Month: August 2023

เทคนิคการค้น Google

Google คงไม่มีใครไม่รู้จัก คำว่า Google เพราะการหาข้อมูลปัจจุบันนี้ มีอยู่ใน Google มากที่สุด เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนหาอ่านได้ง่ายที่สุด และด้วยที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่โตมาก ทำให้มีข้อมูลที่ค้นหามีมากเช่นกัน การหาข้อมูลบน Google ถ้าไม่มีเทคนิค ตัวกรอง ตัวดำเนินการแล้ว ผลการสืบค้นจะเป็นขยะเสียเยอะ ผลการสืบค้นจะไม่ตรงกับความต้องการ หรือข้อมูลที่ตรงความต้องการหาได้ยาก ใช้เวลานานกว่าจะได้คำตอบ เทคนิคการค้น Google ในเนื้อหาบทนี้ จะแนะนำเทคนิค ตัวดำเนินการ ให้นักสืบค้นข้อมูลได้คำตอบที่ตรงใจมากที่สุด ผู้เขียนขอเลือกเฉพาะตัวดำเนินการที่จำง่ายและใช้งานบ่อยมาแนะนำ ตัวดำเนินการ เครื่องหมาย “……” การใช้เครื่องหมายคำพูด คือค้นหากลุ่มคำในเครื่องหมายคำพูดเท่านั้น ไม่แยกคำค้นหา เช่น “สหกรณ์นอกภาคการเกษตร” + vs and & or คือ รวมคำค้นหา ทั้งคำหน้าและคำหลัง เช่น ไอแพด+แท็บเล็ต – คือการยกเว้น หรือไม่ต้องการ เครื่องหมาย – อยู่หน้าคำไหน คือไม่เอาผลการสืบค้นคำนั้น เช่น มะเร็ง –เต้านม […]

การปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรายการ ทรัพย์สินกรณีที่มีการโอนย้ายที่ตั้ง

เนื่องด้วยการการตรวจนับพัสดุประจำปีนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการพัสดุ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ 2560 ข้อ 213 และ 214 นั้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ 2535 จึงกำหนดแนวปฎิบัติการตรวจนับพัสดุประจำปี ซึ่งกำหนดให้เริ่มปฎิบัติงานภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี เพื่อทำหน้าที่ตรวจนับพัสดุประจำปีของหน่วยงานให้ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบันหากพบว่ามีพัสดุชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหายไป หรือพัสดุใดไม่มีความจำเป็นต้องใช้ในหน่วยงานต่อไปแล้ว ให้รายงานผลการตรวจไปยังส่วนพัสดุ เพื่อเสนออธิการบดีพิจารณาสั่งการให้ดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าการตรวจสอบพัสดุประจำปี มีปัญหาดังนี้ 1.พัสดุที่ได้จำหน่ายออกไปแล้วแต่ยังพบว่ามีรายการอยู่ในทะเบียน 2.ทรัพย์สินที่มีการโอนย้ายมีสถานะที่ตั้งไม่ถูกต้อง ไม่ตรงตามครุภัณฑ์ที่มีอยู่จริง 3.แต่ละฝ่ายไม่มีข้อมูลการจำหน่ายออกครุภัณฑ์ในแต่ละปี ทั้งนี้แบบปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานโอนย้ายพัสดุจึงเป็นเครื่องมือสนับสนุนการบริหารจัดการพัสดุภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลพัสดุที่จำหน่ายออก หรือโอนย้ายที่ตั้งของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้มีความถูกต้องสามารถให้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการตรวจสอบพัสดุประจำปีได้ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้การตรวจสอบพัสดุประจำปี ของหน่วยงานศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ถูกต้อง ครบถ้วนมีสถานะตรงตามทะเบียนทรัพย์สินที่ครอบครองจริงทุกรายการ      2. เพื่อตรวจสอบพัสดุในความครอบครองหรือดูแล ว่ามีพัสดุอยู่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สินของหน่วยงานหรือไม่ 3. เพื่อตรวจสอบว่ามีพัสดุใดชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหายไปเพราะเหตุใดหรือพัสดุใดไม่จำเป็นต้องใช้ในมหาวิทยาลัยต่อไปแล้ว                4. เพื่อให้ผู้ปฎิบัตงานใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติงานในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. ทรัพย์สินที่มีการโอนย้ายมีสถานะที่ตั้งถูกต้อง ตรงตามรายการครุภัณฑ์ที่มีอยู่จริง                2. […]

การตรวจสอบหมายเลขไอพีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่าน Application IP Manager

ห้องประชุมอาคารวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ยุคแบบระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆใช้ระบบอนาล๊อกเป็นส่วนใหญ่แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีใด้พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดทำให้อุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆก็ก้าวสู่เทคโนโนยี ดิจิตอลทั้งหมดเปลี่ยนเสมือนมีคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในอุปกรณ์ทุกตัวโดยที่มีไอพีแอดเดรสสามารถควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางไกลโดยใช้หมายเลขไอพีในการควบคุมโดยที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปปรับแต่งค่าพารามิเตอร์ต่างภายในห้องแล้วทำไห้นายช่างเทคนิกสามารถควบคุมสั่งงานได้ทั้งระบบภาะและระบบเสียงผ่านทางไอพี โปรโตคอลได้ รูปตัวอย่างควบคุมระบบเสียงผ่านไอพี เนื่องจากประสบปัญหาบ่อยในการเข้าไปควบคุมผู้ใช้งานลืมหมาบเลขไอพีและจำไอพีไม่ได้จนต้องโทรหาผู้คุมงานติดตั้งระบบในการเก็บฐานข้อมูลไอพีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์บางทีผู้คุมงานลาบ้างมือถือโทรไม่ติดบ้างดังนั้นทางผู้จัดทำได้สร้าง Application IP manager จากโปรแกรม อาษา เฟรมเวร์คติดตั้งในมือถือระบบปฎิบัติการแอนรอยด์เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่นานช่างเทคนิกผู้ใช้งานสามารถใช้มือถือในการควบคุมดูหมายเลขไอพีได้อย่างง่ายดายแม้จะไม่มีระบบอินเตอร์เน็ตก็สามารถทราบหมายเลขไอพีห้องประชุมอาคารวิชาการได้ทุกห้องประชุม รูปตัวอย่าง Application IP manager รูปตัวอย่างหมายเลขไอพีห้องประชุมต่างๆอาคารวิชาการ1 รูปตัวอย่างหมายเลขไอพีห้องประชุมต่างๆอาคารวิชาการ3 ผู้จัดทำหวังว่านายช่างเทคนิกทุกท่านสามารถทราบหมายเลขไอพีโดยง่ายและสามารถลดขั้นตอนการเดินทางไปหน้างานสามารถสั่งงานให้อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สามารถควบคุมทางไกลได้โดยง่ายดายสามารถดูภาพในห้องประชุมผ่านวงจรปิดได้โดยใช้หมายเลขไอพีในฐานข้อมูลนี้ทั้งหมดเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานได้มากยิ่งขึ้นลดการเดินทางความเหนื่อยล้าในการออกไป service หน้างานใด้มากขึ้น Visits: 47Kraison Kaewoudom

ตามหาพิกัดจุดวางแผ่นศิลาฤกษ์

ตามหาพิกัดแผ่นศิลาฤกษ์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พิธีวางศิลาฤกษ์ คือ พิธีวางแผ่นศิลาจารึกเวลา วัน เดือน ปี อันเป็นมงคลที่เรียกว่า ดวงฤกษ์ แห่งการก่อสร้างไว้ ณ บริเวณสถานที่ก่อสร้างอาคารถาวรต่าง ๆ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อการอยู่อาศัย มีความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง มั่นคง และอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไปตามประเพณีโบราณ เพื่อให้เจ้าภาพและผู้รับจ้างก่อสร้างได้ร่วมประกอบพิธีศาสนาที่ตนเคารพนับถืออันจะเป็นการส่งเสริมความสามัคคีและเพิ่มพูนบุญกุศลต่อไป มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2539 เวลา 15.29-15.49 น. โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ พื้นที่ก่อสร้างอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นมณฑลพิธี (เนื่องจากห้องสมุดเป็นหัวใจ ของการศึกษา อาคารบรรณสารฯ อยู่ใจกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์) และมีการฝังแผ่นศิลาฤกษ์ในบริเวณดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคือเสามุขระเบียงข้างร้านกาแฟเทอเรซ บริษัท สำนักงาน องค์กรใหญ่บางแห่งจะมีการฝังผนึกแผ่นศิลาฤกษ์ไว้ในผนังอาคาร หรือ ติดตั้งแท่นประดิษฐานไว้ในจุดที่ผู้คนเดินผ่านสัญจร เพื่อเป็น Landmark สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้มีจัดเก็บแผ่นศิลาฤกษ์จำลอง ไว้ในหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ […]

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?

23 ปีที่ผ่านมา บัตรนักศึกษา เปลี่ยนไปกี่แบบ?  นับตั้งแต่เริ่มเข้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้กรอกข้อมูลพร้อมแนบเอกสารต่างๆ เพื่อทำบัตรประจำตัวนักศึกษา ใช้แสดงสถานะนักศึกษา ไว้เข้าสอบ และยืมหนังสือในห้องสมุดตั้งแต่นักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รุ่นแรก ศูนย์บริการการศึกษาร่วมกับธนาคารกรุงไทยสาขาท่าศาลา ในการออกแบบบัตรนักศึกษาตามยุคสมัยเพื่อให้รองรับการใช้สิทธิ์กับหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เข้ากับระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่ปรับเปลี่ยนไปตลอด มาดูบัตรนักศึกษารุ่นต่างๆ กัน อายุการใช้บัตรก็จะขึ้นอยู่กับหลักสูตรของนักศึกษาเจ้าของบัตร  🧑‍ บัตรนักศึกษารุ่นแรกสีขาว ไม่สามารถใช้กับเครื่อง ATM ได้ การยืม-คืนผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ คือเจ้าหน้าที่นำรหัสนักศึกษาจากหน้าบัตร พิมพ์เรียกค้นข้อมูลสมาชิกในระบบ สังเกตุให้ดีโดเมน E-mail นักศึกษาจะเป็น @praduu บัตรรุ่นต่อมาเป็น @wu.ac.th  บัตรนักศึกษารุ่นสีม่วงเป็นบัตร ATM VISA จะมีสัญลักษณ์ของธนาคาร ผูกกับบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารกรุงไทย สามารถนำไปกดเงินสดที่ตู้ ATM และใช้แถบ Barcode สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ ยืม-คืนหนังสือศูนย์บรรณสารฯ ได้  บัตรนักศึกษารุ่นเทา-ส้มจะมีสัญญาณ RFID ฝังอยู่ในบัตร เป็นบัตรอัจฉริยะ สแกนผ่านประตูศูนย์บรรณสารฯ และสามารถยืม-คืน หนังสือด้วยตนเอง บัตรนักศึกษา Student card หรือ Smart […]

โครงการขนมล่อมด

ในช่วงก่อนสอบและระหว่างสอบปลายภาค ศูนย์บรรณสารฯ จะจัดกิจกรรมพิเศษกิจกรรมหนึ่งเรียกว่า “โครงการขนมล่อมด” ซึ่งเริ่มต้นจัดเมื่อปี พ.ศ. 2561 มีแนวคิดจากนักศึกษาต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบต่อเนื่องเป็นเวลานาน และบรรยากาศการอ่านหนังสือที่หอพักไม่เอื้อต่อการใช้สมาธิ เช่น มีเสียงรบกวน และกลางคืนหาอาหารทานยาก ต้องใช้เวลาในการเดินทางออกจากห้องสมุดไปศูนย์อาหาร (ขณะนั้นยังไม่มีบริการส่งอาหาร และยังไม่มีร้านอาหารว่างเปิดบริการที่อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา) ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือช่วงสอบปลายภาค โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากผู้บริหาร คณาจารย์ และหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมสมทบทุนให้ศูนย์บรรณสารฯ จัดหาอาหารว่างและเครื่องดื่มร้อน-เย็น ให้นักศึกษาที่มาใช้บริการศูนย์บรรณสารฯ ช่วงขยายเวลา 17.00-24.00 น. มาเป็นเวลาหลายปี และนักศึกษาพึงพอใจในกิจกรรมนี้มาก และสถิติการเข้าใช้ห้องสมุดในช่วงเวลาดังกล่าวได้เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งต่อมาได้งดกิจกรรมพิเศษนี้ไปเนื่องจากมาตรการโควิด-19 ในภาคการศึกษาที่ 1/2565 เมื่อเปิดการเรียนการสอน Onsite 100 เปอร์เซ็นต์ ศูนย์บรรณสารฯ ได้กลับมาขยายเวลาเปิดบริการถึงเที่ยงคืนอีกครั้ง เพื่อให้นักศึกษาได้มีสถานที่เหมาะสมแก่การศึกษาค้นคว้า บรรยากาศเหมาะสมต่อการอ่านหนังสือเตรียมสอบ ซึ่งการให้บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มก็จะปรับเปลี่ยนไปตามงบประมาณที่เปลี่ยนไป แต่ได้เพิ่มจุดบริการตู้น้ำดื่มร้อน-เย็น ขึ้นมาแทนทั้ง 2 ชั้น เพื่อให้นักศึกษาสะดวกต่อการชงเครื่องดื่มร้อน หรือต้มบะหมี่สำเร็จรูปด้วยตัวเองแทน และได้กลับมาจัดโครงการขนมล่อมดอีกครั้ง ล่อให้นักรบเตรียมพร้อมสู้ศึกสนามสอบกันตั้งแต่วันจันทร์ที่ 5 – 11 กันยายน 2565 Visits: 16Santat […]

ปริศนาอาคารเรียนรวม

ปริศนาอาคารเรียนรวมตึกเรียนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะมีชื่อเรียกเฉพาะว่า “อาคารเรียนรวม” เป็นห้องบรรยาย และห้องสอบตามตารางเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารเรียนรวม  ถ้าสังเกตุให้ดี อาคารเรียนรวมจะตั้งอยู่เรียงขนานไปกับอาคารไทยบุรี หรือมีชื่อเรียกว่า “ตึกเรือ” ตามรูปร่างตึก มีอาคารที่ 1,3,5,7 เป็นเลขคี่ ส่วนอาคารเรียนที่ 6 เพิ่งสร้างใหม่ทีหลัง มีชื่อเฉพาะว่า อาคาร ST และ “โกโกวาวา” ตามสีทาอาคารตามตัวละครเกาหลี ใส่ชุดเอี๊ยมสีส้ม ล้อเลียนมาจากชุดของตุ๊กตาในซีรีส์ Squid Game.มาจากเพลงในยูทูบ YouTube ที่ ออกฉาย ปี พ.ศ. 2565 ช่วงเปิดใช้อาคาร แต่…แต่ ….เคยสงสัยกันบ้างไหม? แทนที่จะมีอาคารเรียงไปตามลำดับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กลับมีอาคารเรียนรวม หนึ่ง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด รวมเป็น 6 อาคารในปัจจุบัน ปล่อยให้เป็นปริศนาค้างคาใจว่าแล้วอาคารเรียน 2 อยู่ที่ใด? ในอนาคตอาจจะสร้างตามอาคารเรียนที่ […]

30 ปี…เคาน์เตอร์บริการกับการเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงพื้นที่ต่างๆ ภายในศูนย์บรรณสารฯ

👉 👉 กว่าทศวรรษเคาน์เตอร์บริการศูนย์บรรณสารฯ ที่ได้ปรับเปลี่ยนตลอด 🎯 เพื่อร่วมโอกาสครบรอบ 30 ปีสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาดูกันสิว่า ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัยมีพัฒนาการเคียงคู่กับการเติบโตของมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างไรบ้าง?อันดับแรกแอดมินนำเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเคาน์เตอร์บริการหลักของศูนย์บรรณสารฯ เสนอเป็นเรื่องแรก เพราะเป็นสถานีแรกที่ทุกคนได้สัมผัสตั้งแต่ปีแรกที่เข้าเรียน ลูกเพจทันใช้บริการเคาน์เตอร์ยุคไหนกันบ้าง?🎯 Visits: 15Santat Sarakบรรณารักษ์

>>การพัฒนา App Script เพื่อตรวจสอบหนี้สินและข้อผูกพันพนักงานของงานยืมคืนฝ่ายโสตทัศนูปกรณ์<<

ตัวอย่างฟอร์ม การค้นหารายชื่อพนักงานที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การบันทึกเพิ่มข้อมูล รายชื่อพนักงานยืมคืนงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างฟอร์ม การคีย์ข้อมูลค้นหารายชื่อพนักงานยืมคืนที่ค้างทรัพย์สินงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ตัวอย่างการเก็บฐานข้อมูลใน Google Sheet งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ Visits: 62Anurak Khongkitฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

One Stop Service สำหรับงานโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาตร์ผ่าน LINE  OA

เนื่องจากอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีห้องเรียนปฏิบัติการหลายห้อง ซึ่ง ในห้องเรียนปฏิบัติการจะมีอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน มีช่างเทคนิคจากศูนย์บรรณให้บริการ 1 คน การให้บริการเป็นไปในรูปแบบผู้ใช้งานเปิดระบบโสตใช้งานเองเนื่องจากห้องปฏิบัติการมีจำนวนมากนายช่างไม่สามารถเปิดระบบโสตทัศนูปกรณ์ได้หมดทุกห้อง กรณี ไม่สามารถเปิดระบบโสตทัศนูปกรณ์ใช้งานได้ ผู้ใช้บริการติดต่อนายช่างเทคนิคผ่านทางช่องทาง โทรศัพท์ส่วนตัว  Line Facebook ช่างเทคนิคเข้าดำเนินการแก้ไข จากการให้บริการรูปแบบข้างต้น ทำให้ไม่มีข้อมูลในการให้บริการ ไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน การให้บริการล่าช้า ศูนย์บรรณนาสารและสื่อการศึกษามองเห็นปัญหาการให้บริการในรูปแบบดังกล่าวจึงได้พัฒนา LINE OA ในการให้บริการ โดยได้นำร่องในการให้บริการกับอาคารศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีห้องเรียนปฏิบัติการผู้ใช้บริการสามารถ สแกน qr code เพิ่มเพื่อน เลือกบริการงานโสต อาคาร ชั้น ห้อง ผู้ใช้บริการสามารถพิมพ์ข้อความแจ้งปัญหาได้เลย ช่างเทคนิคเห็นข้อมูลเข้าดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จผู้ใช้บริการประเมินผลการดำเนินงานของช่างเทคนิค จากการให้บริการผ่าน LINE OA ผู้ใช้บริการสามารถแจ้งได้ทุกคนที่เจอปัญหาการใช้งานอุปกณณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ มีข้อมูลในการให้บริการ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ประเมินผลการดำเนินงานของช่างเทคนิคได้ นายช่างเทคนิคสามารถช่วยกันดูติดตามงานได้ Visits: 46Pongsuwan Kaewthong

การบริหารจัดการการโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และ นายช่างเทคนิคผ่าน LINE OALINE Official Account Administrator

  ไลน์ แอดมิน (LINE Admin) หรือ LINE Official Account Administrator เป็นผู้ทำหน้าที่ต่างๆ ในระบบ LINE Official Account ตั้งแต่การสร้างบัญชี LINE Official Account ลงข้อมูล ตั้งค่าระบบต่างๆ ตอบแชทลูกค้า ส่งข้อความ Broadcast ชำระเงิน ฯลฯ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มผู้ดูแลระบบ หรือ ไลน์ แอดมิน (LINE Admin) เพื่อคอยดูแลจัดการเรื่องต่างๆ ได้ ตามขั้นตอน ดังนี้       1. เข้าไป “manager.line.biz” (LINE Official Account Manager)      2. คลิกที่ “เข้าสู่ระบบด้วยบัญชี LINE”      3. คลิกที่ “ตั้งค่า” (Settings)      4. คลิกที่ “เพิ่มผู้ใช้อื่น” […]

การบริการด้วยใจ❤ สู่ความประทับใจของลูกค้า

การบริการคืออะไร? การบริการคือ การสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าในขณะที่ลูกค้ามาใช้บริการ การบริการด้วยใจจะแตกต่างจากการบริการทั่วไป โดยสามารถตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เป็นการบริการใช้เวลาน้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อันจะนำไปสู่การสร้างความประทับใจได้เปรียบจากคู่แข่งขัน ❤คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานบริการที่ควรมี ❤ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการนำไปสู่การบริการที่ดีเลิศ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานบริการด้วยใจ จะเป็นผู้ที่ส่งเสริมให้องค์กรมีความก้าวหน้า การพัฒนาเทคนิคการบริการด้วยการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรจะให้ความสำคัญกับภาพพจน์ขององค์กร ความซื่อสัตย์ของลูกค้า และความพึงพอใจของลูกค้า อันเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศ เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง ❤ลักษณะของการบริการที่เป็นเลิศ 🌼เป็นการให้บริการด้วยใจ 🌼เป็นการบริการที่สร้างความได้เปรียบจากคู่แข่งขัน 🌼เป็นการบริการที่ใช้เวลาน้อยที่สุดแต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ❤หลักสำคัญในการทำให้ลูกค้าประทับใจ 🌼ความน่าเชื่อถือ เกิดจากบุคลิกและความสามารถ🌼ความเป็นรูปธรรม คือลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏให้เห็นถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ได้แก่ สถานที่ บุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมถึงสภาพแวดล้อม🌼การตอบสนองให้ทันเวลา รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ “ลูกค้าคือ หุ้นส่วนระยะยาว การบริการลูกค้าให้เกิดความประทับใจเป็นงานที่ไม่มีวันสิ้นสุด เป็นงานที่ต้องปรับปรุงคุณภาพอยู่เสมอ” Visits: 45Kittiporn Sriphet

การรายงานผลการใช้งานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ผ่าน Line OA ผ่าน Google Form

ความเป็นมา และ ความสำคัญ               เพื่อให้การปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Steak holder) ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ วางนโยบาย และติดตามผลการให้บริการอย่างต่อเนื่องอันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการงานโสตทัศนูปกรณ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา             ดังนั้น ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ในปี 2566 ได้ดำเนินการให้บริการประเมินความพึงพอใจงานโสตทัศนูปกรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการศูนย์เครื่อมือวิทยาศาสตร์ ผ่านการใช้งาน LINE OA ด้วย Google Form ซึ่งสามารถรับทราบผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสร้างความพึงพอใจสูงสุดของผู้รับบริการ   วัตถุประสงค์ 2. สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของงานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา   3. สร้างทัศนคติที่ดีและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่องานโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา     4. สร้างการรับรู้ต่อผู้ใช้บริการด้วยระบบ LINE OA ผ่าน Google Form สาระก่อนเข้าเนื้อหา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ LINE OA LINE OA คือ บัญชี LINE เพื่อธุรกิจ ใช้เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจกับลูกค้า ซึ่งมีวิธีการใช้งานเหมือนกับบัญชี LINE ส่วนตัว […]

ระบบตรวจจับควาวมเร็วอัตโนมัติ

ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ (Automatic Speed Enforcement System) จะทำหน้าที่คอยตรวจจับความเร็วของรถที่วิ่งเกินกำหนด (สามารถกำหนดค่าความเร็วของรถได้) ในพื้นที่ที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับไว้ ● สามารถตรวจจับได้ในระยะ 120 เมตร จากตำแหน่งที่ติดตั้งอุปกรณ์● ตรวจจับพร้อมกันได้ถึง 4 เลน● ตรวจจับความเร็วรถสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง● ใช้หลักการของ Doppler Radar ที่มีความแม่นยำสูง● สามารถแยกประเภทรถได้ถึง 3 ประเภท● สามารถตรวจจับและถ่ายภาพได้แม้ในช่วงเวลากลางคืน● บันทึกภาพรถ, ป้ายทะเบียน, ความเร็ว, วันเวลาที่กระทำผิด ตรวจสอบย้อนหลังได้● ส่งสัญญาณและข้อมูลที่ได้ไปยังศูนย์ควบคุมกลาง ง่ายต่อการควบคุมและจัดการ● มีโปรแกรมวิเคราะห์จับภาพป้ายทะเบียนเพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานประกอบการออกใบสั่ง● มีโปรแกรมจัดการเพื่อออกใบสั่ง ได้แบบ Real Time และย้อนหลังได้, ใบสั่งจัดเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 3 ปี● รองรับการเชื่อมต่อกับกรมการขนส่ง เพื่อใช้สืบค้นหาข้อมูลเจ้าของรถ ระบบตรวจจับความเร็วอัตโนมัติในปัจจุบันมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ 1.ระบบตรวจจับความเร็วติดตั้งแบบถาวรเป็นระบบกล้องตรวจจับความเร็วยานพาหนะ โดยติดตตั้งแบบถาวรและทำงานอัตโนมัติ 24 ชม. Day-Night ส่งผ่าน […]

แผนที่ฉบับแรกมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

แผนที่เป็นสิ่งแรกที่เราถามหาเมื่อมาเยือนถิ่นวลัยลักษณ์แลนด์แดน 9,000 ไร่ ในครั้งแรก และสตั๊นท์กับความกว้างใหญ่ของพื้นที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ไปให้ถึงจุดหมาย ถึงแม้ตามผังแม่บทการสร้างเมืองมหาวิทยาลัยจะแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่มอาคารการเรียน กลุ่มอาคารวิชาการ กลุ่มที่พักอาศัยนักศึกษา บุคลากร ก็ตาม เพราะว่ารูปร่างลักษณะอาคารจะเหมือนกันหมด ถ้ามาครั้งแรกโดยไม่มีเจ้าถิ่นแนะนำ ก็จะต้องใช้แผนที่ในการเดินทาง ว่าอาคารใดอยู่ตรงไหน  ในช่วงเปิดการเรียนการสอน พ.ศ. 2541 การใช้แผนที่ Google map ยังเข้าถึงยาก เพื่อให้คู่มือในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงได้มีการมอบหมายให้บุคลากรที่ชำนาญในงาน Artwork สร้างแผนที่ฉบับภาพวาดขึ้นมา ซึ่งคุณธีรวัฒน์ ศรีบุญเอียด นักเทคโนโลยีการศึกษาประจำศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้สรรค์สร้างขึ้นเป็นภาพวาดแผนที่มุม Bird eye view โดยการเดินสำรวจพื้นที่ทุกตารางเมตรด้วยตนเอง จนออกมาเป็นแผนที่ฉบับแรกที่ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ก่อนจะพัฒนาขึ้นเป็นแผนที่ฉบับกราฟิกคอมพิวเตอร์อย่างทุกวันนี้ ปัจจุบันผู้สร้างแผนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ฉบับแรกได้ครบอายุการทำงานในเดือนตุลาคม 2565 จึงได้ผลงานฉบับ Master piece เป็นสตอรี่หนึ่งแห่ง 30 ปี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ Visits: 11Santat Sarakบรรณารักษ์

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41

รับน้องเฟรชชี่รุ่นแรก’41 เฟรชชี่ Freshy หรือ นักศึกษาใหม่รุ่นแรกของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ นักศึกษารหัสที่ขึ้นต้นด้วย เลขพ.ศ. ตัว คือ ปีการศึกษา 2541 หรือเรียกกันว่า ประดู่ช่อแรก แล้วมีรุ่นพี่ที่ไหนมารับน้องใหม่กัน? ช่วงปีนั้นอดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คือ นายแพทย์บัญชา พงษ์พานิช ผู้บุกเบิกและร่วมก่อตั้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคุณนิรันดร์ จินดานาค เป็นหัวหน้าส่วนกิจการนักศึกษา เป็นทีมผู้บริหารดูแลรับผิดชอบนักศึกษาใหม่ ได้ร่วมกำหนดลักษณะกิจกรรมรับน้องที่แตกต่างกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ โดยกำหนดให้เป็นลักษณะ “กลุ่มสัมพันธ์” เป็นการรับน้องมิติใหม่ เพื่อให้นักศึกษาใหม่ได้ปรับตัวกับชีวิตที่เติบโตขึ้นในเมืองมหาวิทยาลัย โดยกลุ่มพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นรุ่นพี่ (เฟรชชี่เรียกว่าพี่บุค ย่อมาจากพี่บุคลากร) ดำเนินการต้อนรับเฟรชชี่ รหัส 41 ด้วยความอบอุ่นเหมือนเป็นพี่น้อง เพราะฉะนั้นนักศึกษารุ่นแรกกับพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จะรู้จักสนิทสนมใกล้ชิดกันมาก มีอะไรก็ปรึกษาสอบถามหารือตักเตือนสั่งสอนกันอย่างสะดวกใจ ไม่มีบรรยากาศรับน้องแบบ SOTUS จนมีความรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเอง หรืออึดอัด ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการรับน้องที่สร้างสรรค์ นักศึกษาใหม่มีความสบายใจ และถ่ายทอดกิจกรรมรับน้องประดู่ช่อใหม่  ด้วยความอบอุ่นสืบต่อกันมา จนปัจจุบัน ครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วันที่ 29 มีนาคม 2566 ย่างก้าวปีที่ 31 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้มีการรับน้องในลักษณะกลุ่มสัมพันธ์มาจนถึงช่อประดู่ที่ 25 (ขอบคุณภาพประกอบจากคุณอุดรรัตน์ […]

Back To Top