ระบบตรวจจับควาวมเร็วอัตโนมัติ

ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ (Automatic Speed Enforcement System) จะทำหน้าที่คอยตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งเกินกำหนด (สามารถกำหนดค่าความเร็วของรถได้) ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ ● สามารถตรวจจับได้ในระยะ 120 เมตร จากตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์● ตรวจจับพร้อมกันได้ถึง 4 เลน● ตรวจจับความเร็วรถสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง● ใช้หลักการของ Doppler Radar ที่มีความแม่นยำสูง● สามารถแยกประเภทรถได้ถึง…

Read More

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork…

Read More

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41 เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ…

Read More

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่

วังผีเสื้อ@โรงอาหารสี่ วังผีเสื้อ อ่านแล้วไม่ใช่สถานที่ในยุทธภพนิยายจีนกำลังภายใน ที่มาชื่อนี้เป็นทั้งชื่อกลุ่มนักศึกษาชายรุ่นแรกๆ ของมวล. ที่กล้าแสดงออก ร่าเริง และยังมีที่มาคือเป็นกลุ่มนักศึกษาที่เคยบำเพ็ญประโยชน์ขุดลอกคลองระบายน้ำด้านหลังอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เพื่อให้น้ำไหลได้ดีขึ้น เพราะมักจะมีวัชพืชผักตบลอยแพกีดขวางเส้นทางน้ำ คลองระบายน้ำที่ไหลผ่านหลังศูนย์บรรณสารฯ และโรงอาหารสี่จึงมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่าวังผีเสื้อไปด้วย โรงอาหารสี่เป็นโรงอาหารที่อยู่ใกล้ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดเดินทางมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันด้วย Covered way  ต่อไปนักศึกษาใหม่ก็คงไม่เห็นชื่อโรงอาหารสี่ในตำนานของนักศึกษาและบุคลากรรุ่นแรกๆ อีกต่อไป เพราะกำลังปรับปรุงอาคารเป็นสตูดิโอของหลักสูตรนิเทศศาสตร์รองรับจำนวนนักศึกษาที่ต้องใช้งานเพิ่มขึ้น เลยบันทึกข้อมูลและภาพในอดีตของโรงอาหารสี่ที่มีคลองระบายน้ำไหลผ่านในเส้นทางที่แปรเปลี่ยนไป ไว้เป็นที่ระลึก เนื่องจากโรงอาหารสี่อยู่ในพื้นที่กลุ่มอาคารปฏิบัติงานของบุคลากร เลยเป็นแหล่งพักรับประทานอาหารเช้าและกลางวัน…

Read More

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID

กว่าจะมาเป็นระบบ Virtual ID การยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา สมาชิกทุกประเภทจะต้องยื่นบัตรแสดงตัวตนแก่เจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกสถานภาพปัจจุบัน จึงจะสามารถยืมหนังสือ ตำราเรียนต่างๆ ได้นักศึกษาทราบไหมว่า ก่อนจะมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะพัฒนามาใช้ระบบ Smart Library ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของรุ่นพี่เป็นอย่างไร?เมื่อพ้นยุคการแสดงตัวตนด้วยบัตรนักศึกษาเมื่อยืมคืนหนังสือกับเจ้าหน้าที่ประจำเคาน์เตอร์ยืมคืนแล้ว ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแสดงตัวตนด้วยการสแกนลายนิ้วมือ เมื่อเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่ นักศึกษาใหม่ต้องมาลงทะเบียนบันทึกลายนิ้วมือและถ่ายภาพลงในฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติ บันทึกการเข้า ออกศูนย์บรรณสารฯ ด้วยการ Scan ลายนิ้วมือ ดังในภาพเก่าที่นำมาแสดงให้เห็น ซึ่งใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลสมาชิกใหม่ เป็นอันมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้พัฒนาระบบ Smart…

Read More

มหาลัยไร้รั้ว..แต่ล้อมรอบไปด้วยวัด

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช อาจจะเป็นสถาบันการศึกษาแห่งเดียวที่ไม่มีรั้วกั้นเขตแดนดังเช่นมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทย เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้อนุมัติพื้นที่สำหรับจัดตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ครอบคลุมพื้นที่หลายตำบล คือ ตำบลหัวตะพาน ตำบลไทยบุรี ตำบลท่าศาลา ตำบลโพธิ์ทอง จึงมีเส้นทางออกจากพื้นที่ 9,000 ไร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้หลายเส้นทาง แต่พื้นที่จะมีรอยเชื่อมต่อกับวัดหลายวัดประจำตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้านข้างจะติดกับลำคลอง คือ คลองเกียบ กับคลองท่าสูง จึงใช้ลำคลองเป็นรั้วกั้นพื้นที่จากชุมชนมหาวิทยาลัย เรามานับเส้นทางออกจากพื้นที่มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้นกลายเป็นรั้วให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยปริยาย มาเริ่มนับจากทิศตะวันออก คือ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งหันหน้าบ้านสู่อ่าวไทย…

Read More

ใครไม่หลงสิแปลก

มีใครมาอยู่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แรกๆ ไม่หลงบ้าง คุณเก่งมาก! เนื่องจากอาณาจักรวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ มีพื้นที่กว้างไกล และมีการแบ่งโซนอาคารตาม Function การปฏิบัติงานและการเรียนการสอน ในระยะที่ห่างกันออกไป จึงไม่แปลกที่คนมาเรียนหรือปฏิบัติงานจะงงมึน ต่อให้มีป้ายบอกทางชัดเจนแล้วก็ตาม หากยังไม่ทำความคุ้นเคยกับลักษณะทางกายภาพแต่พออยู่ๆ ไป จำผังการแบ่งโซนต่างๆ ของกลุ่มอาคารได้ก็ไม่ยากเลยที่จะเข้าถึงจุดหมาย เช่น กลุ่มอาคารเรียนรวม จะอยู่หลังอาคารไทยบุรี ถนนจะเป็นวงกลม 2 วงกลม โพสต์นี้จะเล่าเรื่องการหลงห้องสอบของนักศึกษาใหม่ซึ่งได้เกิดขึ้นประจำทุกปี…

Read More

WU Library ไม่ใช่ WU Book Center

ทุกปีจะพบว่านักศึกษาใหม่จะหลงไป WU Book Center เมื่อต้องการจะไปห้องสมุดมหาวิทยาลัย เพราะชื่อหน่วยงานมีคำว่า “Book” อยู่ ซึ่ง WU Book Center เป็นชื่อร้านหนังสือ จำหน่ายเครื่องแบบนักศึกษา หนังสือตำราเรียน เครื่องเขียน และหนังสือทั่วไป รวมทั้งของใช้จำเป็นในการเรียนมหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะชื่อห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ไม่ได้มีชื่อขึ้นต้นว่าห้องสมุดเหมือนห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา” หรือ The…

Read More