ปัญหา No-Show ในการจองห้องประชุม หรือเรียกง่ายๆคือ “จองกั๊กห้องประชุม” ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนคงพบบ่อยได้ทั่วไปในที่ทำงาน บางครั้งเมื่อเราได้เวลาที่ต้องการจองห้องประชุมแล้ว แล้วนำไปหาในตารางจองห้องประชุม ไม่ว่าจะเป็น กระดาษหน้าห้องประชุม ตารางห้องประชุมในระบบอีเมล หรือวิธีอื่นๆ แล้วพบว่าไม่มีห้องประชุมห้องไหนว่างเลย เป็นต้น ปัญหาของการจองห้องประชุมแล้วไม่มาใช้ คือ ห้องประชุมที่ถูกจองไว้ จะยังคงสถานะจองไว้ แม้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมไม่เข้ามาใช้งานนั่นเอง เรื่องเหล่านี้ส่งผลเสียในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การที่คนต้องการจะใช้ห้องจริงๆไม่ได้ใช้ รวมไปถึง Productivity ของพนักงานที่ลดลงอีกด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ออฟฟิศคุณควรมีวิธีการจัดการปัญหาการห้องประชุมที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับการลงทุน นอกจากนี้ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ห้องประชุมอย่างเช่น ฝ่ายอาคาร, ฝ่านส่วนกลางที่ดูแลเกี่ยวกับออฟฟิศอาจจะโดนรบกวนอยู่บ่อยๆ เพราะจะต้องเข้ามารับผิดชอบและแก้ปัญหาเรื่องนี้ เมื่อพนักงานต้องการจองห้องประชุมอย่างเร่งด่วน ในบทความนี้มาพบว่าการจองกั๊ก คืออะไร และทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญที่ออฟฟิศต่างๆจะต้องเข้ามาแก้ปัญหา รวมถึง 3 วิธีที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ NO-SHOW คืออะไร? ในกรณีที่มีการจองห้องประชุมแล้วไม่ใช้ โดยปกติทั่วไปคนที่เหลือในออฟฟิศแทบจะไม่มีใครรู้เลยห้องประชุมนี้ว่าง ในมุมมองคนทั่วไปจะคิดว่าห้องประชุมในปกติว่างน้อยมากในแต่ละวัน หลายๆคนเลยจบด้วยการจองห้องประชุมแบบต่อเนื่องหรือ Recurring แทนเผื่อในกรณีที่ต้องการใช้ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีการทำแบบนี้เป็นจำนวนมาก จะยิ่งทำให้ออฟฟิศมีห้องประชุมที่ว่างน้อยลงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การจองห้องประชุมกั๊กยังส่งผลเสียให้กับบริษัททั้งในเรื่องของความพึงพอในพนักงานที่ไม่สามาถหาห้องประชุมได้ และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ พื้นที่ห้องประชุมต่อตารางเมตรที่เสียเปล่าในแต่ละเวลาที่ผ่านไป โดยหากเกิดปัญหานี้หลายๆห้อง ยิ่งส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากจากการไม่สามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3 วิธีลดปัญหา NO-SHOW จากการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณ รู้หรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยพนักงานในออฟฟิศจะเสียเวลาในการหาห้องประชุม 30 นาทีต่อวัน (ถ้านับเป็นสัปดาห์เท่ากับ 2.5 ชั่วโมงเลยทีเดียว) และนี่คือ 3 วิธีที่ระบบจองห้องประชุมจะช่วยให้คุณสามารถลดปัญหาในเรื่องการจองกั๊กห้องประชุมได้ ระบบจองห้องประชุม เช่น ระบบจองห้องประชุม Meet in Touch สามารถช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ในทุกห้องประชุมที่คุณมีได้อย่างง่ายดาย 1. เช็คอิน (CHECK-IN) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะลดการการจองกั๊กในห้องประชุมของออฟฟิศคุณ คือ ผู้จองห้องประชุมต้องเช็คอิน (Check-in) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม ซึ่งทำให้ผู้ประชุมมาประชุมตรงต่อเวลามากขึ้นและจะทำให้มั่นใจได้ว่ามาจองห้องประชุมแล้วมาใช้จริงๆ โดยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch ผู้จองห้องประชุมสามารถเช็คอินผ่านหน้าจอหน้าห้องประชุม โดยผู้จองห้องประชุมสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านสีสถานะหน้าจอหน้าห้องประชุม เช่น สีเขียว หมายถึงห้องประชุมว่าง สีเหลือง หมายถึงอยู่ระหว่างการรอเช็คอิน และสีแดง หมายถึง มีผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนี้ 2. ยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้มาเช็คอิน อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ในการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณคือ การที่คุณมีระบบที่สามารถยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้ Check-in ภายในระยะเวลาที่กำหนด ประโยชน์คือ ทำให้ผู้อื่นสามารถมาใช้งานต่อได้และช่วยให้การประชุมที่จองแบบ Recurring แล้วไม่มาใช้ถูกยกเลิกไปเช่นเดียวกัน ด้วยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch มาพร้อมความสามารถในการยกเลิกห้องประชุมตามระยะเวลาที่กำหนด 3.Read More →

cpr aed

การทำ CPR วิธีปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิต CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะหยุดหายใจ หรือหัวใจกำลังจะหยุดเต้น ให้กลับมาหายใจ หรือลมหายใจไหลเวียนได้ตามปกติ ความสำคัญของการทำ CPR ตอนนี้อยู่ที่การปั๊มหัวใจ ที่ต้องทำให้ถูกต้อง และทันเวลา เพราะหากสมองขาดออกซิเจนไปเกิน 4 นาที สมองอาจเสียหายได้ เมื่อไรถึงควรทำ CPR? เราสามารถเข้าไปทำ CPR ให้กับผู้ป่วยที่หมดสติ ลมหายใจอ่อนหรือหยุดหายใจ หัวใจใกล้หยุดเต้น หรือหยุดเต้นไปแล้ว เช่น จมน้ำ หัวใจวาย สำลักควันไฟจากที่ที่เกิดไฟไหม้ อุบัติเหตุต่างๆ วิธีทำ CPR ที่ถูกต้อง ตรวจดูความปลอดภัยบริเวณรอบๆ ตัวผู้ป่วย เช่น มีของแหลมคม มีกระแสไฟฟ้า มีน้ำมัน มีไฟ หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ หรือไม่ ถ้าดูไม่ปลอดภัย อย่าเพิ่งเข้าไป เรียกกู้ภัยมาช่วยเหลือดีกว่า หากสถานที่รอบๆ ผู้ป่วยปลอดภัยดี ให้เข้าไปหาผู้ป่วยทำการยืนยันว่าผู้ป่วยหมดสติจริงRead More →

Science of active aging

ในเวชศาสตร์ชะลอวัยเชื่อว่า ความชราไม่ได้เกิดจากอายุหรือเวลาที่เพิ่มชึ้นเพียงอย่างเดียว แต่มีต้นเหตุและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนเราก้าวสู่ความชราไม่เท่ากัน หากเรารู้ถึงสาเหตุและวิธีป้องกันหรือปรับสมดุลก็จะสามารถชะลอความชราหรือป้องกันสภาวะความเสื่อม ความเจ็บป่วยบางอย่างไม่ให้เกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นมาดูเทคนิคการดูแลตัวเองง่ายๆ ในแบบเวชศาสตร์ชะลอวัยกันเลยค่ะ ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นก่อนว่า การดูแลตัวเองในแบบเวชศาสตร์ชะลอวัย คือ การดูแลร่างกายของเราจนถึงในระดับเซลล์ให้มีสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health) ทั้งในด้านสารอาหาร กรดอะมิโน วิตามิน เกลือแร่ ฮอร์โมน สารสื่อประสาท สารแอนตี้ออกซิเดนท์ เมื่อเซลล์หรืออวัยวะในร่างกายของเรามีระดับสารเหล่านี้อยู่ในระดับที่สมบูรณ์สูงสุด ร่างกายก็จะทำงานได้อย่างเต็มที่และการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอก็จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ การป้องกันตัวเองจากความเสื่อม การถูกทำลายจากมลภาวะต่างๆ ก็จะทำได้อย่างเต็มที่ โอกาสที่เซลล์จะเสื่อมสภาพบาดเจ็บหรือสึกหรอก็จะลดน้อยลง ทั้งนี้ คำว่า “เวชศาสตร์ชะลอวัย” หมายถึง ศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่งที่เน้นในการป้องกันก่อนการเกิดโรค มุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไข้เป็นหลัก เพื่อปรับเข้าสู่ภาวะสมดุล ในขณะที่ “เวชศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพ” จะเน้นในการซ่อมแซม ฟื้นฟูสุขภาพที่เสื่อมไปแล้วหรือว่ามีโรคที่เกิดขึ้นแล้ว โดยเป้าหมายสูงสุดของเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพก็คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดอายุขัยนั่นเอง ส่วนเทคนิคการดูแลสุขภาพแบบเวชศาสตร์ชะลอวัย ง่ายๆ ได้แก่หลัก 3 อ. คือ อาหาร อากาศ อารมณ์ นั่นเอง ทั้ง 3 อ. นี้จะต้องดูแลให้ดี นอกจากนี้ยังเพิ่มเรื่องการออกกำลังกายRead More →

ช่าง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานศิลปะและการออกแบบ  งานด้านศิลปะและการออกแบบซึ่งในอดีตมักเรียกรวมกันว่า “งานช่าง” นั้น นับเป็นพระราชกรณียกิจอีกด้านหนึ่งที่ได้ทรงมีความสนพระราชหฤทัยยิ่ง              ผลงานด้านศิลปะและการออกแบบตลอดจนงานช่างฝีพระหัตถ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นมีหลากหลายรูปแบบ และมีมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ตราบจนปัจจุบัน เช่น การถ่ายภาพ ดนตรี งานจิตรกรรม และการออกแบบเรือใบ เป็นต้น Visits: 4450Thanachai KomsamarnRead More →

(โดรน)

การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) Aerial Photography by Drone โดย ผศ.ดร. สุรพล บุญลือ และดร.ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี          วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) แบ่งเป็น 2 ยุค ก็คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความหมายคำว่า “Drone” ทำหน้าที่นำมาใช้ในภารกิจทหาร ในส่วนของภารกิจทหารสมัยก่อนนั้น ก็จะมีในเรื่องของเทคโนโลยี Radar ในการตรวจจับ จะต้องใช้เครื่องบินจริง ๆ ใช้นักบินจริง ๆ ในการที่จะบินเข้าไปตรวจจับ เพื่อที่จะหาข่าวต่าง ๆ ดังนั้น  เมื่อเกิดการโจมตี หรือเกิดการจู่โจมขึ้นมา ก็จะเกิดการสูญเสีย จำนวนมหาศาล จึงมีมีแนวคิดว่า จะต้องสร้างเครื่องบินที่ไม่มีคนขับ เพื่อที่จะเข้าไป ค้นหา ตรวจจับ หรือว่าเข้าไปถ่ายภาพ  ไปหาข่าวต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้นะครับ อากาศยานไร้คนขับ นอกเหนือจากจะนำมาใช้ในภารกิจทหารแล้วRead More →

การกินอาหารเพื่อสุขภาพเป็นการเลือกกินอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน การกินอาหารที่มีประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง หัวใจสำคัญของการกินอาหารเพื่อสุขภาพคือการกินให้ได้พลังงานเทียบเท่าปริมาณพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญไป ซึ่งปริมาณพลังงานที่ควรได้รับต่อวันจะแตกต่างกันตามเพศ ช่วงวัย และกิจกรรมที่ทำ โดยผู้ชาย อายุ 19–60 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,800–2,200 กิโลแคลอรีต่อวัน และผู้หญิงอายุ 19–60 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,500–1,800 กิโลแคลอรีต่อวัน บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลและหลักการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงมาฝากกัน อาหารเพื่อสุขภาพตามหลักโภชนบัญญัติ จากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็งที่อาจมีสาเหตุมาจากการกินอาหารปีละกว่า 4 แสนคน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขจึงสรุปหลักโภชนบัญญัติ 9 ประการ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการกินอาหารเพื่อสุขภาพ ดังนี้ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่Read More →

การแบ่งโซนแบบแรกที่จะพูดถึงคือการแบ่งเทียบกับ MaxHR ดังนั้นเราก็ต้องหา MaxHR ซึ่งอาจคำนวนจากอายุโดยใช้สูตรก็ได้ (220 — อายุ) แต่หมอคิดว่าค่ามันจะไม่แม่นยำนักเพราะอายุเท่ากันแต่ความฟิตไม่เท่ากันก็ไม่ควรจะมี MaxHR เท่ากัน ควรหาค่าเฉพาะคนๆนั้นมากกว่า โดยการให้วิ่งจริงแล้วหาค่าหัวใจที่มากที่สุด ซึ่งก็มีหลายวิธีอีกนั่นแหละครับ แต่ง่ายๆคือวิ่งให้เหนื่อยที่สุด อาจใช้สูตรนี้ก็ได้คือใส่นาฬิกาที่มี HRM (HR Monitor) ลงคอร์ทลู่วิ่ง วอร์มอัพ 1 ไมล์ (4 รอบลู่วิ่ง) แล้ววิ่งเต็มที่ 2 ไมล์ (8 รอบลู่วิ่ง) แล้วดูค่า HR ที่มากที่สุดประมาณเป็นค่า MaxHR โดยในแต่ละกีฬาจะมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าจะหาของจักรยานก็ต้องไปปั่นให้เต็มที่ (ปรกติจะได้น้อยกว่าวิ่ง) เมื่อได้ค่า MaxHR แล้วก็แบ่ง Zone ตามเปอร์เซนต์ของ MaxHR ดังนี้ 🔴 Zone 1 (50%-60%) Easy เป็นโซนออกกำลังกายแบบเบามากRead More →