วิธีใส่ Subtitle บน YouTube

เราคงคุ้นชินกันดีกับภาพเด็กนักเรียน ม.ปลาย ตั้งหน้าตั้งตาเรียนกวดวิชาและท่องตำราอย่างเคร่งเครียด โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การสอบเข้าคณะที่ชื่นชอบในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ซึ่งมีจำนวนที่นั่งจำกัดไม่เพียงพอสำหรับคนทุกคน

         กระทั่งเมื่อ 4-5 ปีก่อน การเรียนการสอนระบบเปิดสำหรับมหาชนหรือ MOOCs (Massive Open Online Courses) นวัตกรรมการศึกษารูปแบบใหม่ได้เกิดขึ้น พร้อมกับความหวังว่าจะช่วยทลายกำแพงความรู้ ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงวิชาความรู้ที่มีคุณภาพโดยไม่มีอุปสรรคไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่าย เวลา สถานที่ หรือศักยภาพในการรองรับผู้เรียนของสถาบันการศึกษา

          ความแพร่หลายของ MOOC ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงโลกตะวันตก แต่วงการการศึกษาของหลายประเทศในเอเชียทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทย ก็ไม่พลาดโอกาสที่จะเกาะกระแสการเรียนรู้นี้ โดยการสร้าง MOOC ระดับชาติเพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งคาดหวังว่าช่วยแก้ไขข้อจำกัดของการเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาดังเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ 

Thai MOOC หรือ Thai Massive Open Online Course เปิดตัวอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการพัฒนาระบบกลางด้านการจัดการเรียนการสอน และกระบวนการวัดและประเมินผลรายวิชา

          การพัฒนาเนื้อหารายวิชาของ Thai MOOC ในระยะแรกนั้นดำเนินการผ่านสัญญาโครงการซึ่ง สกอ. ทำร่วมกับสถาบันแม่ข่ายของเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาค จำนวน 7 แห่ง จากที่มีอยู่ทั้งหมด 9 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยที่เป็นแม่ข่าย มีบทบาทในการประสานงานกับมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเครือข่ายอุดมศึกษาภูมิภาคนั้นๆ เพื่อคัดเลือก กลั่นรอง และผลิตรายวิชา ตามแนวทางและมาตรฐานการสอนที่ สกอ. กำหนดไว้ ทั้งนี้ มีมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยกว่า 40 แห่ง ร่วมผลิตเนื้อหารายวิชา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ฯลฯ

          ณ เดือนพฤศจิกายน 2560 Thai MOOC มีรายวิชามากกว่า 150 วิชา ทั้งที่มีลักษณะเป็น cMOOC คือมีความยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนซึ่งจะเรียนเมื่อไหร่หรือนานเท่าไหร่ก็ได้ และ xMOOC คือมีกรอบกติกาในการเรียนที่ชัดเจน เช่น เวลาเปิดปิดรายวิชาที่คล้ายกับภาคการศึกษาในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย รายวิชาของ Thai MOOC มีความหลากหลายทั้งสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ เช่น การวางแผนกลยุทธ์ การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา คลังข้อมูลและการจัดทำเหมืองข้อมูล หลักพยาบาลผู้สูงอายุ กล้วยไม้วิทยา การถ่ายภาพรังสีทางทันตกรรม สตาร์ทอัพชุมชน การบัญชีเพื่อการจัดการและการจัดการทางการเงิน หลักเศรษฐศาสตร์เกษตร การใช้ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ฯลฯ

ขั้นตอน Subtitle บน YouTube

1. เข้าเว็บไซต์ https://www.youtube.com

2. คลิกเมนู “ลงชื่อเข้าใช้”

3. ลงชื่อเข้าใช้ โดยใช้ Username / Password

4. คลิกที่ Icon เพื่อหาเพลย์ลิสต์ที่ต้องการทำงาน

5. เลือกเพลย์ลิสต์รายวิชาที่จะต้องจัดทำ Subtitle

6. เพลย์ลิสต์ที่เลือกจะแสดง Video ทั้งหมดที่มีอยู่ในเพลย์ลิสต์

7. คลิกเลือก Video ที่ต้องการจัดทำ Subtitle

8. คลิกเมนู “แก้ไขวิดีโอ”

9. เมื่อเข้าสู่หน้าแก้ไข Video เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเลื่อนหน้าจอลงมา แล้วทำการคลิกเลือกเมนู “แสดงเพิ่มเติม”

10. จากนั้นคลิกที่ “คำบรรยาย”

11. คลิกที่ “เพิ่ม”

12. YouTube จะปรากฏหน้าต่างการทำงานขึ้นมา ในกรณีที่สร้างคำบรรยายใหม่ ให้เลือกที่ “พิมพ์ด้วย ตนเอง”

13. พิมพ์คำบรรยายลงในพื้นที่สำหรับพิมพ์คำบรรยาย เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter หรือ คลิกที่ เครื่องหมาย

14. เมื่อพิมพ์คำบรรยายไปสักระยะหนึ่งให้ท าการคลิกปุ่ม “บันทึกฉบับร่าง” เพื่อบันทึกงานไม่ให้สูญหาย และเมื่อทำการสร้างคำบรรยายเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิกที่ “เผยแพร่”

Visits: 28

Comments

comments

Back To Top