การออกแบบสื่อเสียงเพื่อการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อเสียง

สื่อเสียงประกอบด้วยสื่อและเสียงซึ่งเป็นตัวการทำให้กำเนิดเสียงถ้าไม่มีตัวกลางก็ไม่มีเสียงเสียงเกิดจากการสั่นตัวกลางทำไห้เกิดความถี่ย่านต่างๆระหว่าง 20 hz- 20 khz ส่วนเสียงจะเป็นอะไร มีความหมายอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของสอมมนุษย์ผู้นั้นว่าบันทึกและจำแนกเสียงไว้ในสมองอย่างไร

เสียงเกิดจากการสั่งสะเทือนของเครื่องกำเนิดเสียง

เสียงเคลื่อนที่ด้วยสื่อที่เป็นตัวกลางความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาแน่นความยืดหยุ่น อุณหภูมิตัวกลางโดยทั้งไปเสียงเดินทางผ่านอากาศที่อุุณหภูมิ 20 องศาจะมีความเร็ว 340 เมตร/วินาทีเสียงจะเคลื่นที่ความเร็วเท่าไหร่ได้ไกลแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดและสื่อกลางที่จะพาเครื่องที่ไปยังจุดหมาย ด้วยการค้นพบเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถผลิตคลื่นวิทยุเมื่อใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อพาเสียงไปได้ความเร็วของคลื่นสนามแม่เหล็กด้วยการผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การปรุงคลื่นการ (Modulation)

ด้วยการส่งเสียงออกไปด้วยเครื่องส่งวิทยุหรือเรียกว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงรูปคลื่นที่ผสมกับความถี่เสียงแบบ AM แล้วมีการเปลี่ยนแปลงตามขนาดความสูงของคลื่นตามขนาดความสูงของคลื่นเสียง

ระบบบันทึกเสียง แบ่งตามรูปแบบของสัญญาณการบันทึกเสียงในแบบสัญญาณดิจิตอลบันทำเสียงได้ง่ายและมีความสะดวก

โดยเฉพาะการเผยแพร่เสียงในรูปแบบ Mp3 ผ่านเครืออข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้สามารถเข้าฟังได้ในเวปไซด์ที่ให้บริการ

หลักการของงานวิทยุกระจายเสียงมีอยูา 3 ประการคือ

1 ให้ข่าวสาร ความรู้ และบทความ

2 ให้การศึกษา

3 ให้ความบันเทิง

ปัจจุบันสถานีวิทยุมีหลายแห่งส่วนมากจะมีเอกชนไปเช่าเวลาการออกอากาศต่างๆ โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน นักจักรายการจะมีอิสระในการดำเนินรายการมากและไม่มีรูปแบบแน่นอนจะมุ่นเน้นไปทางบันเทิงและโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ตามการเวลาเพื่อผลจากผู้จ้างให้มาทำการโฆษณาบ่อยครั้งที่พบว่ารายการที่ออกมานั้นส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้องตามวัฒธรรมประเพณีของไทย ทั้งยังเป็นปัญหาของสังคมอีกด้วย

การบันทึกเสียงเพื่อการศึกษา

เป็นการแปลงสัญญาณเป็นคลื่นเสียงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอนาล๊อกหรือระบบดิจิตอลที่เสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์เป็นสัญยาณในรูปแบบอื่นแล้วเก็บลงในวัสดุบันทึกสามารถเล่นกลับเป็นคลื่นเสียงให้ผู้เรียนศึกษาได้

รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียง เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมาประทบกับวัตถุบางๆทำไห้เกิดการสั่นสะเทือนมนุษณ์ก็คิดวิธีการบันทึกเสียงขึ้น

รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียงมี 3 รูปแบบคือ

1 การเปลี่ยนคลื่อนเสียงแบบเชิงกลบนร่องเสียงสั่นสะทือนจะไปกระตุ้นให้เข็มที่วางอยู่บนร่องเรียบที่เตรียมไว้บนวัตถุบางชนิดเช่น ขี้ผึ้ง แผ่นดีบุก แผ่นครั่งที่เป็นแผ่นกลมหมุนรอบแกนกลาง

ทำให้ร่องเรียบเกิดความขรุขละออกข้างตามระดับความดังเสียง

การเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อสร้างสนามแม่เหล็กคลื่นเสียงจะทำให้ไดอะแกรมเกิดการสั่งสะเทือนเกิดการขยายทำใไห้โลหะที่หัวบันทึกซึ่งได้ออกแบบไว้เปลี่ยนสภาพเป็นแม่เหล้กชั่วคราวเมื่อนำแถบกระดาษหรือพลาสติกที่ฉาบสนิมหรือผงเหล็กผมโลหะอย่างอื่น ที่แม่เหล็กดูดได้มาผ่านหัวบันทึกก็จะทำไห้อนุภาคของสนิมเล็กหรือผงเหล็กเปลี่ยนสภาพเป็นแม่เหล็กชั่วคราวอีกต่อหนึ่ง แต่เมื่อถูกคลื่นแม่เหล็กจากหัวบันทึกก็จะเรียงตัวไม่เป็นระเบียบมากน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มของสนามแม่เหล็กหัวบันทึก

การบันทึกเสีนงตามรุปแบบนี้จะมี 2 แบบคือ การบันทึกเสียงแบบอนาล๊อกและการบันทึกเสียงแบบ ดิจิทัล

การเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นคลื่นแสงเมื่อมีการพัฒนาแสงเลเซอร์ขึ้นก็มาบันทึกเสียงในแบบดิจิทัลโดยเปลี่ยนคลื่นเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วเปลี่ยนเป็นสัญาณเลเซอร์อีกต่อหนึ่งโดยมีการบันทึกเสียงแบบซีดี

ความสำคัญบันทึกเสียงเพื่อการศึกษามีอยู่ 4 ประการคือ

1 ทำให้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง

2 เพิ่มคุณภาพรายการวิทยุ

3 เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ

4 นำมาเล่นกลับได้หลายครั้ง

ประการแรก การบันทึกเสียงมีความสำคัญในการเผลแพร่เสียงไปยังกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากเกี่ยวกับการแพร่เสียงและภาพในรูปวัสดุบันทึก

ประการที่สองคือ การบันทึกเสียงเพิ่มคุณภาพรายการวิทยุจะมีคุณภาพมากกว่าออกรายการสดทำให้ไม่หมิ่นแหม่ต่อการฟ้องร้อง หากข้อความที่ออกอากาศทำให้ผู้อื่นเสียหายและทำให้ตรวจสอบความถุกต้องของเนื้อหาสาระทางการศึกษา

ประการที่สามการบันทึกเสียงใช้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการได้ดี เช่น พระราชดำรัส หรือคำปราศรัยของบุคคลสำคัญหากได้บันทึกไว้แล้วก็สามารถเป็นหลักฐานอ้างอิงได้ การบันทึกเสียงจึงมีความสำคัญในการเผยแพร่อ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้วิธีหนึ่ง

ประการที่สี่ การบันทึกเสียงทำให้ผู้เรียนที่นำสิ่งที่บันทุกไว้แล้วมาเล่นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ช่วงที่พูดผู้เรียนอาจจะไม่ได้ฟังแต่ถ้ามีการบันทึกไว้แล้วก็จะทำไห้นำมาฟังได้อีก ทำให้ความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระที่ได้ฟังดีขึ้น

เนื้อหาทั้งหมดสรุปได้จากรายวิชา การออกแบบสื่อเสียงเพื่อการศึกษา ssru 005

https://lms.thaimooc.org/courses/course-v1:SSRU+SSRU005+2017/course/

Visits: 267

Comments

comments

Back To Top