Category: Uncategorized

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่นักวิจัยและนักวิชาการทุกคนควรต้องทำ เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยและนักวิชาการควรถือว่าเป็นหน้าที่ ซึ่งอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอใด้หลายวิธี คือ การพูดทางวิชาการ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ หรือด้วยการตีพิมพ์ เป็นต้น การฝึกซ้อมกันนำเสนอ  เนื่องจากการนำเสนอการวิจัยจะเป็นเรื่องใหม่เสมอ ผู้วิจัยจึงต้องฝึกซ้อมก่อนนำเสนอทุกครั้งเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการดังนี้คือ การเตรียมการนำเสนอ และการนำเสนอ การประเมินเพื่อพัฒนาการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ อาจประเมินด้วยการสังเกต ในปฏิกิริยาของผู้ฟัง ควรออกแบบการประเมินที่จะได้สารสนเทศสนองต่อนักวิจัยที่จะนำไปพิจารณาปรับปรุงการนาเสนอครั้งต่อไป ข้อพึงปฏิบัติการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนตามลำดับขั้นตอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา, มีการนำเสนอในแต่ละหัวข้อประมาณ 1-2 นาที, มีการฝึกฝนการพูดให้กระชับและตรงประเด็น, มีการวางแผนการใช้สื่อให้เหมาะกับสาระ, ปรับเนื้อหาให้ตรงประเด็น, ออกเสียงชัดเจน, พูดถึงเหตุผลการวิจัยที่ชัดเจน และควรเน้นนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ ข้อไม่พึงปฏิบัติที่การนำเสนอที่ไม่มีประสิทธิภาพ การนำเสนอโดยการพูดทางวิชาการ การเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการด้วยวาจา มีเวลาจากัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย สาระด้านการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ รูปแบบเอกสาร/ผลงานวิจัยสาหรับการนำเสนอด้วยวาจา และแนวทางการเตรียมเอกสาร/ผลงานใช้ประกอบการเสนอผลงาน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2559) ดังนี้ รูปแบบของผลงานวิจัยสาหรับการเสนอด้วยวาจา สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมในการนาเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา […]

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย | Thai for Contemporary Communication

การเข้าใจและพัฒนาทักษะทางภาษาไทยทั้งการรับสารและส่งสาร โดยในด้านการรับสารสามารถพัฒนาทักษะการจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านและที่ฟัง การวิเคราะห์เชื่อมโยงประเด็นย่อย ๆ จากเรื่องที่ฟังและอ่านจนเข้าใจและสามารถยกระดับเป็นความรู้ใหม่ การเสนอข้อคิดเห็นหรือให้คุณค่าต่อเรื่องที่อ่านและฟังได้อย่างมีเหตุผลและสอดคล้องกับคุณค่าทางสังคม ในด้านการส่งสารสามารถพัฒนาทักษะการนำเสนอความคิดผ่านการพูดและการเขียนได้อย่างมีประเด็นสำคัญและส่วนขยายที่ช่วยให้ประเด็นความคิดชัดเจนและเป็นระบบ การนำข้อมูลทางสังคมมาประกอบสร้างเป็นความรู้หรือความคิดที่ใหญ่ขึ้น การพูดและการเขียนเพื่อนำเสนอความรู้ทางวิชาการที่เป็นระบบและน่าเชื่อถือ บทที่ 1 ทำความรู้จักกับภาษาและการสื่อสาร ในความเปลี่ยนแปลง อันเป็นอนิจจัง และเป็นพลวัต “การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” ดูจะเป็นกุญแจดอกสำคัญในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข สมานฉันท์ บนหลักการแห่ง..ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย..ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์             ความหมายของการสื่อสาร                การสื่อสารว่า คือ กระบวนการที่บุคคลคนหนึ่ง ถ่ายทอดสารไปยังอีกบุคคลหนึ่งและบุคคลหลังมีปฏิกริยาตอบโต้ โดยใช้สัญลักษณ์คือเครื่องหมายทั้งเป็น ภาษาคือคำพูดและภาษาที่ไม่ใช่คำพูด และปฏิสัมพันธ์นั่นคือปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร                จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าการสื่อสารเป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวันเช่น เดียวกับพฤติกรรมอื่น ๆ โดยมีผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญสองฝ่ายคือ ฝ่ายถ่ายทอดและฝ่ายรับสาร และทั้งสองฝ่ายมีปฏิกิริยาโต้ตอบกันภายใต้สัญลักษณ์ต่าง ๆ และเกิดการตอบสนอง ประเภทของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร วัจนภาษา คณาจารย์โปรแกรมวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. (2548) ได้ให้ความหมายของวัจนภาษาไว้ว่า วัจนภาษา คือ ภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มีระบบระเบียบวิธีในการใช้สำนวน อวัจนภาษา หรือภาษาท่าทาง คือ การไม่ใช้ภาษาถ้อยคำเป็นตัวสื่อ ผู้รับสารอาจจะสังเกตจากการมองเห็น น้ำเสียงหนักเบา […]

สาระน่ารู้กำปั้นโลก : 4 สถาบันหลักของวงการมวยโลก

หลังจากเคร่งเครียดกับเรื่องราวเชิงวิชาการซะส่วนใหญ่ในระเบียงบรรณปันสาระ ลองมาผ่อนคลายกับเรื่องราวเบา ๆ กันบ้างดีกว่าครับ ซึ่งขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวงการกีฬาระดับโลก นั่นก็คือ วงการมวยสากลอาชีพ หลาย ๆ คน โดยเฉพาะส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นผู้ชายที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ (แต่ก็มีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่แอบชื่นชอบกีฬาชนิดนี้อยู่เหมือนกัน) ดังนั้น วันนี้ผมจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสถาบันมวยโลกหลัก ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันว่าหากนักมวยสากลอาชีพคนใดสามารถก้าวขึ้นสู่ทำเนียบการเป็นแชมป์คว้าเข็มขัดของ 4 สถาบันนี้ในแต่ละรุ่นมาครองได้สำเร็จ นักชกคนนั้นก็จะถูกแฟนมวยทั่วโลกเรียกขานเค้าว่า “แชมป์โลก” งั้นเรามาทำความรู้จักสถาบันมวยโลกทั้ง 4 ย่อ ๆ กันพอหอมปากหอมคอกันสักนิดหน่อยดีกว่าว่ามีชื่อเสียงเรียงนามและความเป็นมาอย่างไรกันบ้าง โดยผมขอเรียงข้อมูลประวัติจากลำดับความเก่าแก่ของระยะเวลาที่ก่อตั้งสถาบัน ได้ดังนี้ 1) สมาคมมวยโลก World Boxing Association เรียกย่อๆว่า ‘ WBA ‘ 2) สภามวยโลก World Boxing Council เรียกย่อๆว่า ‘ WBC ‘ 3) สหพันธ์มวยนานาชาติ International Boxing Federation เรียกย่อๆว่า ‘ IBF ‘ 4) […]

ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย จะมีอยู่ในแต่ละบุคคลมากหรือน้อยแตกต่างกัน ออกไปตามศักยภาพของแต่ละบุคคล พฤติกรรมหรือบุคลิกภาพของบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ © เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ ไม่ชอบตามแบบใคร ไม่คล้อยตามความคิดเห็นของผู้อื่นง่ายๆ กล้าคิด กล้า แสดงออก ชอบแสดงความเห็น ชอบคลุกคลีในสังคม ถือตัวเองเป็นศูนย์กลาง © วางแผนอนาคตไปข้างหน้า เต็มใจทำงานหนักหรืออุทิศเวลาให้กับงานหรือสิ่งที่ตนเองสนใจ มีความมานะที่จะ ทำงานยากๆ ให้สำเร็จ เปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่หลีกเลี่ยงงานมีประสบการณ์การทำงานอย่างกว้างขวาง © มีความตื่นตัวอยากรู้ อยากเห็น เต็มใจเสี่ยงในทุกสถานการณ์ ขยันหมั่นเพียร มีแรงจูงใจในการทำสิ่งต่างๆ มี จินตนาการ © แก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีและรวดเร็ว มองการณ์ไกล คิดได้หลายแง่หลายมุม สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้เป็น อย่างดี คิดได้อย่างคล่องแคล่วและมีความยืดหยุ่นทางความคิด พร้อมเปลี่ยนแปลงวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลที่ดีกว่า ช่าง สงสัยและชอบคิดหาคำตอบ © มีสมาธิ มีความสามารถในการคิดพินิจพิเคราะห์ได้อย่างถี่ถ้วน © ชอบคิดและทำสิ่งที่แปลกใหม่ สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนได้ ชอบความยุ่งยากเพราะมีความสุขกับการแก้ไข ปัญหา […]

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน

ทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลในการทำงาน คือ ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน โดยใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด © การรับฟังผู้อื่น และ การจูงใจผู้อื่น     ฟัง คือ การรับรู้ความหมายจากสิ่งที่ได้ยินเป็นการรับรู้ทางหู การฟังที่มีประสิทธิภาพ โดยต้องใช้ความตั้งใจมีสติรู้ตัว ขณะที่ฟังฉันรู้สึกอย่างไร คิดอะไร คาดหวังอะไร ต้องการอะไร และฟังโดยไม่ตัดสินจากประสบการณ์ตนเอง หากองค์การใดมีบุคลากรที่มีความสามารถในการสื่อสาร คือ สื่อสารได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองต้องการสื่อ ควบคุม อารมณ์ได้ดี มีความสามารถในการสื่อสาร ก็จะทำให้การประชุม การอภิปรายนั้น โดยสามารถหาข้อสรุปได้ และทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน ตรงข้ามกันหากองค์การใด มีการสื่อสารที่ไม่เหมาะสม หรือการ สื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ก็อาจนำมาซึ่งความไม่เข้าใจ ความขัดแย้ง จนกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน การจูงใจ ประกอบด้วย ความต้องการ แรงขับ และสิ่งล่อใจ ความต้องการ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ความต้องการภายนอก และความต้องการภายใน ความต้องการ จะเกิดขึ้นจากภาวะของการขาดแคลน หรือการไม่ มี เช่น ต้องการเงินเพราะไม่มีเงิน […]

ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ | English Communication Skills

Greeting and introducing oneself Making Friends เรื่องของการทักทาย การกล่าวลา การแนะนำตนเอง การแนะนำผู้อื่น การถามข้อมูลส่วนตัว และการบอกข้อมูลส่วนตัว ในการทักทายช่วงเช้าเราจะใช้คำว่า Good morning ในการทักทายตั้งแต่หลังเที่ยงคืนจนถึงก่อนเที่ยงวันและหลังเที่ยงวันไปแล้วเราจะใช้คำว่า Good afternoon ซึ่งเป็นการทักทายตั้งแต่หลังเที่ยงวันจนถึง 18.00 น. โดยประมาณ และในช่วงเย็นเราจะใช้คำว่า Good evening ซึ่งเราจะใช้ตั้งแต่หลัง 18.00 น. ไป สำหรับคนที่เราคุ้นเคยหรือเป็นญาติ เป็นเพื่อนสนิทเราสามารถใช้คำว่า Hi หรือ Hello ในการทักทายได้ แต่ว่าคำว่า Hi กับ Hello ยังสามารถใช้กับคนที่เราไม่สนิทสนมหรือไม่คุ้นเคยหรือแม้แต่ในสถานการณ์ที่เราไปเจอกับคนไม่คุ้นเคย ในสถานการณ์ที่เราไม่คุ้นเคยด้วยเช่นกันในการถามสารทุกข์สุขดิบเรามักจะคุ้นเคยกับคำถามว่า How are you ซึ่งมีความหมายว่าเป็นยังไงบ้างสบายดีหรือเปล่า แต่ทั้งนี้เราสามารถใช้ประโยชน์อื่นๆ เพื่อถามว่าเป็นยังไงบ้างสบายดีหรือเปล่าด้วยเช่นกัน คำถามเช่น How are you doing?, Are you alright?, […]

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ Graphic Design Crash Course

การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ จะทำให้ผู้ศึกษาได้เห็นภาพรวมของการออกแบบกราฟิกเพื่อการนำเสนอ ความหมาย องค์ประกอบและประโยชน์ของอินโฟกราฟิก ประเภทของอินโฟกราฟิก กระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิก การสร้างอินโฟกราฟิกอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังในการออกแบบอินโฟกราฟิก โปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อนำเสนออินโฟกราฟิก หลายคนคงได้ยินคำว่าอินโฟกราฟิก Infographic กันบ่อยมากในช่วงนี้ทั้งในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์และสื่อสาธารณะทั่วไป Infographic มาจากคำ 2 คำ ผสมเข้าด้วยกัน คือ คำว่า Information และ Graphic ซึ่งหมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้ภาพกราฟิกมาแทนที่ข้อมูลตัวอักษรหรือตัวเลขเป็นการย่นย่อข้อมูล ตัวอักษรหรือตัวเลขจำนวนมากมาใช้ภาพกราฟิกในการสรุปเนื้อหาให้สั้นกระซับและเข้าใจง่ายเพียงกวาดตามองซึ่งเหมาะสำหรับคนในยุค IT ที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ซับซ้อนและมีจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วก่อนที่พวกเขาจะเบื่อหน่ายเสียก่อน ดังนั้นอินโฟกราฟิกจึงเปรียบเหมือนเป็นผู้ช่วยเข้ามาจัดการกับข้อมูล-ตัวเลข-ตัวอักษรที่เรียงรายเป็นจำนวนมากเหมือนยาขมให้กลายร่างมาเป็นภาพที่สวยงามการสร้างผลงานด้านอินโฟกราฟิกจึงถือเป็นการเปิดโอกาสให้กราฟิกดีไซเนอร์ได้แสดงทักษะการสื่อสารอย่างเต็มที่เพราะอันที่จริงแล้วการแปลงข้อมูลให้ออกมาเป็นภาพกราฟิกก็เป็นสิ่งที่คนทำกันมาตลอดไม่ว่าจะเป็นภาพถ่าย ภาพวาด กราฟิก กราฟรูปทรงต่าง ๆ ตาราง แผนที่ แผนผัง หรือไดอะแกรม แต่ทักษะทางด้านอินโฟกราฟิกนั้น จำเป็นต้องจัดระเบียบข้อมูล ที่ทั้งมากและหลากหลาย ให้จบได้ในภาพเดียว ประโยชน์ของภาพอินโฟกราฟิก                 ภาพอินโฟกราฟิกที่ดีย่อมสามารถถ่ายทอดเนื้อหาความรู้หรือข่าวสารต่างๆให้ผู้ดูภาพรับรู้ข้อมูลที่ผู้ถ่ายทอดต้องการจะสื่อสารไปยังผู้ดูภาพจากการมองภาพเพียงภาพเดียวซึ่งหลักการนี้สามารถที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น การนำเสนอเนื้อหาที่ยากต่อความเข้าใจให้เป็นข้อมูลที่เข้าใจได้ง่าย การถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม การโฆษณาสินค้า บริการต่างๆ รวมไปถึงการอธิบายผลการสำรวจโพล์และผลงานวิจัย เป็นต้นโดยเฉพาะในด้านการศึกษาที่มีเนื้อหาประเภทที่ต้องการการอธิบายที่มีลักษณะเป็นนามธรรมผู้เรียนเข้าใจได้ยากและต้องการการอธิบายขั้นตอนอย่างกระชับรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการนำเสนอเนื้อหาที่เน้นการเปลี่ยนแปลงทางเจตคติเพื่อรณรงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและพฤติกรรม ตัวอย่างของอินโฟกราฟิกที่น่าสนใจอย่างเช่นภาพอินโฟกราฟิก การให้บริการเครือข่ายไร้สาย Jumbo Plus ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตัวอย่างอินโฟกราฟิกเรื่อง รู้สู้ Flood ที่ให้ความรู้ในเรื่องของการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะน้ำท่วมอย่างมีสติและเข้าใจมีเนื้อหาและวิธีการอธิบายที่เข้าถึงชาวบ้านประชาชนอย่างรวดเร็วโดนใจกลุ่มวัยรุ่นหรือเยาวชนในยุคดิจิตอลและให้ความสำคัญเรื่องน้ำท่วมว่าเป็นอย่างไรและตัวอย่างอินโฟกราฟิกที่ได้รับความนิยม Did you Know? ที่ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คนโดยเฉพาะในเรื่องการสถิติต่างๆ ประเภทของอินโฟกราฟิก                 เราจึงแบ่งประเภทของอินโฟกราฟิกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน 2. การแบ่งตามการออกแบบเลย์เอาท์ Layout 3. การแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน                 โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดอย่างไรกันบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลยครับ ประเภทที่ 1 อินโฟกราฟิกที่แบ่งตามความสลับซับซ้อน                 โดย Randy Krum กล่าวไว้ในหนังสือ Cool Infographics Effective Communication with Data Visualization and Design ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ลักษณะดังนี้ครับ 1. ภาพนิ่ง เป็นแบบที่เรียบง่ายและพบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุดนิยมเผยแพร่ออนไลน์โซเชียลมีเดียต่างๆ หรือ พิมพ์ลงกระดาษมักอยู่ในรูปของไฟล์ JPG PNG GIF และ PDF เป็นต้น 2. ซูมมิ่ง เป็นแบบที่เพิ่มส่วนต่อประสานเข้าไปอีกชั้นเพื่อให้เกิดการโต้ตอบกับอินโฟกราฟิก คุณสมบัติหลักของงานประเภทนี้ คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูเพื่ออ่านรายละเอียดของข้อมูลเนื้อหาได้มักพบในการออกแบบดิจิตัลแบนเนอร์ หรือโปสเตอร์ใหญ่ๆ ข้อได้เปรียบของอินโฟกราฟิกประเภทนี้ […]

ท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว คือการการเรียนรู้  หรือการพักผ่อน แล้วแต่ใครจะให้คำจำกัดความ หรือจะใช้คำนี้เพื่อการสิ่งใด  การท่องเที่ยวเป็นการเปิดโลกทัศน์อย่างหนึ่งทำเราให้สิ่งต่างๆ ที่เรายังไม่เคยพบ หรือบางทีสถานที่แห่งนั้น เรามีความประทับใจ แต่เมื่อเราเดินทางไปยังสถานที่นั้นอีกครั้งก็อาจจะไม่เหมือนเดิมก็ได้                 ประเทศไทยเรามีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย อาจจะเกิดเองธรรมชาติ หรือ มนุษย์รังสรรค์ขึ้นก็แล้วแต่ เราสามารถไปท่องเที่ยว เรียนรู้ เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณีของท่องถิ่นนั้น เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้มีความเข้มแข็งขึ้น เป็นช่วยให้คนในท้องถิ่นไม่ย้ายถิ่นฐาณ เพราะมีรายได้มีความเข้มแข็งครอบครัวไม่ล่มสลาย แต่สิ่งหนึ่งเมื่อเราไปเที่ยวสถานที่นั้น เราเองก็ควรเคารพในสถานที่ เคารพในวัฒนธรรม เพราะแต่ละสถานที่ ย่อมมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม  และสิ่งหนึ่งคือต้องช่วยกันรักษาความสะอาด ไม่ทำลายสิ่งที่มีอยู่เหล่านี้ การท่องเที่ยวก็จะยั่งยืนสืบไป Visits: 26Pichaiyut Suwittayarattana

ขยะ

คำว่า “ขยะ” นี้ช่างแสลงใจเหลือเกิน สำหรับผู้รักความสะอาดหรือผู้บริหารในระดับต่างๆที่แต่ละวันปริมาณขยะหรือสิ่งเหลือใช้ที่ต้องนำมาทิ้ง หรือทำลายโดยวิธีการต่างๆ ซึ่งแต่ละวันมีปริมาณมากมาย แต่ก็มีคนกลุ่มหนึ่ง หรือหลายกลุ่ม แต่เห็นความสำคัญของขยะหรือสิ่งเหลือใช้เหล่านี้ นำมาก่อประโยชน์ ในด้านต่างๆ โดยการแยกขยะตั้งแต่ต้นน้ำโดยขยะเปียกแยกไปทำปุ๋ย ของที่ทำปุ๋ยไม่ได้ก็นำไปขายเช่นพลาสติก เหล็กหรืออะไรอีกหลายอย่าง ถ้าเราสังเกตุให้ดีกลุ่มคนที่รับซื้อของเก่าแถวหมู่บ้านเราก็มีจำนวนหนึ่ง เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าเขาซื้อไปทำไหม และเอาของเหล่านี้ไปไหน สิ่งเขารับไป ก็ไปสู่กระบวนการแยกแต่หละประเภทเช่น แยกเหล็กอะลูมิเนียม ทองแดงตะกั่ว เพื่อนำส่งโรงงานในการแปลรูปใหม่ ที่เรียกว่า     รีไซเคิล นั้นเอง ซึ่งก็ทำให้เป็นการลดพลังงาน ลดโลกร้อนได้เป็นอย่างดีด้วย โลกเป็นของเราทุกคน ต้องช่วยกัน เพื่อโลกจะอยู่กับเรานานๆ Visits: 34Pichaiyut Suwittayarattana

กาแฟ

“แล้ววันนี้  คุณดื่มกาแฟ กันหรือยัง”            ขมดั่งนรก ร้อนดั่งไฟโลกกัลย์ คำฮิตสมัยก่อน ที่คอกาแฟสมัยก่อนได้ยินกันดี ตามร้านกาแฟทั่วไป กาแฟเดี๋ยวนี้ไปทุกสถานที่ทุกหนแห่งมีร้านกาแฟอยู่ทั่วไป เพราะอะไรเคยคิดกันบ้างไหม กาแฟมีถิ่นกำเนิดจากลาตินอเมริกา ในแถบร้อนชื้นซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองที่ไม่ค่อยได้รับความนิยม จนมีชาวไร่ไปเลี้ยงปศุสัตว์ นำสัตว์ไปเลี้ยงตามปกติ แต่สังเกตุเห็นสัตว์ที่เขาเลี้ยงไปกินพิชชนิดหนึ่ง แล้วสัตว์นั้นมีความกระปรี้กระเปร่าร่าเริง เลยไปเอามากินบ้างก็ได้ผลเดียวกับสัตว์คือมีความสดชื่นวิ่งได้ทั้งวัน สิ่งนั้นเองก็คือกาแฟ            กาแฟ ได้รับการถ่ายเทจากที่หนึ่งไปยังแห่งหนึ่งโดยพ่อค้าที่ค้าขายจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีซีกโลกหนึ่ง หลังจาหนั้นพืชชนิดนี้ก้ได้รับความนิยมทั่วโลกในบ้านเราเองก็ได้รับความนิยมไม่ใช่น้อย ร้านกาแฟมีอยู่ทั่วทุกมุมตึก ตามห้างตามสถานที่ต่างๆมีคนบริโภคทำให้เกิดความคล่องตัวทางเศรษฐกิจจากปลายน้ำไปยังต้นน้ำ  Visits: 36Pichaiyut Suwittayarattana

การเมือง

เอ๋ยถึงเรื่องการเมือง ทุกคนคงได้ยินกันบ่อยในสื่อต่างๆ ทั้งสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุหรือโซเชี่ยลมีเดีย แพลทฟอร์ทต่างๆ ซึ่งบางคนอาจจะบอกว่าการเมืองไม่ยุ่ง ยุ่งการมุ้งดีกว่าเหล่านี้เป็นต้น การเมืองมีผลกับพวกเราทุกระดับ เพราะการปกครองในระบบประชาธิปไตย ต้องเลือกตัวแทน หรือ สส. เข้าไปในสภา เพื่อกำหนดการออกกฎหมาย หรือนโยบายต่างๆ ออกมาเหล่านี้มีผลกับพวกเราทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย  หลายคนคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว ไม่ค่อยสนใจเลือกตั้งทีก็รับเงินอย่างเดียว แล้วก็จบกันผลกระทบที่ตามทา ก็เห็นกันอยู่ ทั้งเรื่องผลผลิตทางการเกษตรซึ่งมีผลทางปัจจัยทางการเมือง หรือทางด้านศึกษา การคมนาคม มากำหนดภาคการเมืองทั้งนั้น                ทั้งหมดที่กล่าวมา ก็มาจากเรื่องการเมืองทั้งนั้น สิ่งที่บอกกล่าวและย้ำเตือน คือการพุดคุยการเมืองต้องคุยในกลุ่มคน ที่เข้าใจกันเท่านั้นมิฉะนั้น ความร้าวรานจะตามมา และที่บอกอีกสักเรื่องคือความเห็นต่างในทางการเมืองก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ทำให้คนในชาติแตกความสามัคคีกัน กล่าวคือเห็นต่างแต่สามารถอยู่กันได้และรักความเป็นชาติเหมือนกัน Visits: 28Pichaiyut Suwittayarattana

การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์

ในปัจจุบันการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์กลุ่มคนเหล่านี้ก็ค่อนข้างจะมีเพิ่มปริมาณมากขึ้นเพราะว่า โลกในยุคปัจจุบันมันค่อนข้างจะสะดวกสบายในเรื่องของการนำเสนอสิ่งที่เป็นเนื้อหา เป็นข้อมูล สิ่งต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นเป็นปัจจัยหนึ่งของการดำรงชีวิตนะครับ ก็สามารถจะถ่ายทอดลงในรูปแบบต่าง ๆ มากมายในส่วนของรูปแบบที่ เราจะเห็นอยู่ในยุคปัจจุบัน สามารถแบ่งเรื่องของรูปแบบของรายการที่อยู่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์แบ่งออกได้โดยประมาณ 7 รูปแบบด้วยกัน 1. Publish ก็คือกลุ่มที่เน้นในเรื่องของการนำเสนอในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูล การเผยแพร่ในส่วนของบทความต่าง ๆ ก็จะเป็นกลุ่มของ Publish ซึ่งก็จะเน้นในเรื่องของข้อมูล บทความต่าง ๆ 2. Share ในส่วนของการ Share ก็จะเน้นในเรื่องของการที่ ผู้คนเอาข้อมูลข่าวสารมาเผยแพร่ มาแบ่งปันกันในสังคมออนไลน์นะครับ รวมไปถึงการแบ่งปันความรู้ต่าง ๆ รายการหลายรายการเลยที่เอาความรู้นะครับ เอาเรื่องของความถนัด เอาเรื่องของสาระความรู้ต่างๆ รวมไปถึงรูปภาพ คลิปวิดีโอ ซึ่งเอามาแชร์ให้สังคมได้รับรู้ การถ่ายทอดในเรื่องขององค์ความรู้ของตัวเองเอาความรู้มาเล่าให้คนอื่นฟัง มานำเสนอให้คนอื่นฟัง แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ถือว่าเป็นการแชร์ความรู้ต่าง ๆ ซึ่งก็มีมากมายหลากหลายรูปแบบการแบ่งปันความรู้กันในส่วนของ โลกในยุคปัจจุบัน หรือว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ 3. Discuss ซึ่งหลายคนก็อาจจะทำในลักษณะที่นำประเด็นปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบันเอามาตีแผ่เผยแพร่ออกมาทำให้ผู้คนที่เข้าไปชมได้พบเห็นในเรื่องของ ประเด็นปัญหาเหล่านี้ในสังคมก็แชร์ความรู้หรือว่าแชร์ประสบการณ์ที่ตัวเองเข้าไปเป็นการแลกเปลี่ยนความคิด ซึ่งกันและกันในสังคมใครเข้าไปแชร์ความคิด เข้าไป ช่วยแก้ หรือว่าช่วยตอบปัญหาที่มันมีประเด็นอยู่ในสังคมอะไรอย่างนี้ ก็ถือว่าเป็นการระดมเอาความคิดนั้นมาช่วยกันแก้ปัญหาปัญหาสังคม […]

จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงาน Cross-Cultural Psychology at work

โลกทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่กันไกลแค่ไหนก็เหมือนจะมาบรรจบใกล้กัน โดยเฉพาะมนุษย์ในทุกวันนี้เราจะเห็นว่าทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ทุกภาษาก็มีโอกาสที่จะได้มาพบกันโดยเฉพาะในสถานที่ทำงานไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือองค์กรภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาเรื่องการข้ามวัฒนธรรมโดยในเฉพาะในแง่จิตวิทยาจึงเป็นเรื่องที่ทวีความสำคัญขึ้นมาเรื่อย ๆ แบบที่ว่าควรจะหันมาศึกษาอย่างจริงจังก็ว่าได้ ความหมาย ความสำคัญ และอิทธิพลของวัฒนธรรมของชาติต่อการทำงานร่วมกันของบุคคลในที่ทำงาน ความเชื่อในชาติพันธุ์นิยม ความฉลาดทางวัฒนธรรมและสมรรถนะทางวัฒนธรรมของบุคคล การสื่อสารและความสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรมในที่ทำงานและการบริหารจัดการความขัดแย้ง วัฒนธรรมองค์กร ผู้นำและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ล้วนเป็นประเด็นที่น่าสนใจและควรศึกษาเอาไว้ทั้งนี้ก็เพื่อที่ว่า 1. เข้าใจถึงเรื่องแนวคิดของวัฒนธรรมของชาติและความสำคัญของการศึกษาวัฒนธรรมของชาติในที่ทำงาน 2. เข้าใจเรื่องปัจจัยทางวัฒนธรรมในระดับบุคคลที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง 3. เข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สำคัญในวัฒนธรรมที่แตกต่าง 4. เข้าใจถึงองค์ประกอบขององค์กรที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับบุคคลจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทีนี้เราก็ควรที่จะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับลักษณะหลักของวัฒนธรรมกันก่อน วัฒนธรรม คือ ชุดของวัตถุที่มนุษย์จัดทำขึ้น ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ และพฤติกรรมของกลุ่มคน แต่อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปในรายบุคคล ซึ่งถูกสื่อสารและถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น (Matsumoto, 1996)  ลักษณะหลักของวัฒนธรรม โดยมีอยู่ 4 ประการด้วยกัน ดังนี้ 1. วัฒนธรรมเกิดจากการเรียนรู้ 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีร่วมกัน 3. วัฒนธรรมมีการเปลี่ยนแปลง 4. วัฒนธรรมมีความเชื่อมโยง             วัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่ซับซ้อนของความคิด อารมณ์ และการประจักษ์ที่สังเกตเห็นได้แล้วที่เป็นสัญลักษณ์ โดยวัฒนธรรมนี้สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระดับตามระดับของกลุ่มการมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ดังนี้ 1.วัฒนธรรมระดับชาติ (National Culture) […]

เทคนิคการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ

คุณเคยเจอกับสิ่งเหล่านี้กับตัวเองกันบ้างไหม? เมื่อต้องสวมบทบาทหรือรับหน้าที่ในการนำเสนอเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากภาระหน้าที่การงานต่อผู้บริหาร ที่ประชุม หรือต่อห้องจัดสัมมนาที่มีกลุ่มผู้ฟังนั่งฟังอยู่กันเป็นจำนวนมาก ๆ             “รู้สึกตื่นเต้น, กลัวประหม่าไม่กล้านำเสนอ, ขาดความมั่นใจในตัวเอง, นำเสนอแล้วไม่มีใครฟังเพราะขาดพลังในการนำเสนอ, สื่อที่เตรียมมาไม่น่าสนใจ, จูงใจผู้ฟังไม่ได้เพราะขาดเทคนิคในการนำเสนอ และอื่น ๆ ฯลฯ “             หากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น เราเจอหรือประสบแล้วจะทำยังไงดีละที่จะทำให้สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นหมดไป ทำให้ตัวเราเป็นคนที่นำเสนอได้อย่างมีพลัง มีเสน่ห์ และดึงดูดใจผู้ฟังได้เหมือนกับต้องมนต์สะกด งั้นเรามาเรียนรู้เทคนิคดี ๆ ในการนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพกันเถอะ ลองมาดูกันครับว่ามีเทคนติอะไรบ้าง             แต่ก่อนอื่น เรามาดูความหมายของคำว่า “การนำเสนอ” กันก่อน             การนำเสนอ หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้ ความคิดเห็น และความต้องการของผู้นำเสนอต่อผู้ฟัง ไปจนถึงกลุ่มผู้ฟังจำนวนมาก โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อความเข้าใจ และจูงใจให้ผู้ฟังเชื่อและเกิดความเข้าใจในระยะเวลาจำกัด โดยอาศัยเทคนิค สื่อหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการนำเสนอ อันจะทำให้การนำเสนอนั้นประสบผลสำเร็จ การนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ             การนำเสนอที่มีประสิทธิภาพย่อมเกิดจากองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน ที่สำคัญก็ได้แก่ ผู้นำเสนอ ผู้ฟัง สาร สื่อ และอุปกรณ์การนำเสนอ โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ […]

ทำไมต้องเรียน Thai MOOC

          Thai MOOC คือ แพลตฟอร์มที่สนับสนุนด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด (Thailand Massive Open Online Course) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการเรียนรู้ที่มีมาตรฐานให้กับประชาชนไทย ให้สามารถเรียนได้ฟรีและเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ให้เกิดเป็น “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning) เพื่อพัฒนาศักยภาพคนไทยทั้งการ Upskill และ Reskill ให้พร้อมสู่การทำงานยุคใหม่           ซึ่งรายวิชาใน Thai MOOC นั้นจะผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากคณาจารย์ในสถาบันการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ หรือผู้เชี่ยวชาญที่มาจากองค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ทำให้รายวิชาใน Thai MOOC มีเนื้อหาที่หลากหลาย เหมาะสำหรับการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งทั้งรายวิชาในกลุ่มของสุขภาพและการแพทย์, คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี, วิศวกรรมและสถาปัตยกรรม, การศึกษาและการฝึกอบรม, ธุรกิจและการบริหารจัดการ, สังคม การเมืองการปกครอง, ภาษาและการสื่อสาร, ศิลปวัฒนธรรมและศาสนา, เกษตรและสิ่งแวดล้อม, ทักษะชีวิตและการพัฒนาตนเอง […]

7 เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับการออกแบบ Infographic ให้น่าสนใจ

7 เทคนิคน่ารู้เกี่ยวกับการออกแบบ Infographic ให้น่าสนใจ มีดังนี้          1. ออกแบบ Infographic ให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าจะออกแบบ Infographic ให้เด็ก ๆ ดูก็อาจเลือกใช้ตัวการ์ตูนที่มีสีสันสดใสเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น         2. ออกแบบ Infographic ให้เหมาะกับการแสดงผล ก่อนออกแบบ Infographic ต้องรู้ว่าจะนำไปแสดงผลที่ใด อย่างไร เช่น การแสดงผลผ่านเว็บ ผ่านแอปฯ ในสมาร์ตโฟน จากนั้นก็ออกแบบขนาดของ Infographic ให้เหมาะสม         3. ออกแบบให้ง่าย ทั้งดูง่าย อ่านง่าย และเข้าใจง่าย พยายามลดความซับซ้อนต่าง ๆ ลงอะไรที่ไม่จำเป็น หรือไม่ได้ช่วยให้ Infographic นั้นดูน่าสนใจ ก็ควรตัดทิ้งไป         4. สร้างความสมดุลระหว่างตัวหนังสือกับภาพกราฟิก คือ มีส่วนที่เป็นตัวหนังสือ และส่วนที่เป็นภาพกราฟิกในปริมาณพอเหมาะพอดีไม่ใช่เต็มไปด้วยตัวหนังสือหรือมีแต่ภาพโดยแทบไม่มีตัวหนังสือเลย บางครั้งการมีเพียงภาพอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้ตีความหมายผิดได้ หากเราเลือกภาพที่ไม่ชัดเจนนัก         5. หัวเรื่องต้องน่าสนใจโดดเด่น ข้อความที่คนส่วนใหญ่จะอ่านก่อนใน Infographic นั้นก็คือหัวเรื่องและชื่อของ Infographic นั้น ๆ […]

Back To Top