Tag: ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนและสื่อการศึกษา

Design Thinking ความคิดเชิงออกแบบ

        “Design Thinking  ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องรู้ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เป็น” นี่คือ Key Word สำคัญที่จะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น Design Thinking จึงเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่เพียงการท่องจำ ว่า Design Thinking มีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนคืออะไร ถ้าเรามัวแต่ท่องจำก็ไม่สามารถที่จะคิดเชิงออกแบบได้         ส่วนคำว่า นวัตกรรม คือ การที่สิ่งนั้นไม่มี แล้วเราทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น และสามารถทำให้คนทั่วไปเชื่อถือหรือใช้ในสิ่งนั้น ๆ นั่นเอง        ต่อไปเป็นคำว่า Innovation สามารถสรุปได้ดังนี้ Innovation ก็คือ สิ่งที่สร้างขึ้นมา แล้วทำให้คนเก็บประโยชน์ และใช้สิ่งนั้นนั่นเอง         ***สิ่งสำคัญของนวัตกรรม คือ ต้องมีประโยชน์ และต้องมีคนใช้        ***นวัตกรรม เริ่มต้นที่ เราจะแก้ปัญหาอะไร ตอบโจทย์ผู้ใช้ได้อย่างไร         Design Thinking ประกอบไปด้วย 5 องค์กระกอบ คือ Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test […]

ถ่าย VDO ตั้งค่ายังไงใช้โหมดไหนดี

หลายคนคงเคยถ่าย VDO ด้วยกล้องถ่ายรูปไม่ว่าจะเป็นชนิด dslr หรือ mirrorless ซึ่งกล้องทั้ง 2 แบบก็มีฟังค์ชั่นที่คล้ายกัน แต่ว่ามือใหม่ทั้งหลายที่ไม่เคยมีความรู้เรื่องการตั้งค่า speed shutter หรือ ค่ารูรับแสง (F-Stop) รวมทั้งค่า ISO นั้นจะต้องตั้งอย่างไรวันนี้เรามาดูกัน 1. PAL กับ NTSC คำว่า PAL กับ NTSC เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างใช่มั้ยครับ อธิบายสั้น ๆ ว่าเป็นมาตราฐานระบบสัญญาณภาพที่ใช้กันทั่วโลกซึ่งมันก็จะมีให้เลือกหลัก ๆ สองอันนี้แหละในกล้องของเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะบันทึกวิดีโอในระบบไหน ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ระบบ PAL ซึ่งข้อแตกต่างของสองอันนี้คือ PAL จะเป็นแบบ 50Hz ส่วน NTSC นั้น 60Hz ซึ่งกล้องจะปรับการตั้งค่าเฟรมเรตวิดีโอให้สัมพันกับระบบที่คุณเลือกใช้ด้วยนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมตอนเราอ่านสเปคกล้องเค้าบอกว่าถ่ายวิดีโอได้ 1080p 60fps แต่ตอนซื้อมาใช้มันตั้งได้แค่ 50fps เองเพราะกล้องซื้อในบ้านเรามันถูกตั้งไว้ที่ระบบ PAL(แต่บางรุ่นก็จะมี 60fps ให้เลือกเหมือนเดิม)มาตั้งแต่แรก แนะนำให้ตั้ง PAL ไว้ดีแล้วครับ 2. […]

การออกแบบสื่อเสียงเพื่อการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อเสียง สื่อเสียงประกอบด้วยสื่อและเสียงซึ่งเป็นตัวการทำให้กำเนิดเสียงถ้าไม่มีตัวกลางก็ไม่มีเสียงเสียงเกิดจากการสั่นตัวกลางทำไห้เกิดความถี่ย่านต่างๆระหว่าง 20 hz- 20 khz ส่วนเสียงจะเป็นอะไร มีความหมายอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของสอมมนุษย์ผู้นั้นว่าบันทึกและจำแนกเสียงไว้ในสมองอย่างไร เสียงเกิดจากการสั่งสะเทือนของเครื่องกำเนิดเสียง เสียงเคลื่อนที่ด้วยสื่อที่เป็นตัวกลางความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาแน่นความยืดหยุ่น อุณหภูมิตัวกลางโดยทั้งไปเสียงเดินทางผ่านอากาศที่อุุณหภูมิ 20 องศาจะมีความเร็ว 340 เมตร/วินาทีเสียงจะเคลื่นที่ความเร็วเท่าไหร่ได้ไกลแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดและสื่อกลางที่จะพาเครื่องที่ไปยังจุดหมาย ด้วยการค้นพบเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถผลิตคลื่นวิทยุเมื่อใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อพาเสียงไปได้ความเร็วของคลื่นสนามแม่เหล็กด้วยการผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การปรุงคลื่นการ (Modulation) ด้วยการส่งเสียงออกไปด้วยเครื่องส่งวิทยุหรือเรียกว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงรูปคลื่นที่ผสมกับความถี่เสียงแบบ AM แล้วมีการเปลี่ยนแปลงตามขนาดความสูงของคลื่นตามขนาดความสูงของคลื่นเสียง ระบบบันทึกเสียง แบ่งตามรูปแบบของสัญญาณการบันทึกเสียงในแบบสัญญาณดิจิตอลบันทำเสียงได้ง่ายและมีความสะดวก โดยเฉพาะการเผยแพร่เสียงในรูปแบบ Mp3 ผ่านเครืออข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้สามารถเข้าฟังได้ในเวปไซด์ที่ให้บริการ หลักการของงานวิทยุกระจายเสียงมีอยูา 3 ประการคือ 1 ให้ข่าวสาร ความรู้ และบทความ 2 ให้การศึกษา 3 ให้ความบันเทิง ปัจจุบันสถานีวิทยุมีหลายแห่งส่วนมากจะมีเอกชนไปเช่าเวลาการออกอากาศต่างๆ โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน นักจักรายการจะมีอิสระในการดำเนินรายการมากและไม่มีรูปแบบแน่นอนจะมุ่นเน้นไปทางบันเทิงและโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ตามการเวลาเพื่อผลจากผู้จ้างให้มาทำการโฆษณาบ่อยครั้งที่พบว่ารายการที่ออกมานั้นส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้องตามวัฒธรรมประเพณีของไทย ทั้งยังเป็นปัญหาของสังคมอีกด้วย การบันทึกเสียงเพื่อการศึกษา เป็นการแปลงสัญญาณเป็นคลื่นเสียงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอนาล๊อกหรือระบบดิจิตอลที่เสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์เป็นสัญยาณในรูปแบบอื่นแล้วเก็บลงในวัสดุบันทึกสามารถเล่นกลับเป็นคลื่นเสียงให้ผู้เรียนศึกษาได้ รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียง เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมาประทบกับวัตถุบางๆทำไห้เกิดการสั่นสะเทือนมนุษณ์ก็คิดวิธีการบันทึกเสียงขึ้น รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียงมี 3 รูปแบบคือ 1 การเปลี่ยนคลื่อนเสียงแบบเชิงกลบนร่องเสียงสั่นสะทือนจะไปกระตุ้นให้เข็มที่วางอยู่บนร่องเรียบที่เตรียมไว้บนวัตถุบางชนิดเช่น ขี้ผึ้ง แผ่นดีบุก แผ่นครั่งที่เป็นแผ่นกลมหมุนรอบแกนกลาง ทำให้ร่องเรียบเกิดความขรุขละออกข้างตามระดับความดังเสียง […]

ทักษะพื้นฐานการซ่อมบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน | Basic Skills in The Maintenance Office

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานมากมายหลายรูปแบบ  หลายยี่ห้อ  แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานและราคา ซึ่งหลักการพิจารณาเลือกใช้เครื่องใช้สำนักงานมีดังนี้        1.  ความจำเป็นในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน  โดยพิจารณาว่าหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทใด เพราะเหตุใด จึงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทนั้น ๆ         2.  ลักษณะงาน  คือการพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานที่นำเครื่องใช้สำนักงานมาใช้ว่ามีประสิทธิภาต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เช่น ได้ผลงานมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และประหยัด มีความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา        3.  ความต้องการของบุคลากร  การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์กรจากการใช้แรงงานคนมาเป็นการใช้เครื่องจักรนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดการว่างงานซึ่งกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากร  เพื่อให้ปัญหา  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนพนักงานและการใช้เครื่องใช้สำนักงานหมดไป ผู้บริหารจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่ามี  ความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่าย มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในงาน ขณะเดียวกันจะต้อง  ไม่เกิดความขัดแย้ง นอกจากนั้นควรคำนึงถึงปัญหาการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทต่าง ๆ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของเครื่องใช้นั้น ๆ ว่าสามารถลดความเบื่อหน่ายจากการทำงานในสภาพเดิมได้ และสามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานรูปแบบเดิมได้ ทำให้พัฒนางานได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   […]

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management […]

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในการทหารและกระทรวงกลาโหม แต่เดิมใช้เพื่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และมีการใช้งานเชิงพาณิชย์และวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัด และการถือกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กรต่างๆ โซลูชันเครือข่ายยุคใหม่ไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อแล้ว แต่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันด้วย ความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานนั้นสามารถตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติและปลอดภัย เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ทำงานแบบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานจริงของเครือข่ายพื้นฐานสามารถแบ่งสัดส่วนตามตรรกะเพื่อสร้างเครือข่าย “ซ้อนทับ” ได้หลายเครือข่าย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบซ้อนทับ โหนดต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงแบบเสมือนจริง และสามารถส่งข้อมูลระหว่างโหนดทั้งสองผ่านอุปกรณ์จริงได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น เครือข่ายองค์กรจำนวนมากถูกซ้อนทับกันบนอินเทอร์เน็ต ผสานรวมในวงกว้าง บริการระบบเครือข่ายสมัยใหม่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายทางกายภาพ บริการเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายผ่านระบบอัตโนมัติและการตรวจสอบเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูงได้ บริการเครือข่ายสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่าย ศึกษา รวบรวม และจัดระเบียบเนื้อหา – […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

Infographic ไม่ใช่เข็มฉีดยา แต่มีที่มาจากนางพยาบาล

นางพยาบาลมาเกี่ยวข้องอะไรกับ infographic กันน้า .. มาค่ะมา.. จะเหลา เอ้ย! เล่าให้ฟัง จริงอยู่ ถ้าดูตามบริบท นางพยาบาลอาจจะห่างจาก infographic ไปสักนิด แต่ถ้าบอกว่า เกี่ยวโยงด้วยการนำเสนอ ..อันนี้พอจะเข้าเค้า แต่ก็ยังไม่ Wowww เท่ากับว่า …จุดเริ่มต้นของการนำเสนอแบบ Infographic นั้น เกิดจาก “นางพยาบาล” ใช่ค่ะ …เมื่อได้ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course บน ThaiMOOC ก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และกว้างขึ้น เพราะนอกจากในรายวิชาจะอธิบายความหมายของคำว่า Infographic ว่ามาจากคำ 2 คำ คือ Info ที่มาจาก information+graphic “Infographic = Informaiton (ข้อมูลสารสนเทศ) + Graphic (ภาพกราฟิก) หมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้กราฟิก มาแทนที่ข้อมูลตัวอักษร […]

เคล็ดลับการทำงานอย่างมืออาชีพ 

หากท่านเป็นคนหนึ่งที่อยากให้หัวหน้าประทับใจในผลงานและสนับสนุนท่าน หรือหากท่านอยากให้เพื่อนร่วมงานยอมรับในความสามารถและช่วยเหลือสนับสนุนท่านหรือท่านอยากประสบความสำเร็จในการทำงาน บทความนี้จะให้เคล็ดลับเหล่านี้แก่ท่าน เพื่อเสริมให้ท่านทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพ หัวหน้าและเพื่อนร่วมงานประทับใจและช่วยเหลือท่าน โดยเคล็ดลับนี้ถอดบทเรียนมาจากประสบการณ์การทำงานในองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสอดคล้องกับหนังสือหรือคอร์สพัฒนาตนเองต่างๆ ที่ผู้เขียนศึกษามาเป็นเวลามากกว่า 10 ปีค่ะ  ระหว่างอ่านเคล็ดลับแต่ละข้อ ลองหยิบปากกามาให้คะแนนตนเองดูนะคะ ว่าแต่ละข้อเต็ม 10 ท่านให้คะแนนตนเองเท่าไร (10 คือ ท่านพึงพอใจว่าทำได้ดีมาก จนไม่ต้องปรับแล้วค่ะ) เพื่อที่ท่านจะได้เข้าใจตนเองเพิ่มขึ้น และชัดเจนกับตัวเองมากขึ้นว่าจะไปพัฒนาด้านใดค่ะ  1. มีเป้าหมายที่ชัดเจน เมื่อท่านมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าท่านอยากให้ผู้อื่นมองว่าท่านเป็นคนอย่างไร และท่านเองอยากพัฒนาเป็นคนที่มีลักษณะอย่างไร เพื่อท่านจะเติบโตอย่างไร เช่น อยากให้ผู้อื่นมองว่าท่านเป็นคนขยัน กระตือรือร้น มีความสามารถ และสามารถสร้างผลงานตามที่ได้รับมอบหมายหรืออาสาเอง เพื่อท่านจะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง ท่านก็จะกระตือรือร้น ตั้งใจทำงานอย่างเต็มศักยภาพ มองหาแต่หนทางในการทำงานให้สำเร็จ ไม่เสียเวลากับการคิดลบว่าทำไม่ได้ เป็นต้นค่ะ 2. กระตือรือร้น การกระตือรือร้นในงานที่เป็นกิจวัตร กระตือรือร้นในการทำสิ่งใหม่ๆ กระตือรือร้นในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย มองว่าทุกงานที่ทำมีคุณค่า มีประโยชน์ทั้งต่อตนเอง (คือ ได้พัฒนาตนเองให้เก่งขึ้น ได้เรียนรู้) และต่อองค์กร (งานที่ทำเป็นจิ๊กซอว์อันหนึ่งที่ช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จค่ะ) พลังของความกระตือรือร้นนี้จะถ่ายทอดออกมาผ่านน้ำเสียง คำพูด ท่าทาง และการกระทำค่ะ เมื่อท่านกระตือรือร้นก็จะช่วยให้คนที่อยู่รอบๆ ตัวท่านกระตือรือร้นตามค่ะ และแน่นอนค่ะ เมื่อท่านกระตือรือร้น ท่านจะทำงานได้เร็วขึ้น […]

การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืนที่ต้องการบรรยากาศเหมือนจริง ไม่นิยมใช้แฟลชในการถ่าย สิ่งสำคัญที่สุดจึงเป็นขาตั้ง สายลั่นชัตเตอร์ หรือรีโมตคอนโทรล รวมทั้งนาฬิกาจับเวลาและไฟฉายขนาดเล็กที่ควรติดตัวไปด้วย เพราะการถ่ายภาพในสภาพแสงที่น้อยต้องใช้ความไวชัตเตอร์ที่ต่ำมาก โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-45 วินาที อย่างไรก็ตาม ควรถ่ายเผื่อหลายระยะเวลาเช่น ถ่ายมุมเดียวกัน 3 ภาพ แต่ละภาพห่างกัน 5-10 วินาที เนื่องจากระยะเวลาต่างกันจะให้สภาพแสงมีความสวยงามต่างกัน และแต่ละสถานที่ก็เหมาะกับการถ่ายด้วยระยะเวลาต่างกัน การถ่ายกลางคืนโดยทั่วไป ควรตั้งช่องรับแสงกลาง ๆ เช่น f8 แต่หากต้องการถ่ายสถานที่ที่ตกแต่งและประดับไฟกลางคืน ควรตั้งช่องรับแสงให้แคบลง เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพฟุ้งเกินไปและจะช่วยให้ได้ลักษณะแสงไฟที่เป็นแฉกสวยงาม หากเป็นการถ่ายภาพพลุหรือดอกไม้ไฟในงานแสดงแสงสีเสียงหรืองานพิธีต่าง ๆ ควรตั้งระยะชัดไว้ที่อินฟินิตี้แล้วเปิดช่องรับแสงประมาณ f8 โดยใช้เวลา 2-3 วินาทีเพื่อให้เส้นของไฟมีลักษณะการกระจายที่สวยงามไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป แต่หากพลุบางดวงแสงสว่างมากเกินไป ก็อาจปรับช่องรับแสงแคบลง ที่ f11 หรือf16ก็ได้เพื่อช่วยลดความเจิดจ้าของพลุลง ส่วนการถ่ายภาพพระจันทร์เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการถ่ายภาพกลางคืนที่ได้รับความนิยมเพราะถ่ายได้ทุกที่ที่มองเห็นพระจันทร์แม้แต่หลังบ้านตนเอง แต่ควรใช้เลนส์ถ่ายไกลที่มีช่วงความยาวโฟกัสสูงประมาณ 300 มม. ขึ้นไป แต่หากไม่มีอาจใช้การตัดหรือ Crop ภาพในภายหลังได้และควรมีขาตั้งกล้องช่วยให้ภาพไม่สั่นไหว การปรับตั้งกล้องเริ่มจากใช้โหมด M (Manual) และอาจใช้สูตรที่ช่างภาพเรียกกันว่า Lunar 11 ซึ่งเป็นเทคนิคพื้นฐานสำหรับผู้ที่ทดลองหัดถ่ายภาพพระจันทร์ […]

อยากเป็นเลขา…มือขวาเจ้านาย

ผู้บริหารที่ต้องมีภาระหน้าที่รับผิดชอบเยอะ ต้องใช้ความคิดส่วนใหญ่ในการตัดสินใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบริหารในองค์กร หรือการตัดสินใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลกำไรขาดทุนของบริษัท จึงต้องมีผู้ที่มาช่วย จัดการเรื่องรายละเอียดต่าง ๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น ผู้ที่จะสามารถเข้ามาช่วยจัดการระบบการทำงานของเหล่านักบริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นก็คือ เลขานุการ           โดยทั่วไปหน้าที่ของเลขานุการก็คือ การรับเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารท่านนั้น พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องก่อนนำส่งเข้าเสนอผู้บริหาร การสรุปและบันทึกการนัดหมาย รายงานการประชุม ทำหนังสือโต้ตอบต่าง ๆ ดูแลเก็บเอกสาร ตลอดจนช่วยเหลือนายจ้างตามงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบ เลขานุการที่ดีและมีประสิทธิภาพควรจะมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ ต้องรอบรู้เกี่ยวกับระบบงานในองค์กรเป็นอย่างดี มีความละเอียดรอบคอบ ความคล่องตัว มีบุคลิกลักษณะดี อดทน มีความรับผิดชอบ สามารถเก็บความลับได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการฟังและจดจำรายละเอียดเรื่องราวต่างๆ ได้แม่นยำ สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ MS Office ได้ดี ในบางองค์กรที่มีการติดต่อธุรกิจกับต่างประเทศ หากมีทักษะและความสามารถในการ พูด ฟัง อ่าน เขียน ภาษาต่างประเทศจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ งานเลขานุการจะเป็นตำแหน่งที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารมากที่สุด เลขานุการที่ทำงานได้ถูกใจผู้บริหารก็มีโอกาสที่จะก้าวหน้าได้ไม่ยากนัก การแสวงหาโอกาสและความก้าวหน้าให้กับตัวเองก็เป็นสิ่งที่เลขานุการควรจะไขว่คว้าเอาไว้ เลขานุการควรปรับปรุงตัวเองให้เป็นคนที่มีความรู้รอบด้าน สนใจติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าของโลกธุรกิจอยู่สม่ำเสมอจะทำให้คุณไม่ได้เป็นเพียงแค่เลขานุการที่มีศักยภาพเท่านั้นยังเป็นบุคคลากรที่มีค่าขององค์กรอีกด้วย ที่มา : […]

การแยกสีปกข้อสอบ…ทำอย่างไร

การสอบแต่ละเทอมหรือภาคการศึกษา ซึ่งในตารางสอบจะมีห้องสอบที่ซ้ำกันของแต่ละรายวิชาในวัน เวลาสอบ ทางงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์จำเป็นต้องแยกสีปกแต่ละรายวิชานั้น ๆ เพื่อสะดวกรวดเร็วในการแจกจ่ายข้อสอบและเก็บข้อสอบของกรรมการคุมสอบ ขั้นตอนการแยกสีปกข้อสอบ ศูนย์บริการการศึกษาส่งตารางสอบที่มีจำนวนนักศึกษาและจำนวนสำรองข้อสอบ ซึ่งในแต่ละวันเวลาสอบจะมีการสอบหลายวิชา ดูวันและเวลาสอบและห้องสอบ เช่น วันที่ 5 กันยายน 2565 เวลาสอบ 08.00 ห้องสอบ 01201 มีการสอบเวลาเดียวกันกี่วิชา แต่ละวิชาจะใช้ต่างกัน ดูวันและเวลาสอบและห้องสอบ เช่น วันที่ 5 กันยายน 2565 เวลาสอบ 12.00 ห้องสอบ 01201 มีการสอบเวลาเดียวกันกี่วิชา แต่ละวิชาจะใช้ต่างกัน ดูวันและเวลาสอบและห้องสอบ เช่น วันที่ 5 กันยายน 2565 เวลาสอบ 16.00 ห้องสอบ 01201 มีการสอบเวลาเดียวกันกี่วิชา แต่ละวิชาจะใช้ต่างกัน กระดาษที่ใช้ในการผลิตปกข้อสอบ กระดาษสีที่ใช้ในการผลิตจะเป็นกระดาษสี A4 หนา 80 แกรม ขนาดกระดาษ (กว้าง x ยาว) […]

กฎสามส่วน และการจัดช่องว่าง การถ่ายภาพบุคคล

การถ่ายภาพบุคคลเป็นรูปแบบที่ได้รับการนิยมในระดับต้นๆของการถ่ายภาพในปัจจุบัน ช่างภาพบุคคลจึงควร ทำความเข้าใจพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งประกอบด้วยกฎ 3 ส่วน ฉากหน้าและฉากหลัง โทนสี และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กฎ 3 ส่วน กฎ 3 ส่วน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่างภาพนิยมใช้ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางตำแหน่งของตัวแบบซึ่งเป็นจุดสนใจหลักของภาพ รวมทั้งตำแหน่งของสิ่งอื่นที่เป็นจุดสนใจรองของภาพเช่นกัน คำว่า “สามส่วน” หมายถึง การแบ่งพื้นที่ของภาพที่มองเห็นออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันในแนวนอนโดยใช้เส้นตรงแนวนอนคั่น 2 เส้น และแบ่งพื้นที่อีก 3 ส่วนเท่า ๆ กันในแนวตั้งโดยใช้เส้นตรงแนวตั้งอีก 2 เส้นคั่นเช่นเดียวกันผลจากการมีเส้นแบ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้งจะทำให้พื้นที่ทั้งหมดของภาพมีลักษณะเป็นเหมือนตาราง 9 ช่อง และเกิดจุดตัด 4 จุดที่เส้นแบ่งมาตัดกัน ซึ่งก็คือตำแหน่งที่ควรวางสิ่งสำคัญหรือจุดสนใจของภาพไว้ เพราะเป็นตำแหน่งที่เด่นกว่าตำแหน่งอื่น ๆ แม้แต่ตรงกลางภาพ โดยการเลือกวางตำแหน่งของจุดสนใจนั้น ให้พิจารณาตามความเหมาะสมว่าควรวางไว้ในตำแหน่งใด อาจดูจากทิศทางการเคลื่อนไหวของตัวแบบหรือการเว้นช่องว่าง แต่ก็ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุด การเลือกวางตำแหน่งของจุดสนใจนั้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน […]

วิธีใส่ Subtitle บน YouTube

เราคงคุ้นชินกันดีกับภาพเด็กนักเรียน ม.ปลาย ตั้งหน้าตั้งตาเรียนกวดวิชาและท่องตำราอย่างเคร่งเครียด โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การสอบเข้าคณะที่ชื่นชอบในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีจำนวนที่นั่งจำกัดไม่เพียงพอสำหรับคนทุกคน          กระทั่งเมื่อ 4-5 ปีก่อน การเรียนการสอนระบบเปิดสำหรับมหาชนหรือ MOOCs (Massive Open Online Courses) นวัตกรรมการศึกษารูปแบบใหม่ได้เกิดขึ้น พร้อมกับความหวังว่าจะช่วยทลายกำแพงความรู้ ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงวิชาความรู้ที่มีคุณภาพโดยไม่มีอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย เวลา สถานที่ หรือศักยภาพในการรองรับผู้เรียนของสถาบันการศึกษา           ความแพร่หลายของ MOOC ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงโลกตะวันตก แต่วงการการศึกษาของหลายประเทศในเอเชียทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย ก็ไม่พลาดโอกาสที่จะเกาะกระแสการเรียนรู้นี้ โดยการสร้าง MOOC ระดับชาติเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคาดหวังว่าช่วยแก้ไขข้อจำกัดของการเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้  Thai MOOC หรือ Thai Massive Open Online Course เปิดตัวอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาระบบกลางด้านการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการวัดและประเมินผลรายวิชา           การพัฒนาเนื้อหารายวิชาของ Thai […]

Back To Top