PDCA : การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
การออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยในขั้นตอนการรับไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดของสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดใน Folder เดียว ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบถ้าหากผู้ออกแบบดำเนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลโดยใช้ข้อมูลและภาพประกอบดังกล่าว จะทำให้เสียเวลามากในการค้นหาภาพประกอบที่ตรงกับเนื้อหา ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องนำเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับ Contents ของสิ่งพิมพ์ดิจิทัลนั้นๆ ผู้ออกแบบจะต้องแยกโฟลเดอร์ภาพประกอบตาม Contents และนำไฟล์ภาพประกอบมาใส่ให้ตรงตาม Contents ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะพบว่าในเนื้อหาบางส่วนจะมีภาพประกอบไม่ครบ ผู้ออกแบบก็จะต้องติดต่อผู้ขอใช้บริการให้ส่งไฟล์ภาพประกอบที่ยังขาดมาใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาในการออกแบบเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องหาแนวทางปฏิบัติในการรับไฟล์สำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขอใช้บริการสามารถจัดส่งไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตาม Contents ทำให้การทำงานในขั้นตอนการออกแบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล โดยผู้ขอใช้บริการ สามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ2. เพื่อลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับ1. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อน ส่งมาออกแบบ2. ลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. มีความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ขอบเขตของผลงานการส่งไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบสำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง1. เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล2. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ3. สามารถลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ4. ทำให้การนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Modelการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดในRead More →