Month: December 2022

วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณีและความเชื่อในภาคใต้

จากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ของเราว่ามีความเป็นมาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องใดบ้างก่อนจะมีวัฒนธรรมให้เราได้ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงวันนี้ คำว่า “วัฒนธรรมท้องถิ่น” กล่าวคือ วัฒนธรรมท้องถิ่นในที่นี้ก็จะเชื่อมโยงไปให้เห็นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นคำว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้แน่นอนจะบอกเฉพาะเจาะจงไปที่ความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ ฉะนั้นพอเป็นความท้องถิ่นภาคใต้ ก็จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ ความมีลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ในอีกรูปแบบหนึ่ง พอเฉพาะเจาะจงไปเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้เราก็ต้องมีพื้นฐานให้เข้าใจไปโดยอัตโนมัติว่าประเทศไทยถูกแบ่งภูมิภาคออกเป็นอย่างน้อย 5 ภูมิภาค ซึ่งขนาดภาคใต้เองก็เป็นภาคใต้ตอนล่าง-ภาคใต้ตอนบน ภาคกลางเองก็มีภาคตะวันตก ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคตะวันตก ที่แบ่งให้เห็นความเหลื่อมหรือความต่างของวัฒนธรรม ทั้งนี้วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้มี 2 โซน ก็คือ วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่าง กับวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนบน ก็ได้แบ่งโดยพื้นที่ของจังหวัดสงขลานับลงไปถึงโซนข้างล่างสุด และนับไปจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปก็เป็น 6 จังหวัดภาคใต้ตอนบน และ 6 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ฉะนั้นขนาดโซนภาคใต้เองที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ ก็จะมีจุดเน้นทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน วัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างเราจะเห็นว่าแตกต่างกัน เราจะเห็นว่าบทบาทศาสตราวุธ โดยเฉพาะ 6 ภาคใต้ตอนล่างศาสตราวุธที่มีความเด่นมาก ในท้องถิ่นภาคใต้ก็คือกริชใน 6 ภาคใต้ตอนล่าง กริชหรือออกเสียงเป็นภาษาอินโดนีเซียบาฮาซาออกเสียงว่าเกอริช 2 พยางค์แต่คนไทยเอาคำนี้มาใช้เรียกรวมกันว่ากริชใน อินโดนีเซียบาฮาซา แปลว่าแทงในระยะประชิดตัว แต่ว่าพอเป็นคำกริยา เวลามาอยู่ในประเทศไทยออกเสียงเป็นพยางค์เดียวว่ากริช แต่คนในอินโดนิเซียออกเสียงว่าเกอริช แล้วก็เป็น อาวุธสำคัญที่สะท้อนให้เห็นทั้งโลกทัศน์ความเชื่อและพัฒนาการทางศาสนา ในพื้นที่คาบสมุทรมลายูทั้งหมด ส่วนภาคใต้ตอนบนกริชหรือเกอริชจะลดทอนบทบาทลงไป เยอะมาก […]

เทคนิคการถ่ายภาพแบบสื่อสาธารณะ

ซึ่งจากการที่ได้เรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังเริ่มต้นการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้เผยแพร่ในช่องทางต่าง ๆ  และ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่มีความสวยงามสื่อความหมายถูกต้องตามหลักของสื่อสาธารณะ อันดับแรกเรามาเรียนรู้และทำความรู้จักกับการตั้งค่าพื้นฐานของกล้องเพื่อให้ได้ถ่ายภาพที่สวยงามมากขึ้น อันได้แก่ 1. การปรับค่าควบคุมแสง 3 ค่า คือ ค่า F-stop, ISO และสปีดชัตเตอร์ 2. การบันทึกภาพต่อวินาที หรือ Framerate 3. การปรับความสมดุลแสงสีขาว หรือ White Balance การปรับค่าควบคุมแสง ค่าแรก คือ ค่ารูรับแสง โดยทั่วไปเรามักจะเรียกค่ารูรับแสงสั้น ๆ ว่าค่า F เป็นการปรับขนาดรูรับแสงที่ยอมให้แสงผ่านเข้าไปตกกระทบบนเซนเซอร์ การปรับค่า F แปรผกผันกับการรับแสง กล่าวคือ ค่ารูรับแสงน้อยเซนเซอร์จะรับแสงได้มาก ภาพที่ถ่ายออกมาจะสว่าง ในขณะที่ค่ารูรับแสงมากเซนเซอร์จะรับแสงได้น้อยภาพที่ถ่ายออกมาจะมืด  จึงควรปรับค่า F-stop ให้ต่ำมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ค่าที่ 2 คือ สปีดชัตเตอร์ หรือค่าความไวของชัตเตอร์ หรือม่านที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดการรับแสงที่ผ่านมาจากเลนส์ชัตเตอร์ หรือแผ่นทึบแสงเป็นส่วนประกอบชิ้นหนึ่งของกล้อง ซึ่งวางอยู่ด้านหน้าเซนเซอร์ภาพ ทำหน้าที่หลักในการควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านจากเลนส์ไปยังเซนเซอร์ เพื่อให้ภาพอยู่ในระดับที่พอดี เพื่อให้ภาพได้รับแสงที่ถูกต้อง  […]

เทคนิคการนำเสนอผลงานวิชาการ

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาดังกล่าวนี้ จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนที่คิดว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การนำเสนอผลงานวิชาการ จึงเป็นสิ่งที่สาคัญที่นักวิจัยและนักวิชาการทุกคนควรต้องทำ เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัย และจัดทำรายงานวิจัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิจัยและนักวิชาการควรถือว่าเป็นหน้าที่ ซึ่งอาจนำเสนอผลงานวิจัยได้หลายแบบ สามารถเลือกวิธีการนำเสนอใด้หลายวิธี คือ การพูดทางวิชาการ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ หรือด้วยการตีพิมพ์ เป็นต้น การฝึกซ้อมกันนำเสนอ  เนื่องจากการนำเสนอการวิจัยจะเป็นเรื่องใหม่เสมอ ผู้วิจัยจึงต้องฝึกซ้อมก่อนนำเสนอทุกครั้งเพื่อให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องดำเนินการดังนี้คือ การเตรียมการนำเสนอ และการนำเสนอ การประเมินเพื่อพัฒนาการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ อาจประเมินด้วยการสังเกต ในปฏิกิริยาของผู้ฟัง ควรออกแบบการประเมินที่จะได้สารสนเทศสนองต่อนักวิจัยที่จะนำไปพิจารณาปรับปรุงการนาเสนอครั้งต่อไป ข้อพึงปฏิบัติการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการวางแผนตามลำดับขั้นตอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา, มีการนำเสนอในแต่ละหัวข้อประมาณ 1-2 นาที, มีการฝึกฝนการพูดให้กระชับและตรงประเด็น, มีการวางแผนการใช้สื่อให้เหมาะกับสาระ, ปรับเนื้อหาให้ตรงประเด็น, ออกเสียงชัดเจน, พูดถึงเหตุผลการวิจัยที่ชัดเจน และควรเน้นนำเสนอให้ผู้ฟังเข้าใจ ข้อไม่พึงปฏิบัติที่การนำเสนอที่ไม่มีประสิทธิภาพ การนำเสนอโดยการพูดทางวิชาการ การเสนอผลงานวิจัยและงานวิชาการด้วยวาจา มีเวลาจากัดมาก นักวิจัยมีเวลาประมาณ 15-20 นาที ในการนำเสนอสาระสรุปของผลงานวิจัย สาระด้านการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา แบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ รูปแบบเอกสาร/ผลงานวิจัยสาหรับการนำเสนอด้วยวาจา และแนวทางการเตรียมเอกสาร/ผลงานใช้ประกอบการเสนอผลงาน นงลักษณ์ วิรัชชัย (2559) ดังนี้ รูปแบบของผลงานวิจัยสาหรับการเสนอด้วยวาจา สิ่งที่นักวิจัยต้องเตรียมในการนาเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา […]

Back To Top