Month: October 2022

การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization

จากการศึกษาบทเรียนออนไลน์ ThaiMOOC รายวิชา NIDA: NIDA001 การสร้างสรรค์เนื้อหาด้วยข้อมูล (Data) เพื่อเพิ่มคุณค่าขององค์กร | Content Creation in Digital Organization สรุปได้ดังนี้ • ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เป็นข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีปริมาณมหาศาล มีความหลากหลายของข้อมูลสูง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีคุณค่าต่อการนำไปใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) นั้นจะถูกนำมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล และสามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินการด้านการตลาดดิจิทัลขององค์กรได้ โดยความสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัลนั้น เมื่อข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมตัวกันมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดความสามารถในการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้เกิดโอกาสใหม่ๆ ทางการตลาด ช่วยให้สามารถสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และจะช่วยให้องค์กรสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว และเรียลไทม์ สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างคอนเทนต์ที่ส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย สร้างรูปแบบการส่งเสริมการตลาดที่เจาะจงสอดคล้องกับความต้องการและดึงดูดลูกค้าเป้าหมายได้ โดยที่กระบวนการทำงานของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการพัฒนาประสิทธิภาพการตลาดดิจิทัล ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ (1) การสร้างข้อมูล คือ […]

การสร้างแผนภูมิด้วย Microsoft Excel

ซึ่งจากการเรียนรู้ในรายวิชาไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เซลล์ Microsoft Excel (โปรแกรมการคำนวณ) จึงขอแนะนำความรู้ในบางส่วนของหัวข้อ Manage Tables and Table Data = จัดการตารางและข้อมูลตารางการทำข้อมูล ในเรื่องของการ Create Charts มาเป็นตัวอย่างที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการจะสร้างแผนภูมิ เพื่อดูผลลัพธ์ของข้อมูลแบบง่ายๆ ไม่ยุ่งยากแม้คุณจะไม่เก่งเรื่อง Microsoft Excel ก็สามารถทำได้คะ มาเรียนรู้กันเลยนะคะ การสร้างแผนภูมิด้วย Microsoft Excel เตรียมข้อมูลที่ต้องการสร้างแผนภูมิ (ข้อมูลตัวอย่าง) 2. คลิกที่เมนู Insert ที่เมนูด้านบนสุด 3. จะเห็นว่ามีตัวอย่างของแผนภูมิในรูปแบบต่างๆ  อยู่ด้านขวามือ 4. ให้ทำการคลิกคลุมข้อมูลที่เราอยากจะสร้างแผนภูมิ 5. เสร็จแล้วให้คลิกไปที่คอลัมน์แผนภูมิที่เราต้องการ 6. ระบบจะสร้างแผนภูมิให้ตามที่เราต้องการ 7. เราสามารถเปลี่ยนเป็นแผนภูมิในรูปแบบต่าง ๆ ที่เราต้องการได้ตามความเหมาะสม 8. หากเราจะเพิ่มข้อมูลหรือเปลี่ยนข้อมูลในอีก sheet ตัวอย่างเช่น จะเอาข้อมูล “ขนมปัง” ออก ก็ให้ Click เครื่องหมายถูก […]

การออกแบบสื่อเสียงเพื่อการศึกษา

แนวคิดเกี่ยวกับสื่อเสียง สื่อเสียงประกอบด้วยสื่อและเสียงซึ่งเป็นตัวการทำให้กำเนิดเสียงถ้าไม่มีตัวกลางก็ไม่มีเสียงเสียงเกิดจากการสั่นตัวกลางทำไห้เกิดความถี่ย่านต่างๆระหว่าง 20 hz- 20 khz ส่วนเสียงจะเป็นอะไร มีความหมายอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับการทำงานของสอมมนุษย์ผู้นั้นว่าบันทึกและจำแนกเสียงไว้ในสมองอย่างไร เสียงเกิดจากการสั่งสะเทือนของเครื่องกำเนิดเสียง เสียงเคลื่อนที่ด้วยสื่อที่เป็นตัวกลางความเร็วของการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับชนิดและความหนาแน่นความยืดหยุ่น อุณหภูมิตัวกลางโดยทั้งไปเสียงเดินทางผ่านอากาศที่อุุณหภูมิ 20 องศาจะมีความเร็ว 340 เมตร/วินาทีเสียงจะเคลื่นที่ความเร็วเท่าไหร่ได้ไกลแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับชนิดและสื่อกลางที่จะพาเครื่องที่ไปยังจุดหมาย ด้วยการค้นพบเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถผลิตคลื่นวิทยุเมื่อใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อพาเสียงไปได้ความเร็วของคลื่นสนามแม่เหล็กด้วยการผสมคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุด้วยกระบวนการที่เรียกว่า การปรุงคลื่นการ (Modulation) ด้วยการส่งเสียงออกไปด้วยเครื่องส่งวิทยุหรือเรียกว่าสถานีวิทยุกระจายเสียงรูปคลื่นที่ผสมกับความถี่เสียงแบบ AM แล้วมีการเปลี่ยนแปลงตามขนาดความสูงของคลื่นตามขนาดความสูงของคลื่นเสียง ระบบบันทึกเสียง แบ่งตามรูปแบบของสัญญาณการบันทึกเสียงในแบบสัญญาณดิจิตอลบันทำเสียงได้ง่ายและมีความสะดวก โดยเฉพาะการเผยแพร่เสียงในรูปแบบ Mp3 ผ่านเครืออข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้สามารถเข้าฟังได้ในเวปไซด์ที่ให้บริการ หลักการของงานวิทยุกระจายเสียงมีอยูา 3 ประการคือ 1 ให้ข่าวสาร ความรู้ และบทความ 2 ให้การศึกษา 3 ให้ความบันเทิง ปัจจุบันสถานีวิทยุมีหลายแห่งส่วนมากจะมีเอกชนไปเช่าเวลาการออกอากาศต่างๆ โดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน นักจักรายการจะมีอิสระในการดำเนินรายการมากและไม่มีรูปแบบแน่นอนจะมุ่นเน้นไปทางบันเทิงและโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ตามการเวลาเพื่อผลจากผู้จ้างให้มาทำการโฆษณาบ่อยครั้งที่พบว่ารายการที่ออกมานั้นส่อไปในทางที่ไม่ถูกต้องตามวัฒธรรมประเพณีของไทย ทั้งยังเป็นปัญหาของสังคมอีกด้วย การบันทึกเสียงเพื่อการศึกษา เป็นการแปลงสัญญาณเป็นคลื่นเสียงเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ในระบบอนาล๊อกหรือระบบดิจิตอลที่เสนอเนื้อหาสาระและประสบการณ์เป็นสัญยาณในรูปแบบอื่นแล้วเก็บลงในวัสดุบันทึกสามารถเล่นกลับเป็นคลื่นเสียงให้ผู้เรียนศึกษาได้ รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียง เมื่อเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงมาประทบกับวัตถุบางๆทำไห้เกิดการสั่นสะเทือนมนุษณ์ก็คิดวิธีการบันทึกเสียงขึ้น รูปแบบการเปลี่ยนคลื่นเสียงมี 3 รูปแบบคือ 1 การเปลี่ยนคลื่อนเสียงแบบเชิงกลบนร่องเสียงสั่นสะทือนจะไปกระตุ้นให้เข็มที่วางอยู่บนร่องเรียบที่เตรียมไว้บนวัตถุบางชนิดเช่น ขี้ผึ้ง แผ่นดีบุก แผ่นครั่งที่เป็นแผ่นกลมหมุนรอบแกนกลาง ทำให้ร่องเรียบเกิดความขรุขละออกข้างตามระดับความดังเสียง […]

ทักษะพื้นฐานการซ่อมบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในสำนักงาน | Basic Skills in The Maintenance Office

        ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือเครื่องใช้ในสำนักงานมากมายหลายรูปแบบ  หลายยี่ห้อ  แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ การทำงานและราคา ซึ่งหลักการพิจารณาเลือกใช้เครื่องใช้สำนักงานมีดังนี้        1.  ความจำเป็นในการใช้เครื่องใช้สำนักงาน  โดยพิจารณาว่าหน่วยงานใดมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทใด เพราะเหตุใด จึงจำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทนั้น ๆ         2.  ลักษณะงาน  คือการพิจารณาความเหมาะสมกับลักษณะการทำงานที่นำเครื่องใช้สำนักงานมาใช้ว่ามีประสิทธิภาต่อการทำงานมากน้อยเพียงใด เช่น ได้ผลงานมากขึ้น สะดวก รวดเร็ว และประหยัด มีความก้าวหน้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา        3.  ความต้องการของบุคลากร  การเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในองค์กรจากการใช้แรงงานคนมาเป็นการใช้เครื่องจักรนั้น ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ การลดจำนวนพนักงานลงทำให้เกิดการว่างงานซึ่งกระทบต่อความรู้สึกของบุคลากร  เพื่อให้ปัญหา  ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนพนักงานและการใช้เครื่องใช้สำนักงานหมดไป ผู้บริหารจะต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบว่ามี  ความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดความประหยัดค่าใช้จ่าย มีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในงาน ขณะเดียวกันจะต้อง  ไม่เกิดความขัดแย้ง นอกจากนั้นควรคำนึงถึงปัญหาการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องใช้สำนักงานประเภทต่าง ๆ และชี้แจงให้เห็นประโยชน์ของเครื่องใช้นั้น ๆ ว่าสามารถลดความเบื่อหน่ายจากการทำงานในสภาพเดิมได้ และสามารถลดข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานรูปแบบเดิมได้ ทำให้พัฒนางานได้ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี   […]

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบ | Technology Hardware and System Software

คือ ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออาจเรียกว่า “โปรแกรม” ก็ได้ ซึ่งหมายถึงคำสั่งหรือชุดคำสั่ง สามารถใช้เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เราต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่งที่จะต้องสั่งเป็นขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วนก็จะเรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (Programmer) สำหรับการเขียนโปรแกรมดังกล่าวใช้ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะ หรือหมายถึง ภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล เป็นต้น โปรแกรมที่เขียนขึ้นมาก็จะนำไปใช้ในงานเฉพาะอย่าง เช่น โปรแกรมสต็อกสินค้าคงคลัง โปรแกรมคำนวณภาษี โปรแกรมคิดเงินเดือนพนักงาน เป็นต้น  ฮาร์ดแวร์ที่เป็นคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เรียกว่า CBIS (Computer-Based    Information System) ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ  1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)  2. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่นำมาจัดการกับงานประยุกต์ต่าง ๆ มี 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้กับงานโดยทั่วไป (General-Purpose Application Software) ส่วนใหญ่ใช้งานด้านการประมวลผลคำ (Word Processing) ด้านตารางคำนวณ (Spreadsheets) ด้านการจัดการแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล (File/Database Management […]

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน | Network Literacy

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไรระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อถึงกันซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งปันทรัพยากรระหว่างกันได้ อุปกรณ์เครือข่ายเหล่านี้ใช้ระบบกฎที่เรียกว่าโปรโตคอลการสื่อสาร เพื่อส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์จริงหรือโดยใช้เทคโนโลยีไร้สาย เราลองมาตอบคำถามทั่วไปที่พบบ่อยเกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์กัน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างไรโหนดและลิงก์เป็นบล็อกการสร้างพื้นฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โหนดเครือข่ายอาจเป็นอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (DCE) เช่น โมเด็ม ฮับ หรือสวิตช์ หรืออุปกรณ์ปลายทางข้อมูล (DTE) เช่น คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป ลิงก์คือการส่งข้อมูลสื่อที่เชื่อมต่อระหว่าง 2 โหนด ลิงก์เป็นได้ทั้งแบบผ่านอุปกรณ์จริง เช่น สายเคเบิลหรือสายใยแก้วนำแสง หรือแบบที่ช่วยเพิ่มพื้นที่ว่างได้อย่างเครือข่ายไร้สาย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ โหนดต่างๆ จะเป็นไปตามชุดกฎเกณฑ์หรือโปรโตคอลที่กำหนดวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านลิงก์ สถาปัตยกรรมเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะกำหนดการออกแบบองค์ประกอบจริงและเชิงตรรกะเหล่านี้ โดยให้ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับองค์ประกอบจริงของเครือข่าย องค์กรการทำงาน โปรโตคอล และขั้นตอนต่างๆ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่อะไร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปลายทศวรรษ 1950 เพื่อใช้ในการทหารและกระทรวงกลาโหม แต่เดิมใช้เพื่อส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ และมีการใช้งานเชิงพาณิชย์และวิทยาศาสตร์ที่ค่อนข้างจำกัด และการถือกำเนิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับองค์กรต่างๆ โซลูชันเครือข่ายยุคใหม่ไม่ได้มีแค่การเชื่อมต่อแล้ว แต่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลและความสำเร็จของธุรกิจในปัจจุบันด้วย ความสามารถของเครือข่ายพื้นฐานนั้นสามารถตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติและปลอดภัย เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่สามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้ ทำงานแบบเสมือน โครงสร้างพื้นฐานจริงของเครือข่ายพื้นฐานสามารถแบ่งสัดส่วนตามตรรกะเพื่อสร้างเครือข่าย “ซ้อนทับ” ได้หลายเครือข่าย ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบซ้อนทับ โหนดต่างๆ จะถูกเชื่อมโยงแบบเสมือนจริง และสามารถส่งข้อมูลระหว่างโหนดทั้งสองผ่านอุปกรณ์จริงได้หลากหลายวิธี ตัวอย่างเช่น เครือข่ายองค์กรจำนวนมากถูกซ้อนทับกันบนอินเทอร์เน็ต ผสานรวมในวงกว้าง บริการระบบเครือข่ายสมัยใหม่จะเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบกระจายทางกายภาพ บริการเหล่านี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายผ่านระบบอัตโนมัติและการตรวจสอบเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ประสิทธิภาพสูงได้ บริการเครือข่ายสามารถปรับขนาดขึ้นหรือลงได้ตามความต้องการ […]

เทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล | Information Technology in Digital Era

เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy)         ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy หมายถึง ทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะความสามารถสำหรับการรู้ดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ ใช้ (Use) หมายถึง ความคล่องแคล่วทางเทคนิคที่จำเป็นในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “ใช้” ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคขั้นพื้นฐาน คือ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word processor) เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) อีเมล และเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ สู่เทคนิคขั้นสูงขึ้นสำหรับการเข้าถึงและการใช้ความรู้ เช่น โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นข้อมูล หรือ เสิร์ชเอนจิน […]

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ “การกำกับ ติดตามและพัฒนานวัตกรรมฯ”

การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร? มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า มีวินัย เคร่งครัด ทำงานอย่างหนัก มีแผนปฎิบัติการ (action plan) ที่สอดคล้องกับเป้าหมาย ลองมาขยายความแต่ละข้อให้เข้าใจมากขึ้นกันนะคะ มีเป้าหมายชัดเจน หมายความว่า จะต้องมีวัตถุประสงค์ รวมถึงต้องมีวิธีการบรรลุวัตถุประสงค์ที่เป็นรูปธรรม มีทรัพยากรที่เหมาะสม มีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน และจะต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบปฏิบัติงาน การมีปฏิทินการปฏิบัติงานที่ชัดเจน จะต้องสามารถระบุได้ว่า งานที่รับผิดชอบทั้งปีมีอะไรบ้าง ระบุชัดเจนว่าเมื่อไหร่ต้องทำอะไร ตรวจสอบปฏิทินเป็นประจำว่าไม่มีส่วนใดตกหล่นหรือไม่เรียบร้อย เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานตามปฏิทินโดยเฉพาะจะต้องเตรียมทรัพยากรที่ใช้ หากพบปัญหาอุปสรรค ต้องเร่งรัดแก้ไขโดยด่วน บันทึกผลการปฏิบัติงานเป็นหลักฐานทุกวัน การบริหารงานของภาครัฐในอดีตจะเน้นที่การบริหารปัจจัยนำเข้า  (Inputs)  ซึ่งได้แก่  ทรัพยากรต่าง ๆ  ที่รัฐจะนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน  คือ  เงิน  คน  วัสดุ  ครุภัณฑ์ต่าง ๆ  โดยเน้นการทำงานตามกฏ  ระเบียบ  และความถูกต้องตามกฎหมาย  และมาตรฐาน  แต่การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะเน้นที่ผลลัพธ์  (Outcomes)  ของงาน  โดยจะให้ความสำคัญที่การกำหนดพันธกิจและวัตถุประสงค์ของโครงการ / งาน  เป้าหมายที่ชัดเจน  การกำหนดผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต้องการของทุกโครงการในองค์การให้สอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกับภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์การ  มีการกำหนดตัวบ่งชี้วัดผลการทำงานหลัก  (Key  Performance  Indicators […]

Design Thinking คืออะไร? และทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่อง Design Thinking

Design = การออกแบบ , Thinking = การคิด / ความคิด   ดังนั้น Design Thinking จึงอาจแปลให้เข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ กระบวนการออกแบบเชิงความคิดนั่นเอง ในเชิงธุรกิจมักใช้การผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) กับการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) เข้าด้วยกันเพื่อพัฒนานวัตกรรม        แล้วทำไมองค์กรต้องเรียนรู้เรื่อง Design หรือ “การออกแบบ” ทั้งๆ ที่องค์กรไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับความสร้างสรรค์, ศิลปะ, ผลิตผลิตภัณฑ์ หรือแม้แต่ด้านสถาปัตยกรรมเลยแม้แต่น้อย ความคิดเหล่านั้นเป็นความคิดดั้งเดิมแบบยุคเก่าที่ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของ “การออกแบบ” ใหม่ เพราะในยุคนี้การออกแบบหรือ Design นั้นเป็นได้มากกว่าแค่การคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้ออกมาเป็นวัตถุจับต้องได้ แต่การออกแบบจริงๆ แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรมเลยทีเดียว             การออกแบบที่กำลังถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางกับองค์กรต่างๆ นั้นก็คือ Design Thinking หรือ “กระบวนการคิดในเชิงออกแบบ” นั่นเอง กระบวนการคิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กรตลอดจนปลูกฝังระบบวิธีคิดรูปแบบนี้ให้กับบุคลากรในองค์กรที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานของตนเองได้ด้วย ซึ่งกระบวนการคิดในรูปแบบนี้มีลักษณะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ขึ้นมาซึ่งถือว่าเป็นหลักการที่ช่วยทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างดีทีเดียว โดยทั่วไปกระบวนการ Design Thinking มักจะนิยมใช้ 5 […]

อินโฟกราฟิกนี้…ดีไฉนนนน (2)

สวัสดีค่ะ .. ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังแล้วว่า อินโฟกราฟิก คือ การนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจยากให้เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น และ องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกที่ดี คือ Simplicity ความเรียบง่าย – ดูสบายตา ไม่ซับซ้อน ไม่ควรมีจุดเน้น ใช้สีหรือมีรายละเอียดของภาพและตัวหนังสือมากเกินไป Interestedness ความน่าสนใจ – นำเสนอเรื่องที่น่าสนใจ อยู่ในกระแส หรือถ้าไม่น่าสนใจก็เอามาแต่งตัวใหม่ให้น่าสนใจ Beauty ความสวยงาม – เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะความสวยงามของภาพจะดึงดูดคนให้มาอ่าน มาดูเนื้อหาในภาพ และเป็นตัวช่วยเพิ่มการจดจำได้ด้วย  …เรามาดูกันต่อว่า ถ้าอยากจะต้องออกแบบสื่ออินโฟกราฟิกสักชิ้นนั้น มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขั้นตอนการวิเคราะห์ วิคราะห์และกำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบ วิเคราะห์บริบทของการนำไปใช้ – จะนำไปใช้บนสื่อใด แต่ละสื่อจะมีลักษณะการออกแบบที่ต่างกัน ทั้งความละเอียด ความคมชัด ขนาด และสีสัน และที่สำคัญคือ “ผู้รับสารเป็นใคร” มีลักษณะความชอบ ความสนใจฯ อย่างไร ขั้นตอนการเรียบเรียง การศึกษาข้อมูลและเนื้อหาทั้งหมด แล้วนำมารวบรวม จากนั้นทำการคัดกรอง ย่อยเนื้อหา และจัดระเบียบเนื้อหาให้กระชับ เข้าใจง่าย ศึกษา รวบรวม และจัดระเบียบเนื้อหา – […]

Infographic นี้…ดีไฉนนนน

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนเรียนจบจากสำนักวิชาสารสนเทศ … วันนี้เลยมีสาระมาเล่าให้ฟังค่ะ เนื่องจากไปลงเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course CMU012 ในระบบ ThaiMOOC มา เลยมาแบ่งปันเธอและฉันว่า “Infographic ที่กำลังเป็นที่นิยมนี้…ดีไฉน” ก็ขอตอบตรงนี้ว่า Infographic ดีจริง ๆ เพราะเป็นการสื่อที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยภาพกราฟิกที่ทำให้ผู้ดูภาพสามารถเข้าใจข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ตัวเลข สถิติปริมาณมาก ๆ ยากต่อความเข้าใจ ให้เป็นข้อมูลที่กระชับ มีความถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจ ผ่านรูปภาพเพียงภาพเดียว!! ซึ่งตรงใจวัยเทคโนโลยีก้าวล้ำนำสมัยอย่างพวกเรามาก ๆ … สวยงาม ตัวอักษรน้อย เข้าใจง่าย ใช้เวลาแป๊บเดียว !! แต่กว่าจะใช้เวลาสร้างสรรค์ออกมาได้ ผู้ผลิตก็ต้องใช้ความรู้ความสามารถกันสักนิด … ซึ่งรายวิชาการผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพเค้าได้สอนไว้ให้เยอะพอดูเลยจ๊ะ อาจารย์วชิระ นิจบุญ และอ.เด่นธนำ เดชะประทุมวัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกไว้ว่า Infographic (อินโฟกราฟิก)ที่ดีไม่ได้หมายถึงการมีข้อมูลปริมาณมากอยู่บนภาพ หรือมีการใช้ภาพประกอบที่มีรายละเอียดเยอะ […]

Infographic ไม่ใช่เข็มฉีดยา แต่มีที่มาจากนางพยาบาล

นางพยาบาลมาเกี่ยวข้องอะไรกับ infographic กันน้า .. มาค่ะมา.. จะเหลา เอ้ย! เล่าให้ฟัง จริงอยู่ ถ้าดูตามบริบท นางพยาบาลอาจจะห่างจาก infographic ไปสักนิด แต่ถ้าบอกว่า เกี่ยวโยงด้วยการนำเสนอ ..อันนี้พอจะเข้าเค้า แต่ก็ยังไม่ Wowww เท่ากับว่า …จุดเริ่มต้นของการนำเสนอแบบ Infographic นั้น เกิดจาก “นางพยาบาล” ใช่ค่ะ …เมื่อได้ลงทะเบียนเรียนวิชา การผลิตสื่อกราฟิกอย่างมืออาชีพ | Graphic Design Crash Course บน ThaiMOOC ก็เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และกว้างขึ้น เพราะนอกจากในรายวิชาจะอธิบายความหมายของคำว่า Infographic ว่ามาจากคำ 2 คำ คือ Info ที่มาจาก information+graphic “Infographic = Informaiton (ข้อมูลสารสนเทศ) + Graphic (ภาพกราฟิก) หมายถึง การนำเสนอสารสนเทศที่มีการใช้กราฟิก มาแทนที่ข้อมูลตัวอักษร […]

เรื่องเล่า…จากหลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC บน ThaiMOOC

ThaiMOOC “เคยเรียนแล้ว และเมื่อมาเรียนอีก ก็ยิ่งรู้…ยิ่งเข้าใจ และยิ่งตระหนักในความสำคัญของการเตรียมการ“ “รายวิชานี้จะเป็นเรื่องของการจัดการเรียนการสอน ในเรื่องของการผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนออนไลน์บนระบบเปิด ซึ่งเมื่อเรียนแล้วจะช่วยให้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนการผลิตรายวิชาบนระบบ MOOC ได้ดียิ่งขึ้นเหมาะสำหรับอาจารย์ ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ที่สนใจการสร้างวีดิทัศน์บนสื่อออนไลน์ทุกคน ที่จะรู้และเข้าใจในกระบวนการและหน้าที่ของตัวเอง” ต้องออกตัวก่อนว่า ผู้เขียนเคยเรียนรายวิชานี้เมื่อนานมาแล้ว เนื่องจากต้องมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชาที่จะเปิดสอนบน ThaiMOOC ตอนนั้นยังเรียนเพราะความจำเป็น เรียนโดยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับ ThaiMOOC เลย แต่วันนี้เมื่อเวลาผ่านมาหลายปี ได้มีโอกาสกลับมาทบทวนใหม่ก็พบว่า “ยิ่งเรียนยิ่งรู้ – ยิ่งอ่านยิ่งใช่” เอาเนื้อหามาจับกับประสบการณ์ที่เราต้องทำ ทำให้ตระหนักและเข้าใจการทำงานมากขึ้น ทั้งยังช่วยตอกย้ำว่า การเตรียม หรือการวางแผนก่อนที่จะผลิตวีดีทัศน์สักหนึ่งชิ้นนั้น…มีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรการสร้างวีดิทัศน์สำหรับรายวิชา MOOC (VidoeX-Thai) สอนโดยรศ.ดร. สุรพล บุญลือ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เนื้อหาจะไล่ลำดับตามขั้นตอนการผลิต ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน อันเป็นขั้นตอนพื้นฐานของการผลิตวีดิทัศน์โดยทั่วไป แต่ในส่วนของรายละเอียดนั้นจะจำเพาะเจาะลงไปในส่วนที่ผู้ผลิตรายวิชาบท MOOC ต้องรู้ ควรรู้ หรือทำตาม พร้อมแทรกเกร็ดความรู้ เทคนิคต่าง ๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมาก ซึ่งจะนำส่วนที่คิดว่ามีประโยชน์มาฝาก […]

4K คืออะไร

4K คืออะไร มารู้จักกับมาตรฐานใหมของความละเอียดหน้าจอกัน 4K หรือ Ultra High Definition คือมาตรฐานใหม่ของความละเอียดของ “จอภาพ” และ “คอนเทนต์” โดย K ย่อมาจาก Kilo ซึ่งเท่ากับ 1000             ดังนั้น 4K ก็ หมายถึง 4000 นั่นเอง    สําหรับความ ละเอียดหน้าจอสําหรับทีวี 4K แบบ Widescreen หมายถึง มีความละเอียด 3840 x 2160 พิกเซล ผลรวม ออกมาก็ได้ประมาณ 8.29 ล้านพิกเซล                         ทั้งนี้ความละเอียดในแนวนอนเท่ากับ 3840 เพื่อให้ง่ายต่อการเรียก จึงมีการปัดเศษขึ้นให้เป็น 4000                               จึงเป็นที่มาของคําว่า 4K  ในทางกลับกันทีวี Full HD ซึ่งเป็นมาตรฐาน ในตอนนี้มีความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล […]

การเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงาน

ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ การเมือง การศึกษาหรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุมหรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆและเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตนหรือขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ การนำเสนอมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานทุกประเภทเพราะช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงาน ใช้ในการพัฒนางานเราจึงควรรู้แนวทางการเตรียมสไลด์เพื่อนำเสนอผลงานเพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาและบุคคลผู้ที่สนใจ การเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา มีแนวทางในการดำเนินงานโดยสรุปดังนี้ การวางแผน นักวิจัยต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่นำเสนอ ขนาดของห้องและเวที ตำแหน่งเครื่องฉาย ขนาดจอข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ลักษณะและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อใช้ในการวางแผนการนำเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา หากนักวิจัยมีข้อมูลมากเท่าไร การวางแผนเสนอสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา ยิ่งได้ผลดีมากขึ้นเท่านั้น แนวทางสำหรับการวางแผนงานคือ การตอบคำถามว่าจะเสนออะไร เสนออย่างไร เหตุใดจึงเลือกวิธีเสนอแบบนั้น และผลที่คาดว่าจะได้รับรวมทั้งกำหนดระยะเวลา ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเตรียมสไลด์ด้วย การออกแบบ นักวิจัยต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเนื้อหาสาระส่วนใดจากรายงานวิจัยทั้งฉบับไปจัดทำเป็นสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวาจา โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการเสนอผลงานวิจัยก่อนว่าต้องการให้เกิดผลเกิดประโยชน์อะไรต่อผู้เข้าชม หรือต้องการขายความคิด หรือต้องการเสนอนวัตกรรม เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันทำให้แนวการเตรียมสไลด์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยแตกต่างกันด้วย เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์แล้วจึงตัดสินใจเกี่ยวกับรูปแบบของสไลด์ ซึ่งมีหลักการดังนี้ เลือก template ที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมประชุม สไลด์ทางวิชาการไม่นิยมมีรูปการ์ตูน ออกแบบสไลด์ให้มีจำนวนเหมาะสม ประมาณ 6-7 แผ่น สไลด์จำนวน 10-12 แผ่น ถือว่ามากเกินไปสำหรับการเสอนผลงานวิจัยด้วยวาจา ใช้ลูกเล่น เช่น ภาพเคลื่อนไหว สีและรูปแบบพิเศษ เฉพาะบางสไลด์ […]

Google Calendar เพื่อสร้างนัดหมายและการประชุมอย่างมืออาชีพ

การใช้ Google tools เพื่อการพัฒนางานนั้น เราสามารถใช้ Google tools ในการพัฒนางานได้หลากหลายด้าน เพียงแค่มี account Gmail ก็จะมี tools ต่าง ๆ ของ Google เป็น App ที่มีประสิทธิภาพมาก ๆเป็นเครื่องมือที่เราไว้ใช้งานร่วมกันได้เช่น การใช้ Google เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้เครื่องมือของ Google เพื่อการแบ่งปันพื้นที่การทำงานร่วมกัน การทำงานแบบออนไลน์ได้ในเวลาเดียวกันและก็ใช้เครื่องมือ Google เพื่อการสร้างแบบสำรวจและแบบสอบถามออนไลน์ การใช้เครื่องมือ Google เพื่อการค้นหาข้อมูลสารสนเทศทรัพยากร เพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงาน แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึง Google Calendar เพื่อการสร้างนัดหมายและการประชุมอย่างมืออาชีพ ในการกำหนดตารางนัดหมาย การประชุม หรือสร้างวันและเวลาเพื่อที่จะนัดหมายและการทำงานร่วมกัน เราสามารถดำเนินการโดยโปรแกรมที่ชื่อว่า Google Calendarโดยเริ่มจาการเสิร์ซ google คลิกมุมขวาบน ก็จะเจอ Google calendar เป็นรูป 31 แล้วก็มีคำว่า calendar ถ้าใช้เวอร์ชันเป็นภาษาไทยก็จะใช้คำว่าปฏิทิน ให้กดเข้าไปแล้วจะมีรูปปฏิทินโชว์ขึ้นมา […]

Back To Top