การรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ด้วย Google Data Studio

 

1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

                    การปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้ดี และสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูงต่อการจัดการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้น ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้พัฒนาแผนงานให้มีทรัพยากร บริการ กิจกรรม และโครงการพิเศษที่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างหลากหลายต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยได้เร่งพัฒนาระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วน เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยรองรับการเรียนการสอน Active learning อย่างมีประสิทธิภาพ

                   ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom ถือเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้ดี และสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูงต่อการจัดการศึกษา โดยห้องเรียนอัจฉริยะมีจุดเน้นด้านของการมีปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันกับเทคโนโลยีที่หลากหลายของสื่อในรูปแบบ ต่าง ๆ

                    ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนกระบวนการการเรียนการสอน การสรุปผลและการรายงานผลเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการศึกษา การใช้โปรแกรม Google Data Studio เพื่อสร้างการรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห้องเรียน โดยผู้บริหารที่ต้องการติดตามสถิติการใช้งานห้องเรียน Smart Classroom เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล การใช้ Google Data Studio เพื่อนำเสนอข้อมูล การใช้ห้องเรียน Smart Classroom

1.2 วัตถุประสงค์

       1.2.1 เพื่อแสดงผลการดำเนินงานที่สะดวกและเข้าใจง่าย

       1.2.2 ประหยัดเวลาในการจัดทำรายงานผล

        1.2.3 เพื่อติดตามอุปกรณ์ที่ต้องการการซ่อมแซมหรืออัพเกรด

1.3 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

      1.3.1 มีการรับรู้การรายงานผลร่วมกันในทีม

      1.3.2 ประหยัดเวลาในการจัดทำรายงานผล

      1.3.3  การส่งเสริมการให้บริการ

 1.4 ขอบเขตของผลงาน

       ด้านเนื้อหา ครอบคลุมขั้นตอนของการประเมินการใช้ห้องเรียน Smart Classroom โดยการ นำผลประเมินที่อยู่
ใน Google Form เพื่อนำไปใช้ในการสร้างรายงาน ในการสร้างแผงควบคุมออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับ
Google Sheets เพื่อแสดงผลผ่าน Google Data Studio

       ด้านเวลา มกราคม 2566 ถึง กันยายน 2566

       ด้านสถานที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

1.5 คำนิยาม

                   1. ระบบสนับสนุนการเรียนการสอน Smart Classroom หมายถึง การนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมภายในห้องเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ โดยการนำนวัตกรรม เครื่องมือที่ทันสมัย

                   2. การประเมินผลการใช้ห้องเรียน คือ การประเมินการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนการตรวจสอบว่าการใช้เทคโนโลยีสื่อสารและการสอนในห้องเรียนมีประสิทธิภาพหรือไม่

                   3. Google Data Studio (GDS) คือ เครื่องมือฟรีที่แสดงผลข้อมูลรายงานในรูปแบบรูปภาพ (Data Visualization) ที่มาจาก Google Analytics

2. การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)

          2.1 การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง

               2.1.1 นโยบายของผู้บริหาร (80%)

               2.1.2 การรับรู้และความสะดวกในการรับทราบผลของทีมคณะทำงาน (20%)

2.2 การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model

ตารางที่ 2 กระบวนการการรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ด้วย Google Data Studio นำมาเป็นตารางการวิเคราะห์ SIPOC Model

2.3 การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข

                2.3.1 การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค

SWOT เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก

ปัญหาอุปสรรค

1. การรายงานแบบเอกสารอาจต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนและมีการรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งการ
รวบรวมข้อมูลและเตรียมเอกสารในการรายงานอาจใช้เวลานานและเสี่ยงต่อความผิดพลาด

แนวทางการแก้ไข

1. โปรแกรม Google Data Studio มาใช้ เพราะโปรแกรมนี้สามารถเชื่อมต่อทำงานร่วมกับ Google Sheet
ได้อย่างสะดวก ง่ายในการเข้าถึง

2. โปรแกรมการรายงานผล Google Data Studio สามารถรายงานผลได้โดยผ่านทาง Link ในระบบเครือ
ข่ายอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเข้าถึงรายงานผลได้ตลอด
 3. การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)

           3.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของกระบวนการ                    การศึกษาความต้องการก่อนที่จะเริ่มต้นออกแบบรายงานใน Google Data Studio (GDS) โดยเริ่มด้วยการวางแผนและเข้าใจความต้องการของรายงานที่ต้องการสร้าง เช่น ประเภทของข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ เป้าหมายการรายงาน และผู้ที่จะใช้รายงานนี้พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ห้องเรียน Smart Classroom

3.2 การกำหนดผลลัพธ์และตัวชี้วัดของกระบวนการ

           Output : 

                   1. มีข้อมูลการประเมินการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ข้อมูลการประเมินความพึงพอใจและประสิทธิภาพในการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ที่รวบรวมจาก Google Form

                   2. ได้แผงควบคุมออนไลน์ (Google Data Studio) แผงควบคุมออนไลน์ที่การรายงานผลในรูปแบบ Google Data Studio โดยสามารถใส่เป็นรูปแบบกราฟและแผนภูมิ แทรกในการรายงานผลได้ทำให้การรายผลเข้าใจได้ง่าย

 3.3  การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการ

3.3.1 กำหนดวัตถุประสงค์และข้อมูลที่ต้องการ โดยการระบุวัตถุประสงค์ของรายงาน รายงานนี้ควรจะ
สนับสนุนการตัดสินใจหรือการปรับปรุงใด ๆ

3.3.2 เก็บรวบรวมข้อมูล กำหนดว่าจะเก็บข้อมูลจากแหล่งใด ๆ และวิธีการในการเก็บข้อมูล แต่ควรใช้
ข้อมูลที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

3.3.3 ออกแบบรายงาน ออกแบบรายงานใน Google Data Studio

3.3.4 ทดสอบและปรับปรุง ทดสอบรายงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเรียบร้อย

3.3.5 การเผยแพร่หลังจากที่รายงานพร้อมใช้งานและผ่านการทดสอบ

3.4 การนำกระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงไปทดลองปฏิบัติ          

จากการออกแบบและพัฒนากระบวนการ การรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom รายงานผลด้วย Google Data Studio

4. การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)           

การตรวจสอบผลการปรับปรุง เพื่อประเมินผลว่าการปฏิบัติงานกระบวนการที่ปรับปรุงใหม่ (To be) มีปัญหา อุปสรรคต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการทำงาน ข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงาน โดยสำหรับการพัฒนากระบวนการนี้ ผู้ปฎิบัติงานได้จัดทำแผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)

5. การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)

5.1 การปรับปรุงแก้ไขโดยจัดทำมาตรฐานเป็นกระบวนการ

5.1.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานห้องเรียน Smart Classroom อย่างครบถ้วน รวมถึงข้อมูลเชิง
สถิติเช่น การใช้งานอุปกรณ์ ความถี่ในใช้ห้องเรียน และข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

              5.1.2 กำหนดวัตถุประสงค์และหลักการที่ต้องการให้รายงาน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเชิงสถิติหรือข้อมูล
สำคัญที่ต้องการนำเสนอ

5.1.3 ใช้ Google Data Studio ในการออกแบบรายงาน

5.1.4 สร้างเชื่อมโยงและกรองข้อมูลใช้คุณสมบัติที่มีอยู่ใน Google Data Studio เพื่อสร้างเชื่อมโยงระหว่าง
ชาร์ตและกรองข้อมูลในรายงาน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกและแสดงข้อมูลตามความต้องการ

5.1.5 การแก้ไขและปรับปรุงหากมีความต้องการปรับปรุงหรือแก้ไขในรายงาน

5.1.6 สร้างมาตรฐานจัดทำมาตรฐานและคู่มือที่อธิบายกระบวนการการรายงานและข้อกำหนด

5.1.8 การประเมินและปรับปรุงตรวจสอบการรายงานและมาตรฐานการรายงานเป็นระยะ ๆ เพื่อปรับปรุง
ตามความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ใช้ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

6.  สรุปและข้อเสนอแนะ

6.1 สรุปผลการดำเนินงาน

           การรายงานผลการประเมินการใช้ห้องเรียน Smart Classroom มีขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่การส่งแบบสอบถามไปที่สำนักวิชาต่าง ๆ และกำนหนดระยะเวลาในการตอบแบบสอบถาม เมื่อถึงกำหนดการทำแบบสอบถามการใช้ห้องเรียน Smart Classroom แล้ว ก็เข้าไปเก็บข้อมูลใน Google Drive และไฟล์งานที่อยู่ในรูปแบบ Google Sheet ต่อจากนั้นก็ทำการสรุปผลแบบสอบถาม และไปจัดทำรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ในรูปแบบเอกสาร Microsoft Word เพื่อรายงานผลการประเมิน ซึ่งจะทำให้การรายงานผลล่าช้ามากเพราะต้องส่งเอกสารการประเมินเป็นขั้นตอนรายงานผลตามลำดับจึงได้นำโปรแกรม Google Data Studio มาใช้ในการรายงานผล การรายงานผลการใช้ห้องเรียน Smart Classroom ทำให้การสร้างรายงานผลสามารถรายงานผลได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม การเข้าดูผลการรายงานผลก็สะดวกโดยแชร์ลิงค์ให้ผู้บริหารและคณะทำงานก็สามารถดูผ่านเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา ทำให้มีการรับรู้ร่วมกันระหว่างผู้บริหารและคณะทำงาน ในกระบวนการดังกล่าวสามารถรายงานผล การใช้ห้องเรียน Smart Classroom ได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ตรงวัตถุประสงค์ที่วางไว้

6.2 ข้อเสนอแนะ

           1. ควรเชิญผู้ใช้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการตัดสินใจและการออกแบบรายงาน ซึ่งจะช่วยให้รายงานตอบ
สนองความต้องการของผู้ใช้

           2. ควรศึกษาโปรแกรมใหม่ๆ มาใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพและกระบวนการในการทำงาน

รูปแบบการรายงานผลด้วย Google Data Studio

Visits: 92

Comments

comments

Back To Top