Category: PDCA

การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วย Google Sheet ผ่าน Glide app

งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้บริการผลิตสำเนาข้อสอบ ทั้งในตารางและนอกตารางของทุกสำนักวิชา รวมทั้งการผลิตสำเนาข้อสอบในโครงการต่าง ๆ เช่น ข้อสอบโครงการโอลิมปิก เพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิตสำเนาข้อสอบให้มีประสิทธิ์  จำเป็นต้องมีการควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลือง ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา  Google Sheet เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ สามารถติดตามจำนวนวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ การสั่งซื้อวัสดุสิ้นเปลืองใหม่ และบันทึกการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ในส่วน Glide app ยังช่วยให้สามารถสร้างรายงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพวัสดุสิ้นเปลืองได้             การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว คลังวัสดุสิ้นเปลืองของงานออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ มีจำนวนหลากหลายยากต่อการจดบันทึก ด้วยเหตุผลนี้จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ใน Google Sheet และได้พัฒนามาเป็น Application Gilde App เพื่อสะดวกในการใช้งาน และผู้ปฏิบัติงานในงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้สะดวก ข้อมูลมีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้ขั้นตอนหลายขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาด มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการวัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำทะเบียนวัสดุสิ้นเปลือง การจัดเก็บวัสดุสิ้นเปลืองและการจัดซื้อจัดหาวัสดุสิ้นเปลือง แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค   จากปัญหาดังกล่าวจึงได้นำ […]

PDCA : การปรับปรุงวิธีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลพัสดุส่งซ่อมด้วย Google sheets

PDCA : การปรับปรุงวิธีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลพัสดุส่งซ่อมด้วย Google sheets 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีหน้าที่ ให้บริการและดูแล ซ่อมบำรุงครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ประจำห้องบรรยาย ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ                ในด้านการดูแล และซ่อมบำรุงโสตทัศนูปกรณ์ที่มีให้บริการ ที่มีการใช้งานมาเป็นระยะนานและต่อเนื่อง จึงทำให้มีการชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ จึงต้องมีการส่งซ่อมเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อีกระยะ ประกอบกับในปัจจุบันมีครุภัณฑ์ที่ต้องส่งซ่อมจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปี ที่จะต้องส่งไปซ่อมยังศูนย์บริการ โดยผ่านหน่วยงานที่รับดูแล คือส่วนพัสดุ และบางรายการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาส่งซ่อมได้เลย                 ก่อนหน้านี้การรับรายการซ่อมจากช่างเทคนิค โดยใช้ ”ฐานข้อมูลระบบให้บริการโสตทัศนูปกรณ์”ที่สามารถรับ-ส่งรายการและจัดเก็บรายละเอียดของโสตทัศนูปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในขณะนี้ฐานข้อมูลดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ไม่มีระบบบันทึก ควบคุม […]

PDCA : การพัฒนากระบวนการการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯ และงานผลิตสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานควบคุมห้องประชุม หรือสถานที่ที่อธิการบดีไปร่วมพิธี กิจกรรม […]

PDCA : การควบคุมระบบปรับอากาศ อาคารศูนย์บรรณสารฯ

ปัจจุบันระบบเครื่องปรับอากาศนับเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้สำหรับสำนักงานต่าง ๆ ส่วนมากจะนิยมใช้เพื่อให้ความเย็นสบายภายในอาคารที่ปฏิบัติงานหรือห้องอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ลูกค้า เพราะจะทำให้วันที่อากาศร้อนอบอ้าวกลายเป็นวันที่เย็นได้อย่างสบายๆ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดไม่รู้สึกหงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ศูนย์บรรณสารฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรปฏิบัติงานในวิชาชีพเพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด เช่น นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ภายในอาคารมีระบบเครื่องปรับอากาศและซิลเลอร์ทำความเย็นแบบรวม กระจายความเย็นทั่วอาคารทั้ง 3 ชั้น ทำให้สถิติการไฟฟ้าของอาคารสูงเป็นอันดับต้น ๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 100,000-300,000 บาท โดยเฉพาะในส่วนของระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 60-70% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร จากการศึกษาระบบเครื่องควบคุมระบบปรับอากาศแบบรวม พบว่าใช้โปรแกรมซอฟแวร์ควบคุม ชื่อว่า IX Chiller plant System เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติและแสดงหน้าจอการทำงานแบบ Real Time สามารถป้อนค่าหรือคำสั่งต่าง ๆ ให้ระบบทำงาน เช่น การตั้งเวลา เปิด – ปิด หรือการปรับตั้งค่าอุณภูมิ ตลอดจนควบคุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบปั๊มน้ำเย็น ปั๊ม Condenser และตู้ Cooling เดิมทีการตรวจสอบและป้อนคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของงานระบบปรับอากาศ ส่วนบริการกลางที่ดำเนินการซึ่งไม่ค่อยมีเวลามาตรวจสอบและป้อนคำสั่งเนื่องจากมีงานภารกิจดูระบบรป ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมระบบปรับอากาศมีความเหมาะสมกับการใช้งานและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่แทนบุคคลของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศได้โดยตรง สามารถลดคน […]

ลดปัญหาการจองห้องประชุม (No Show) ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆจาก Meet in Touch

ปัญหา No-Show ในการจองห้องประชุม หรือเรียกง่ายๆคือ “จองกั๊กห้องประชุม” ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนคงพบบ่อยได้ทั่วไปในที่ทำงาน บางครั้งเมื่อเราได้เวลาที่ต้องการจองห้องประชุมแล้ว แล้วนำไปหาในตารางจองห้องประชุม ไม่ว่าจะเป็น กระดาษหน้าห้องประชุม ตารางห้องประชุมในระบบอีเมล หรือวิธีอื่นๆ แล้วพบว่าไม่มีห้องประชุมห้องไหนว่างเลย เป็นต้น ปัญหาของการจองห้องประชุมแล้วไม่มาใช้ คือ ห้องประชุมที่ถูกจองไว้ จะยังคงสถานะจองไว้ แม้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมไม่เข้ามาใช้งานนั่นเอง เรื่องเหล่านี้ส่งผลเสียในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การที่คนต้องการจะใช้ห้องจริงๆไม่ได้ใช้ รวมไปถึง Productivity ของพนักงานที่ลดลงอีกด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ออฟฟิศคุณควรมีวิธีการจัดการปัญหาการห้องประชุมที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับการลงทุน นอกจากนี้ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ห้องประชุมอย่างเช่น ฝ่ายอาคาร, ฝ่านส่วนกลางที่ดูแลเกี่ยวกับออฟฟิศอาจจะโดนรบกวนอยู่บ่อยๆ เพราะจะต้องเข้ามารับผิดชอบและแก้ปัญหาเรื่องนี้ เมื่อพนักงานต้องการจองห้องประชุมอย่างเร่งด่วน ในบทความนี้มาพบว่าการจองกั๊ก คืออะไร และทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญที่ออฟฟิศต่างๆจะต้องเข้ามาแก้ปัญหา รวมถึง 3 วิธีที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ NO-SHOW คืออะไร? ในกรณีที่มีการจองห้องประชุมแล้วไม่ใช้ โดยปกติทั่วไปคนที่เหลือในออฟฟิศแทบจะไม่มีใครรู้เลยห้องประชุมนี้ว่าง ในมุมมองคนทั่วไปจะคิดว่าห้องประชุมในปกติว่างน้อยมากในแต่ละวัน หลายๆคนเลยจบด้วยการจองห้องประชุมแบบต่อเนื่องหรือ Recurring แทนเผื่อในกรณีที่ต้องการใช้ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีการทำแบบนี้เป็นจำนวนมาก จะยิ่งทำให้ออฟฟิศมีห้องประชุมที่ว่างน้อยลงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การจองห้องประชุมกั๊กยังส่งผลเสียให้กับบริษัททั้งในเรื่องของความพึงพอในพนักงานที่ไม่สามาถหาห้องประชุมได้ และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ พื้นที่ห้องประชุมต่อตารางเมตรที่เสียเปล่าในแต่ละเวลาที่ผ่านไป โดยหากเกิดปัญหานี้หลายๆห้อง ยิ่งส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากจากการไม่สามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3 วิธีลดปัญหา NO-SHOW จากการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณ รู้หรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยพนักงานในออฟฟิศจะเสียเวลาในการหาห้องประชุม 30 นาทีต่อวัน (ถ้านับเป็นสัปดาห์เท่ากับ 2.5 ชั่วโมงเลยทีเดียว) และนี่คือ 3 วิธีที่ระบบจองห้องประชุมจะช่วยให้คุณสามารถลดปัญหาในเรื่องการจองกั๊กห้องประชุมได้ ระบบจองห้องประชุม เช่น ระบบจองห้องประชุม Meet in Touch สามารถช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ในทุกห้องประชุมที่คุณมีได้อย่างง่ายดาย 1. เช็คอิน (CHECK-IN) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะลดการการจองกั๊กในห้องประชุมของออฟฟิศคุณ คือ ผู้จองห้องประชุมต้องเช็คอิน (Check-in) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม ซึ่งทำให้ผู้ประชุมมาประชุมตรงต่อเวลามากขึ้นและจะทำให้มั่นใจได้ว่ามาจองห้องประชุมแล้วมาใช้จริงๆ โดยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch ผู้จองห้องประชุมสามารถเช็คอินผ่านหน้าจอหน้าห้องประชุม โดยผู้จองห้องประชุมสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านสีสถานะหน้าจอหน้าห้องประชุม เช่น สีเขียว หมายถึงห้องประชุมว่าง สีเหลือง หมายถึงอยู่ระหว่างการรอเช็คอิน และสีแดง หมายถึง มีผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนี้ 2. ยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้มาเช็คอิน อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ในการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณคือ การที่คุณมีระบบที่สามารถยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้ Check-in ภายในระยะเวลาที่กำหนด ประโยชน์คือ ทำให้ผู้อื่นสามารถมาใช้งานต่อได้และช่วยให้การประชุมที่จองแบบ Recurring แล้วไม่มาใช้ถูกยกเลิกไปเช่นเดียวกัน ด้วยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch มาพร้อมความสามารถในการยกเลิกห้องประชุมตามระยะเวลาที่กำหนด 3. รายงานการใช้งานห้องประชุม ทำให้รู้ว่าห้องประชุมถูกใช้งานอย่างไร อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการที่คุณสามารถเห็นภาพรวมการใช้งานห้องประชุมทั้งหมดในออฟฟิศของคุณ ยกตัวอย่างเช่น รายงานการใช้งานห้องประชุมในแต่ละเดือน […]

การพัฒนาระบบควบคุมการเปิด – ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ

อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการ โดยไม่แตะต้องระบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนการเปิด-ปิดของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ให้ได้รับความรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถควบคุม ณ จุดเดียว […]

การปรับปรุงการปฎิบัติงานแบบเหลื่อมเวลา

การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ห้องประชุม และงานบริการโสตทัศนูปกรณ์อื่นฯช่างเทคนิคงานบริการโสตฯได้รับมอบหมายให้บริการควบคุมโสตทัศนูปกรณ์ ตามทีมีการจองใช้เพื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่เวลา 07.30-19.30 น.ทุกวัน โดยไม่มีวันหยุดราชการ การให้บริการที่ผ่านมามักมีปัญหาในเรื่องการให้บริการทีไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม ตามเวลาการจองห้องที่ผู้ขอใช้บริการต้องการได้ เนื่องจากเวลาปฎิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปฎิบัติงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.ทำให้มีช่วงเวลาก่อน 08.30 น และหลังจาก 16.30 น. เป็นช่วงเวลาทีไม่มีช่างเทคนิคค่อยให้บริการห้องเรียนทีมีการจองของผู้ใช้บริการทำให้เกิดช่องว่างเป็นปัญหาในการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อนโยบายการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องจัดหาช่างเทคนิคควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำอาคาร เนื่องจากอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน มีหลายอาคารและอาคารแต่ละหลังอยูห่างไกลกัน จึงต้องมีช่างเทคนิคประจำอาคารสำหรับให้บริการในแต่ละกลุ่มอาคารในช่วงเวลาวันทำการปกติจะมีช่างเทคนิคค่อยให้บริการตลอดเวลา ผู้ใช้บริการสามารถเรียกช่างเทคนิคได้ในกรณีอุปกรณ์สื่อโสตฯในห้องเรียนมีปัญหา แต่หากมีการเรียนการสอนนอกเวลาทำการเช่น ช่วงเวลา 07.30-08.30 น.และเวลา 16.30-19.30 น. ต้องมีช่างเทคนิคทำงานนอกเวลาประจำอาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารเรียนรวม ค่อยให้บริการแก้ไขปัญหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในอาคารเรียนให้กับผู้ใช้บริการ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณค่าทำงานล่วงเวลาของช่างควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการทำงานล่วงเวลาของนายช่างเทคนิคซึ่งผู้บริหารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ต้องหาวิธีการปรับลดค่าใช่จ่ายในส่วนนี้ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนจากปัญหาดั่งกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบจึงได้หาแนวทางการปรับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการเป็นแบบเหลื่อมเวลาเพื่อลดค่าทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนคนทำงาน และลดเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องกันในแต่ละวันของช่างเทคนิค จึงได้บทสรุปในการทำงานแบบเหลื่อมเวลาของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ การปฎิบัติงานควบคุมสื่อโสตฯสำหรับการเรียนการสอน ในอาคารเรียนรวมแบบเดิมก่อนทีจะมีการปรับปรุงใหม่ แบบเหลื่อมเวลา ตามตารางที่ปรากฎจะเห็นว่าช่างเทคนิคจำนวน 6 ท่าน เข้าทำงานเวลา 07.30 น. เพื่อเตรียมห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน และออกงาน 16.30 น. […]

PDCA : แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ 1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง   3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด 4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด 5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยสำหรับบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดและป้องกันข้อผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และให้รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ […]

การปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรายการ ทรัพย์สินกรณีที่มีการโอนย้ายที่ตั้ง

เนื่องด้วยการการตรวจนับพัสดุประจำปีนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 ข้อ 213 และ 214 นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ 2535 จึงกำหนดแนวปฎิบัติการตรวจนับพัสดุประจำปี ซึ่งกำหนดให้เริ่มปฎิบัติงานภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อทำหน้าที่ตรวจนับพัสดุประจำปีของหน่วยงานให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันหากพบว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหายไป หรือพัสดุใดไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในหน่วยงานต่อไปแล้ว ให้รายงานผลการตรวจไปยังส่วนพัสดุ เพื่อเสนออธิการบดีพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าการตรวจสอบพัสดุประจำปี มีปัญหาดังนี้ 1.พัสดุที่ได้จำหน่ายออกไปแล้วแต่ยังพบว่ามีรายการอยู่ในทะเบียน 2.ทรัพย์สินที่มีการโอนย้ายมีสถานะที่ตั้งไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามครุภัณฑ์ที่มีอยู่จริง 3.แต่ละฝ่ายไม่มีข้อมูลการจำหน่ายออกครุภัณฑ์ในแต่ละปี ทั้งนี้แบบปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานโอนย้ายพัสดุจึงเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการพัสดุภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลพัสดุที่จำหน่ายออก หรือโอนย้ายที่ตั้งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความถูกต้องสามารถให้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการตรวจสอบพัสดุประจำปีได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้การตรวจสอบพัสดุประจำปี ของหน่วยงานศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ถูกต้อง ครบถ้วนมีสถานะตรงตามทะเบียนทรัพย์สินที่ครอบครองจริงทุกรายการ      2. เพื่อตรวจสอบพัสดุในความครอบครองหรือดูแล ว่ามีพัสดุอยู่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สินของหน่วยงานหรือไม่ 3. เพื่อตรวจสอบว่ามีพัสดุใดชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหายไปเพราะเหตุใดหรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในมหาวิทยาลัยต่อไปแล้ว                4. เพื่อให้ผู้ปฎิบัตงานใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. ทรัพย์สินที่มีการโอนย้ายมีสถานะที่ตั้งถูกต้อง ตรงตามรายการครุภัณฑ์ที่มีอยู่จริง                2. […]

การตรวจสอบหมายเลขไอพีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่าน Application IP Manager

ห้องประชุมอาคารวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยุคแบบระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆใช้ระบบอนาล๊อกเป็นส่วนใหญ่แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีใด้พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดทำให้อุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆก็ก้าวสู่เทคโนโนยี ดิจิตอลทั้งหมดเปลี่ยนเสมือนมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในอุปกรณ์ทุกตัวโดยที่มีไอพีแอดเดรสสามารถควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางไกลโดยใช้หมายเลขไอพีในการควบคุมโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ต่างภายในห้องแล้วทำไห้นายช่างเทคนิกสามารถควบคุมสั่งงานได้ทั้งระบบภาะและระบบเสียงผ่านทางไอพี โปรโตคอลได้ รูปตัวอย่างควบคุมระบบเสียงผ่านไอพี เนื่องจากประสบปัญหาบ่อยในการเข้าไปควบคุมผู้ใช้งานลืมหมาบเลขไอพีและจำไอพีไม่ได้จนต้องโทรหาผู้คุมงานติดตั้งระบบในการเก็บฐานข้อมูลไอพีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางทีผู้คุมงานลาบ้างมือถือโทรไม่ติดบ้างดังนั้นทางผู้จัดทำได้สร้าง Application IP manager จากโปรแกรม อาษา เฟรมเวร์คติดตั้งในมือถือระบบปฎิบัติการแอนรอยด์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่นานช่างเทคนิกผู้ใช้งานสามารถใช้มือถือในการควบคุมดูหมายเลขไอพีได้อย่างง่ายดายแม้จะไม่มีระบบอินเตอร์เน็ตก็สามารถทราบหมายเลขไอพีห้องประชุมอาคารวิชาการได้ทุกห้องประชุม รูปตัวอย่าง Application IP manager รูปตัวอย่างหมายเลขไอพีห้องประชุมต่างๆอาคารวิชาการ1 รูปตัวอย่างหมายเลขไอพีห้องประชุมต่างๆอาคารวิชาการ3 ผู้จัดทำหวังว่านายช่างเทคนิกทุกท่านสามารถทราบหมายเลขไอพีโดยง่ายและสามารถลดขั้นตอนการเดินทางไปหน้างานสามารถสั่งงานให้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สามารถควบคุมทางไกลได้โดยง่ายดายสามารถดูภาพในห้องประชุมผ่านวงจรปิดได้โดยใช้หมายเลขไอพีในฐานข้อมูลนี้ทั้งหมดเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้มากยิ่งขึ้นลดการเดินทางความเหนื่อยล้าในการออกไป service หน้างานใด้มากขึ้น Views: 47Kraison Kaewoudom

>>การพัฒนา App Script เพื่อตรวจสอบหนี้สินและข้อผูกพันพนักงานของงานยืมคืนฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์<<

ตัวอย่างฟอร์ม การค้นหารายชื่อพนักงานที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การบันทึกเพิ่มข้อมูล รายชื่อพนักงานยืมคืนงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การคีย์ข้อมูลค้นหารายชื่อพนักงานยืมคืนที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างการเก็บฐานข้อมูลใน Google Sheet งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ Views: 62Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

One Stop Service สำหรับงานโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาตร์ผ่าน LINE  OA

เนื่องจากอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีห้องเรียนปฏิบัติการหลายห้อง ซึ่ง ในห้องเรียนปฏิบัติการจะมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีช่างเทคนิคจากศูนย์บรรณให้บริการ 1 คน การให้บริการเป็นไปในรูปแบบผู้ใช้งานเปิดระบบโสตใช้งานเองเนื่องจากห้องปฏิบัติการมีจำนวนมากนายช่างไม่สามารถเปิดระบบโสตทัศนูปกรณ์ได้หมดทุกห้อง กรณี ไม่สามารถเปิดระบบโสตทัศนูปกรณ์ใช้งานได้ ผู้ใช้บริการติดต่อนายช่างเทคนิคผ่านทางช่องทาง โทรศัพท์ส่วนตัว  Line Facebook ช่างเทคนิคเข้าดำเนินการแก้ไข จากการให้บริการรูปแบบข้างต้น ทำให้ไม่มีข้อมูลในการให้บริการ ไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน การให้บริการล่าช้า ศูนย์บรรณนาสารและสื่อการศึกษามองเห็นปัญหาการให้บริการในรูปแบบดังกล่าวจึงได้พัฒนา LINE OA ในการให้บริการ โดยได้นำร่องในการให้บริการกับอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีห้องเรียนปฏิบัติการผู้ใช้บริการสามารถ สแกน qr code เพิ่มเพื่อน เลือกบริการงานโสต อาคาร ชั้น ห้อง ผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ข้อความแจ้งปัญหาได้เลย ช่างเทคนิคเห็นข้อมูลเข้าดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จผู้ใช้บริการประเมินผลการดำเนินงานของช่างเทคนิค จากการให้บริการผ่าน LINE OA ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งได้ทุกคนที่เจอปัญหาการใช้งานอุปกณณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ มีข้อมูลในการให้บริการ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ประเมินผลการดำเนินงานของช่างเทคนิคได้ นายช่างเทคนิคสามารถช่วยกันดูติดตามงานได้ Views: 46Pongsuwan Kaewthong

การบริหารจัดการการโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และ นายช่างเทคนิคผ่าน LINE OALINE Official Account Administrator

  ไลน์ แอดมิน (LINE Admin) หรือ LINE Official Account Administrator เป็นผู้ทำหน้าที่ต่างๆ ในระบบ LINE Official Account ตั้งแต่การสร้างบัญชี LINE Official Account ลงข้อมูล ตั้งค่าระบบต่างๆ ตอบแชทลูกค้า ส่งข้อความ Broadcast ชำระเงิน ฯลฯ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มผู้ดูแลระบบ หรือ ไลน์ แอดมิน (LINE Admin) เพื่อคอยดูแลจัดการเรื่องต่างๆ ได้ ตามขั้นตอน ดังนี้       1. เข้าไป “manager.line.biz” (LINE Official Account Manager)      2. คลิกที่ “เข้าสู่ระบบด้วยบัญชี LINE”      3. คลิกที่ “ตั้งค่า” (Settings)      4. คลิกที่ “เพิ่มผู้ใช้อื่น” […]

การรายงานผลการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ผ่าน Line OA ผ่าน Google Form

ความเป็นมา และ ความสำคัญ               เพื่อให้การปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak holder) ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ วางนโยบาย และติดตามผลการให้บริการอย่างต่อเนื่องอันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการงานโสตทัศนูปกรณ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา             ดังนั้น ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในปี 2566 ได้ดำเนินการให้บริการประเมินความพึงพอใจงานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่อมือวิทยาศาสตร์ ผ่านการใช้งาน LINE OA ด้วย Google Form ซึ่งสามารถรับทราบผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ   วัตถุประสงค์ 2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของงานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา   3. สร้างทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่องานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา     4. สร้างการรับรู้ต่อผู้ใช้บริการด้วยระบบ LINE OA ผ่าน Google Form สาระก่อนเข้าเนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ LINE OA LINE OA คือ บัญชี LINE เพื่อธุรกิจ ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ซึ่งมีวิธีการใช้งานเหมือนกับบัญชี LINE ส่วนตัว […]

แนะนำการสืบค้นบทความและวารสารอิเล็กทรอนิกส์ฟรีจาก ThaiJO

Thai Journals Online (ThaiJO) เป็นระบบฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของประเทศไทย เป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ได้แก่ ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจาก  วารสารวิชาการไทยที่ปรากฎใน ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ OJS (Online Journal System) เดียวกันซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP) ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล ThaiJo เข้าใช้งานได้ที่เว็บไซต์  https://www.tci-thaijo.org/ ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก ชื่อ บทความ และ ชื่อวารสาร 2. การค้นจากชื่อวารสาร Views: 1342Kritsana Satapong

P D C A : การตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนใหม่ ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WALAI AutoLib

บทนำ e-book ย่อมาจากคำว่า Electronic Book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์ และออนไลน์ คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่าง ๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้  ความเปลี่ยนแปลงด้านเล็กทรอนิกส์ ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง และพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจุบัน จึงทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือสามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ มีความทนทานและสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลัง ซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ การพิมพ์ทำได้รวดเร็วกว่าแบบใช้กระดาษ สามารถทำสาเนาได้เท่าที่ต้องการประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย  วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Model กระบวนการตรวจสอบคุณภาพฟรี e-Book จากบรรณารักษ์เพื่อสร้างระเบียนบรรณานุกรมใหม่ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib นำมาเป็นตารางวิเคราะห์ SIPOC ดังนี้ การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไข การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค […]

Back To Top