PDCA : การควบคุมระบบปรับอากาศ อาคารศูนย์บรรณสารฯ

ปัจจุบันระบบเครื่องปรับอากาศนับเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้สำหรับสำนักงานต่าง ๆ ส่วนมาก
จะนิยมใช้เพื่อให้ความเย็นสบายภายในอาคารที่ปฏิบัติงานหรือห้องอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ลูกค้า เพราะจะทำให้วันที่อากาศร้อนอบอ้าวกลายเป็นวันที่เย็นได้อย่างสบายๆ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดไม่รู้สึกหงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีความสุข

ศูนย์บรรณสารฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรปฏิบัติงานในวิชาชีพเพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด เช่น นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ภายในอาคารมีระบบเครื่องปรับอากาศและซิลเลอร์ทำความเย็นแบบรวม กระจายความเย็นทั่วอาคารทั้ง 3 ชั้น ทำให้สถิติการไฟฟ้าของอาคารสูงเป็นอันดับต้น ๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 100,000-300,000 บาท โดยเฉพาะในส่วนของระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 60-70% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร

จากการศึกษาระบบเครื่องควบคุมระบบปรับอากาศแบบรวม พบว่าใช้โปรแกรมซอฟแวร์ควบคุม ชื่อว่า IX Chiller plant System เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติและแสดงหน้าจอการทำงานแบบ Real Time สามารถป้อนค่าหรือคำสั่งต่าง ๆ ให้ระบบทำงาน เช่น การตั้งเวลา เปิด – ปิด หรือการปรับตั้งค่าอุณภูมิ ตลอดจนควบคุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบปั๊มน้ำเย็น ปั๊ม Condenser และตู้ Cooling เดิมทีการตรวจสอบและป้อนคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของงานระบบปรับอากาศ ส่วนบริการกลางที่ดำเนินการซึ่งไม่ค่อยมีเวลามาตรวจสอบและป้อนคำสั่งเนื่องจากมีงานภารกิจดูระบบรป ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมระบบปรับอากาศมีความเหมาะสมกับการใช้งานและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่แทนบุคคลของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศได้โดยตรง สามารถลดคน ลดเวลาในการในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วในการแก้ปัญหาแบบทันท่วงทีเมื่อเกิดปัญหากับระบบปรับอากาศ เพื่อเพิ่มความพึงพอให้กับบุคลากรและผู้ใช้บริการภายในอาคาร การปรับตั้งลดเวลาหรือปรับลดอุณภูมิให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในแต่ละวันเพื่อลดชั่วโมงการทำงานให้
น้อยลงทำให้สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าอย่างเห็นได้ชัด สามารถกำหนดหรือวางแผนการลดใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย

การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan-P)
เนื่องจากระบบปรับอากาศศูนย์บรรณสารฯ ปัจจุบันขาดการ Maintenance จากบริษัทที่ทำการติดตั้งระบบเนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณ ประกอบกับระบบปรับอากาศของอาคารผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลาหลายปี และในบางเวลาระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัยเกิดการดับและไฟฟ้าตกบ่อยครั้งทำให้เกิดปัญหา (Chiller) ระบบปรับอากาศ เกิดการ Alarm บ่อยครั้ง และเมื่อเกิดปัญหาในแต่ละครั้งต้องดำเนินการประสานงานและแจ้งซ่อมในระบบหลายขั้นตอน ซึ่งกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ทำให้เกิดปัญหาความร้อนภายในอาคารส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการ

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)          
วัตถุประสงค์ของกระบวนการ
1. เพื่อลดขั้นตอน ลดเวลาในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศ
2. เพื่อลดการใช้พลังงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ตามนโยบายมหาวิทยาลัย
3. เพื่อลดปัญหาข้อร้องเรียนจากสภาพอากาศภายในอาคารร้อนเมื่อระบบปรับอากาศเกิดปัญหา
    ได้ทันตามเวลาที่กำหนด
ผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ
1. สามารถลดคน ลดเวลา ลดขั้นตอน ของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศ
2. สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
3. สามารถลดข้อร้องเรียนในเรื่องของสภาพแวดล้อมภายในอาคาร
4. สร้างความพึงพอใจให้บุคลากรและผู้ใช้บริการในเรื่องของระบบปรับอากาศภายในอาคาร

การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและอุปสรรค

แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

ลำดับที่ปัญหาอุปสรรคแนวทางแก้ไข
Supplier1. ไม่มีคนรับผิดชอบตรวจสอบโดยตรงจากงานช่างเหมาระบบปรับอากาศ
2. ไม่ตรวจเช็คและตรวจสอบระบบก่อนการใช้งาน
3. อุปกรณ์ผ่านการใช้งานมาหลายปีหรือขาดการบำรุงรักษาตามระยะที่กำหนด  


1. เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงเพื่อปฏิบัติงานแทนนายช่างเทคนิคงานช่างเหมาระบบปรับอากาศฯ
2. ทำหน้าที่ในตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน
3. ดำเนินการติดตามตรวจสอบและแจ้งซ่อมบำรุงในส่วนที่ชำรุดหรือแจ้งซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้ตรงตามระยะเวลา
Input1. นายช่างเทคนิคงานช่างเหมาระบบปรับอากาศ ส่วนบริการกลางไม่สามารถมาดำเนินการตรวจสอบและป้อนคำสั่งควบคุมการทำงานระบบปรับอากาศได้ทุกวัน
2. เกิดความล่าช้าในกระบวนการตรวจสอบเนื่องจากไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง
3. ขาดทักษะทางด้านช่างที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศ


 
1. เรียนรู้การทำงานของระบบป้อนคำสั่งเพื่อปฏิบัติงานแทนนายช่างเทคนิคงานช่างเหมาระบบปรับอากาศส่วนบริการกลาง
2. ศึกษาและเรียนรู้วิธีการในกระบวนการตรวจสอบด้วยตนเอง
3. ศึกษาและเรียนรู้จากคู่มือการควบคุมระบบปรับอากาศ รวมทั้งฝึกปฏิบัติจริงที่ได้รับการถ่ายทอดจากช่างเทคนิคระบบปรับอากาศส่วนบริการกลาง
Process1. ไฟฟ้าดับหรือตกบ่อยครั้งทำให้ระบบปรับอากาศเกิดปัญหา Alarm ไม่สามารถใช้งานได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่สามารถแก้ไขได้แบบทันท่วงที
2. เกิดความร้อนภายในอาคารส่งผลกระทบต่อปฏิบัติงานของบุคลากรและผู้ใช้บริการห้องสมุดจึงเกิดการร้องเรียนในเรื่องของความร้อนภายในอาคารบ่อยครั้ง 3. ค่าพลังงานไม่สามารถลดได้ตามเป้าหมายที่กำหนด 4. คะแนนประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บุคลากรและผู้ใช้บริการต่ำ









1. หากมีประกาศแจ้งเตือนการดับไฟฟ้าดำเนินการสั่ง Off ระบบซิลเลอร์เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา Alarmหากเกิดจากปัญหาไฟ้ฟ้าตก ดำเนินการแก้ไขปัญหา Alarm เบื้องต้น กรณียังใช้งานไม่ได้แจ้งซ่อมในระบบและประสานงานทางโทรศัพท์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาแบบทันท่วงที
2. ประกาศและแจ้งข่าวสารการเกิดปัญหาแต่ละครั้งให้บุคลากรและผู้ใช้บริการรับทราบสาเหตุการเกิดปัญหาพร้อมทั้งดำเนินการกำหนดช่วงเวลาที่แก้ปัญหาให้แล้วเสร็จได้เพื่อลดการร้องเรียน
3. ประมวลผลค่าไฟฟ้าประจำเดือนและประเมินผลการใช้พลังงานประจำเดือนวิเคราะห์สาเหตุแล้วนำมาวางแผนในเดือนถัดไป
4. สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการโดยแจ้งเหตุการณ์ที่ไม่ปกติรับทราบทันทีเพื่อให้ทราบสาเหตุการเกิดปัญหา

การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)
1. การมีหน้าจอระบบอัตโนมัติซึ่งสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศแบบ Real Time ได้ สามารถลดเวลาการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องเสียเวลาไปตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศจริงที่อยู่ชั้นดาดฟ้า ลดเวลาการตรวจสอบได้จากเดิมครั้งละ 30 นาที เหลือใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 5 นาที ลดลงจากเดิม 25 นาที
2. ข้อดีของการตรวจสอบหน้าจอแบบ Real Time คือสามารถลดขั้นตอนในการตรวจสอบและปฏิบัติงานจากเดิมต้องตรวจสอบระบบจริงที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 ขั้นตอนเหลือเพียง 1 ขั้นตอน เพราะระบบอัตโนมัติสามารถมองเห็นส่วนประกอบและการทำงานของระบบปรับอากาศทุกส่วน เมื่อเกิดปัญหาทำให้รู้ว่าส่วนประกอบใดของระบบปรับอากาศเกิดปัญหา ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดไม่ต้องเสียเวลาไปไล่ตรวจสอบระบบจริง ทำให้สามารถการแก้ไขปัญหารวดเร็วขึ้น(ส่วนประกอบระบบรวมของระบบปรับอากาศจะประกอบด้วย Chiller 1 และ 2, ตู้ Cooling 1 และ 2, ปั๊มน้ำร้อน (Condenser) 2 ตัว, ปั๊มน้ำเย็น (Chill) จำนวน 5 ตัว และตู้ Ozone น้ำ 1 ตู้ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดแสดงที่หน้าจออัตโนมัติที่เดียว)
 3. ข้อดีการมีหน้าจอระบบอัตโนมัติผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องและคนอื่น ๆ สามารถดูและตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศได้ เพราะเมื่อระบบเกิดปัญหาหน้าจอก็จะฟ้องระบบที่ไม่ปกติโชว์ (Alarm) ไปสีแดงกะพริบที่จอระบบอัตโนมัติทำให้สามารถรู้ว่าระบบเกิดปัญหาและประสานผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขต่อไป ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถดูแลระบบได้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้และช่วยกันขับเคลื่อนการรวมบริการประสานภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานได้
4. ข้อจำกัดการตรวจสอบหน้าจออัตโนมัติหรือแบบ Real Time ในบางครั้งพบว่าถ้าหากไม่ขึ้นไปตรวจสอบระบบการทำงานของระบบปรับอากาศจริงจะปัญหาเรื่องระบบน้ำในถัง Cooling สกปรกเป็นตะไคร้น้ำมากในบางช่วง ทำให้การทำงานของระบบปรับอากาศไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาดำเนินการล้างก่อนเวลาที่กำหนด
5. เนื่องจากส่วนประกอบการทำงานของระบบปรับอากาศผ่านการใช้งานมาหลายปีทำให้สภาพการใช้งานเกิดการชำรุดหรือเสียบ่อยครั้งทำให้การตรวจสอบระบบจริงต้องดำเนินการสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบมีความพร้อมก่อนการใช้งานและยังเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)
การปรับปรุงคุณภาพของการดำเนินงานแสดงให้เห็นว่าในแต่ละขั้นตอนของงานกระบวนการใหม่ที่ปรับปรุงใหม่ได้รวมขั้นตอนเพื่อให้น้อยลงและสามารถที่จะปฏิบัติงานแทนบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงได้เป็นอย่างดี ซึ่งผล
ที่ตามมาคือสามารถลดคน ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา รวมทั้งสามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับหน่วยงาน  ซึ่งกระบวนการที่ปรับปรุงใหม่การปฏิบัติงานจะมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเนื่องจากเป็นเจ้าของพื้นที่สามารถดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแบบเร่งด่วนเฉพาะหน้าได้ทันที เนื่องจากสามารถรับรู้สาเหตุของปัญหาและข้อกำจัดที่เกิดขึ้นจากระบบปรับอากาศ  ทำให้งานที่ปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานในบางขั้นตอนของการปรับปรุงอาจจะเพิ่มขั้นตอนการตรวจสอบเพื่อป้องกันความเสียหายและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบปรับอากาศเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือเสียหายในวงกว้างเพราะเมื่อระบบมีการซ่อมแซมในแต่ละครั้งจะมีงบประมาณที่ซ่อมแซมสูงมาก ดังนั้นเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าวกระบวนการที่ปรับปรุงใหม่นี้จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้เป็นอย่างมาก และจากผลแบบประเมินที่ได้จากการปรับปรุงกระบวนการใหม่แล้วพบว่า การเกิดปัญหาของระบบปรับอากาศมีน้อยลงเนื่องจากมีแผนการดำเนินงานในการตรวจสอบและควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาบ่อยเหมือนก่อน ก็สามารถลดข้อร้องเรียนในเรื่องสภาพอากาศภายในอาคารลดน้อยลงด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มความพึงพอใจของบุคลากรและผู้ใช้บริการห้องสมุดในเรื่องของสภาพอากาศภายในสำนักงานได้

สรุปผลการดำเนินงาน
สุรปผลการปรับปรุงกระบวนการในภาพรวมแสดงให้เห็นว่า
1. สามารถลดคน ลดเวลา ลดขั้นตอน ของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศ จากผลการคะแนนตอบแบบประเมินงานซ่อมบำรุงรักษาและจ้างเหมาระบบปรับอากาศ พบว่าสามารถช่วยในการเรื่องการปฏิบัติงานแทนบุคคลของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศ คือส่วนบริการกลาง ซึ่งการตรวจสอบการตั้งค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับซอฟแวร์ควบคุมระบบปรับอากาศจากเดิมคืองานบริการกลาง เปลี่ยนมาเป็นบุคลากรศูนย์บรรณสารฯ รับผิดชอบแทนในเบื้องต้นสามารถที่จะลดคนที่ปฏิบัติงานแทนได้ 1 อัตรา/ปี ลดเวลาในการมาปฏิบัติงานของส่วนบริการกลางอย่างเดือนละ 2 ครั้ง เวลาในการปฏิบัติงานเฉลี่ยครั้งละ 90 นาที และเมื่อเกิดปัญหาจากเดิม 4 ขั้นตอน คือ  1. แจ้งซ่อมในระบบ 2. ประสานงานการแจ้งซ่อม 3. ประสานงานช่างระบบปรับอากาศบริการกลาง 4. ดำเนินการตรวจสอบตั้งค่าหรือแก้ไขปัญหาซึ่งกระบวนการใหม่ที่ปรับปรุงสามารถดำเนินการได้เอง สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานได้จากเดิม 4 ขั้นตอนเหลือเพียง 1 ขั้นตอน

          การคำนวน       เวลาในการตรวจสอบเฉลี่ย 2 เดือน/ครั้ง
                             การปฏิบัติงานเฉลี่ยครั้งละ 90 นาที
                            24 ครั้ง/ปี x 90 นาที
                             = 2,160 นาที คิดเป็น 36 ชั่วโมงต่อ/ปี       

จากการคำนวณเวลาข้างต้นเป็นการคำนวณการตรวจสอบดูแลของงานระบบปรับอากาศ ของส่วนบริการกลางขั้นต่ำ
ซึ่งการปฏิบัติงานจริงผู้ที่ได้รับมอบหมายจะดำเนินการตรวจสอบการทำงานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน การตรวจสอบดังกล่าวจะสามารถลดข้อผิดพลาดการทำงานของระบบปรับอากาศเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา รวมทั้งระบบปรับอากาศสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และจากการวัดการตอบแบบประเมินงานบำรุงรักษาและจ้างเหมาระบบปรับอากาศ ส่วนบริการกลาง คำตอบในส่วนที่ 1 จำนวน 5 ข้อ ได้รับคะแนนจากการตอบแบบประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในอาคารให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดได้ เนื่องการปรับปรุงกระบวนการในครั้งนี้ได้มีการกำหนดเวลา เปิด – ปิด และลดชั่วโมงการทำงานของ หรือปรับเพิ่มอุณภูมิ Set point อุปกรณ์ควบคุมระบบปรับอากาศให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทำให้สามารถลดชั่วโมงการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศได้เมื่อลดชั่วโมงการทำงานได้ ก็สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและลดงบประมาณที่จ่ายค่าพลังงานไฟฟ้าให้กับหน่วยงานได้
การคำนวณ      จำนวนวันทำงานเฉลี่ย = 275 วัน/ปี
ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบปรับอากาศขณะระบบทำงาน = 14 KW
ค่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วยปัจจุบัน = 4.77  
พลังงานไฟฟ้าที่ลดลง 14kW×0.50 ชม/วัน ×275 วัน/ปี = 1,925 kWh/ปี
ค่าพลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 4.77บาท/ kWh
ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ 1,925 Kwh/ปี ×4.77บาท/Kwh
= 9,182 บาท/ปี (ค่าไฟฟ้าที่ลดได้ต่อ/ปี)
ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยทั้งอาคารต่อประมาณ 200,000 บาท
= 200,000-9,182*100/200,000 = 3.5%
*หากทำการลดชั่วโมงการของระบบปรับอากาศวันละ 0.5 ช.ม*
3. เพื่อแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนจากสภาพอากาศภายในอาคารร้อน เมื่อระบบปรับอากาศเกิดปัญหาได้ทันตามเวลา
ที่กำหนด ในกระบวนการปรับปรุงใหม่ได้มีการตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ก่อนการใช้งานทำให้ระบบทุกอย่าง
มีความพร้อมก่อนเริ่มใช้งานจริง ทำให้เกิดปัญหาระบบปรับอากาศไม่สามารถใช้งานได้น้อยลง และเมื่อระบบปรับอากาศเกิดปัญหาก็จะสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองทันที หรือกรณีแก้ไขปัญหาเองไม่ได้ก็ดำเนินการประสานงานและติดตามให้ช่างที่รับผิดชอบโดยตรง มาแก้ไขปัญหาเพื่อให้สามารถใช้งานได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง ทำให้ลดข้อร้องเรียนเรื่องระบบอากาศภายในสำนักงาน ก่อนการปรับปรุงกระบวนการทำงานเมื่อเกิดปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับจะเกิดปัญหาซิลเลอร์ Alarm ทุกครั้งเฉลี่ยเดือนละ 2 ครั้ง/เดือน หรือ 24 ครั้ง/ปี และเมื่อเกิดปัญหาจะมีการร้องเรียนจากผู้ใช้บริการและบุคลากรภายในหน่วยงานเกือบทุกครั้ง แต่หลังมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานทำให้ทราบปัญหาดังกล่าวหากมีปัญหาไฟฟ้าตกหรือดับต้องรีบดำเนินการ Off ระบบควบคุมซิลเลอร์ก่อนการเกิด Alarm ทำให้เกิดปัญหาน้อยลงจากเดิมปีละ 24 ครั้ง/ปี เหลือประมาณ 12 ครั้ง/ปี และผลคะแนนประเมินความพึงพอใจในการแก้ไขปัญหาตามแบบประเมิน อยู่ที่ระดับดี และดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. สร้างความพึงพอใจให้บุคลากรและผู้ใช้บริการในเรื่องของระบบปรับอากาศภายในอาคาร ในกระบวนการปรับปรุงในครั้งนี้ได้วิเคราะห์ปัญหาจาก Fish Bone Diagram ทำให้ทราบปัญหาหลัก ๆ และสามารถหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือเมื่อเกิดปัญหาก็ได้รับการแก้ไขที่รวดเร็วขึ้นกว่าเดิมและสามารถจะแจ้งข่าวสารหรือแจ้งสาเหตุของปัญหาให้กับบุคลากรและผู้ใช้บริการ ทำผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการสามารถที่จะวางแผนการปฏิบัติงานได้ ทำให้เกิดความพึงพอใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคะแนนประเมินความพึงพอใจจากแบบสอบถามอยู่ในระดับดี และระดับดีมาก เฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. การมีหน้าจอระบบอัตโนมัติสามารถตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศแบบ Real Time ได้ สามารถลดเวลาการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องเสียเวลาไปตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศจริงที่อยู่ชั้นดาดฟ้า ลดเวลาการตรวจสอบได้จากเดิมครั้งละ 30 นาที เหลือใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 5 นาที ลดลงจากเดิม 25 นาที
6. ข้อดีของการตรวจสอบหน้าจอแบบ Real Time คือสามารถลดขั้นตอนในการตรวจสอบและปฏิบัติงานจากเดิมได้
ซึ่งการตรวจสอบระบบจริงที่เกี่ยวข้องจากเดิม จำนวน 5 ขั้นตอน เหลือเพียง 1 ขั้นตอน เพราะระบบอัตโนมัติสามารถมองเห็นส่วนประกอบและการทำงานของระบบปรับอากาศจริงทุกส่วน เมื่อเกิดปัญหาทำให้รู้ว่าส่วนประกอบใดของระบบปรับอากาศเกิดปัญหา ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดไม่ต้องเสียเวลาไปไล่ตรวจสอบระบบจริง ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็วขึ้น
7. ข้อดีการมีหน้าจอระบบอัตโนมัติผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องและคนอื่น ๆ สามารถดูและตรวจสอบการทำงานของระบบปรับอากาศได้ เพราะเมื่อระบบเกิดปัญหาหน้าจออัตโนมัติก็จะฟ้องการทำงานที่ไม่ปกติ คือหน้าจอโชว์ (Alarm) ไฟสีแดงกะพริบ ที่ทำให้คนอื่น ๆ ภายในหน่วยงานสามารถรู้ว่าระบบเกิดปัญหาและประสานผู้ที่เกี่ยวข้องแก้ไขต่อไป ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถดูแลระบบได้ ซึ่งเป็นการเรียนรู้และช่วยกันขับเคลื่อนการรวมบริการประสานภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานได้
ข้อเสนอแนะ
1. การปฏิบัติงานหลังปรับปรุงกระบวนการทำงานต้องดำเนินการตามขั้นตอนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้เกิด
    ประสิทธิภาพสูงสุด
2. ในการตรวจสอบหน้าจอควบคุมระบบปรับอากาศอัตโนมัติช่วยลดเวลาการทำงานได้ แต่ต้องมีการตรวจสอบ
การทำงานของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของระบบจริงบ้างในบางครั้งเพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานเพื่อป้องกัน
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
3. เนื่องจากอุปกรณ์ระบบปรับอากาศมีการใช้งานมาหลายปีจึงจำเป็นต้องมีการทำรายการ Check List อุปกรณ์
     ทั้งหมดของระบบปรับอากาศเพื่อตรวจสอบการทำงานทุกเดือนรวมทั้งแจ้งบำรุงรักษาไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
     ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
4. ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
5. ควรมีทีมงานที่ช่วยปฏิบัติงานมีความรู้ในเรื่องดังกล่าวอย่างดีไม่น้อยกว่า 3-5 คน ที่สามารถปฏิบัติงานแทนได้
     ในกรณีที่เจ้าที่ที่รับผิดโดยตรงติดภารกิจ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

Visits: 121

Comments

comments

Back To Top