ในกระบวนการเสนอประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC ต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขอใช้พื้นที่เปิดรายวิชาออนไลน์ผ่านระบบ Thai MOOC นั้น พบว่าอาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาที่ไม่เคยมีประสบการณ์การผลิตรายวิชาออนไลน์บนระบบ Thai MOOC หรือไม่เคยมีประสบการณ์ในการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ผู้ประสานงานซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบเอกสารก่อนที่จะนำส่งให้กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จะพบกับปัญหาการจัดทำเอกสารประมวลรายวิชา การ Design โครงสร้างรายวิชา และการคำนวณจำนวนชั่วโมงการสอน จำนวนชั่วโมงของสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารประมวลรายวิชาให้ตรงตามข้อกำหนดและเกณฑ์การพิจารณาเอกสาร ส่งผลให้การจัดทำเอกสารดังกล่าวมีความล่าช้า อีกทั้งส่งผลให้กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลภายในเอกสารให้ถูกต้อง            ดังนั้นเพื่อให้อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชาหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาสามารถจัดทำเอกสารดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงลดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการตรวจสอบ แก้ไข ความถูกต้องของเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา ทางผู้พัฒนาจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการตรวจสอบคุณภาพเอกสารประมวลรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา จนได้ข้อสรุปถึงข้อผิดพลาดที่พบบ่อยครั้ง จึงได้ออกแบบและจัดทำ Template สำหรับคำนวณจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ขึ้นเพื่อใช้ในเขียนข้อมูลเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเอกสารประมวลรายวิชา สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ Thai MOOC วัตถุประสงค์           1. เพื่อลดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้และจำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ในเอกสารที่ 2 โครงสร้างรายวิชา (เอกสารประมวลรายวิชา) สำหรับการผลิตบทเรียนออนไลน์บนระบบ ThaiRead More →

  1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                     การปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาจัดการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพ ในการจัดการศึกษา เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้ดี และสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูงต่อการจัดการศึกษา เป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้น ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้พัฒนาแผนงานให้มีทรัพยากร บริการ กิจกรรม และโครงการพิเศษที่ให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างหลากหลายต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ โดยได้เร่งพัฒนาระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วน เพื่อเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยรองรับการเรียนการสอน Active learning อย่างมีประสิทธิภาพ                    ห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ Smart Classroom ถือเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่ได้นำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาให้ดี และสอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทค่อนข้างสูงต่อการจัดการศึกษา โดยห้องเรียนอัจฉริยะมีจุดเน้นด้านของการมีปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันกับเทคโนโลยีที่หลากหลายของสื่อในรูปแบบ ต่าง ๆ              Read More →

(P=Plan วางแผน) ด้วยศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่ได้รวมห้องจัดฉายภาพยนตร์ Mini theater 72 ที่นั่ง ในพื้นที่บริการศูนย์บรรรณสารและสื่อการศึกษา ชั้น 1 ให้จองห้องประชุมและการใช้งานผ่านระบบ Online Ebooking ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดังเช่น ห้องประชุมทางไกลระเบียงบรรณ 1 ห้องประชุมระเบียงบรรณ 2-3 ในพื้นที่เดียวกัน เนื่องจากจำเป็นต้องกลั่นกรองการใช้งานตามนโยบายของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา บริหารจัดการใช้งานเฉพาะหน่วยงาน ดังเช่น ห้องประชุมระเบียงบรรณ 4 สงวนสิทธิ์รองรับภารกิจของหน่วยงาน จัดกิจกรรม ประชุม สัมนา ต้อนรับคณะเยี่ยมชม ใช้ห้องเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ก่อนเป็นอันดับแรก การให้บริการห้องจึงยังเป็นระบบบริหารจัดการเฉพาะภายในหน่วยงาน และต้องมีเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลเมื่อมีการใช้ห้องทุกครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้รับคำขอใช้ห้อง โดยใช้เครื่องมือปฏิทิน Google calendar ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กันในเฉพาะฝ่ายส่งเสริมการเรียนรู้และให้บริการการศึกษา ตรวจสอบห้องว่างตามวันเวลาที่กำหนดเงื่อนไขในการให้บริการ และได้สร้าง Google form เพื่อบันทึกรับจอง รายงานสถิติการใช้งาน ให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด ต่อมาเมื่อมีการเปิดให้บริการกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปจองใช้บริการ เพื่อเพิ่มทักษะภาษาต่างประเทศRead More →

คำว่า “Cloud” หรือย่อมาจาก “Cloud Computing” มีความหมายเบื้องต้น คือ เครื่องมือที่ทำหน้าที่เป็น Host บริการผ่านอินเตอร์เนต ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถ จัดเก็บข้อมูล, ดำเนินการ และ จัดการข้อมูลต่างๆ ผ่านอินเตอร์เนต เมื่อคุณอัพโหลดข้อมูลไปยังคลาวด์ ผ่านเซอร์วิสต่างๆ (อาทิเช่น Dropbox) ไฟล์ของคุณจะถูกส่งผ่านอินเตอร์เน็ตไปยังเซอร์เวอร์ที่จับต้องได้ และมีอยู่จริง ซึ่งเครื่อง Server ของผู้ให้บริการ Cloud นั้น มีจำนวนมาก เพื่อบริการเก็บข้อมูลทั้งโลก ซึ่งเรียกกันว่า Server Farms ดังนั้น นิยามง่ายๆ ของคลาวด์ ก็คือกลุ่มเครื่องเซอร์เวอร์ และ ศูนย์ข้อมูลเพื่อให้บริการเก็บข้อมูลรอบโลก โดยพื้นฐาน มันคือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลดิจิตอล ที่คุณสามารถเก็บไฟล์งานต่างๆ ได้ ซึ่งข้อแตกต่างจาก Storage รูปแบบอื่นๆ (อาทิเช่น External Harddisk, Flashdrive และ อื่นๆ)Read More →

บทนำ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ โดยผู้รับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคจากผู้ส่งข้อสอบแต่ละสำนักวิชาต่าง ๆ ที่มาส่งในแต่ละวันตามตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบ และข้อสอบนอกตารางที่อาจารย์จัดสอบเอง ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะดำเนินการจัดทำตารางรับข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่มีการสอบในตารางและสอบนอกตาราง เพื่อควบคุมการส่งข้อสอบในแต่ละวันซึ่งมีผลต่อการผลิตสำเนาให้เสร็จตามกำหนด โดยในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แต่ละรายวิชาที่มีการสอบทั้งในตารางและนอกตารางนั้น ผู้รับต้นฉบับข้อสอบจะจัดทำตารางรับข้อสอบในตารางและตารางรับข้อสอบนอกตารางในแต่ละภาคการศึกษา โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel ดังนั้นผู้รับต้นฉบับข้อสอบ จึงต้องหาแนวปฏิบัติในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อสามารถตรวจสอบรายวิชาได้อย่างรวดเร็วขึ้น โดยค้นหาในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ อาจารย์เจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ว่าอยู่ในขั้นตอนไหน ทำให้การทำงานในขั้นตอนการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเจ้าของรายวิชาสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพื่อลดเวลาในการค้นหารายวิชาที่มีการส่งต้นฉบับมายังงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในแต่ละวัน 3. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการสอบ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้ในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. เพิ่มความสะดวกในการค้นหาต้นฉบับข้อสอบในกรณีมีปัญหาในรายวิชานั้น ๆ 3. ผู้รับต้นฉบับข้อสอบสะดวกในการลงรับต้นฉบับข้อสอบมากขึ้น ขอบเขตของผลงาน การรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาคในระบบผลิตเอกสารและข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คำนิยาม 1. ระบบผลิตเอกสารและข้อสอบ 2. ต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค 3. ตารางรับต้นฉบับข้อสอบกลางภาคและปลายภาค การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P)Read More →

ของฟรีมีให้ใช้ แอพบน Google และ Line Nortify เราสามารถสร้างระบบ ยืม-คืน จอง หรือการแจ้งเตือน ผ่านแอพบน Google และ Line Nortify ได้          การดำเนินชีวิตในวิถีสมัยใหม่นั้น มีการเข้าถึงข้อมูลเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดายและหลากหลาย ถือเป็นสิ่งจำเป็นไปแล้วในการใช้ชีวิตและการทำงาน เทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน และเรายังสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้ โดยอาศัยอุปกรณ์เครื่องมือใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน หรือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ไอทีต่างๆ นับได้ว่าแต่ละคนจะต้องมีใช้อย่างไดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะสมาร์ทโฟน          ทีนี้เราจะมาดูหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ชีวิตและการทำงานของเรา โดยจะเป็นการออกแบบระบบ ยืม-คืน และการแจ้งเตือน อัตโนมัติ ในระบบสายงานที่ผู้เขียนปฎิบัติ งานออกแบบกราฟิกและนิทรรศการ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัลักษณ์ ได้เปิดให้บริการในการยืมอุปกรณ์นิทรรศการ “โรลอัพ” ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมในการขอใช้บริการจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย ด้วยเพราะเป็นอุปกรณ์ที่ขนย้ายได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้งและจัดวาง จึงทำให้มีการขอใช้บริการยืมอุปกรณ์โรลอัพอยู่เสมอRead More →

1. บทนำ 1.1  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื่องจากกระบวนการควบคุมการใช้ห้องเรียนที่ผ่านมา ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสื่อการเรียนการสอน ทำให้เกิดความล่าช้า ผู้ใช้งานไม่สะดวก ล้าสมัย จึงได้มีการรณรงค์และส่งเสริมการใช้ Apple TV ในห้องเรียน Smart Classroom ประจำห้องเรียน ให้สะดวกรวดเร็ว ทันสมัย ต่อผู้ใช้ห้องเรียนทั้งอาจารย์ และนักศึกษา สามารถใช้อุปกรณ์ MAC มาเชื่อมต่อกับระบบ Smart Classroom ผ่าน Apple TV ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเรียนการสอน 1.2.2 สามารถแก้ไขปัญหาการใช้ห้องเรียนได้ทันท่วงที 1.3 ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผู้ใช้สามารถใช้ห้องเรียน ในการเรียนการสอน ได้ด้วยอุปกรณ์ของผู้ใช้เอง เช่น MAC IPAD IPHONE 1.4 ขอบเขตของผลงาน การรณรงค์และส่งเสริมการใช้ AppleRead More →

1.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เนื่องจากการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุภายในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา จะต้องมีการจัดทำเอกสารรายงานขอซื้อ/ขอจ้างรายการพัสดุวงเงินจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งต่อรายการไม่เกิน 100,000 บาท (กรณีเกินอำนาจหัวหน้าหน่วยงาน(ตามคำสั่งการมอบอำนาจฯ)) และ เอกสารรายงานขอซื้อ/ขอจ้างรายการพัสดุวงเงินจัดซื้อจัดจ้างครั้งหนึ่งต่อรายการไม่เกิน 100,000 บาท (ไม่เกินอำนาจหัวหน้าหน่วยงาน) ไม่เป็นไปตามระเบียบพัสดุ เนื่องจากผู้ขอซื้อขอจ้างใส่ข้อมูลรายละเอียดไม่ครบถ้วนถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ในการจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้าง จะต้องกำหนดให้รายงานการขอซื้อขอจ้าง ประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นตามรายการดังต่อไปนี้ การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ตรวจการจ้าง ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ มาตรา 100 วรรคสาม ในกรณีที่การจัดซื้อจัดจ้างมีวงเงินเล็กน้อยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง(ไม่เกิน 100,000 บาท) จะแต่งตั้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ตรวจรับพัสดุนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก็ได้ คำว่า “คนหนึ่งคนใด” หมายถึง คนหนึ่งหรือหลายคนก็ได้ คำว่า “คนใดคนหนึ่ง” หมายถึง คนหนึ่งคนเดียว ดังนั้นในการแต่งตั้งกรรมการตรวจรับพัสดุ กรณีที่แต่งตั้งในรูปของคณะกรรมการ จะต้องดำเนินการตามระเบียบฯ ข้อ 26 ประกอบด้วย ประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอย่างน้อย 2 คน สรุปการจัดซื้อจัดจ้างวงเงินไม่เกินRead More →

การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบของมหาวิทยาลัยวลัยลัษณ์ จะดำเนินการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตและส่งข้อสอบในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อควบคุมการผลิตข้อสอบในแต่ละวันของรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบ โดยในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละรายวิชาที่มีการสอบในตารางสอบที่ศูนย์บริการศึกษากำหนดไว้ ตารางสอบที่ได้มาไม่ได้เป็นไฟล์ ซึ่งทำให้ผู้จัดทำเสียเวลาในการพิมพ์ทุกรายวิชา วันเวลาที่สอบ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา ลงในโปรแกรม Microsoft Excel ผู้จัดทำได้นำข้อมูลมาจากบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำต้องประสานติดต่อขอข้อมูลตารางสอบในแต่ละภาคการศึกษาที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้นผู้จัดทำจึงต้องหาแนวปฏิบัติในการจัดทำตารางกำหนดผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ เพื่อให้ทันกับการผลิตข้อสอบและเสร็จทันตามกำหนดทุกรายวิชาที่มีการสอบในตารางแต่ละภาคการศึกษา ทำให้การทำงานในขั้นตอนการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบแต่ละภาคการศึกษา 2. เพื่อลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดต่าง ๆ ที่มีในตารางสอบ 3. เพื่อให้ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอน ส่งข้อสอบมาผลิตตรวจสอบรายวิชาของตนเองได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้ด้วยตนเอง 4. เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลรายวิชาที่มีการเรียนรวมกัน ผลลัพธ์ที่คาดหวัง 1. ผู้ส่งข้อสอบ/อาจารย์ผู้สอนสามารถตรวจสอบวันที่ส่งรายวิชาของตนเองมาผลิตได้ 2. ลดเวลาในการพิมพ์รายละเอียดแต่ละรายวิชาต่าง ๆ ในทุกภาคการศึกษา 3. ผู้ส่งข้สอบสามารถส่งข้อสอบทันตามวันเวลาที่กำหนดในตาราง ขอบเขตของผลงาน การจัดทำตารางกำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบบนเว็บไซต์ของศูนย์บริการการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คำนิยาม 1. ข้อมูลรายวิชาและรายละเอียดต่าง ๆ 2. วันที่กำหนดวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ 3. ตารางการจัดทำตารางวันผลิตข้อสอบและส่งข้อสอบ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan –Read More →

เนื่องด้วยงานติดตามและประเมินผลงานบริหาร ส่วนแผนงานและยุทธศาสตร์ ได้แจ้งให้หน่วยงานในมหาวิทยาลัย รวมทั้งศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เข้าไปบันทึกผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำไตรมาสผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report โดยใน 1 ปีงบประมาณจะต้องรายงานผลการดำเนินงานจำนวน 4 ครั้ง หรือ 4 ไตรมาส จากการเข้าไปรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ทำให้ผู้รับผิดชอบที่จะบันทึกข้อมูลไม่สามารถจดจำขั้นตอนการเข้าใช้ระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report ได้เนื่องจากมีความซับซ้อนและไม่ได้ใช้งานบ่อย ทำให้เสียเวลา และต้องตอบคำถามทุกครั้ง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจึงได้นำสื่อ Infographic มาเป็นเครื่องมือในการอธิบายขั้นตอนการเข้าใช้งานระบบ WU E-Report ทำให้สามารถเข้าใช้ระบบได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดเวลาในการตอบคำถามหรือต้องอธิบายขั้นตอนซ้ำๆ ทั้งนี้ การที่ได้จัดทำขั้นตอนการใช้สื่อ Infographic เพื่อส่งเสริมการเข้าใช้งานในระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Report เพื่อช่วยเพิ่มความพึงพอใจ อำนวยความสะดวก ลดเวลาในการตอบคำถามแก่ผู้เข้าใช้บริการ (Customer) วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าใช้งานและลดขั้นตอนการตอบคำถาม หรือแนะนำการเข้าใช้งานระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน WU E-Reportเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานระบบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วได้ด้วยตนเองเพื่อเพิ่มความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งานระบบให้สามารถกรอกข้อมูลรายงานผลการดำเนินการได้ง่ายขึ้น ผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผู้ใช้งานสามารถเข้าระบบติดตามผลการปฏิบัติงานRead More →