จากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าไปศึกษา เรื่อง การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ด้วย กูเกิลด็อก กูเกิลชีท กูเกิลสไลด์ | Online collaboration with Google Docs, Google Sheets and Google Slides อาจเป็นตัวช่วยหนึ่งในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ง่ายขึ้น เนื่องจากเป็น Application สำหรับสร้าง จัดการงานเอกสารประมวลผล และนำเสนอ ที่สามารถอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้บัญชี google มีส่วนร่วมในการทำงาน แก้ไขบนไฟล์ที่ได้รับอนุญาตได้แบบ Real Time ซึ่งได้รวบรวมเกร็ดความรู้มากฝากคะ Google Docs เป็นโปรแกรม สำหรับสร้างงานเอกสาร และสามารถจัดรูปแบบเอกสารได้เช่นเดียวกับ Microsoft Word โดยสามารถเข้าใช้งานได้ผ่าน Web Browser เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บ หน้าแรกของ Google Docs ต้องลงชื่อเข้าใช้งานก่อน เมื่อเข้าสู่เว็บ หน้าแรกของ google docs สามารถสร้างเอกสารใหม่ได้Read More →

ตามทกระทรวงพลังงานได้ ประกาศกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธิการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 20 มิถุนายน 2552 โดยการบังคับใช้กฎกระทรวงดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร เพื่อนำมาใชบังคับกับการควบคุมอาคารตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกฎกระทรวงดังกล่าวกําหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างหรือดัดแปลงที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 2,000ตารางเมตรขึ้นไป สําหรับอาคารประเภทต่างๆ แบ่งเป็น 9 ประเภท ได้แก่ สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล สถานศึกษา สำนักงาน อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดอาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าดวยการควบคุมอาคาร อาคารโรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการ ควบคุมอาคาร อาคารโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม อาคารสถานบรการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และอาคารห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ต้องออกแบบให้อนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณในการออกแบบอาคารที่กฎกระทรวงฯ กำหนด โดยที่กฎกระทรวงฯ ฉบบนี้ ยังเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย ได้แก่ เจ้าของอาคาร ผุ้ออกแบบอาคาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติแบบ อาคารที่จะก่อสรางหรือดัดแปลงซึ่งจะต้องมีความเข้าใจในบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และหน้าที่ความ รับผิดชอบRead More →

บทนำ       ปัจจุบันการศึกษาของไทยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททางการศึกษามากขึ้นเพราะเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาในยุคสังคมสารสนเทศเป็นอย่างมาก  การเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีคอมพิวเตอร์  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544  บัญญัติไว้ว่าผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเท่าที่ทำได้  เพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและใช้เวลาว่างอย่างสร้างสรรค์  มีความยืดหยุ่น  สนองความต้องการของผู้เรียนผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง  ผู้สอนสามารถจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้หรือนำสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่รอบตัวและในระบบสารสนเทศมาใช้ในการเรียนการสอน  รวมถึงจัดทำและพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับผู้เรียน       การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนพื้นฐานของหลักและวิธีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ  มีการนำสื่อต่างๆ มาเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้ให้กับผู้เรียนโดยอาศัยเว็บไซต์  ในการเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนเวลาใดก็ได้  จากสถานที่ใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้เรียน  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  เพียงแค่ผู้เรียนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเข้าไปศึกษาเนื้อหาในเรื่องที่ตนเองสนใจได้  นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนยังสามารถติดต่อสื่อสาร  สนทนา  อภิปรายกับผู้เรียนด้วยกัน  หรือกับผู้สอนได้อีกด้วย ความหมายของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต           บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  หมายถึง  การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยมีการจัดสภาพการเรียนการสอนที่มีการออกแบบอย่างเป็นระบบ  โดยอาศัยคุณสมบัติและทรัพยากรของเวิล์ดไวด์เว็บมาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ  ในการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นอาจจัดการเรียนการสอนทั้งกระบวนการหรือนำมาใช้เพียงส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการก็ได้  การเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นวิธีการเรียนแบบใหม่ที่ช่วยพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้และช่วยขจัดปัญหาอุปสรรค์ของการเรียนในเรื่องของเวลาและสถานที่  เพราะในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา  ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเท่านั้น  ขอเพียงผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ตได้  ผู้เรียนก็สามารถเรียนได้  โดยในการเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้เรียนและผู้สอนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน องค์ประกอบของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต       ในการจัดทำบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น  มีองค์ประกอบในการจัดทำบทเรียนได้แก่            1. องค์ประกอบของหน้าเว็บ ประกอบด้วยข้อความ  พื้นหลัง  และภาพ ข้อความที่ใช้ในบทเรียนต้องเลือกขนาดให้เหมาะสมโดยข้อความส่วนที่เป็นหัวข้อหลักต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความที่เป็นหัวข้อย่อย  สีข้อความที่ใช้ต้องไม่กลมกลืนกับสีพื้นหลังพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรมีลวดลายเพราะจะทำให้เป็นที่สนใจมากกว่าตัวหนังสือซึ่งเป็นเนื้อหา  สีพื้นหลังที่ใช้ไม่ควรใช้สีเข้มเกินไป  ควรใช้สีอ่อนๆ ที่ดูแล้วสบายตา  ภาพที่ใช้มีหลายชนิดทั้งภาพที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว Read More →

การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียนภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณอนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จักสืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ความรู้และระดับขั้นของความรู้ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554) มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลาRead More →