การพัฒนากระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (PDCA)

สืบเนื่องด้วยคณะทำงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดตั้งเพจ “ชวนอ่าน”เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่สารนิเทศทางวิชาการ โดยการคัดเลือกบทความ หนังสือ และวารสารที่น่าสนใจ ในหมวดต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
การประชาสัมพันธ์วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟสบุ๊ก (Facebook) ชื่อเพจชวนอ่าน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าถึง E-Journal และ E-Book อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ในเพจชวนอ่านได้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้
1. ประเภทข้อมูล E-Journal / E-Book
2. ภาพปก
3. รายชื่อ
4. URL เพื่อเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูล
ในส่วนของการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูล
ภาพปกบทความ หนังสือ วารสาร และภาพประกอบ ตลอดทั้งตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้
ในการออกแบบ จำเป็นต้องมีขนาดพอเหมาะและชัดเจน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ และรูปแบบตัวอักษร ตลอดจนแนวโน้มของการออกแบบกราฟิกในยุคปัจจุบัน เพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสม
มากยิ่งขึ้น
กระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
คือ ระยะเวลาของกระบวนการการออกแบบและปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบและขั้นตอนให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อลดระยะเวลาการประสานงานในการออกแบบ
1.2.2 เพื่อลดระยะเวลาในการส่งข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบ
1.2.3 เพื่อลดขั้นตอนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2.4 เพื่อแก้ไขปัญหาภาพประกอบที่มีขนาดเล็กและไม่คมชัด
1.3 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
1.3.1 สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติงานการออกแบบแบนเนอร์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.3.2 สามารถลดระยะเวลาในการปฏิบัติงานการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ จาก 2 ชั่วโมง เหลือ 1 ชั่วโมง
1.3.3 สามารถพัฒนาการปฏิบัติงานออกแบบการออกแบบแบนเนอร์ ให้ทันตามความต้องการ
1.4 ขอบเขตของผลงาน
ออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ได้มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน ตามความต้องการและทันตามเวลาที่กำหนด
ระยะเวลาดำเนินงาน 1 ธันวาคม 2565 – 1 ธันวาคม 2566
1.5 คำนิยาม
กระบวนการ (Process) คือ กลุ่มของขั้นตอนการทำงาน ที่ประกอบด้วยชุดกิจกรรม ข้อจำกัด และทรัพยากรที่จะได้ผลิตเป็นผลลัพธ์บางชนิดตามต้องการ
การออกแบบ (Design) หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หรือปรับปรุงดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น และมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปจากเดิม การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ ซึ่งการออกแบบครอบคลุมถึงการออกแบบวัตถุ ระบบ หรือ ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ และยังรวมไปถึง การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) แบบที่ออกมาอาจเป็นสิ่งที่เป็นไปได้จริง หรือแบบที่เป็นเพียงนามธรรมก็ได้ ผู้ที่ออกแบบจะเรียกว่า นักออกแบบ ซึ่งหมายถึงคนที่ทำงานวิชาชีพในสาขาการออกแบบที่แตกต่างกันไป เช่น นักออกแบบแฟชั่น, นักออกแบบแนวความคิด หรือนักออกแบบเว็บไซต์
เทมเพลต (Template) คือ รูปแบบหรือแบบฟอร์มเว็บไซต์ที่ยังไม่มีการใส่เนื้อหาเข้าไป ผู้ใช้เพียงแค่ใส่ข้อมูลรายละเอียดเข้าไป แก้ไข Logo รูปภาพเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้งานได้เลย เราอยากได้เว็บไซต์หน้าตาแบบไหน ก็เลือกหา เลือกใช้ได้ตามต้องการจากผู้ให้บริการเกี่ยวกับ Template เหล่านี้ เอาง่ายๆ เทพเพลตก็คือ แบบหรือโครงร้าง ของเว็บทั้งหมด นั้นเอง
แบนเนอร์ (Banner) รูปแบบหนึ่งของการโฆษณาที่แสดงผลอยู่บนเว็บไซต์ ซึ่งก็คือการวางภาพโฆษณาไว้ที่หน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา จุดประสงค์ของการทำแบนเนอร์นี้เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเข้าเว็บไซต์นั้นๆ ผ่านการคลิก โดยเว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไป เช่น GIF, JPEG, PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้เกิดความโดดเด่นมากที่สุด
E-Book ย่อมาจากคำว่า electronic book คือหนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่ พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ ทำให้ผู้อ่านสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว อย่างtablet ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม
E-Journal คือ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง วารสารรูปแบบใหม่ที่มีการจัดเก็บบันทึก และพิมพ์เผยแพร่สารนิเทศทางวิชาการไว้ในรูปแฟ้มคอมพิวเตอร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีกำหนดออกแน่นอน สม่ำเสมอ โดยสามารถเข้าถึง สืบค้นข้อมูล และสั่งซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิกได้จากฐานข้อมูลซีดี-รอม ฐานข้อมูลออนไลน์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2. การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)
2.1 การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง
2.1.1 ขั้นตอนการปฏิบัติงานทางด้านการประสานงานยังไม่มีประสิทธิภาพ
2.1.2 ภาพปกมีขนาดไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
2.1.3 ขนาดของเทมเพลตไม่เหมาะสมกับการเผยแพร่ใน Platform ต่างๆ
2.1.4 ปริมาณของงานที่จะเผยแพร่มีจำนวนมาก
2.1.5 ผู้ขอใช้บริการยังไม่มีความพึงพอใจในด้านการออกแบบ

ตารางคัดเลือกการพัฒนากระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์

2.2 การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model

           SIPOC Model คือ ภาพรวมของกระบวนการปฏิบัติงาน ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจวัตถุประสงค์และ ขอบเขตของงานมากขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะพิจารณาว่า ใครคือคือซัพพลายเออร์ (Supplier) ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ข้อมูล กำลังคน ทักษะ สิ่งของ (Input) ที่จะนำไปใช้ในกระบวนการ (Process) เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบ สิ่งของหรือข้อมูลฯ ให้กลายเป็นสิ่งของหรือข้อมูลฯ (Output) ที่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า (Customer)

การพัฒนากระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นํามาเป็นตารางการวิเคราะห์ SIPOC

ภาพที่ 1 ผังการพัฒนากระบวนการการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา

2.3 การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข

                2.3.1 การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค

                การปรับปรุงกระบวนการทำงานจำเป็นจะต้องทราบทราบถึงสาเหตุปัจจัย อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้ต้องปรับปรุง กระบวนการพัฒนาการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์

ภาพที่ 2 แผนผังก้างปลา ปัญหาของกระบวนการการออกแบบแบนเนอร์

2.3.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

2.4 การจัดทําแผนปฏิบัติการ (Action Plan)

แผนปฏิบัติการพัฒนากระบวนการการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์

3. การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)

           3.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของกระบวนการ

  • เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
  • เพื่อแสงหาการทำงานที่ดีกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า แต่ได้ผลงานมากกว่า
  • เพื่อประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร คน เวลา วัสดุ อุปกรณ์
  • เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ผู้ปฏิบัติงานร่วมมือกันทำงานลุล่วงไปด้วยดี
  • เพื่อพัฒนากระบวนการการออกแบบแบนเนอร์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการและปริมาณของงานมีจำนวนให้เหมาะสม

           3.2 การกำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ

Output  : 

  •  สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานได้
  •  สามารถออกแบบในปริมาณที่ต้องการได้

Outcome :

  •  สามารถลดเวลาในการปฏิบัติงานได้มากยิ่งขึ้น
  •  สามารถสร้างจำนวนผลงานตามปริมาณที่ต้องการได้

3.3  การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการ

  • เพื่อลดระยะเวลาในการปฏิบัติงาน
  • เพื่อลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน
  • เพื่อใช้ทรัพยากรตามความเหมาะสม
  • ใช้ทรัพยากรบุคคลเท่าที่จำเป็น
  • วิธีการในการควบคุม ตรวจสอบ
  • เอกสาร แบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้
  • ทดลองปฏิบัติตามกระบวนการที่ได้ออกแบบไว้
  • ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขกระบวนการ
  • จัดทำเป็นเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน
  •  

3.3.1 เครื่องมือในการวิเคราะห์ พัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการออกแบบแบนเนอร์

ภาพที่ 4 ขั้นตอนใหม่การออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์

3.3.2 กระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงใหม่

ภาพที่ 5 ขั้นตอนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์

            3.3.3  เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนงานใหม่

           เมื่อได้พัฒนากระบวนการการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์แล้ว ระยะเวลาและขั้นตอนในการออกแบบแบนเนอร์นั้น มีความรวดเร็วและสะดวก ลดปัญหาความซับซ้อนในด้านการออกแบบ ทำให้มีมาตรฐานในการปฏิบัติการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

           3.4 การนำกระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงไปทดลองปฏิบัติ

           จากการที่ได้พัฒนากระบวนการการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น ผลที่ได้รับ
คือสามารถออกแบบแบนเนอร์ได้ตามความต้องการ มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ไม่มีปัญหาในการประสานงาน ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรบุคคล

4. การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)

           ในการตรวจสอบผลการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติการการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ได้ผลการดำเนินการ ดังนี้

5. การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)

5.1 การปรับปรุงแก้ไข

           เมื่อได้ปฏิบัติการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ ทำให้สามารถสร้างจำนวนผลงานได้มากยิ่งขึ้นและรูปแบบของแบนเนอร์ไปในทิศทางเดียวกัน ตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ตลอดทั้งการติดต่อประสานงานก็สะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถลดการใช้ทรัพยากรบุคคล ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และลดความผิดพลาดในด้านต่างๆ ได้อีกด้วย

5.2 การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน

สามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติการออกแบบ ลดระยะเวลาการประสานงาน ลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงาน

6.  สรุปและข้อเสนอแนะ

           6.1 สรุปผลการดำเนินงาน

กระบวนการออกแบบแบนเนอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

           6.2 ข้อเสนอแนะ

–  ควรมีโปรแกรมลิขสิทธิ์เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

– ควรใช้รูปแบบตัวอักษรทีมีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

–  ควรใช้ภาพประกอบที่นำมาใช้ต้องมีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ภาคผนวก

ภาพที่ 6 ตัวอย่างการออกแบบแบนเนอร์โดยใช้เทมเพลต

ภาพที่ 7 ตัวอย่างการออกแบบแบนเนอร์โดยใช้เทมเพลต

Visits: 68

Comments

comments

กราฟิกสายปั่น!!!
Back To Top