Category: Uncategorized

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ ถือเป็นส่วนสำคัญที่องค์การนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการ บริหารจัดการภาครัฐ กล่าวคือยิ่งบุคลากรสามารถเรียนรู้ พัฒนา และสร้างสรรค์ ประกอบกับปัจจัยด้านอื่น ๆ ในองค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก้าวทันต่อกระแส การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นองค์การจึงควรมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบซึ่งจะท าให้การ ค้นหา รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ แบ่งปันความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะส่งผลให้บุคลากรสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ใช้ความรู้ที่ต้องการได้ทันเวลา รวดเร็ว และนำมาประยุกต์ใช้ รวมทั้งปรับปรุงขับเคลื่อนงานตามนโยบาย พัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพก้าวต่อไปได้อย่างยั่งยืน ความหมายของการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้ทุกคนในองค์การ สามารถเข้าถึงคว ามรู้และพัฒน าตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์การมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด องค์ประกอบของการจัดการความรู้  องค์ประกอบที่สำาคัญของการจัดการความรู้ประกอบด้วย 3 ส่วน โดยต้องเชื่อมโยงและบูรณาการ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมประกอบด้วย คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น กระบวนการความรู้เป็นการบริหารจัดการเพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม ประโยชน์ของการจัดการความรู้ การนำการจัดการความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับองค์การจะช่วยก่อให้เกิดคุณประโยชน์ […]

15 Tips เขียน Blog ให้น่าติดตาม

แนะนำ 15 tips สำหรับคนอยากเขียนบล็อกให้น่าติดตามและน่าสนใจ เพื่อให้การสร้างสรรค์งานเขียนนั้นมีความน่าสนใจและดึงดูดการอ่านมากขึ้น

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ทำงานในหน่วยงานราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องของ การเขียนหนังสือราชการ ให้ถูกต้องตามหลักการเพื่อใช้ติดต่อกันทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานค่ะ มาเรียนรู้หลักการเบื้องต้นของ “การเขียนหนังสือราชการ” กันค่ะ เพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ในการเขียนหนังสือราชการที่ถูกต้องตรงตามหลักวิชาการ เป็นระบบ และมีความน่าเชื่อถือ มาเรียนรู้กันเลยค่ะ หนังสือราชการ หมายถึง หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ หรือหนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่น ซี่งไม่ใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ โดยเป็นเอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐาน หรือจัดทำขึ้นตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับ ชนิดของหนังสือราชการ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด คือ หนังสือภายนอก คือ หนังสือหรือจดหมายที่ส่วนราชการใช้ติดต่อระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันหรือหน่วยงานราชการเขียนติดต่อหน่วยงานเอกชน หรือมีไปถึงบุคคลภายนอก โดยหนังสือภายนอกจะใช้กระดาษตราครุฑ หรือ กระดาษที่มีตราของหน่วยงานนั้น ๆ หนังสือภายใน คือ หนังสือหรือจดหมายที่ใช้ติดต่อภายในระหว่างหน่วยงานในสังกัดเดียวกัน หนังสือภายในใช้กระดาษบันทึกข้อความที่มีตราครุฑหรือตราของหน่วยงานนั้น หนังสือสั่งการ คือ หนังสือที่ส่วนราชการจัดทำขึ้นเพื่อให้ปฏิบัติ โดยหนังสือสั่งการแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ คำสั่ง ระเบียบ และ ข้อบังคับ หนังสือประทับตรา คือ หนังสือหรือจดหมายที่ใช้ตราประทับแทนการลงชื่อ ซี่งผู้ที่ใช้หนังสือประทับตราได้นั้นต้องมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป หนังสือประชาสัมพันธ์ คือ หนังสือที่ราชการหรือหน่วยงานทำขึ้นเพื่อชี้แจงหรือแนะนำให้ปฏิบัติหรือแจ้งข่าวสารต่าง […]

ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) จากการทำงาน

ภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)  การทำงานโดยนั่งอยู่ในอิริยบถเดิมๆ เป็นเวลนาน หรืออยู่ในอิริยบถที่ไม่เหมาะสม เช่น พนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา ภาวะออฟฟิศซินโดรม เป็นภาวะยอดฮิตสำหรับคนทำงานสำนักงาน โรคนี้จะเกิดจากการนั่งทำงานหน้าหน้าคอมนานๆ ยาวติดต่อกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง อยากรู้ว่ตนเองกำลังป่วยเป็นโรคออฟฟิสซินโดรมหรือไม่ ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ -การนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน – ท่าทางในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป – สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม – สภาพร่างกายที่อาจส่งผลต่ออาการเจ็บป่วย เช่น ภาวะเครียดจากงาน การอดอาหาร การพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายต้องแบกรับความตึงเครียดปราศจากการผ่อนคลาย  กายบริหารเพื่อป้องกันภาวะออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) 1. พักสายตา หันหน้าไปทางทิศทางอื่นที่ไม่ใช่จอคอมพิวเตอร์หรือบริเวณที่มีแสงจ้า หลับตาลง นับ 1-10 ช้าๆ หลังจากนั้นลืมตาขึ้น  2. ยืดกล้ามเนื้อต้นแขน นั่งอยู่บนเก้าอี้ประสานมือบิดกลับต้นแขนทั้ง 2 ข้างออกไปข้างหน้าให้มากที่สุด ในขณะที่พยายามยืดหลังให้ตั้งตรงไว้ นับ 1-10 ช้าๆ ผ่อนแขนกลับมาแล้วซ้ำอีกครั้ง จากนั้นลุกขึ้นยืนตรง กางขาเล็กน้อยประสานมือบิดกลับเหมือนเดิม […]

แปลงข้อมูลจำนวนมากๆ ให้เข้าใจง่ายด้วย Data Visualization

เป็นการนำข้อมูลดิบ มาแปลงเป็นรูปภาพเพื่อทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย เห็นภาพรวมของข้อมูลดิบนั้นได้รวดเร็วภายในระยะเวลาที่จำกัด  Visits: 24Ketsamaporn Tonbunyakij

เลือกเครื่องขยายเสียงให้เหมาะกับงาน

การขยายเสียง การประกาศสาธารณะ ระบบเสียงประกาศ หรือ Public Address System (PA System) คือระบบที่ขยายและกระจายเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้า เช่น จากไมโครโฟน เข้าสู่เครื่องขยายเสียง ไปออกที่ลำโพง ซึ่งใช้เพื่อให้บุคคลสามารถพูด หรือสื่อสารในที่สาธารณะได้ ระบบเสียงประกาศสาธารณะมักใช้ตั้งแต่สถานที่ขนาดเล็ก เช่น ลานกลางแจ้ง หอประชุม และร้านค้า ร้านอาหาร และรวมไปถึงภายในอาคารและสถานที่สาธารณะต่างๆ  ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร การเตือนภัย เล่นดนตรีสดหรือการบันทึกเสียง ซึ่งระบบเสียงประกาศสาธารณะโดยทั่วไปจะขยายสัญญาณเสียงให้อยู่ในระดับความดังที่เพียงพอในการสื่อความได้ ประเภทของเครื่องขยายเสียงที่นิยมใช้งานในปัจจุบัน 1.โทรโข่ง นิยมใช้ในงานที่มีคนไม่เกิน 20 คน หรือในสถานที่ไม่มีไฟฟ้า ยกตัวอย่างเช่น ประชุมกลุ่มลูกเสือ หรือกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆ 2. เครื่องขยายเสียงแบบหูหิ้ว เหมาะสำหรับใช้ในงานที่อยู่ในห้องประชุมมีผู้ฟังไม่เกิน 30 คน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดและกำลังขยายของเครื่องซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างกัน โดยที่อาจจะมีไฟฟ้า หรือใช้ชนิดที่มีแบตเตอรี่ภายในก็ได้ ซึ่งคุณภาพเสียงที่ได้จะดีกว่าใช้โทรโข่ง 3. ชุดเครื่องขยายเสียงเอนกประสงค์ เป็นเครื่องขยายเสียงขนาดเล็กที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการควบคุมเครื่อง เหมาะสำหรับใช้ในงานประชุม แถลงข่าว งานดนตรีโฟล์คซอง ที่มีเครื่องดนตรี […]

กิจกรรมการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ยุคนิวนอมอล ในช่วงเกิดการโรคระบาด มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง ในยุคนี้ Visits: 35Pichaiyut Suwittayarattana

Back To Top