หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯRead More →

สืบเนื่องด้วยคณะทำงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดตั้งเพจ “ชวนอ่าน”เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่สารนิเทศทางวิชาการ โดยการคัดเลือกบทความ หนังสือ และวารสารที่น่าสนใจ ในหมวดต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟสบุ๊ก (Facebook) ชื่อเพจชวนอ่าน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าถึง E-Journal และ E-Book อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ในเพจชวนอ่านได้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้1. ประเภทข้อมูล E-Journal / E-Book 2. ภาพปก3. รายชื่อ4. URL เพื่อเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนของการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูลภาพปกบทความ หนังสือ วารสาร และภาพประกอบ ตลอดทั้งตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ จำเป็นต้องมีขนาดพอเหมาะและชัดเจน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ และรูปแบบตัวอักษร ตลอดจนแนวโน้มของการออกแบบกราฟิกในยุคปัจจุบัน เพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นกระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ ระยะเวลาของกระบวนการการออกแบบและปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบและขั้นตอนให้มีความเหมาะสมRead More →