Month: March 2022

ความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : สรุปเนื้อหา รายวิชาใน ThaiMOOC ความคิดสร้างสรรค์เป็นเป็นการใช้สมองให้สามารถคิดได้หลายทิศทาง หลายแง่มุมและคิดได้กว้างไกล เป็นการขยายขอบเขตของความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมไปสู่การค้นพบสิ่งแปลกใหม่ ความคิดในการสร้างสรรค์สามารถพัฒนามาตั้งแต่วัยเด็ก ซึ่งมีจินตนาการกว้างไกล ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองไม่ควรปิดกั้นจินตนาการเหล่านั้น ต้องรับฟังเหตุผล เปิดกว้าง ยอมรับในความคิดและจินตนาการเหล่านั้น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้มีความคิดสร้างสรรค์มักเป็นตัวของตัวเอง มีอิสระ มีเหตุผล ไม่คล้อยตามผู้อื่นง่าย ๆ ชอบคิดและทำสิ่งที่แปลกใหม่ สามารถคิดสิ่งที่ซับซ้อนได้ ความคิดสร้างสรรค์นั้น ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือโครงสร้างบรรยากาศ สภาพแวดล้อม ในการส่งเสริมให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ โดยบรรยากาศในการดำรงชีวิต ต้องไม่มีการสร้างกรอบหรือมาตรฐานต่าง ๆ มาบีบรัด ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเสรี ตรงกันข้ามกับผู้ที่อยู่ในสังคมที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ คือสังคมที่มีลักษณะเผด็จการ ปิดกั้นทางความคิด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีจนเกินไป หากอยู่ในสังคมดังกล่าวความคิดสร้างสรรค์ก็จะชงักลง เช่นการเรียนหนังสือหากเน้นแต่การท่องจำ จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ ไม่ได้คิดอะไรใหม่ขึ้นมา ไม่มีบรรยากาศที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดอย่างอิสระ กระบวนการฝึกคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพทางความคิด ซึ่งทุกคนสามาถสามารถฝึกได้  1. ฝึกมองต่างมุม การมองสิ่งเดียวกันแต่แตกต่างไปจากเดิม  2. ฝึกสร้างจินตนาการอิสระ โดยลองฝึกสร้างจินตนาการให้กับสิ่งที่เราไม่เคยพบเห็น ไม่เคยได้ยิน  3. […]

My Mobile My Photo : ภาพสวยด้วยมือถือ

ถ่ายภาพให้สวยด้วยมือถือ เทคนิคง่าย ๆ ที่คุณก็ทำได้

Library of Things

“Library of Things” หมายถึง ห้องสมุดที่สรรพสิ่งอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากหนังสือ วารสาร นิตยสาร หรือทรัพยากรพื้นฐานที่ห้องสมุดมีให้บริการ ซึ่งห้องสมุดแต่ละประเภทจะสิ่งของที่ให้ยืมแตกต่างกันไป ตามประเภทของห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้ หรือตามความต้องการของผู้ใช้ห้องสมุด

Microsoft Word : รวมคีย์ลัดง่าย ๆ สายพิมพ์งาน

คำสั่งพิมพ์ลัด ทางเลือกหรือตัวช่วยในการทำงานให้สะดวกขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องยกมือจากแป้นพิมพ์ไปจับเมาส์ หรือพิมพ์งานโดยไม่มีเมาส์นั่นเอง

10 พฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุด ยุคใหม่

10 พฤติกรรมผู้ใช้บริการห้องสมุดยุคใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นห้องสมุดควรปรับตัวอย่างไรให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกประทับใจขั้นสุด…

ห้องสมุดในอนาคต

         ทุกคนคิดว่าในอนาคตห้องสมุดยังจำเป็นกันอยู่ไหมนะ?        เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้กันอย่างมากมาย รวมไปถึงห้องสมุดจึงนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในห้องสมุดด้วย ทำให้ห้องสมุดกลายเป็นห้องสมุดสมัยใหม่และมีความทันสมัยและก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น       ยิ่งในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ชัดว่า การที่เราได้ข้อมูลสารสนเทศนั้นง่าย เพื่อแค่ใช้ปลายนิ้วจิ้มหน้าจอ นั่นเป็นคำถามว่า ในอนาคตห้องสมุดเรายังคงจำเป็นอยู่ไหม ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ ebook ejournal เพื่อง่ายต่อการเข้่าถึง เพราะเราสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพียงใช้แค่อินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ เพียงเท่านี้เราก็สามารถเข้าถึงแหล่งสารสนเทศได้อย่างง่ายๆ      ห้องสมุดในอนาคต ไม่ใช่เพียงแค่ใช้หนังสือหรือตัวอาคารเท่านั้น แต่ห้องสมุดจะกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงแหล่งสารสนเทศได้ง่ายๆ     ห้องสมุดมีอุดมคติที่ว่า “เป็นแหล่งเข้าถึงสารสนเทศ มีความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะในอนาคต หรือ ออนไลน์ ออฟไลน์ ห้องสมุดยังคงทำหน้าที่นี้อยู่”   /*! elementor – v3.5.6 – 28-02-2022 */ .elementor-widget-image{text-align:center}.elementor-widget-image a{display:inline-block}.elementor-widget-image a […]

ทักษะของผู้ใช้บริการยุคใหม่

       ปัจจุบันนี้ห้องสมุดยังกลายเป็นพื้นที่เหลาไอเดียของคนช่างฝันทั้งหลาย เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เข้ามาใช้บริการได้อีกด้วย จึงมีแนวคิดในการปรับพื้นที่ให้ผู้คนสามารถมาสนทนาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ และเรื่องราวต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดมิติใหม่ของการเรียนรู้ได้อีกมากมาย มีสวนหย่อมเล็กๆ ร่มรื่น ไม่จำเป็นต้องมีแอร์ห้องสมุดต้องมีแสงสว่างทั่วถึงมีความโปร่งโล่งสบายไม่มืดทึบจนเกินไป มีน้ำดื่ม (จำหน่ายก็ได้) มีห้องน้ำ นั่งอ่านนอนอ่านได้สบาย มีการระบายอากาศที่ดีก็เพียงพอ มุมห้องนอนอ่านหนังสือให้บรรยากาศราวกับยกห้องสมุดมาไว้ในห้อง รอบผนังจัดเต็มไปด้วยหนังสือที่จัดเรียงไว้บนชั้นอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย และถึงแม้ว่าห้องจะมีขนาดกะทัดรัดตามสไตล์ แต่ก็นับว่ารวมฟังก์ชั่นทุกอย่างไว้อย่างพร้อมสรรพสมบูรณ์แบบ มีเตียงนอนนุ่มสบาย มุมทำงาน และช่องเก็บสัมภาระสำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด มีคาเฟ่ โรงหนัง และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะต่าง ๆ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้ผู้คนยืมไปใช้ได้     อย่างเครื่องพิมพ์ 3D เครื่องมือไฟฟ้า ห้องดนตรีที่สามารถแบ่งห้องที่เก็บเสียงหรือสามารถใช้เสียงได้ มีพื้นที่สาธารณะใช้ สำหรับจัดประชุม งานอีเวนท์ ท่ามกลางบรรยากาศของกองทัพหนังสือที่มีให้เลือกอ่านละลานตา พร้อมด้วยโซฟาที่จัดวางเสมือนเป็นห้องนั่งเล่นมากกว่าห้องสมุด ให้ความสำคัญกับห้องสมุดและการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก “เมื่อโลกเปลี่ยนแปลง ความคิดก็ต้องเปลี่ยนไปให้ทันโลก ห้องสมุดจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อยู่เสมอ”     การปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนไปของยุคดิจิทัลของห้องสมุดในเมืองไทยกำลังเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อรองรับวัฒนธรรมการอ่านของคนในสังคม โดยเฉพาะเด็ก วัยรุ่น และคนในวัยทำงานที่กำลังเปลี่ยนไปสู่ยุคอ่านทุกสิ่งผ่านเครื่องมือการสื่อสารอย่างสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต แฟบเล็ต ที่บรรจุหนังสือที่เป็นไฟล์ดิจิทัลได้มากมาย อ้างอิง https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-63540 https://readthecloud.co/booktree-library-cafe-phuket/page/2/  […]

จากวิชาการสู่การรักษาจริง: กายภาพบำบัด มวล. ดูแลผู้ป่วยโควิดผ่าน VDO Call

“หอบ เหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด หรือหายใจได้ไม่เต็มที่” คือ อาการหนึ่งที่ขึ้นกับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ทั้งขณะมีเชื้อ หรือเป็นผลข้างเคียงที่ตามมา ท่ามกลางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ต้องระมัดระวัง หรืองดเดินทางโดยไม่จำเป็น ขณะที่การรักษาก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องทั้งรักษาผู้มีอาการ และรักษาผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการได้รับเชื้อ หรือลองโควิด อาจารย์หลักสูตรกายภาพบำบัด สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาวลัยลักษณ์นำเทคโนโลยีมาปรับวิกฤตให้เป็นโอกาสผสานเข้ากับองค์ความรู้ทางกายภาพบำบัดให้บริการ ดูแลรักษาบรรเทาอาการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการรักษาทางไกลแบบ Tele Habitacion ด้วยการ vdo call  ในรายการโทรทัศน์วลัยลักษณ์สู่สังคม ตอน “กายภาพบำบัดกับงานบริการวิชาการในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19” ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เชิญอาจารย์ ดร.คมกริบ หลงละเลิง และอาจารย์ ดร.สลิลา เศรษฐไกรกุล อาจารย์ประจำหลักสูตรกายภาพบำบัดสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาพูดคุยเกี่ยวกับการนำวิชาความรู้ด้านกายภาพบำบัดมาดูแลผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อโควิด-19 โดยมีนางสาวชลธิชา ปานแก้ว ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ดำเนินรายการ อาจารย์ ดร.สลิลา กล่าวถึงที่มาที่ไปของการบริการวิชาการด้านกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ว่าเริ่มต้นมาจากโครงการกายภาพบำบัดอาสาพาลมหายใจของสมาคมกายภาพบำบัด ซึ่งตนร่วมเป็นคณะกรรมการอยู่ และได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวอยู่ที่บ้านเนื่องจากโรงพยาบาลมีเตียงไม่พอ ทำให้ผู้ป่วยขาดโอกาสที่จะได้รับการดูแลฟื้นฟูด้านจากนักกายภาพบำบัดเหมือนที่อยู่ในโรงพยาบาล หลักสูตรกายภาพบำบัดจึงได้นำแนวคิด รูปแบบกิจกรรมจากโครงการนี้มาต่อยอดดูแลผู้ป่วยในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยประสานงานกับโรงพยาบาลสนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการการกายภาพบำบัด สำหรับรูปแบบการรักษา อาจารย์ […]

การสร้างแบบทดสอบออนไลน์

Quizizz เป็นเว็บไซต์หนึ่งที่ช่วยสร้าง แบบทดสอบออนไลน์ e-Testing ได้ฟรี ผู้เรียนทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ Notebook Tablet Smartphone ที่เชื่อมต่อระบบ Internet ผลการสอบจะบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์

Quizizz เหมาะกับการนำมาประยุกต์ใช้กับ การทำข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกมส์เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนได้ อีกทั้งช่วยให้สถาบันการศึกษประหยัด ค่าใช้จ่ายจากการเตรียมสอบ และเป็นการใช้เทคโนโลยีได้อย่างเกิด ประโยชน์ ช่วยให้ผู้สอนลดเวลาในการท าข้อสอบและจัดชุดทดสอบ อีกทั้งจะทราบจุดบกพร่องการเรียนของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละเนิ้อหา ว่านักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาการเรียนเรื่องใดเพื่อนมาปรับปรุง

Quizizz เหมาะกับการน ามาประยุกต์ใช้กับ การท าข้อสอบก่อนเรียน หลังเรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน หรือจัดกิจกรรมการสอบแบบเกมส์เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเรียนได้ อีกทั ้งช่วยให้สถาบันการศึกษาประหยัดค่าใช้จ่ายจากการ

ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญา

            กล่าวได้ว่าภาษามีความสำคัญยิ่งต่อสังคมมนุษย์เพราะภาษาเป็นลักษณะพิเศษที่แยกคนออกจากสัตว์ การสื่อสารด้วยเสียงพูดเท่านั้นย่อมไม่ทั่วถึง มนุษย์จึงต้องประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อแทนเสียงพูด ตัวอักษรจึงจัดเป็นสัญลักษณ์ประเภทหนึ่งเพราะสามารถสื่อสารเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิดของตนเองให้แก่ผู้อื่นได้ในวงกว้าง             ลักษณะทั่วไปของภาษามีหลายประการ ที่สำคัญภาษาเป็นกลุ่มเสียงที่มีระบบและกฎเกณฑ์ กลุ่มของเสียงที่มนุษย์เปล่งออกมานี้จะต้องมีความหมายตามที่คนในสังคมได้ตกลงรับรู้กัน ดังนั้นภาษาจึงไม่ใช่เรื่องของสัญชาตญาณ เช่น การเดิน วิ่ง นั่ง ร้องไห้ ตกใจ กลัว หัวเราะ ดีใจ แต่ภาษาเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้และใช้ให้ถูกต้องเพื่อช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปด้วยความราบรื่น             สำหรับภาษาไทยของประเทศเรานั้น เริ่มเป็นหลักเป็นฐานอย่างชัดเจนก็สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยที่ได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรบันทึกไว้ในหลักศิลาจารึกอย่างที่เรา ๆ ได้เรียนและทราบกันมา ภาษาไทย เป็นภาษาในตระกูลไท หรือไต มีทั้งเสียงพูดและตัวอักษรเพื่อสื่อสารให้คนในชาติได้เข้าใจกันได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะทั่วไปของภาษาไทย คือ ภาษาไทยจะเป็นคำโดด นั่นก็คือว่าคำเดิมของไทยส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว มีการเรียงประโยคแบบประธาน+กริยา+กรรม ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสำคัญเช่นเดียวกับเสียงสระและเสียงพยัญชนะ เพราะเสียงวรรณยุกต์ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน (เสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยเปรียบได้เหมือนกับเสียงดนตรี) นอกจากนั้นภาษาไทยยังมีการแบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 ประเภท คือ อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ ด้วยเหตุที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์นี้ จึงทำให้คนไทยสามารถออกเสียงภาษาต่างประเทศได้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา อีกทั้งยังสามารถใช้เลียนเสียงธรรมชาติในคำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดมโนภาพได้ชัดเจนประการหนึ่งด้วยนั่นเอง             วิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาปัญญาเป็นรายวิชาใน ThaiMOOC ที่เราจะได้เรียนรู้การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและนำมาพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยใช้ทักษะในการฝึกฝนที่สำคัญ […]

ห้องเรียนพาโนรามา

การนำเทคนิคผังกราฟิกมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน. เพราะผังกราฟิกเป็นเครื่องมือช่วยแสดงความคิดที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมที่สามารถเห็น. Visits: 25Kaitisak Biraham

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต | Information Technology for life

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา CPRU: CPRU001 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต | Information Technology for life สรุปได้ดังนี้ ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีขั้นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิต คือเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ กำลังมีบทบาทอย่างกว้างขวางในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการ สังคม สิ่งแวดล้อมไปจนถึงด้านการศึกษา และในขณะที่สังคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่มิติใหม่ เทคโนโลยีสารสนเทศนับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่นำสมัยมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ กุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพตามความต้องการของประเทศ และเนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิต การทำงาน การเรียน และเล่น ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อคุณสมบัติในการเป็นเทคโนโลยีที่สามารถสอดแทรก และเสริมสร้างสมรรถนะในกิจกรรมและการดำเนินการต่าง ๆ  ด้วยเหตุนี้สังคมไทยในปัจจุบันจึงกลายเป็นสังคมสารสนเทศ (Information society) ไม่ว่าบุคคลจะอยู่ในอาชีพใด วัยใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพรวมทั้งพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทางบวก ช่วยส่งเสริมความสะดวกสบายของมนุษย์  ช่วยทำให้การผลิตในอุตสาหกรรมดีขึ้น  ช่วยส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าวิจัยสิ่งใหม่ ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง  ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน  ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศทางลบ ทำให้เกิดอาชญากรรม  ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย […]

การแบ่งโซนหัวใจ และประโยชน์ของการซ้อมวิ่ง Zone 2

การแบ่งโซนแบบแรกที่จะพูดถึงคือการแบ่งเทียบกับ MaxHR ดังนั้นเราก็ต้องหา MaxHR ซึ่งอาจคำนวนจากอายุโดยใช้สูตรก็ได้ (220 — อายุ) แต่หมอคิดว่าค่ามันจะไม่แม่นยำนักเพราะอายุเท่ากันแต่ความฟิตไม่เท่ากันก็ไม่ควรจะมี MaxHR เท่ากัน ควรหาค่าเฉพาะคนๆนั้นมากกว่า โดยการให้วิ่งจริงแล้วหาค่าหัวใจที่มากที่สุด ซึ่งก็มีหลายวิธีอีกนั่นแหละครับ แต่ง่ายๆคือวิ่งให้เหนื่อยที่สุด อาจใช้สูตรนี้ก็ได้คือใส่นาฬิกาที่มี HRM (HR Monitor) ลงคอร์ทลู่วิ่ง วอร์มอัพ 1 ไมล์ (4 รอบลู่วิ่ง) แล้ววิ่งเต็มที่ 2 ไมล์ (8 รอบลู่วิ่ง) แล้วดูค่า HR ที่มากที่สุดประมาณเป็นค่า MaxHR โดยในแต่ละกีฬาจะมีค่าไม่เท่ากัน ดังนั้นถ้าจะหาของจักรยานก็ต้องไปปั่นให้เต็มที่ (ปรกติจะได้น้อยกว่าวิ่ง) เมื่อได้ค่า MaxHR แล้วก็แบ่ง Zone ตามเปอร์เซนต์ของ MaxHR ดังนี้ 🔴 Zone 1 (50%-60%) Easy เป็นโซนออกกำลังกายแบบเบามาก ใช้ในช่วง Warm Up หรือ Cool […]

การเลือกภาพประกอบ Content

การเขียน Content เล่าเรื่องต่างๆ ให้น่าสนใจจะต้องมีภาพประกอบที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซึ่งเราจำเป็นต้องมีภาพให้คัดเลือกก่อน หรือเขียนเนื้อหาแล้วค่อยหาภาพที่สอดคล้องกับเนื้อหา? อันไหน ยาก ง่ายกว่ากัน? จากประสบการณ์นักเล่าเรื่องในอดีต มักจะตั้งหัวข้อไว้ก่อนคร่าวๆ แล้วค่อยไปค้นหาภาพประกอบจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อย่างเช่น การเขียนเรื่องการใช้บัตรนักศึกษาสแกนผ่านประตูอัตโนมัติศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา Visits: 29Santat Sarakบรรณารักษ์

Back To Top