การจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล การจัดการความรู้เป็นเทคนิคทางการบริหารที่นำมาใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวคน หรือแหล่งต่าง ๆ ในองค์การแล้วนำมาพัฒนาเรียบเรียงและบันทึกให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึง และนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาองค์การ นำไปสู่การพัฒนาประเทศในที่สุด มนุษย์แต่ละยุคสมัยมีวิธีการในการจัดการความรู้ที่แตกต่างออกไป ตามแต่เครื่องมือหรือนวัตกรรมที่สามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในช่วงเวลานั้น เช่น ในยุคก่อนประวัติศาสตร์มนุษย์ถ้าใช้วิธีการนำวัสดุธรรมชาติเขียนภาพตามผนังถ้าเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว ต่อมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มนุษย์สามารถคิดค้นเครื่องพิมพ์ขึ้นมาได้ ก็สามารถบันทึกความรู้ลงในหนังสือ ตำรา ทำให้สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้นจนกระทั่งพัฒนาการของโลกได้เจริญก้าวหน้ามาถึงในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นยุคที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย มีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยมนุษย์ในการรวบรวม เรียบเรียง จัดเก็บ ใช้ประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลเหล่านี้มีคุณอนันต์และโทษมหันต์เป็นเงาตามตัวหากรู้ไม่เท่าทัน บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่บุคคล ในเรื่องของ“ความรู้และการจัดการความรู้ในยุคดิจิทัล” เพราะท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีการหลั่งไหลเข้ามาในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญมากกว่าความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและการใช้งานอินเตอร์เน็ตคือ บุคคลต้องมีทักษะในการจัดการความรู้ เริ่มตั้งแต่การรู้จักสืบค้นแยกแยะข้อมูล ข้อเท็จจริง และนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการจัดการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมดังจะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ความรู้และระดับขั้นของความรู้ความรู้ หมายถึง สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ เช่น ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติ (ราชบัณฑิตยสถาน,2554) มนุษย์มีกระบวนการสร้างความรู้อยู่ตลอดเวลาRead More →