กฎสามส่วน และการจัดช่องว่าง การถ่ายภาพบุคคล

การถ่ายภาพบุคคลเป็นรูปแบบที่ได้รับการนิยมในระดับต้นๆของการถ่ายภาพในปัจจุบัน ช่างภาพบุคคลจึงควร ทำความเข้าใจพื้นฐานในการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งประกอบด้วยกฎ 3 ส่วน ฉากหน้าและฉากหลัง โทนสี และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กฎ 3 ส่วน

กฎ 3 ส่วน เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่างภาพนิยมใช้ในการถ่ายภาพบุคคล (Portrait) เนื่องจากเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับการวางตำแหน่งของตัวแบบซึ่งเป็นจุดสนใจหลักของภาพ รวมทั้งตำแหน่งของสิ่งอื่นที่เป็นจุดสนใจรองของภาพเช่นกัน คำว่า “สามส่วน” หมายถึง การแบ่งพื้นที่ของภาพที่มองเห็นออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กันในแนวนอนโดยใช้เส้นตรงแนวนอนคั่น 2 เส้น และแบ่งพื้นที่อีก 3 ส่วนเท่า ๆ กันในแนวตั้งโดยใช้เส้นตรงแนวตั้งอีก 2 เส้นคั่นเช่นเดียวกันผลจากการมีเส้นแบ่งทั้งแนวนอนและแนวตั้งจะทำให้พื้นที่ทั้งหมดของภาพมีลักษณะเป็นเหมือนตาราง 9 ช่อง และเกิดจุดตัด 4 จุดที่เส้นแบ่งมาตัดกัน ซึ่งก็คือตำแหน่งที่ควรวางสิ่งสำคัญหรือจุดสนใจของภาพไว้ เพราะเป็นตำแหน่งที่เด่นกว่าตำแหน่งอื่น ๆ แม้แต่ตรงกลางภาพ โดยการเลือกวางตำแหน่งของจุดสนใจนั้น ให้พิจารณาตามความเหมาะสมว่าควรวางไว้ในตำแหน่งใด อาจดูจากทิศทางการเคลื่อนไหวของตัวแบบหรือการเว้นช่องว่าง แต่ก็ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุด
การเลือกวางตำแหน่งของจุดสนใจนั้น ควรเลือกใช้เพียงจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้นใน 4 จุด หรือหากจำเป็นต้องใช้
มากกว่า 1 จุด ก็เต็มที่ได้ไม่เกิน 2 จุดเท่านั้น เพื่อไม่ให้แย่งความสนใจกัน เช่น ภาพใบหน้าของหญิงสาวบริเวณซ้ายบน
ซึ่งเป็นจุดสนใจสำคัญกำลังดมช่อดอกไม้ในมือบริเวณขวาล่างซึ่งเป็นจุดสำคัญรองลงมา เพื่อให้ภาพมีความสมบูรณ์ จึง
ควรให้ช่อดอกไม้อยู่ในบริเวณจุดตัดกันอีกจุดหนึ่ง ทำให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างการมองและดอกไม้ มีการวิจัยเกี่ยวกับการมองเห็นของคนเราว่าในจุดตัดทั้ง 4 จุดนั้น หรือให้ความสนใจก่อนจุดอื่น จุดไหนที่มีคนเห็นก่อนผลการวิจัยพบว่า จุดซ้ายบนเป็นจุดที่คนเห็นก่อนมากที่สุด (41%) รองลงมาคือจุดซ้ายล่าง (25%) จุดขวาบน (21%)และจุดขวาล่าง (14%) ตามลำดับ แม้ตามหลักการถ่ายภาพด้วยกฎ 3 ส่วนไม่ได้ระบุว่าต้องวางจุดสนใจไว้ตำแหน่งบนซ้ายก่อน แต่หากช่างภาพต้องการให้คนทั่วไปมองเห็นสิ่งใดก่อน ก็สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

ช่องว่าง (Space)
เป็นองค์ประกอบที่มักใช้ร่วมกับกฎสามส่วน หลักการเกี่ยวกับช่องว่าง คือ การเว้นพื้นที่ว่างบริเวณรอบข้าง
ให้กับจุดสนใจ เช่น ภาพถ่ายบุคคลหน้าตรงติดบัตรที่ต้องเหลือพื้นที่ด้านบนและด้านข้างของตัวแบบ เพื่อไม่ให้รู้สึกอึด
อัดเสมือนบุคคลในภาพถูกบีบอัดอยู่ในกรอบ แต่หากบุคคลไม่ได้หันหน้าตรงแต่กำลังเบี่ยงหน้าเบี่ยงตัว หันข้าง โดยที่ตาอาจจะมองกล้องหรือมองไปทางอื่นก็ได้ รวมทั้งมีท่าทางเหมือนกำลังเคลื่อนที่ เช่น การเดิน การวิ่ง ในกรณีนี้การเว้นช่องว่างด้านข้างต้องไม่เท่ากัน โดยเว้นพื้นที่ด้านที่ตัวแบบหันหน้าหรืออยู่ในทิศทางที่จะไปให้มากกว่า สรุปง่าย ๆ ก็คือ
เว้นพื้นที่ด้านหน้าให้มากกว่าด้านหลังนั่นเอง หรือถ้าเงยหน้าหรือก้มหน้าด้วยก็เว้นพื้นที่ด้านที่เงยหรือก้มให้มากกว่าอีก
ด้านควบคู่กันไปด้วย นอกจากนี้ ถ้าในภาพมีการซ้าซ้อนของตัวแบบที่มีทิศทางเหมือนกัน ก็ให้พิจารณาเลือกเว้น
ช่องว่างที่เหมาะสมให้กับตัวแบบที่เด่นชัดที่สุดหรือเป็นจุดสนใจหลักเพียงจุดเดียว

นอกจากนี้ การจัดพื้นที่ว่างทางด้านหน้าของตัวแบบก็สามารถสื่ออารมณ์และความรู้สึกได้เช่นกัน ได้แก่
ช่องว่างด้านหน้ามาก สื่อถึงการที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ ความกว้าง ไกล เหม่อลอย ช่องว่างด้านหน้าน้อย สื่อถึงการเคลื่อนไปสู่ทางตัน แคบ เคร่งเครียด กดดัน ไม่มีทางออก ขึ้นอยู่กับช่างภาพว่าอยากจะสื่อสารไปในทางไหน แล้วควรเลือกเว้นช่องวางให้ตรงกับภาพนั้นๆ

Visits: 288

Comments

comments

Back To Top