จากวิชาการสู่การรักษาจริง: กายภาพบำบัด มวล. ดูแลผู้ป่วยโควิดผ่าน VDO Call

“หอบ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด หรือหายใจได้ไม่เต็มที่”

คือ อาการหนึ่งที่ขึ้นกับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19

ทั้งขณะมีเชื้อ หรือเป็นผลข้างเคียงที่ตามมา

ท่ามกลางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ต้องระมัดระวัง หรืองดเดินทางโดยไม่จำเป็น ขณะที่การรักษาก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องทั้งรักษาผู้มีอาการ และรักษาผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการได้รับเชื้อ หรือลองโควิด อาจารย์หลักสูตรกายภาพบำบัด สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาวลัยลักษณ์นำเทคโนโลยีมาปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางกายภาพบำบัดให้บริการ ดูแลรักษาบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการรักษาทางไกลแบบ Tele Habitacion ด้วยการ vdo call 

ในรายการโทรทัศน์วลัยลักษณ์สู่สังคม ตอน “กายภาพบำบัดกับงานบริการวิชาการในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19” ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เชิญอาจารย์ ดร.คมกริบ หลงละเลิง และอาจารย์ ดร.สลิลา เศรษฐไกรกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรกายภาพบำบัดสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาพูดคุยเกี่ยวกับการนำวิชาความรู้ด้านกายภาพบำบัดมาดูแลผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด-19 โดยมีนางสาวชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ดำเนินรายการ

อาจารย์ ดร.สลิลา กล่าวถึงที่มาที่ไปของการบริการวิชาการด้านกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ว่าเริ่มต้นมาจากโครงการกายภาพบำบัดอาสาพาลมหายใจของสมาคมกายภาพบำบัด ซึ่งตนร่วมเป็นคณะกรรมการอยู่ และได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเนื่องจากโรงพยาบาลมีเตียงไม่พอ ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสที่จะได้รับการดูแลฟื้นฟูด้านจากนักกายภาพบำบัดเหมือนที่อยู่ในโรงพยาบาล

หลักสูตรกายภาพบำบัดจึงได้นำแนวคิด รูปแบบกิจกรรมจากโครงการนี้มาต่อยอดดูแลผู้ป่วยในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประสานงานกับโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการการกายภาพบำบัด

อ. ดร.คมกริบ หลงระเริง ฟื้นฟูผู้ป่วยด้วยวิธี Tele Medicine

สำหรับรูปแบบการรักษา อาจารย์ ดร.คมกริบเล่าว่าจะเป็นแบบ Tele Habitacion หรือ Tele Medicine คือ การฟื้นฟูคนใกล้ทางไกลด้วยการ vdo call ผ่าน application บนมือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ซึ่งปลอดภัยและเกิดประโยชน์ในการรักษาอย่างมาก เพราะจะเห็นสีหน้า ท่าทางอาการของคนไข้ และสามารถปรับแก้ท่าทางการทำกายภาพให้ถูกต้องได้ทันที แม้จะไม่เจอตัวตนจริงก็ตาม

ซึ่งในผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่อาการหลัก ๆ ที่พบ คือ หายใจเหนื่อย หอบ ซึ่งผู้ป่วยควรจะหนุนหมอนให้สูง หรือถ้าอยู่ในท่านั่งจะแนะนำให้ก้มตัว เพื่อลดการทำงานของกะบังลม จะช่วยให้ผู้ป่วยเหนื่อยน้อยลง เป็นต้น

ติดตามชมเนื้อหาวลัยลักษณ์สู่สังคม ตอน “กายภาพบำบัดกับงานบริการวิชาการในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19” ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=IGDbW3fER-w&t=1311s

สำหรับกายภาพบำบัด (Physical Therapy) นั้น คือ ศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพแขนงหนึ่งที่ส่งเสริม ป้องกัน รักษา และจัดการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของร่างกายมนุษย์ด้วยการออกกำลังกาย และใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเคลื่อนไหวตามปกติให้ได้มากที่สุด

กายภาพบำบัด จะกระทำโดย นักกายภาพบำบัด Physical Therapist หรือเรียกย่อว่า PT โดยจะมีนักกายภาพบำบัด ภาษาอังกฤษ คือ Physical Therapist หรือเรียกย่อว่า PT เป็นผู้ทำการรักษา

การรักษาด้วยกายภาพเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย ได้แก่

  • ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ การรักษาฟื้นฟูกล้ามเนื้อและกระดูก ฟื้นฟูผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือการรักษาผู้ที่มีอาการป่วยเฉียบพลัน โดยเฉพาะกลุ่มนักกีฬา ที่ปัจจุบันนี้นักกายภาพบำบัดจะประจำอยู่ตามทีมฟุตบอลต่าง ๆ ด้วย
  • ระบบประสาท เช่น ผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ/แตก, ผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท โรคไขสันหลังได้รับบาดเจ็บ
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ-ปอด โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือผู้ป่วยที่ผ่านตัดทางเดินหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

Visits: 7

Comments

comments

Back To Top