก็เป็นช่องโหว่ที่ทำให้มือถือของเราไม่ปลอดภัยได้ ซึ่งผู้ใช้งานไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า โปรแกรมที่ติดตั้งเพื่อใช้ประโยชน์มากมายนั้นจะถูกแฝงมาด้วยภัยคุกคามด้านความปลอดภัยซึ่งเรารู้จักกันในชื่อ Malware ตัวอย่างการถูกคุกคาม เช่น การสั่งให้มือถือเครื่องนั้นส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ออกไปยังรายการผู้ติดต่อในเครื่องมือถือหรือขโมยข้อมูลในมือถือเครื่องนั้น ซึ่งในกรณีผู้ใช้งานเก็บข้อมูลบัญชีธนาคารของตัวเองหรือข้อมูลที่สำคัญไว้ในมือถือก็อาจจะทำให้มีการโจรกรรมข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกไปได้ส่วนใหญ่ในการโจมตีของผู้ใช้งานมือถือด้วยมัลแวร์

รู้ทันภัยไซเบอร์

โดยพบว่าระบบ Android จะมีสิทธิ์โดนมากกว่า iOS เนื่องจาก Android เป็นระบบเปิดที่สามารถนำโปรแกรมทั่วไปมาติดตั้งได้เอง ส่วน iOS ถ้าเรานำไป Jailbreak ก็มีโอกาสการโดนไวรัสเช่นกันเช่นให้คลิกที่ลิงค์ ซึ่งก็ดูเหมือนไม่น่าจะมีความผิดปกติอะไรแต่จริงๆแล้ว มันคือการสั่งให้ดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์ลงในมือถือแทน

วิธีการในการควบคุมและรักษาความปลอดภัยของโทรศัพท์ของเราง่ายๆดังนี้

  1. ตั้งค่ามือถือล็อคเมื่อไม่ใช้งาน
  2. พิจารณาเก็บเฉพาะข้อมูลที่จำเป็น
  3. หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อจากแหล่งที่ไม่รู้จัก
  4. เลือกติดตั้งโปรแกรมในมือถือเท่าที่จำเป็นและจากแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถืออัพเดทเวอร์ชั่นใหม่อย่างสม่ำเสมอ
  5. ใช้มือถือทำธุรกรรมออนไลน์อย่างระมัดระวังและพิจารณาก่อนจะกดลิงก์ทุกครั้ง
  6. ติดตั้งแอพพลิเคชั่นป้องกันไวรัสและสแกนไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

Visits: 22

Comments

comments

Back To Top