โลกในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก แนวคิดในการพัฒนาองค์กรก็เน้นในเรื่องความรู้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และเน้นการนำองค์ความรู้ที่มีมารวบรวม และพัฒนาคน พัฒนาองค์กร           เมื่อโลกเปลี่ยน สภาพสังคม สภาพแวดล้อมเปลี่ยน คนก็ต้องพัฒนาและเปลี่ยนตาม เพื่อความอยู่รอดในด้านการดำรงชีวิตและการทำงาน ข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวัน ความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงานก็ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ที่มี           ผู้ที่มีบทบาทในการเผยแพร่แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้และเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือ Peter Senge (1990) ซึ่งกล่าวไว้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นสถานที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบัลดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน กระบวนการปรับเปลี่ยนและสร้างความรู้ แบ่งออกได้เป็น 4 ลักษณะดังนี้ 1. Socialization เป็นขั้นตอนแรกในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการสร้าง Tacit Knowledge จาก Tacit Knowledge ของผู้ร่วมงานโดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงที่แต่ละคนมีอยู่ 2. Externalization เป็นขั้นตอนที่สองในการสร้างและแบ่งปันความรู้จากสิ่งที่มีอยู่ และเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการแปลงความรู้ จาก Tacit KnowledgeRead More →

Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ Intelligent ซึ่งทำงานประสานเข้าด้วยกัน  รวมไปถึงการที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงของสิ่งของ ผู้คน ข้อมูลและการบริการ สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกันได้โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบรรจุอุปกรณ์สมองกลฝังตัวหรือที่เรียกว่า “embedded system device” เข้าไปใน “สิ่งของ (Things)” หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีอุปกรณ์ตรวจวัดหรือเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดค่าต่าง ๆ แล้วส่งข้อมูลมายังสมองกลและส่งต่อไปยังหน่วยประมวลผลกลางและจัดเก็บในฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า “Cloud Storage” รวมถึงบริการรับฝากไฟล์และประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์ Internet of Things (IoTs) คือ นวัตกรรมใหม่ ที่รวม 5 สิ่งเข้าด้วยกัน คือ ฮาร์ดแวร์ Connectivity ซอฟต์แวร์ Data และ IntelligentRead More →

  ในปัจจุบันมีการพูดถึงคอนเทนต์ หรือ Content กันมากขึ้น โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย หรือสื่อออนไลน์ทุกประเภท และยังเป็นเทรนด์ในตอนนี้ว่าถ้าอยากทำการตลาด อยากเพิ่มยอดขาย อยากสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ต้องรีบทำคอนเทนต์ ซึ่งทุกวันนี้ใคร ๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ หากคุณเป็นมือใหม่ที่อยากจะเรียนรู้การทำคอนเทนต์ อยากรู้ว่าคอนเทนต์คืออะไร? คอนเทนต์มีแบบไหนบ้าง? มีประโยชน์อย่างไร? และจะเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจ ในบทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับคอนเทนต์ (Content) รวมถึงสรุปสิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจ ประเภทคอนเทนต์แบบต่าง ๆ ไว้ให้แล้ว     ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้ถึงไปถึงการเขียนคอนเทนต์อย่างไรให้โดนใจในยุคดิจิทัล ไปทำความรู้จักกับคำว่า “คอนเทนต์ ” กันก่อนนะคะ Content หรือ คอนเทนต์ คือ การสื่อสารข้อมูลไปหาผู้รับสารโดยใช้สื่อรูปแบบต่างๆ โดยคอนเท้นต์ไม่จำเป็นจะต้องเป็นรูปแบบข้อความ สามารถเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น Video, Image, Infographic, Sound การสื่อสารข้อมูลผ่านคอนเทนต์ที่ดี ต้องถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับเป้าหมาย ผู้รับฟัง ประเภทของเนื้อหา และ ช่องทางการสื่อสาร ประเภทของคอนเทนต์มีอะไรบ้าง 1.Read More →

ทักษะในการสื่อสาร นับเป็นทักษะสำคัญหนึ่งของ Soft skill เพราะว่าในการทำงานเราจะต้องพูดคุยประสานงานให้สำเร็จทั้งการพูดเจรจาต่อรอง อธิบาย การอ่านทำความเข้าใจการเขียน (ปัจจุบันเป็นการพิมพ์) ยิ่งมีทักษะภาษาที่สองอย่างเช่น English Communicationจะยิ่งเป็นเพิ่มมูลค่าให้ตัวเราเอง คนฝึกทักษะการสื่อสารจากการ ฟัง พูด อ่าน เขียน ตามหลักหัวใจนักปราชญ์ สุ จิ ปุ ลิ แต่หากไม่มีการใช้ภาษาที่สองบ่อยๆ ไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต้องใช้งานก็อาจจะหลงลืมไปบ้าง จึงจำเป็นต้องการมี Re-Up Skill อย่างต่อเนื่อง การฟังเพลง ชมภาพยนตร์ภาษาที่สอง ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ก็เป็นวิธีง่ายๆ วิธีหนึ่งในการ Reskillเพราะจะรู้สึกเพลิดเพลินกับทำนอง เรื่องราวในเนื้อหา เหมือนไม่ได้ตั้งใจฝึกทบทวนอย่างการอ่านหนังสือเพราะฉะนั้นนอกจากจะได้ Relax ผ่อนคลายในการฟังเพลง ชม MV ชมภาพยนตร์ต่างประเทศแล้วจะทำให้เราได้ฝึกฟัง แถมได้ฝึกการอ่านภาษาต่างประเทศไปด้วยหากมีคำบรรยาย Subtitleผู้เขียน Blog จะใช้วิธีดังกล่าวในการทบทวนภาษาอังกฤษยามว่าง ทั้งการชมภาพยนตร์ละครซีรี่ส์ไทย ประกอบกับคำบรรยายภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกอ่านจากบทสนทนาง่ายๆRead More →

ในการจัดการธุรกิจยุคดิจิทัล ทุกธุรกิจย่อมต้องการความสำเร็จ ลูกค้าคือคนสำคัญและความ ต้องการของลูกค้าคือ Black Box ความท้าทายของการจัดการในยุคดิจิทัล 4.0 หน้าที่ของธุรกิจก็คือหาเทคนิควิธีการอะไรก็ได้ที่จะทำให้ธุรกิจมุ่งสู่ความสำเร็จนั่นเอง ซึ่งขอนำเสนอเทคนิคที่จะทำให้ทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในการจัดการยุคดิจิทัล ดังนี้ 4 F 1. Focus Focus คือเน้นไปที่ลูกค้า เพราะลูกค้าคือคนสำคัญ ต้องรู้ว่าลูกค้าเป้าหมายต้องการอะไร เพราะลูกค้าคือคนที่นำรายได้มาสู่ธุรกิจ ต้องรู้ว่า อะไรคือความคาดหวังของลูกค้าเป้าหมาย ธุรกิจต้องคาดการณ์ ต้องเข้าถึงความต้องการของลูกค้าให้ได้ ควรจะต้องนำเสนอในสิ่งที่มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า นอกจากนี้ธุรกิจต้องรู้ว่าอะไรคือ Pain Point ของลูกค้า ทำให้ธุรกิจเข้าใจถึง Pain Point ปัญหาที่ลูกค้ามี ธุรกิจสามารถได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาในเบื้องต้น ที่ลูกค้าใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองหรือเพื่อแก้ปัญหาบางประการการที่ธุรกิจจะรู้ว่า สิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำนั่นก็คือการทำ Customer Insight  ก็คือการศึกษาลูกค้าแบบเจาะลึก การจะทำ Customer Insight อาจจะใช้วิธีการไปทำการวิจัยซึ่งถ้าธุรกิจทำวิจัย ธุรกิจอาจจะต้องลงทุนค่อนข้างที่จะเยอะ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถศึกษาความต้องการในเชิงลึกของลูกค้าโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก และต้นทุนค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก นั่นก็คือการทำ Customer persona ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้ข้อมูลของลูกค้าเป้าหมายในเชิงลึกRead More →

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำRead More →

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆRead More →

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับRead More →

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวันRead More →

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตามRead More →

presentation

ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ การเมือง การศึกษาหรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุมหรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆและเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตนหรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทเพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางานเราจึงควรรู้แนวทางการเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ การเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา มีแนวทางในการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้ การวางแผน นักวิจัยต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่นำเสนอ ขนาดของห้องและเวที ตำแหน่งเครื่องฉาย ขนาดจอข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ลักษณะและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อใช้ในการวางแผนการนำเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา หากนักวิจัยมีข้อมูลมากเท่าไร การวางแผนเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น แนวทางสำหรับการวางแผนงานคือ การตอบคำถามว่าจะเสนออะไร เสนออย่างไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดว่าจะได้รับรวมทั้งกำหนดระยะเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเตรียมสไลด์ด้วย การออกแบบ นักวิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเนื้อหาสาระส่วนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจัดทำเป็นสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเสนอผลงานวิจัยก่อนว่าต้องการให้เกิดผลเกิดประโยชน์อะไรต่อผู้เข้าชม หรือต้องการขายความคิด หรือต้องการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันทำให้แนวการเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยแตกต่างกันด้วย เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบของสไลด์ ซึ่งมีหลักการดังนี้ เลือก template ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม สไลด์ทางวิชาการไม่นิยมมีรูปการ์ตูน ออกแบบสไลด์ให้มีจำนวนเหมาะสม ประมาณ 6-7 แผ่น สไลด์จำนวน 10-12 แผ่น ถือว่ามากเกินไปสำหรับการเสอนผลงานวิจัยด้วยวาจาRead More →

ยุคปัจจุบันนี้ สมาร์โฟนมีบทบาทกับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ภาพกราฟิกสวยๆ ได้จากสื่อดิจิทัลทั้งหมด การสร้างสื่อดิจิทัลให้มีความน่าสนใจ ทันสมัยในยุคปัจจุบันมีเคล็ดลับเกร็ดความรู้ นำมาฝากนะคะ สื่อดิจิทัล หมายถึง สื่อที่มีการนำเอาข้อความ กราฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วิดีโอ เป็นต้น โดย อาศัยเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เป็นสื่อต่างๆ เหล่านั้นมาแปลง สภาพ และเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการใช้งานองค์ประกอบ 3 อย่างคือ  1.เทคโนโลยี คือ ในส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ก่อน อย่างเช่นตอนนี้ถือสมาร์ทโฟนอยู่ก็ถือว่าเป็นอุปกรณ์ประเภทนึงที่จะใช้สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลได้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่เอามาใช้ข้างในนี้หรือเรียกว่าแอพพลิเคชั่น 2.การสร้างสรรค์ คือ สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการ คิด วิเคราะห์ ออกแบบอย่างเช่น บางคนต้องการที่จะทำงานประเภทของกราฟิกเราสามารถออกแบบได้โดยที่ไม่ต้องลอกเลียนคนอื่นเลยแล้วนำผลงานไปนำเสนอ ไปเผยแพร่ แล้วโดนใจ ตรงนี้ก็สร้างมูลค่า 3.สื่อดิจิทัลมีหลายรูปแบบมาก ๆ บางครั้งเป็นภาพธรรมดาส่งมา 1 รูปภาพ เปิดขึ้นมาดูเห็นสื่อความหมายชัดเจนว่ารูปนี้ต้องการที่จะบอกอะไรหรือหลาย ๆ คนได้รูปภาพมาแล้วRead More →

การใช้งาน Google scholar เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ทางวิชาการรับประกันเลยว่าเครื่องมือตัวนี้มีประโยชน์แน่นอน เพราะว่าเวลาเราต้องการหาบทความวิชาการ หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตเครื่องมือตัวนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ๆ ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมตัวนี้ ก่อนอื่นเลยเราต้องเปิดเข้ามาที่ scholar.google.co.th หรืออาจจะเป็น.com ก็ได้ เมื่อเปิดเข้ามาแล้วถ้าเรา Login เข้าด้วยชื่อของ Gmail อยู่แล้วก็สามารถเข้าได้เลย แต่ถ้าใครไม่เคยสมัครบางทีอาจจะต้องกดลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้งหนึ่งตัวอย่างเช่น [email protected] แล้วก็ถัดไปใส่รหัสผ่าน เรียบร้อยและเข้ามาสู่หน้าต่างนี้ อันนี้คือ Google scholar เราสามารถ Search article ต่าง ๆ จาก เมนูอยู่ฝั่งซ้ายมือซึ่งจะมีเมนู – my profile – My library – Alerts -Metrics – Advanced Search มาดูเมนูแรกกัน เมื่อกดไปที่ My profile ก็คือหน้าประวัติของเราRead More →

การเพิ่มเสียงลงใน Slide กระบวนการในการสร้างสื่อมัลติมีเดียด้วย storyline3 มาหลายอย่างแล้วแต่สื่อเรายังขาดความน่าสนใจอยู่อย่างนึงนั้นคือยังไม่มีเสียงวิธีการใส่เสียงใน storyline3เราต้องรู้ก่อนว่าในสื่อมัลติมีเดีย จะมีเสียงอยู่ 3 ประเภทหลักๆคือเสียง blackgroud musicคือเสียงที่เล่นอยู่บนพื้นหลังเช่นอนิเมชั่นก็วิ่งไปสื่อของเราก็วิ่งไป และมีเสียงดนตรีคลออยู่ด้านหลัง2 คือเสียงบรรยาย เสียงพากย์เสียงพูดตามข้อความที่ปรากฏอยู่บนจอภาพและสุดท้ายก็คือเสียง soundtrackเสียงที่จะดังขึ้นตอนเรากดปุ่ม กดปุ่ม Ok กดปุ่ม Next หรือปุ่มใดๆก็แล้วแต่   วิธีใส่เสียงbackground music ซึ่งเราจะให้เสียง background music เป็นเพลงที่คลอไป ตอนที่มีอนิเมชั่นของหน้า title screen วิ่งเข้ามาวิธีการใส่ก็ง่ายมาก ขั้นตอนการใส่เสียง background music  กดที่ insert เลือก audio จากนั้นเลือก audio from fileเราสามารถเลือกเสียงที่เราเตรียมเอาไว้ได้            โดยเสียงที่ storyline รองรับก็จะเป็นไฟล์เสียงหลายๆแบบ แต่ที่นิยมคือMP3 และ wav ไฟล์ กดRead More →

  การสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นยุคที่มีผู้คนเผชิญหน้าหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพน้อยลง แต่สื่อสารกันผ่าน “เครื่องมือ” มากขึ้น และสื่อสารอย่างกว้างขวาง บ่อยครั้งมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันเอื้ออำนวยให้มนุษย์สามารถกระทำกิจกรรมได้เกือบทุกอย่างผ่าน เครื่องมือสื่อสารในโลกดิจิทัล ทั้งกิจกรรมการทำงาน การติดต่อเพื่อนร่วมงาน การศึกษา การเรียนการสอน การประชุม สัมมนา การซื้อขายของและบริการ การให้คำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ กิจกรรมบันเทิงทั้งรับชมรายการโทรทัศน์ ฟังเพลง ดูภาพยนตร์ อ่านนิยายและดูคอนเสิร์ตสด ๆ เวลาเดียวกับที่คนเดินทางไปดูในเหตุการณ์จริง การทำข่าว ถ่ายทอดเหตุการณ์สด ตัดต่อคลิป  การทำบุญ การกระทำพิธีกรรมทางศาสนา การระลึกถึงและสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ  ไปจนถึงกิจกรรมทางการเงิน หุ้น เศรษฐกิจ ความมั่นคงของชาติ การทหาร และรวมกลุ่มจัดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านเครื่องมือสื่อสาร เป็นต้น       เครื่องมือที่สำคัญมากในการติดต่อสื่อสารในยุคนี้ มีหลายประเภท ได้แก่       1. คอมพิวเตอร์       2. โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ตRead More →