P D C A : การตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนใหม่ ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

บทนำ

e-book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ 

ความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง และพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจุบัน จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือสามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ มีความทนทานและสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลัง ซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสาเนาได้เท่าที่ต้องการประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย

 วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเพิ่มจำนวนรายการ e-book ฟรีสำหรับให้บริการของฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา
  2. เพื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนของชื่อเรื่องหนังสือฟรี e-book
  3. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

  1. มีฟรี e-book เพิ่มขึ้นสำหรับให้บริการ
  2. ลดความซ้ำซ้อนของระเบียนซ้ำทั้งใน Google sheet และในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib
  3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book ฟรี) ออกให้บริการในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ที่มีคุณภาพ ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด และถูกต้องลิขสิทธิ์การให้บริการ

การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)

การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model

กระบวนการตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib นำมาเป็นตารางวิเคราะห์ SIPOC ดังนี้

การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข

การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค

  • บรรณารักษ์ค้นหาเป็นผู้ค้นหา e-book ฟรี โดยไม่มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูล Walai AutoLib พร้อมนำเก็บมาไว้ใน Google Drive ซึ่งจะเป็นการค้นหาแบบไม่จำกัด จำเป็นต้องมีการตรวจเช็คความซ้ำซ้อน
  • ทำให้เกิดการเสียเวลา และความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบข้อมูลและการเพิ่มข้อมูลเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค

  • ให้มีจุดศูนย์กลางในการตรวจเช็คความซ้ำก่อนการให้บริการ, เพิ่มระเบียนใหม่บรรณานุกรม และเก็บรวบรวมสถิติสำหรับ e-book ฟรีในแต่ละเดือน ด้วยการสร้าง Google Sheet ภายในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับการเพิ่มรายชื่อ e-book ฟรีที่บรรณารักษ์ได้ค้นหา
  • เพื่อเป็นการลดเวลาในการทำงานสำหรับบรรณารักษ์การให้หัวเรื่องและวิเคราะห์เลขหมู่

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการและลงมือปฏิบัติ (Do – D)

การกำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ

การกำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ

  • ตรวจสอบความซ้ำซ้อนข้อมูล e-Book ฟรีที่บรรณารักษ์ค้นหามาเก็บใน Google Sheet
  • สร้างระเบียนใหม่บรรณานุกรมเบื้องต้น สำหรับส่งต่อบรรณารักษ์งานวิเคราะห์ระบบ
  • ลดกระบวนการเตรียมตัวเล่ม
  • ลดเวลาดำเนินการ
  • ลดสถานที่ในการจัดเก็บตัวเล่ม
  • เป็นจุดศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูล e-book ฟรีภายในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ 
  •  รูปแบบการแสดงผลเหมือนเอกสารต้นฉบับ เนื้อหาถูกต้องสมบูรณ์
  •  องค์ประกอบของเอกสารครบถ้วน ตามต้นฉบับ
  •  มีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับฐานข้อมูล Walai AutoLib ก่อนการสร้างระเบียนใหม่
  •  มีความสมบูรณ์ของข้อมูล มีความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือก่อนการออกให้บริการ

การกำหนดผลลัพธ์/ตัวชี้วัดของกระบวนการ

การออกแบบ/ปรับปรุงกระบวนการการตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนใหม่ในระบบห้องสมุด WALAI AutoLib
เครื่องมือในวิเคราะห์ พัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการ

มีการสร้าง Google Sheet เป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่าน Google Drive ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล e-book ฟรีจากบรรณารักษ์ภายในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ และเพื่อเพิ่มความสะดวกในการการทำงานร่วมกัน เพื่อสำหรับบุคคลภายในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ เพิ่มรายละเอียดข้อมูล  ซึ่งทุกคนในฝ่ายพัฒนาสารสนเทศ สามารถเข้าถึง Google Sheet ดังกล่าวได้โดยผ่าน Gmail : librarycontent.wu@gmail.com

เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนงานใหม่

การนำกระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงไปทดลองปฏิบัติ

เริ่มให้มีการรวบรวมการเก็บข้อมูลมูล e-book ฟรีเพื่อนำออกมาให้บริการในฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

เป็นการรวบราม e-book ฟรี จากการให้บริการตามโซเชียลเน็ตเวิร์คมาเก็บรวบรวมและนำออกให้บริการในฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 เป็นต้นไปเพื่อเป็นการเพิ่มรายการทรัพยากรแบบออนไลน์ตามนโยบายผู้บริหาร

การนำกระบวนการที่ออกแบบ/ปรับปรุงไปทดลองปฏิบัติ

     เป็นการรวบราม e-book ฟรี จากการให้บริการตามโซเชียลเน็ตเวิร์คมาเก็บรวบรวมและนำออกให้บริการในฐานข้อมูลห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2566 เป็นต้นไปเพื่อเป็นการเพิ่มรายการทรัพยากรแบบออนไลน์ตามนโยบายผู้บริหาร และในการปฏิบัติงานได้มีการสร้างแบบประเมินความถึงพอใจสำหรับบรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาทรัยพากรสารสนเทศเป็นการสอบถามการถึงพอใจสำหรับการเก็บรวบรวมฟรี e-Book และการสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ให้สำหรับบรรณารักษ์

ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของบรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาทรัพยกรสารสนเทศ

การตรวจสอบผลการปรับปรุง (Check – C)

การปรับปรุงกระบวนการทำงานสำหรับ การตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนใหม่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib เป็นการสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ (เบื้องต้น) เพื่อออกแบบกระบวนการทำงานสำหรับงานการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศแบบออนไลน์ เป็นการเพิ่มจำนวนทรัพยากรสารสนเทศแบบออนไลน์ 

          เป็นศูนย์รวมในการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด e-Book ฟรีภายในฝ่ายพัฒนาฯ ซึ่งมีความสะดวกในการเข้าใช้งาน Google sheet  ในการจัดเก็บข้อมูล
          ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการเตรียมตัวเล่ม
          ลดงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรฉบับตัวเล่ม

โดยให้มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานในรูปแบบเดียวกัน ซึ่งผลการสอบถามความถึงพอใจในการเข้าใช้งานใน Google sheet และการสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่สำหรับบรรณารักษ์ภายในฝ่ายพัฒนา จำนวน 5 คน มีผลประเมินดังนี้

ความพึงพอใจของบรรณารักษ์ภายในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ มีดังนี้

1. ความสะดวกในการเข้าถึง Google Sheet เพื่อจัดส่งรายชื่อ e-book ฟรี มีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด พบว่าบรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาฯ มีความพึงพอใจมาก และระดับความถึงพอใจ โดยค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ 3

2. การสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ (เบื้องต้น) มีความถูกต้องและลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน มีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใด พบว่าบรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาฯ มีความพึงพอใจมาก ระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยระดับ 3

3. ระเบียนบรรณานุกรมใหม่ (เบื้องต้น) การเพิ่ม Tag 856 : URL link e-book ฟรี สำหรับให้บริการ มีความพึงพอใจมากน้อยเพียงใดพบว่าบรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาฯ มีความพึงพอใจมาก ในระดับความพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยระดับ 3

การปรับปรุงแก้ไขและจัดทำมาตรฐาน (Action – A)

การปรับปรุงแก้ไข

  • มีจุดศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล e-Book ฟรี สำหรับฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • ลดการซ้ำซ้อนระหว่างรายชื่อ sheet ตามรายชื่อผู้เกี่ยวข้อง  
  • ลดการซ้ำซ้อนในระบบฐานข้อมูลห้องสมุด WALAI AutoLib
  • URL link ของ e-Book ฟรี มีคุณภาพ สามารถแสดงผลได้เหมือนเอกสารต้นฉบับ
  • e-Book ฟรี มีเนื้อหาถูกต้องสมบูรณ์ ครบองค์ประกอบ (ปก สารบัญ คำนำ เนื้อเรื่อง อ้างอิง)

จากกิจกรรมที่มีขึ้นเพื่อปรับปรุงปัญหาที่บรรณารักษ์จะเป็นผู้ค้นหา และเป็นผู้สร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ (เบื้องต้น) เพียงคนเดียว และไม่มีจุดศูนย์รวมในการเก็บข้อมูล มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน พร้อมด้วยวิเคราะห์หัวเรื่องเพื่อเพิ่มในระบบฐานข้อมูล WALAI AutoLib เพียงคนเดียว อาจเกิดความผิดพลาดได้ ซึ่งการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาโดยการสลับกันตรวจสอบการทำงานมีผลทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรุปและข้อเสนอแนะ

สรุปผลการดำเนินงาน

จากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน การรวบรวม e-Book ฟรีจากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนใหม่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงาน นั้น พบว่าส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานหลายด้าน ดังนี้

  • มีศูนย์กลางในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศฉบับอิเล็กทรอนิกส์ฟรี (e-book ฟรี) โดยผ่าน   Google Sheet มีความสะดวกและเข้าถึงข้อมูลได้ตามสิทธิ์ของแต่ละบุคคลฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
  • ลดความซ้ำซ้อนในการตรวจสอบผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib สำหรับบรรณารักษ์ ซึ่งปฏิบัติงานได้ต่อเนื่องโดยนำระเบียนใหม่บรรณานุกรม (เบื้องต้น) ให้เลขหมู และรายละเอียดของหัวเรื่อง
  • ลดขั้นตอนในการเตรียมตัวเล่ม
  • ประหยัดงบประมาณสำหรับการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศฉบับพิมพ์เป็นรูปเล่ม
  • เก็บรักษาได้ง่าย ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา
  • ค้นหาข้อความได้ ยกเว้นว่าอยู่ในลักษณะของภาพ ทำสำเนาได้ง่าย อ่านได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง เพราะไม่ยับหรือเสียหายเหมือนกระดาษ สะดวกสบาย
  • ลดเวลาในการเข้าถึง เพราะไม่ต้องเดินทาง แค่คลิกเดียวก็สามารถเลือกอ่านหนังสือที่ต้องการได้ทันทีเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาธรรมชาติ โดยลดการใช้กระดาษ
  • บรรณารักษ์ในฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสรสนเทศ มีความพึงพอใจมากในการจัดเก็บข้อมูลรวบรวมรายละเอียด e-book ฟรี ผ่าน Google sheet โดยมีความสะดวกและทุกคนสามารถเข้าถึงไฟล์ได้

ข้อเสนอแนะ

  • subfield tag 856 ที่ควรระวังคือ $u ควรมีการตรวจสอบทุกครั้ง เพราะ tag 856 ผู้ใช้สามารถสืบค้นและเข้าอ่านฉบับเต็มได้จาก OPAC ดังนั้น tag 856 ควรมีความถูกต้องและสมบูรณ์
  • ควรให้มีการตรวจเช็คความซ้ำซ้อนใน Google sheet ก่อนการบันทึกรายการ e-book ฟรี
  • การลงรายการเบื้องต้นช่วยให้สามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

ความคาดหวังขยายผลการปฏิบัติงานตามเกณฑ์การคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฟรี

  • ในอนาคต  จะต้องมีการพิจารณาความคุ้มค่าจากการผลงานในครั้งนี้ โดยเพิ่มเติมส่วนของราคาหนังสือ หรือการประมาณราคาของแต่ละรายการ  เพื่อจะไดันำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาเรื่องการ ลดงบประมาณจัดซื้อหนังสือ
  • เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์หนังสือที่มีการดำเนินงาน ในช่องทางที่เข้าถึงได้อย่างสะดวก เช่น facebook page ชวนอ่าน หรือในช่องทางโซเซียลมีเดียของผู้ปฏิบัติงาน

Visits: 61

Comments

comments

Back To Top