การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ จะดำเนินการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อควบคุมการผลิตข้อสอบในแต่ละวันของรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบ


โดยในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบที่ศูนย์บริการศึกษากำหนดไว้ ตารางสอบที่ได้มาไม่ได้เป็นไฟล์ ซึ่งทำให้ผู้จัดทำเสียเวลาในการพิมพ์ทุกรายวิชา วันเวลาที่สอบ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ลงในโปรแกรม Microsoft Excel ผู้จัดทำได้นำข้อมูลมาจากบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำต้องประสานติดต่อขอข้อมูลตารางสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน


ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องหาแนวปฏิบัติในการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ทันกับการผลิตข้อสอบและเสร็จทันตามกำหนดทุกรายวิชาที่มีการสอบในตารางแต่ละภาคการศึกษา ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละภาคการศึกษา

2. เพื่อลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ที่มีในตารางสอบ

3. เพื่อให้ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอน ส่งข้อสอบมาผลิตตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้ด้วยตนเอง

4. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการเรียนรวมกัน

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

1. ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวันที่ส่งรายวิชาของตนเองมาผลิตได้

2. ลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดแต่ละรายวิชาต่าง ๆ ในทุกภาคการศึกษา

3. ผู้ส่งข้สอบสามารถส่งข้อสอบทันตามวันเวลาที่กำหนดในตาราง

ขอบเขตของผลงาน

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

คำนิยาม

1. ข้อมูลรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ

2. วันที่กำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ

3. ตารางการจัดทำตารางวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ

การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)

การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอบในตาราง

2. ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวันที่ส่งข้อสอบมาผลิตได้ทางระบบ doms

3. สามารถลดเวลาการจัดพิมพ์รายวิชาและรายละเอียดทุกรายวิชาที่มีการสอบในแต่ละภาคการศึกษา

4. ทำให้การนำข้อมูลบนเว็บไซต์มาใช้ได้สะดวกมากขึ้น

การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบแต่ละภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ส่งข้อสอบสามารถดูรายวิชาของตนเอง ในระบบ doms รายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบ

ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องหาแนวปฏิบัติในการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ทันกับการผลิตข้อสอบและเสร็จทันตามกำหนดทุกรายวิชาที่มีการสอบในตารางแต่ละภาคการศึกษา ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง

SIPOC ประกอบด้วย

S – Supplier                ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์

I – Input                     ข้อมูลที่มีการจัดสอบในตารางแต่ละภาคศึกษา

P – Process Folder   เว็บไซต์ศูนย์บริการการศึกษา

O – Output              ตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบ

C – Customer           ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนปฏิบัติการปรับปรุงกระบวนการ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการ (DO – D)

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ จะดำเนินการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อควบคุมการผลิตข้อสอบในแต่ละวันของรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบ
ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องหาแนวปฏิบัติในการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ทันกับการผลิตข้อสอบและเสร็จทันตามกำหนดทุกรายวิชาที่มีการสอบในตารางแต่ละภาคการศึกษา ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการ

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ ทำได้โดยคัดลอกข้อมูลจากเว็บไซต์ศูนย์บริการการศึกษา นำมาวางในรูปแบบตารางที่ผู้จัดทำกำหนดไว้ ทำให้การนำข้อมูลจากเว็บไซต์ขั้นตอนการจัดทำจะสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นและผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวันที่ส่งข้อสอบในรายวิชานั้น ๆ ก่อนมีการสอบได้อย่างรวดเร็ว

Flowchart

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ

เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนการใหม่

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ (แบบเดิม)

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ (แบบใหม่) การคัดลอกข้อมูลบนเว็บไซต์ศูนย์บริการการศึกษา

This image has an empty alt attribute; its file name is 1.jpg

การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check –C)

  1. การตรวจสอบผลการปรับปรุงกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ สรุปได้ดังนี้

ผู้จัดทำได้ทำ Google Forms แบบประเมินความพึงพอใจกระบวนการเพิ่มประสิทธิการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนประเมินความพึงพอใจและใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบต่อไป

การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action-A)

การปรับปรุงแก้ไข

จากผลปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติในการคัดลอกข้อมูลบนเว็บไซต์ในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง โดยได้ทำการวิเคราะห์ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ส่งข้อสอบและอาจารย์ผู้สอนในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบนั้น ผลปรากฎว่ากระบวนการใหม่ของการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีข้อดีกว่ากระบวนการเดิมคือ

  1. ผู้ส่งข้อสอบและอาจารย์ผู้สอนได้ทราบวันส่งข้อสอบรายวิชาของตนเองล่วงหน้า
  2. ผู้จัดทำสามารถลดเวลาในการพิมพ์แต่ละรายวิชาที่มีการสอบในแต่ละภาคการศึกษา
  3. มีความสะดวกในการดูรายละเอียดไฟล์การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและวันส่งข้อสอบในระบบ doms

การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงาน

การจัดทำมาตรฐานกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ (Flowchart ในข้อ 3.3.2) เป็นการนำแนวทางใหม่ที่ดีกว่าเดิมมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้บริการการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาในการจัดทำน้อยลง

สรุปและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดำเนินงาน

สรุปผลการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ โดยการนำไปทดลองปฏิบัติในการจัดการทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ แต่ละภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ ได้ดังนี้

  1. ผู้ส่งข้อสอบและอาจารย์ผู้สอนได้ทราบวันส่งข้อสอบรายวิชาของตนเองล่วงหน้า
  2. ผู้จัดทำสามารถลดเวลาในการพิมพ์แต่ละรายวิชาที่มีการสอบในแต่ละภาคการศึกษา
  3. มีความสะดวกในการดูรายละเอียดไฟล์การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและวันส่งข้อสอบในระบบ doms

ข้อเสนอแนะ

  1. ในการจัดสอบแต่ละภาคการศึกษาอาจารย์ผู้สอนต้องกำหนดรายวิชาของตนเองให้ชัดเจน เช่น สอบในตารางหรือสอบนอกตาราง
  2. การส่งข้อสอบควรส่งตามเวลาที่กำหนดในตารางที่ทางศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาได้กำหนด
  3. อาจารย์ผู้สอนตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งต้นฉบับข้อสอบมาผลิต เพื่อลดความยุ่งยากขั้นตอนลดเวลาแก้ไขในการผลิตข้อสอบรายวิชานั้น ๆ

Visits: 28

Comments

comments

Back To Top