การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) 

(โดรน)
การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน)

การถ่ายภาพทางอากาศยานโดยอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) Aerial Photography by Drone โดย ผศ.ดร. สุรพล บุญลือ และดร.ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี         

วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone)

วิวัฒนาการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) แบ่งเป็น 2 ยุค ก็คือยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ความหมายคำว่า “Drone” ทำหน้าที่นำมาใช้ในภารกิจทหาร ในส่วนของภารกิจทหารสมัยก่อนนั้น ก็จะมีในเรื่องของเทคโนโลยี Radar ในการตรวจจับ จะต้องใช้เครื่องบินจริง ๆ ใช้นักบินจริง ๆ ในการที่จะบินเข้าไปตรวจจับ เพื่อที่จะหาข่าวต่าง ๆ ดังนั้น  เมื่อเกิดการโจมตี หรือเกิดการจู่โจมขึ้นมา ก็จะเกิดการสูญเสีย จำนวนมหาศาล จึงมีมีแนวคิดว่า จะต้องสร้างเครื่องบินที่ไม่มีคนขับ เพื่อที่จะเข้าไป ค้นหา ตรวจจับ หรือว่าเข้าไปถ่ายภาพ  ไปหาข่าวต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้นะครับ อากาศยานไร้คนขับ นอกเหนือจากจะนำมาใช้ในภารกิจทหารแล้ว ยังมีการนำมาใช้ทางด้านพลเรือนด้วย ในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีการถ่ายภาพในรูปแบบใหม่ขึ้น ที่เราเรียกว่า การถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งสำหรับการถ่ายภาพทางอากาศ ในปัจจุบันนี้ บางคนอาจจะเรียกว่าเป็น UAV ซึ่งย่อมาจากคำว่า Unmanned Aerial Vehicle

องค์ประกอบของอากาศยานไร้คนขับ

องค์ประกอบของอากาศยานไร้คนขับ

  1. Motor ใช้ในการพยุง Drone นั้น ให้ลอยขึ้น หรือให้จอดลง ก็จะใช้ Motor เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
  2. Helicopter ก็คือส่วนควบคุมที่อยู่ตรงกลาง ในการควบคุมทั้ง 4 ใบพัด ให้สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้โดย control จาก remote control
  3. Propeller ก็คือ ในเรื่องของใบพัด ใบพัดนั้นก็จะแบ่งเป็น 2 ประเภท 2 ทิศทางดังนั้นการใส่ใบพัดลงไปต้องดูว่าใส่ใบพัดเข้าไปนั้น ถูกต้องตามทิศทางหรือไม่ถ้าใส่ผิดอาจจะเกิดการเสียสมดุล หรือว่าทำให้เกิดการตกได้
  4. Protection framework หรือตัวป้องกันใบพัดและสามารถปกป้องไม่ให้ใบพัดนั้นไปทำอันตรายกับผู้ทำการบินหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียง หรือประชาชนที่อยู่ทั่ว ๆ ไป
  5. Landing gear ใช้ในการป้องกันหรือตัวที่เป็นขาตั้งเพื่อที่จะทำการจอด ให้เกิดความสมดุล คือไม่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง สามารถจอดลงได้ในทิศทางที่เหมาะสม
  6. Video Shot กล้องที่ใช้ในการถ่าย ไม่ว่าจะเป็นถ่ายภาพนิ่ง หรือถ่ายภาพวิดีโอ
  7. Night light คือแสงไฟที่ใช้เวลาเราบินในเวลากลางคืน ดังนั้น Night light ก็จะเป็นตัวที่คอยบอกสถานะของว่าด้านไหนคือด้านหน้า ด้านไหนคือด้านหลัง

ประเภทของอากาศยานไร้คนขับ

ประเภทของอากาศยานไร้คนขับแบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกัน

1.ประเภทปีกหมุน (Multirotor) ที่เราเคยเห็นทั่วไปๆ ก็คือปีกหมุนก็จะแบ่งเป็นหลายๆขาด้วยกัน บางประเภทก็จะมีแค่ 4 ขา ปีกหมุนบางประเภทหรือบางประเภทมี 6 ขามี 8 ขาซึ่งประเภทเหล่านี้เราจะเรียกว่าประเภทที่เป็นปีกหมุนนั่นเอง จะมีปีกในการติดที่จะติดตั้ง ซึ้งสามารถถอดได้เก็บได้พับได้

2.ประเภทปีกยึด (Fixed wing) ลักษณะของการขึ้นบินและการคอนโทรนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขึ้นและลง สามารถที่จะบินในลักษณะของระยะไกลๆ และเกิดความเร็วสูงได้ ดังนั้นภารกิจจะใช้ในการสำรวจนะครับสำรวจในระยะทางไกลๆ

3.ประเภทไฮบริด (Hybrid) เป็นการผสมกันระหว่างปีกหมุนและก็ปีกยึด ก็คือแบบไฮบริดก็จะทำงานใน 2 ลักษณะนั้นคือลักษณะของการขึ้นอาจจะขึ้นลักษณะของปีกหมุนนะครับ และเมื่อขึ้นไปในระดับหนึ่งก็สามารถบินโดนใช้ความเร็วของลักษณะของปีกยึดได้ก็คือมีการเอนนะครับ มีการเอนลำในลักษณะแนวนอนและก็บินไปในลักษณะแนวนอนซึ่งจะบินไปในลักษณะของปีกยึดได้ ฉะนั้นลักษณะปีกหมุนนั้นลักษณะการทำงานแบบเดียวกันกับฮีรีคอปเตอร์โดยมีใบพัดเป็นแนวนอนนะครับหรือมีใบพัดมากกว่า 2 ใบพัดนะครับเช่น มี 3 ใบพัดก็ได้ 4 ใบพัด 6 ใบพัด 8 ใบพัด

อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท ก็คือ

  1. อุปกรณ์ที่ควบคุมจากภาคพื้นดินหรือที่เรียกว่า Remote Control ใช้ในการควบคุมอากาศยานไร้คนขับในลักษณะที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าได้ เช่น ในขณะที่เราควบคุม เราต้องมองเห็นอากาศยานไร้คนขับอยู่ในสายตาตลอดเวลา เราจะสามารถควบคุมได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  2. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ อาจจะใช้ลักษณะการควบคุมในระยะไกล ซึ่งอาจจะต้องมีการติดตั้งเสาอากาศที่มีกำลังส่งค่อนข้างสูงและบินไประยะไกล ๆ

ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเหล่านี้
Remote Control หรือ Joy Stick จะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือด้านซ้ายและด้านขวา
ด้านซ้าย ใช้ในการควบคุมการขึ้นและลง และด้านซ้ายทางขวาใช้ลักษณะของการหมุนรอบตัวเอง เช่น ถ้าเราผลักรีโมทด้านขวามือ อากาศยานไร้คนขับหรือโดรนจะหมุนรอบตัวเองไปด้านขวา ตามเข็มนาฬิกา เราผลักรีโมทด้านซ้าย โดรนจะหมุนมาด้านซ้าย ทวนเข็มนาฬิกา ตำแหน่งของโดรนจะอยู่กับที่ ไม่เคลื่อนที่ไปไหน

การบังคับ

ด้านขวามือของ Remote Control จะพบว่ามีทิศทาง 4 ทิศทางด้วยกัน ก็คือ เดินหน้า ถอยหลัง ขยับไปด้านซ้าย ขยับไปด้านขวา  สรุปก็คือ Remote Control ด้านขวา คือ การ Move ในแนวแกน X แกน Y แปลว่า ถ้าจะ Move เข้าหาวัตถุก็ผลักขึ้นด้านบน เดินหน้า ถ้าจะ Move ถอยห่างจากวัตถุก็ผลักลงด้านล่างหรือถอยหลัง

กฎระเบียบเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ

  1. เรื่องของสมรรถนะ ตามกฎหมายจะแบ่งไว้ในลักษณะนี้ก็คือจะแบ่งอยู่ที่ 2 กิโลกรัมครับ เช่น ไม่เกิน 2 กิโลกรัม และน้ำหนักที่เกิน 2 กิโลกรัมขึ้นไป
  2. เรื่องภารกิจ ว่าอุปกรณ์ไร้คนขับ (Drone) มีภารกิจแบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน คือ ภารกิจในเรื่องงาน อดิเรก การบินเพื่อความบันเทิง/ฝึกฝนในเรื่องของงานอดิเรก และในเรื่องภารกิจเฉพาะในเรื่อง งานข่าว งานนำเสนอ และภารกิจในการถ่ายภาพ
  3. เรื่องระดับความสูงสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ จะมีกฎหมายบอกไว้ว่า Drone ไม่ควรจะบินไม่เกิน 90 เมตร นับจากระดับความสูงของพื้นดิน เพราะว่าเราไม่สามารถมองเห็นได้รอบทิศในระหว่างการบิน
  4. ต้องทำการบินในระหว่างวัน หรือในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งเราจะสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน เราสามารถบินได้ แต่อาจจะเกิดอันตราย เพราะเราไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ บริเวณอากาศยานและคนขับโดรนของเราได้ตามระเบียบแล้ว เราควรจะมองเห็นตัวโดรนได้อย่างชัดเจน ห้ามบินเข้าไปใกล้ก้อนเมฆ      ซึ่งแปลว่าอากาศในวันนั้นอาจจะมีก้อนเมฆจำนวนมากแล้วเมฆนั้นอาจจะบินต่ำ ซึ่งเราอาจจะใช้ความสูงที่ไม่เกิน 90 เมตร ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร หรือ 5 ไมล์ทะเลจากสนามบิน หรือที่ขึ้น – ลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของ หรือผู้ดำเนินการของสนามบิน เพราะอาจจะไปรบกวน หรือกีดขวางระบบการบินหลักของการบินได้  ในระหว่างบินนั้น ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนชุมนุมอยู่ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ห้ามบังคับอากาศยาน เข้าใกล้อากาศยานที่ซึ่งมีนักบินอยู่ ซึ่งอาจจะเกิดอันตราย เกิดความสูญเสียแก่อากาศยานที่มีคนบังคับอยู่ได้ ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ห้ามทำการบินที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญแก่ผู้อื่น ซึ่งมันเป็นกฎหมาย อาจจะถูกฟ้องจับได้ ดังนั้นในระหว่างบินก็ควรระวังและสุดท้ายก็คือ ในระหว่างบิน ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตราย ตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวงต่าง ๆ หรืออุปกรณ์ปล่อยแสง Laser ติดไปกับอากาศยาน เพราะอาจจะมีในเรื่องของการทำผิดกฎหมาย การส่งยาเสพติดต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่อาจจะทำให้เกิดระเบิด ทำร้าย ทำลายผู้อื่นได้ ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคลอื่นหรือยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง อาคาร น้อยกว่า 30 เมตร หรือ 100 ฟุตเหนือพื้นดินระหว่างการบินน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัมนั้น ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล หรืออาคาร ไม่น้อยกว่า 30 เมตร เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแก่อากาศยาน ให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานนั้นแจ้งอุบัติเหตุต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ อย่างรวดเร็ว
  5. ต้องทำประกันภัยครับเพราะเนื่องจากว่าอาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ซึ่งจะต้องมีวงเงินประกันไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อการบิน 1 ครั้ง จะต้องทำประกันภัยควบคู่ไปกับใบอนุญาตขอบิน

เงื่อนไขในการบังคับหรือการปล่อยอากาศยานไร้คนขับ

  1. นามของนิติบุคคลนั้น จะต้องมีหนังสือรับรองหรือหลักฐานที่เกี่ยวกับนิติบุคคล ซึ่งต้องแสดงรายการที่เกี่ยวกับชื่อ วัตถุประสงค์ ที่ตั้งของสำนักงาน และผู้มีอำนาจลงนาม ผูกพันกับนิติบุคคลที่เป็นปัจจุบัน โดยมีคำรับรองของผู้มีอำนาจ การให้คำรับรองตามกฎหมายไม่เกินสามสิบวัน นับจากวันออกหนังสือรับรอง หรือหลักฐานนั้น จะต้องมีรายชื่อหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือกรรมการผู้จัดการ และผู้มีอำนาจในการควบคุม ถ้ามี สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทางของบุคคลตามข้อสองก็จะต้องมีประกอบกันไปด้วยมีรายชื่อของผู้บังคับอากาศยาน และบุคคลอื่นที่จำเป็นจะต้องมีในการปฏิบัติงานของอากาศยานและคนขับนั้น ๆ และสุดท้ายก็คือต้องมีสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านรวมทั้งเอกสารแสดงความยินยอมตามบุคคล
  2. ในนามของบุคคลธรรมดา จะต้องประกอบไปด้วยสองส่วนด้วยกัน คือสำเนาบัตรประชาชน ถ้าเป็นต่างชาติก็จะต้องเป็นสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาทะเบียนบ้าน จะต้องมีหลักแหล่งที่ชัดเจนสามารถระบุตัวตนได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งสองแบบ ก็คือนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา จะต้องแสดงแบบหรือยี่ห้อ หรือหมายเลขประจำเครื่องต่าง ๆ จำนวน และสมรรถนะของเครื่อง รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง

เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานวิดีทัศน์

เทคนิคการถ่ายภาพสำหรับงานวิดีทัศน์ โดยอากาศยานไร้คนขับ

  1. ของขนาดของภาพที่ใช้ในการถ่ายภาพ แบ่งเป็น 3 ระดับ มุมขนาดกว้าง (long shot) เหมาะสำหรับถ่ายภาพลักษณะกว้าง เพื่อให้มองเห็น landscape หรือมองเห็นพื้นที่บริเวณนั้นโดยกว้าง มุมขนาดกลาง (medium shot) คือการเข้าไปใกล้วัตถุ หรือเข้าไปใกล้สิ่งก่อสร้างนั้นให้เห็นรายละเอียดมาขึ้น และมุมภาพขนาดใกล้ หรือขนาดแคบ เราใช้เลนส์แบบเดียวกันแต่เราไปถ่ายใกล้ๆ เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ดังนั้นจะพบว่าตัวโดรน จะใช้ลักษณะของภาพขนาดกว้าง ขนาดกลาง และขนาดแคบ
  2. มุมภาพ แบ่งเป็น มุมทางดิ่ง หรือ birds eye view แปลว่าเป็นมุมมองของนก ซึ่งเค้าจะมีลักษณะการแบ่งขนาดก็คือ จะต้องมองลงไปในแนวดิ่ง 90องศา เหมือนกับเรามองลงไปพื้น 90องศา แล้วก็จะมองเห็นเป็น over view มุมในทางเฉียงเหมือนเรามองในลักษณะเฉียงลงในแนว 30 องศา  ซึ่งเราก็จะมองสิ่งที่ไม่ได้อยู่ด้านล่าง  จะมี 2 แบบ คือเฉียงต่ำกับเฉียงสูงเฉียงต่ำคือประมาณ 30องศา ซึ่งเราจะมองไม่เห็นขอบฟ้า แต่ถ้าเป็นเฉียงสูง เราจะมองในแนว 60องศา ซึ่งจะพบว่า มีขอบฟ้า มุมระดับสายตา แปลว่ากำลังบินถ่ายวัตถุ ที่อยู่ขนานกับตัวอากาศยานไร้คนขับ เหมือนกับสายตาที่เรากำลังมองอยู่ระดับเดียวกัน
  3. การเคลื่อนไหวของกล้อง โดรนก็จะมีการเคลื่อนไหวในลักษณะแนวดิ่ง ขึ้น-ลง แล้วก็ไป ซ้าย-ขวา ตัวโดรน ซึ่งเคลื่อนไหวตามแกนอะไรครับ แกน x แกน y แกน z หรือเคลื่อนไหวในลักษณะของทางโค้งหรือที่เรียกว่า การ ARC การ TRACK การ ARC ก็คือ การโค้งไปรอบๆวัตถุนะครับ แล้วก็การ TRACK คือการติดตามวัตถุไปในทิศทางต่างๆ

การประเมินคุณภาพของการถ่ายภาพทางอากาศยาน

สิ่งที่ถ่ายทำมานั้นตรงกับที่ได้เขียนสคริปหรือตรงกับวัตถุประสงค์ที่เราต้องการนำเสนอหรือไม่

ทีนี้วิธีการประเมินจะก็แบ่งไปตามลักษณะงานในการนำเสนอ ให้คำนึงถึงเรื่องของการประเมิน 2 ด้าน คือ 1. ด้านเนื้อหา 2. ด้านคุณภาพ

กระบวนการทั้งหมดอยู่ 4 ขั้นตอน

1. การเตรียมงาน (Pre-Production) กระบวนการที่ใช้ในการบินโดรน จะมีอยู่ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ 3A 2C และ 1P

3A  คือ การวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วย

– วิเคราะห์โจทย์ (Task Analysis) จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการบิน กำหนดอุปกรณ์ที่เราจำเป็นจะต้องใช้ กำหนดให้เราจะต้องวิเคราะห์ว่าเราจะต้องใช้เวลาในการบินเท่าไหร่

– Location Analysis การวิเคราะห์สถานที่ สามารถทำได้สองรูปแบบ

ก็คือ การวิเคราะห์จากออนไลน์ ใช้ google map ในการดูพื้นที่ ดูเส้นทางอะไรต่างๆ เราสามารถที่จะใช้ ตัวสถานที่ก็คือตัว google map เช็คก่อนได้ว่าก่อนที่เราจะไปบิน

มันจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง อันนั้นก็คือใช้ google map ได้ รวมถึงเราสามารถใช้แอพพลิเคชั่น บางตัวนะครับเอาเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์

– Equipment Analysis การวิเคราะห์อุปกรณ์ที่เราใช้เพียงพอหรือป่าว ก็คือการวิเคราะห์อุปกรณ์เรานะครับ

2C ขั้นตอนก่อนบิน

1. Location Confirm ตรวจสอบสถานที่ก่อนที่เราจะทำการบินอีกทีหนึ่งว่าเป็นพื้นที่ห้ามบิน

2. Equipment Confirm การตรวจสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ว่ามีความพร้อมที่จะขึ้นบินหรือไม่ Battery ความสมบูรณ์ของใบพัด อินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อได้

1 P คือ Prepare คือ เตรียมอุปกรณ์เตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดให้พร้อมก่อนที่เราจะทำการบิน เพราะฉะนั้นการบินต่าง ๆ ของการบิน

2. กระบวนการถ่ายทำ(Production) สรุปจะมีทั้งหมด 4C คือ

  1. Concern คือ อากาศยานไร้คนขับนี้จะต้องอยู่ในสายตาของคนบังคับอยู่ตลอดเวลา
  2. อากาศยานไร้คนขับจะต้องมีผู้ควบคุมอยู่ตลอดเวลา
  3. Conduction ทำการบินด้วยความระมัดระวังไม่ควบคุมอากาศยานในลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตราย
  4. Confirm  เราควรจะตรวจเช็คเรื่องของระดับของ Battery เราควรจะตรวจเช็คในเรื่องของพลังงาน หรือสัญญาณที่เกิดจากการแจ้งเตือนต่าง

3.กระบวนการหลังการผลิต (Post-Production) สรุปออกมาเป็น 3C คือ

  1. File Checking คือการตรวจสอบไฟล์เราใช้หลังการบันทึกมา ในหลังจากที่เราบินโดรนลงมาเรียบร้อยแล้ว ไฟล์ที่เราบันทึกมาครบถ้วน
  2. โดรน Checking ตรวจสอบอากาศยานของเรานะครับว่ามีความเสียหายบ้างตรงไหน
  3. การ Create หรือการนำภาพที่ได้มานะครับ มาทำการลำดับ ทำการตัดต่อ

4. การนำเสนอ (Present) การ Publicizing ก็คือการเผยแพร่ออกไปบนช่องทางต่างๆ ในช่องทางต่างๆ ของสื่อที่เราจะเผยแพร่ไป ก็ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานเราต้องการจะผลิตมาเพื่อไปใช้ในสื่อตัวไหน ก็ควรจะปรับให้เหมาะสม เช่น ตรวจสอบช่องทางในการเผยแพร่ก่อน เช่น เราจะออกไปบน Youtube จะมีรายละเอียดของภาพเท่าไรบนโทรศัพท์มือถือ หรือ บนเครือข่าย Social media อื่นๆ เราควรจะใช้ภาพที่มีขนาดเท่าไร หรือการเผยแพร่ผลงาน โดยการ Wright ลงแผ่น DVD Blu-ray Disc หรือ CD เพื่อจะส่งงานให้ลูกค้า

ทักษะการควบคุมอากาศยานไร้คนขับ

ทักษะการควบคุมอากาศยานไร้คนขับมีอยู่ 3 ทักษะคือ

  1. การควบคุมอากาศยานไร้คนขับเบื้องต้น คือ เรื่องของการ Take Off กับการ Landing การบินโดยใช้คันบังคับที่อยู่ทางด้านขวา ในการเคลื่อนที่ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง การหมุน เป็น Rotate ทั้งหมด 9 ขั้นตอน
  2. การควบคุมทิศทางการบินตามเส้นทางที่กำหนด คือลักษณะของการหมุนแบบ 360 องศาตามเข็มนาฬิกาตามเข็มนาฬิกาก็คือจากซ้ายไปขวา และการหมุนแบบ 360 องศาแบบทวนเข็มนาฬิกาก็คือจากขวาไปซ้าย แบบฝึกที่ 2 ซึ่งมีด้วยกัน 6 ขั้นตอน
  3. รูปแบบการควบคุมอากาศยานไร้คนขับตามภารกิจเฉพาะต่าง ๆ มี 9 ขั้นตอน

อย่างไรก็ตามการฝึกเป็นเพียงแค่ทฤษฎีควรจะหาโอกาสในการฝึกโดยอาจจะใช้ Drone ที่มีอยู่ใน Simulate ในเกมก็ได้ในที่ต่าง ๆ ก็ได้ลองฝึกลองใช้ในโทรศัพท์มือถือของเราลองโหลด App บางตัวที่เป็นลักษณะของการควบคุม Drone มาเพื่อลองฝึกก่อนก็ได้นะครับ เป็นการทดสอบก่อนที่เราจะไปใช้จริงทำให้ได้ตามมาตรฐานต่าง ๆ การควบคุมอากาศยานไร้คนขับในแบบฝึกต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้กันครับเพราะฉะนั้นในการฝึกอบรมในการเรียนในครั้งนี้เราก็นำมาให้พวกเราได้เรียนรู้ เพื่อจะไปสู่มาตรฐานโลกต่อไปนะครับ

การบะงคับผ่านโทรศัพท์

Visits: 610

Comments

comments

Back To Top