การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom

1. บทนำ

1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

เนื่องจากกระบวนการควบคุมการใช้ห้องเรียนที่ผ่านมา ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดความล่าช้า ผู้ใช้งานไม่สะดวก ล้าสมัย จึงได้มีการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom ประจำห้องเรียน ให้สะดวกรวดเร็ว ทันสมัย ต่อผู้ใช้ห้องเรียนทั้งอาจารย์ และนักศึกษา สามารถใช้อุปกรณ์ MAC มาเชื่อมต่อกับระบบ Smart Classroom ผ่าน Apple TV ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเรียนการสอน

1.2.2 สามารถแก้ไขปัญหาการใช้ห้องเรียนได้ทันท่วงที

1.3 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

ผู้ใช้สามารถใช้ห้องเรียน ในการเรียนการสอน ได้ด้วยอุปกรณ์ของผู้ใช้เอง เช่น MAC IPAD

IPHONE

1.4 ขอบเขตของผลงาน

การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom เพื่ออำนวยความสะดวกกับอาจารย์และนักศึกษา ในการนำเสนอการเรียนการสอน เท่านั้น

1.5 คำนิยาม  

  1. ห้องเรียน Smart Classroom คือ ห้องเรียนที่ถูกพัฒนาปรับปรุงด้วยอุปกรณ์ดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ๆ ผสมผสานเข้ากับบทเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และการสื่อสาร ระหว่างนักเรียนและครูผู้สอนให้สมบูรณ์มากขึ้น
  2. Apple TV คือ อุปกรณ์ที่ใช้ตอบโต้และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับอุปกรณ์ MAC มีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ สีดำ

2. การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)

           2.1 การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง

                   การเลือกวิธีการใช้สื่อห้องเรียน Smart Classroom ผ่าน Apple TV เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ MAC ของผู้ใช้ห้องเรียน เกิดความสะดวกคล่องตัว ประหยัดเวลา เพื่อใช้สื่อให้เหมาะสมและทันสมัย กับผู้ใช้ห้องเรียน ในยุคปัจจุบัน

ตารางคัดเลือก การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom

ชื่อกระบวนการเกณฑ์การคัดเลือกและน้ำหนัก
นโยบายของผู้บริหาร ( 30 % )มีความสูญเสียมาก ( 20 % )มีข้อร้องเรียนบ่อย ( 20 % )มีหลายขั้นตอน ( 20 % )ผู้รับบริการไม่ พึงพอใจ ( 10 % )
การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroomผู้บริหารต้องการให้มีห้องเรียน Smart Classroom รองรับนักศึกษา และคณาจารย์เสียงบประมาณ และมีความจำกัด อุปกรณ์ที่จะนำเสนออุปกรณ์เดิมมีความล้าสมัยต้องมีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อหลายรายการ ทำให้เสียเวลาในการใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนมีข้อจำกัดในการใช้

2.2 การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model

การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom นำมาเป็นตารางการวิเคราะห์ SIPOC ดังนี้

SupplierInputProcessOutputCustomer
1. นักศึกษา 2. อาจารย์ 3. บุคลากร 4. วิทยากรที่มาใช้ห้องเรียน  1. อุปกรณ์ Apple TV 2. อุปกรณ์เชื่อม MAC เช่น IPAD IPHONE(รายละเอียดเขียนเป็น Flowchart ตามข้อ 3.3.2)ผู้ใช้ห้องเรียน Smart Classroom สามารถนำอุปกรณ์ MAC มาเชื่อมต่อกับ Apple TV ได้1. นักศึกษา 2. อาจารย์ 3. บุคลากร 4. วิทยากรที่มาใช้ห้องเรียน      

2.3 การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข

                2.3.1 การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค

           1. อุปกรณ์เดิมมีความล่าช้า ทำให้ขาดประสิทธิภาพในเรื่องการเรียนการสอน

           2. อุปกรณ์เดิมไม่มีความทันสมัย ไม่รองรับกับนวัตกรรมใหม่ ในยุคดิจิทัล

           2.3.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

                   ลำดับที่ปัญหา อุปสรรคแนวทางแก้ไข
1อุปกรณ์เดิมมีความล่าช้านำอุปกรณ์ Apple TV มาใช้ในห้องเรียน Smart Classroom
2อุปกรณ์เดิมไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานอุปกรณ์ Apple TV สามารถรองรับกับอุปกรณ์ MAC เช่น IPAD IPHONE ของผู้ใช้
3ไม่มีความทันสมัยกับยุคปัจจุบันเลือกอุปกรณ์ที่ทันสมัยคือ Apple TV มาใช้งาน

2.4 การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan)      

แผนปฏิบัติการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom

ลำดับที่กิจกรรมผู้รับผิดชอบปี 2566
มี.ค.เม.ยพ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย
1มีการติดตั้งอุปกรณ์ Apple TV เพื่อให้ใช้งานรองรับการเรียนการสอนณัฐพล/ / /    
2กำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการณัฐพล  /    
3ออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการณัฐพล   /   
4เผยแพร่แนวปฏิบัติในการใช้งานอุปกรณ์ Apple TVณัฐพล   /   
5สอบถามความพึงพอใจผู้ใช้ห้องเรียนณัฐพล    / / 

3. การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)

           3.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของกระบวนการ

  • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานในห้องเรียน
  • เพื่อความทันสมัยกับนวัตกรรมยุคปัจจุบัน
  • เพื่อให้มีอุปกรณ์เทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศ
  • สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้ห้องเรียน Smart Classroom

           3.2 การกำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ

  •  เพื่อรองรับการเรียนการสอนของห้องเรียน Smart Classroom
  •  ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมีความพึงพอใจกับการติดตั้งอุปกรณ์ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom

           3.3  การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการ

วิธีการออกแบบหรือปรับปรุงกระบวนการ อาจจะทำได้ดังนี้

          1. แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ Apple TV กับผู้ใช้ห้องเรียน Smart Classroom

          2. จัดทำขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์ Apple TV ไว้ในห้องเรียน Smart Classroom

          3.3.1 เครื่องมือในวิเคราะห์ พัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ

การปรับปรุงการใช้สื่อห้องเรียน Smart Classroom ผ่าน Apple TV เพื่อให้ผู้ใช้ห้องเรียน Smart Classroom สามารถนำอุปกรณ์ MAC มาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Apple TVได้ด้วยตนเอง

3.3.2 กระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงใหม่

 3.3.3  เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนงานใหม่

กระบวนการเดิมกระบวนการใหม่
1. ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน1. นำอุปกรณ์ Apple TV มาใช้ทดแทนเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ต้องมีนายช่างเทคนิคให้บริการประจำห้องเรียน2. ผู้ใช้ห้องเรียนสามารถใช้อุปกรณ์ Apple TV ได้ด้วยตนเอง
3. ใช้งบประมาณในการจัดซื้อครุภัณฑ์ประจำห้องเรียน3. ลดงบประมาณ เนื่องจากผู้ใช้ห้องเรียนนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาเอง
4. อุปกรณ์เดิมไม่มีความทันสมัย4. อุปกรณ์ Apple TV มีความทันยุคทันสมัย

           3.4 การนำกระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงไปทดลองปฏิบัติ

จากการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom ทำให้ผู้ใช้ห้องเรียน Smart Classroom มีความพึงพอใจในการใช้งาน และรองรับความทันสมัยกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล

4. การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)    

           จากการสอบถามผู้ใช้งาน ทั้ง อาจารย์ นักศึกษา บุคลากร วิทยากร ทุกท่านให้ความเห็นว่ามีความทันสมัย รวดเร็ว และมีความพึงพอใจกับระบบการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom เมื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ MAC เช่น IPAD IPHONE MACBOOK ได้อย่างคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพให้การเรียนการสอนของตนเองสูงขึ้น  

5. การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)

5.1 การปรับปรุงแก้ไข

                   5.1.1 มีขั้นตอนการใช้งานติดไว้ในห้องเรียน Smart Classroom ทุกห้อง

                   5.1.2 แนะนำการใช้งานกับผู้ใช้ห้องเรียนโดยตรง

                   5.1.3 จัดทำแบบประเมินให้ผู้ใช้ห้องเรียนนำมาประเมินผล เพื่อการปรับปรุง

5.2 การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน

        นำแบบประเมินมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุง หาแนวทางในการใช้งานอุปกรณ์ Apple TV กับอาคารเรียนอื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน

6.  สรุปและข้อเสนอแนะ

  • สรุปผลการดำเนินงาน

          จากการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับผู้ใช้ห้องเรียนทุกท่านมีความพึงพอใจ กับอุปกรณ์ที่นำมาใช้ทดแทนแบบเดิม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดทรัพยากร ด้านเวลา และด้านงบประมาณ

ลำดับกระบวนการก่อนการใช้ Apple TVหลังการการใช้ Apple TV
1เวลาใช้คอมพิวเตอร์ Notebook ในการเชื่อมต่อสื่อการเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งต้องใช้สายสัญญาณภาพ ทำให้เกิดความล่าช้า (ใช้เวลาประมาณ 15 นาที)ไม่ต้องใช้สายสัญญาณภาพ สามารถเชื่อมต่อขึ้นสู่จอได้เลย ทำให้รวดเร็วประหยัดเวลา (ใช้เวลาประมาณ 5 นาที)
2งบประมาณมหาวิทยาลัยต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Notebook ประจำห้องเรียน เพื่อรองรับการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ประจำห้องเรียน แต่สามารถใช้อุปกรณ์ MAC เช่น IPAD IPHONE MACBOOK เชื่อมต่อ ผ่าน Apple TV ได้เลย
3ประสิทธิภาพเสียเวลาในการจัดเตรียมสายสัญญาณภาพเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ ให้สามารถใช้งานได้มีความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีความทันสมัยต่อยุคดิจิทัล

           6.2 ข้อเสนอแนะ

นำระบบการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom ไปใช้งานกับห้องเรียนของอาคารเรียนต่างๆ ในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Visits: 27

Comments

comments

Back To Top