“เพื่อแสวงหาการให้บริการที่ดีขึ้นสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ขอรับบริการถ่ายรูปบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวฯลดจำนวนผู้ขอรับบริการที่มาถ่ายรูปทำบัตรโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าและสร้างมาตรฐานการทำงาน จึงเกิด PDCA กระบวนการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพฯ นี้ขึ้น“ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถือเป็นหลักฐานทางราชการที่มีรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมถึงรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วย ซึ่งรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐนี้เป็นประเด็นที่ต้องการจะปรับปรุงประสิทธิภาพ เนื่องจากความต่างทางเพศ ศาสนา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับล้วนเป็นส่งผลต่อการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบพนักงานหญิง และชายจะต่างกัน พนักงานหญิงจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวผูกเนคไทดำ หากเป็นหญิงมุสลิมต้องคลุมฮิหญาบสีดำสุภาพ เป็นต้น กอปรกับข้อจำกัดที่งานผลิตสื่อการศึกษามีชุดปกติขาวไม่ครอบคลุมทุกความต้องการ และด้วยภารกิจการให้บริการของงานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนที่มีหลายด้าน ทำให้ไม่สามารถให้บริการถ่ายภาพได้ในทุกเวลาตามที่ผู้ขอรับบริการต้องการ เมื่อผู้ที่ต้องการถ่ายภาพมาขอรับบริการโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าจึงส่งผลกระทบด้านคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจ ดังนั้น จึงต้องการที่วิเคราะห์และพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการการให้บริการถ่ายภาพบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการเตรียมตัวก่อนให้บริการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้โดยตรง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดปัญหาการเสียเวลามาติดต่อถ่ายภาพ ผู้ขอรับบริการมีความเข้าใจและรับทราบถึงขั้นตอนการให้บริการจะช่วยให้การขอรับบริการและการให้บริการมีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจมากขึ้น ด้วย SIPOC Model ผ่านกระบวนการ PDCA การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan-P) วิเคราะห์กระบวนการด้วย SIPOC Model การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคใช้เทคนิคการตั้งคำถามมาใช้ เริ่มจากตั้งประเด็นปัญหา และวิเคราะห์หาคำตอบใน 2 โจทย์ปัญหาRead More →

การออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยในขั้นตอนการรับไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดของสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดใน Folder เดียว ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบถ้าหากผู้ออกแบบดำเนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลโดยใช้ข้อมูลและภาพประกอบดังกล่าว จะทำให้เสียเวลามากในการค้นหาภาพประกอบที่ตรงกับเนื้อหา ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องนำเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับ Contents ของสิ่งพิมพ์ดิจิทัลนั้นๆ ผู้ออกแบบจะต้องแยกโฟลเดอร์ภาพประกอบตาม Contents และนำไฟล์ภาพประกอบมาใส่ให้ตรงตาม Contents ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะพบว่าในเนื้อหาบางส่วนจะมีภาพประกอบไม่ครบ ผู้ออกแบบก็จะต้องติดต่อผู้ขอใช้บริการให้ส่งไฟล์ภาพประกอบที่ยังขาดมาใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาในการออกแบบเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องหาแนวทางปฏิบัติในการรับไฟล์สำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขอใช้บริการสามารถจัดส่งไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตาม Contents ทำให้การทำงานในขั้นตอนการออกแบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล โดยผู้ขอใช้บริการ สามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ2. เพื่อลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับ1. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อน ส่งมาออกแบบ2. ลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. มีความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ขอบเขตของผลงานการส่งไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบสำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง1. เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล2. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ3. สามารถลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ4. ทำให้การนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Modelการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดในRead More →

งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้บริการผลิตสำเนาข้อสอบ ทั้งในตารางและนอกตารางของทุกสำนักวิชา รวมทั้งการผลิตสำเนาข้อสอบในโครงการต่าง ๆ เช่น ข้อสอบโครงการโอลิมปิก เพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิตสำเนาข้อสอบให้มีประสิทธิ์  จำเป็นต้องมีการควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลือง ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา  Google Sheet เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ สามารถติดตามจำนวนวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ การสั่งซื้อวัสดุสิ้นเปลืองใหม่ และบันทึกการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ในส่วน Glide app ยังช่วยให้สามารถสร้างรายงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพวัสดุสิ้นเปลืองได้             การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว คลังวัสดุสิ้นเปลืองของงานออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ มีจำนวนหลากหลายยากต่อการจดบันทึก ด้วยเหตุผลนี้จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ใน Google Sheet และได้พัฒนามาเป็น Application Gilde App เพื่อสะดวกในการใช้งาน และผู้ปฏิบัติงานในงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้สะดวก ข้อมูลมีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้ขั้นตอนหลายขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาด มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการวัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำRead More →

PDCA : การปรับปรุงวิธีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลพัสดุส่งซ่อมด้วย Google sheets 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีหน้าที่ ให้บริการและดูแล ซ่อมบำรุงครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ประจำห้องบรรยาย ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ                ในด้านการดูแล และซ่อมบำรุงโสตทัศนูปกรณ์ที่มีให้บริการ ที่มีการใช้งานมาเป็นระยะนานและต่อเนื่อง จึงทำให้มีการชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ จึงต้องมีการส่งซ่อมเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อีกระยะ ประกอบกับในปัจจุบันมีครุภัณฑ์ที่ต้องส่งซ่อมจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปี ที่จะต้องส่งไปซ่อมยังศูนย์บริการ โดยผ่านหน่วยงานที่รับดูแล คือส่วนพัสดุ และบางรายการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาส่งซ่อมได้เลย                 ก่อนหน้านี้การรับรายการซ่อมจากช่างเทคนิค โดยใช้Read More →