การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ห้องประชุม และงานบริการโสตทัศนูปกรณ์อื่นฯช่างเทคนิคงานบริการโสตฯได้รับมอบหมายให้บริการควบคุมโสตทัศนูปกรณ์ ตามทีมีการจองใช้เพื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่เวลา 07.30-19.30 น.ทุกวัน โดยไม่มีวันหยุดราชการ การให้บริการที่ผ่านมามักมีปัญหาในเรื่องการให้บริการทีไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม ตามเวลาการจองห้องที่ผู้ขอใช้บริการต้องการได้ เนื่องจากเวลาปฎิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปฎิบัติงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.ทำให้มีช่วงเวลาก่อน 08.30 น และหลังจาก 16.30 น. เป็นช่วงเวลาทีไม่มีช่างเทคนิคค่อยให้บริการห้องเรียนทีมีการจองของผู้ใช้บริการทำให้เกิดช่องว่างเป็นปัญหาในการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อนโยบายการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องจัดหาช่างเทคนิคควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำอาคาร เนื่องจากอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน มีหลายอาคารและอาคารแต่ละหลังอยูห่างไกลกัน จึงต้องมีช่างเทคนิคประจำอาคารสำหรับให้บริการในแต่ละกลุ่มอาคารในช่วงเวลาวันทำการปกติจะมีช่างเทคนิคค่อยให้บริการตลอดเวลา ผู้ใช้บริการสามารถเรียกช่างเทคนิคได้ในกรณีอุปกรณ์สื่อโสตฯในห้องเรียนมีปัญหา แต่หากมีการเรียนการสอนนอกเวลาทำการเช่น ช่วงเวลา 07.30-08.30 น.และเวลา 16.30-19.30 น. ต้องมีช่างเทคนิคทำงานนอกเวลาประจำอาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารเรียนรวม ค่อยให้บริการแก้ไขปัญหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในอาคารเรียนให้กับผู้ใช้บริการ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณค่าทำงานล่วงเวลาของช่างควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการทำงานล่วงเวลาของนายช่างเทคนิคซึ่งผู้บริหารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ต้องหาวิธีการปรับลดค่าใช่จ่ายในส่วนนี้ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนจากปัญหาดั่งกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบจึงได้หาแนวทางการปรับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการเป็นแบบเหลื่อมเวลาเพื่อลดค่าทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนคนทำงาน และลดเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องกันในแต่ละวันของช่างเทคนิค จึงได้บทสรุปในการทำงานแบบเหลื่อมเวลาของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ การปฎิบัติงานควบคุมสื่อโสตฯสำหรับการเรียนการสอน ในอาคารเรียนรวมแบบเดิมก่อนทีจะมีการปรับปรุงใหม่ แบบเหลื่อมเวลา ตามตารางที่ปรากฎจะเห็นว่าช่างเทคนิคจำนวน 6 ท่าน เข้าทำงานเวลา 07.30Read More →

Google คงไม่มีใครไม่รู้จัก คำว่า Google เพราะการหาข้อมูลปัจจุบันนี้ มีอยู่ใน Google มากที่สุด เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนหาอ่านได้ง่ายที่สุด และด้วยที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่โตมาก ทำให้มีข้อมูลที่ค้นหามีมากเช่นกัน การหาข้อมูลบน Google ถ้าไม่มีเทคนิค ตัวกรอง ตัวดำเนินการแล้ว ผลการสืบค้นจะเป็นขยะเสียเยอะ ผลการสืบค้นจะไม่ตรงกับความต้องการ หรือข้อมูลที่ตรงความต้องการหาได้ยาก ใช้เวลานานกว่าจะได้คำตอบ เทคนิคการค้น Google ในเนื้อหาบทนี้ จะแนะนำเทคนิค ตัวดำเนินการ ให้นักสืบค้นข้อมูลได้คำตอบที่ตรงใจมากที่สุด ผู้เขียนขอเลือกเฉพาะตัวดำเนินการที่จำง่ายและใช้งานบ่อยมาแนะนำ ตัวดำเนินการ เครื่องหมาย “……” การใช้เครื่องหมายคำพูด คือค้นหากลุ่มคำในเครื่องหมายคำพูดเท่านั้น ไม่แยกคำค้นหา เช่น “สหกรณ์นอกภาคการเกษตร” + vs and & or คือ รวมคำค้นหา ทั้งคำหน้าและคำหลัง เช่น ไอแพด+แท็บเล็ต – คือการยกเว้น หรือไม่ต้องการ เครื่องหมาย –Read More →

WULecturebuilding

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ. 2565 ช่วงเปิดใช้อาคาร แต่…แต่ ….เคยสงสัยกันบ้างไหม? แทนที่จะมีอาคารเรียงไปตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กลับมีอาคารเรียนรวม หนึ่ง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด รวมเป็น 6Read More →

One stop service

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 11Santat Sarakบรรณารักษ์Read More →

ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ (Automatic Speed Enforcement System) จะทำหน้าที่คอยตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งเกินกำหนด (สามารถกำหนดค่าความเร็วของรถได้) ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ ● สามารถตรวจจับได้ในระยะ 120 เมตร จากตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์● ตรวจจับพร้อมกันได้ถึง 4 เลน● ตรวจจับความเร็วรถสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง● ใช้หลักการของ Doppler Radar ที่มีความแม่นยำสูง● สามารถแยกประเภทรถได้ถึง 3 ประเภท● สามารถตรวจจับและถ่ายภาพได้แม้ในช่วงเวลากลางคืน● บันทึกภาพรถ, ป้ายทะเบียน, ความเร็ว, วันเวลาที่กระทำผิด ตรวจสอบย้อนหลังได้● ส่งสัญญาณและข้อมูลที่ได้ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ง่ายต่อการควบคุมและจัดการ● มีโปรแกรมวิเคราะห์จับภาพป้ายทะเบียนเพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานประกอบการออกใบสั่ง● มีโปรแกรมจัดการเพื่อออกใบสั่ง ได้แบบ Real Time และย้อนหลังได้, ใบสั่งจัดเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี● รองรับการเชื่อมต่อกับกรมการขนส่ง เพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลเจ้าของรถ ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบตรวจจับความเร็วติดตั้งแบบถาวรเป็นระบบกล้องตรวจจับความเร็วยานพาหนะRead More →

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird eye view โดยการเดินสำรวจพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วยตนเอง จนออกมาเป็นแผนที่ฉบับแรกที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ก่อนจะพัฒนาขึ้นเป็นแผนที่ฉบับกราฟิกคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ ปัจจุบันผู้สร้างแผนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฉบับแรกได้ครบอายุการทำงานในเดือนตุลาคม 2565 จึงได้ผลงานฉบับ Master piece เป็นสตอรี่หนึ่งแห่ง 30 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Visits: 11Santat Sarakบรรณารักษ์Read More →

รับร้องเฟรชชี่รุ่นแรก'41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41 เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ โดยกำหนดให้เป็นลักษณะ “กลุ่มสัมพันธ์” เป็นการรับน้องมิติใหม่ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวกับชีวิตที่เติบโตขึ้นในเมืองมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรุ่นพี่ (เฟรชชี่เรียกว่าพี่บุค ย่อมาจากพี่บุคลากร) ดำเนินการต้อนรับเฟรชชี่ รหัส 41 ด้วยความอบอุ่นเหมือนเป็นพี่น้อง เพราะฉะนั้นนักศึกษารุ่นแรกกับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะรู้จักสนิทสนมใกล้ชิดกันมาก มีอะไรก็ปรึกษาสอบถามหารือตักเตือนสั่งสอนกันอย่างสะดวกใจ ไม่มีบรรยากาศรับน้องแบบ SOTUS จนมีความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง หรืออึดอัด ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการรับน้องที่สร้างสรรค์ นักศึกษาใหม่มีความสบายใจ และถ่ายทอดกิจกรรมรับน้องประดู่ช่อใหม่  ด้วยความอบอุ่นสืบต่อกันมา จนปัจจุบัน ครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 29 มีนาคม 2566Read More →

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่ วังผีเสื้อ อ่านแล้วไม่ใช่สถานที่ในยุทธภพนิยายจีนกำลังภายใน ที่มาชื่อนี้เป็นทั้งชื่อกลุ่มนักศึกษาชายรุ่นแรกๆ ของมวล. ที่กล้าแสดงออก ร่าเริง และยังมีที่มาคือเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหลังอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น เพราะมักจะมีวัชพืชผักตบลอยแพกีดขวางเส้นทางน้ำ คลองระบายน้ำที่ไหลผ่านหลังศูนย์บรรณสารฯ และโรงอาหารสี่จึงมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าวังผีเสื้อไปด้วย โรงอาหารสี่เป็นโรงอาหารที่อยู่ใกล้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันด้วย Covered way  ต่อไปนักศึกษาใหม่ก็คงไม่เห็นชื่อโรงอาหารสี่ในตำนานของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกๆ อีกต่อไป เพราะกำลังปรับปรุงอาคารเป็นสตูดิโอของหลักสูตรนิเทศศาสตร์รองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องใช้งานเพิ่มขึ้น เลยบันทึกข้อมูลและภาพในอดีตของโรงอาหารสี่ที่มีคลองระบายน้ำไหลผ่านในเส้นทางที่แปรเปลี่ยนไป ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องจากโรงอาหารสี่อยู่ในพื้นที่กลุ่มอาคารปฏิบัติงานของบุคลากร เลยเป็นแหล่งพักรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน รวมกับนักศึกษาที่เรียนอาคารวิชาการใกล้ๆ ด้วย เลยเป็นโรงอาหารในความทรงจำของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกจวบจนถึงปี 2566 ที่จะกลายเป็นอาคารปฏิบัติการตรงข้ามตึกสหกิจศึกษาและใกล้ตึกเรียนรวม 6 (ST) นอกจากเป็นแหล่งพักทานข้าวแล้ว โรงอาหารสี่ในอดีตยังเป็นสถานที่จัดเลี้ยงอาหารสำหรับการประชุมสัมมนาต่างๆ และสถานที่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์รื่นเริง ซึ่งต่อไปก็คงไม่มีอีกแล้ว บางครั้งเมื่อเข้าไปอ่านการ Check in สถานที่ก็จะปรากฎชื่อจุด Check in ฮาๆ เช่น ที่ทานข้าวของนักศึกษาวิศวะ นักศึกษาแพทย์สุดหล่อ อีกด้วย   ความคิดเห็น เขียนความคิดเห็น… Visits: 11SantatRead More →

กว่าจะมาเป็น Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart card จากระบบอ่านข้อมูลจากแถบ Barcode มาเป็นระบบฝังชิพข้อมูล และเป็นระบบ RFID (Radio Frequency Identify) ในปัจจุบัน ทำให้สมาชิกห้องสมุดไม่ต้องต่อคิวรอใช้บริการยาวเหมือนในอดีต และมีภาพโปรไฟล์สวยหล่อปรากฎระบบคุณภาพดีกว่าระบบเก่า Visits: 6Santat Sarakบรรณารักษ์Read More →

มหาลัยไร้รั้วแต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย จะตัดออกไปสู่ถนนทางหลวง 401 ซึ่งเป็นพื้นที่ตำบลท่าศาลา ถนนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีเส้นทางออกไปยังวัดนางตรา และหากเป็นด้านข้างมหาวิทยาลัย จะเป็นเส้นทางออกวัดแส็งแรง วัดบนถนน วัดคลองดิน นับเป็นอีก 2 เส้นทาง ทางออกตรงสามแยกสนามกีฬาตุมปัง คือ เส้นทางไปสู่วัดโคกเหล็ก ทางออกประตูหลังมหาวิทยาลัยคือชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ในพื้นที่ตำบลไทยบุรี และด้านหลังกลุ่มบ้านพักบุคลากรวลัยนิวาสจะมีทางออกผ่านคลองเกียบไปสู่วัดเก่าแก่คือวัดสโมสร นอกจากนี้ยังมีเส้นทางเล็กๆ ข้างศูนย์กีฬาผ่านพื้นที่เกษตรชาวบ้านออกสู่วัดพระอาสน์ได้อีกด้วย นับว่าเป็นพื้นที่ Unseen ก็ว่าได้ เพราะล้อมรอบด้วยวัด ซึ่งนี่ยังไม่ได้นับวัดตุมปังร้างซึ่งขึ้นทะเบียนโบราณสถานตุมปังไปแล้ว อีกทั้งยังมีวัดจันทร์ร้างที่โบราณเคยอยู่มุมหนึ่งของพื้นที่เป็นสระน้ำสวนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปัจจุบัน บันทึกเรื่องราวน่าทึ่งนี้ไว้ให้เข้ากับบรรยากาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์Read More →

ใครไม่หลงสิแปลก?

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี ก่อนเปิดเทอม จะมีการสอบวัดระดับนักศึกษาเพื่อแยกกลุ่มจัดตารางสอน ทีนี้อาคารเรียนรวม 1,3,5,7 จะมีลักษณะพิเศษ คือชั้น 3 จะเป็นห้องรวมอยู่แยกกัน 2 ปีกของตึก มีบันไดขึ้นลงแยกกันต่างหาก มองลงมาจะเห็นโถงชั้น 2 ตัวอย่าง มักจะมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากที่สับสนระหว่างห้องสอบที่ 5310 กับ 5301 ทั้งขึ้นบันไดผิดฝั่ง จำเลขห้องสลับกัน เลยไปเข้าห้องสอบผิด ถ้ามีเวลาเหลือมากก็ไม่เป็นไร แต่พอเวลาจวนเจียนก็ต้องวิ่งลงมาชั้น 2 ก่อน แล้วไปขึ้นชั้นRead More →

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The Center for Library resources and Education Media มีชื่อย่อหน่วยงานภาษาไทยว่า ศบส. ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า CLM มีอาคารแยกออกมาจากอาคารอื่นๆ เนื่องจากเป็นแหล่งบริการทรัพยากรสารสนเทศ ยังให้บริการผลิตสื่อการเรียนการสอนทุกรูปแบบ และให้บริการโสตทัศนูปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน ตามที่อาจารย์นักศึกษาได้รับบริการตามห้องเรียนทุกอาคาร อีกไม่นานจะมีการปรับปรุงอาคาร นักศึกษาใหม่รหัสใหม่ปีหน้าอาจจะต้องไปใช้บริการ ณ อาคารอื่น คอยติดตามข่าวการย้ายหน่วยงานเร็วๆ นี้ Visits: 6Santat Sarakบรรณารักษ์Read More →

บทนำ e-book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้  ความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง และพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจุบัน จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือสามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ มีความทนทานและสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลัง ซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสาเนาได้เท่าที่ต้องการประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย  วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model กระบวนการตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib นำมาเป็นตารางวิเคราะห์Read More →

จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษา เรื่อง การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ด้วย กูเกิลด็อก กูเกิลชีท กูเกิลสไลด์ | Online collaboration with Google Docs, Google Sheets and Google Slides อาจเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็น Application สำหรับสร้าง จัดการงานเอกสารประมวลผล และนำเสนอ ที่สามารถอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้บัญชี google มีส่วนร่วมในการทำงาน แก้ไขบนไฟล์ที่ได้รับอนุญาตได้แบบ Real Time ซึ่งได้รวบรวมเกร็ดความรู้มากฝากคะ Google Docs เป็นโปรแกรม สำหรับสร้างงานเอกสาร และสามารถจัดรูปแบบเอกสารได้เช่นเดียวกับ Microsoft Word โดยสามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน Web Browser เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บ หน้าแรกของ Google Docs ต้องลงชื่อเข้าใช้งานก่อน เมื่อเข้าสู่เว็บ หน้าแรกของ google docs สามารถสร้างเอกสารใหม่ได้Read More →

จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้ คำว่า “วัฒนธรรมท้องถิ่น” กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นขนาดโซนภาคใต้เองที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ก็จะมีจุดเน้นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าแตกต่างกัน เราจะเห็นว่าบทบาทศาสตราวุธ โดยเฉพาะ 6 ภาคใต้ตอนล่างศาสตราวุธที่มีความเด่นมาก ในท้องถิ่นภาคใต้ก็คือกริชใน 6 ภาคใต้ตอนล่าง กริชหรือออกเสียงเป็นภาษาอินโดนีเซียบาฮาซาออกเสียงว่าเกอริช 2 พยางค์แต่คนไทยเอาคำนี้มาใช้เรียกรวมกันว่ากริชใน อินโดนีเซียบาฮาซา แปลว่าแทงในระยะประชิดตัว แต่ว่าพอเป็นคำกริยา เวลามาอยู่ในประเทศไทยออกเสียงเป็นพยางค์เดียวว่ากริช แต่คนในอินโดนิเซียออกเสียงว่าเกอริชRead More →

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังเริ่มต้นการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ  และ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีความสวยงามสื่อความหมายถูกต้องตามหลักของสื่อสาธารณะ อันดับแรกเรามาเรียนรู้และทำความรู้จักกับการตั้งค่าพื้นฐานของกล้องเพื่อให้ได้ถ่ายภาพที่สวยงามมากขึ้น อันได้แก่ 1. การปรับค่าควบคุมแสง 3 ค่า คือ ค่า F-stop, ISO และสปีดชัตเตอร์ 2. การบันทึกภาพต่อวินาที หรือ Framerate 3. การปรับความสมดุลแสงสีขาว หรือ White Balance การปรับค่าควบคุมแสง ค่าแรก คือ ค่ารูรับแสง โดยทั่วไปเรามักจะเรียกค่ารูรับแสงสั้น ๆ ว่าค่า F เป็นการปรับขนาดรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปตกกระทบบนเซนเซอร์ การปรับค่า F แปรผกผันกับการรับแสง กล่าวคือ ค่ารูรับแสงน้อยเซนเซอร์จะรับแสงได้มาก ภาพที่ถ่ายออกมาจะสว่าง ในขณะที่ค่ารูรับแสงมากเซนเซอร์จะรับแสงได้น้อยภาพที่ถ่ายออกมาจะมืด  จึงควรปรับค่า F-stop ให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่าที่ 2 คือ สปีดชัตเตอร์ หรือค่าความไวของชัตเตอร์ หรือม่านที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดการรับแสงที่ผ่านมาจากเลนส์ชัตเตอร์Read More →