PDCA : การบริหารจัดการข้อมูลงบประมาณจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วย Google Sheets

กระบวนการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ดำเนินการจากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ และส่งเรื่องผ่านฝ่ายบริหารงานทั่วไปและธุรการ เพื่อดำเนินการต่อทางด้านพัสดุ และตัดงบประมาณการจัดซื้อ กระบวนการจากงานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีการตกลงจะจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศแล้ว ได้บันทึกงบประมาณการจัดซื้อแต่ละรายการ ส่วนฝ่ายบริหารฯ มีการบันทึกงบประมาณอีกครั้งหลังจากร้านค้าส่งทรัพยากรสารสนเทศครบตามจำนวนที่กำหนด งานจัดหาฯ ทำรายงานผลการจัดซื้อ ฝ่ายบริหารฯ ดำเนินการเอกสารตามระเบียบพัสดุ และส่วนการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัย จ่ายเงินให้ร้านค้า ซึ่งระยะเวลาในการจัดหาฯ แล้วเสร็จแต่ละรายการ อาจใช้เวลามากกว่า 3 เดือน กว่าฝ่ายบริหารฯ จะบันทึกงบประมาณ ทำให้เกิดความล่าช้าในการใข้งบประมาณ และเกิดความคลาดเคลื่อนในการสรุปการใช้งบประมาณในแต่ละเดือน กระบวนการที่นำมาพัฒนา คือหลังจากงานจัดหาฯ ได้ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบพัสดุแล้ว ผู้บังคับบัญชาอนุมัติเรียบร้อยแล้ว บันทึกงบประมาณใน Google Sheets และให้ฝ่ายบริหารฯ มองเห็นงบประมาณที่งานจัดซื้อฯ ได้บันทึกไว้   หลังจากงานจัดหาฯ ได้นำ Google Sheets มาบันทึกการใช้งบประมาณ และให้ฝ่ายบริหารฯ สามารถมองเห็นงบประมาณที่งานจัดหาฯ ได้บันทึกไว้ ทำให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการใช้งบประมาณ มีการตรวจสอบตัวเลขงบประมาณ และแก้ไขงบประมาณให้ถูกต้องหากมีความคลาดเคลื่อน เช่น หากร้านค้าส่งทรัพยากรไม่ครบตามขอบเขตงานที่ตั้งไว้ งบประมาณที่งานจัดหาฯ บันทึกไว้ในครั้งแรก จะถูกปรับลดลง หรือการจัดซื้อด้วยค่าเงินดอลล่าร์ วันที่บันทึกงบประมาณ กับวันที่จ่ายเงินจริง […]

PDCA: การปรับปรุงกระบวนการการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการถ่ายรูปบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

“เพื่อแสวงหาการให้บริการที่ดีขึ้นสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ขอรับบริการและผู้ให้บริการ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ขอรับบริการถ่ายรูปบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวฯลดจำนวนผู้ขอรับบริการที่มาถ่ายรูปทำบัตรโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าและสร้างมาตรฐานการทำงาน จึงเกิด PDCA กระบวนการปรับปรุงการเพิ่มประสิทธิภาพฯ นี้ขึ้น“ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ถือเป็นหลักฐานทางราชการที่มีรูปแบบที่กำหนดไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2542 และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบของพนักงานมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2558 ซึ่งรวมถึงรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วย ซึ่งรายละเอียดการแต่งกายเครื่องแบบชุดปกติขาวสำหรับถ่ายรูปทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐนี้เป็นประเด็นที่ต้องการจะปรับปรุงประสิทธิภาพ เนื่องจากความต่างทางเพศ ศาสนา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับล้วนเป็นส่งผลต่อการแต่งกาย เช่น เครื่องแบบพนักงานหญิง และชายจะต่างกัน พนักงานหญิงจะสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวผูกเนคไทดำ หากเป็นหญิงมุสลิมต้องคลุมฮิหญาบสีดำสุภาพ เป็นต้น กอปรกับข้อจำกัดที่งานผลิตสื่อการศึกษามีชุดปกติขาวไม่ครอบคลุมทุกความต้องการ และด้วยภารกิจการให้บริการของงานผลิตสื่อการศึกษาเพื่อการเรียนการสอนที่มีหลายด้าน ทำให้ไม่สามารถให้บริการถ่ายภาพได้ในทุกเวลาตามที่ผู้ขอรับบริการต้องการ เมื่อผู้ที่ต้องการถ่ายภาพมาขอรับบริการโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้าจึงส่งผลกระทบด้านคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจ ดังนั้น จึงต้องการที่วิเคราะห์และพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการการให้บริการถ่ายภาพบุคคลเพื่อทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการเตรียมตัวก่อนให้บริการถ่ายภาพ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้โดยตรง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ ลดปัญหาการเสียเวลามาติดต่อถ่ายภาพ ผู้ขอรับบริการมีความเข้าใจและรับทราบถึงขั้นตอนการให้บริการจะช่วยให้การขอรับบริการและการให้บริการมีประสิทธิภาพและเกิดความพึงพอใจมากขึ้น ด้วย SIPOC Model ผ่านกระบวนการ PDCA การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan-P) วิเคราะห์กระบวนการด้วย SIPOC Model การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคใช้เทคนิคการตั้งคำถามมาใช้ เริ่มจากตั้งประเด็นปัญหา และวิเคราะห์หาคำตอบใน 2 โจทย์ปัญหา คือ จากนั้นนำมาสู่การหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan-A) […]

PDCA : การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล

การออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยในขั้นตอนการรับไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดของสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดใน Folder เดียว ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบถ้าหากผู้ออกแบบดำเนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลโดยใช้ข้อมูลและภาพประกอบดังกล่าว จะทำให้เสียเวลามากในการค้นหาภาพประกอบที่ตรงกับเนื้อหา ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องนำเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับ Contents ของสิ่งพิมพ์ดิจิทัลนั้นๆ ผู้ออกแบบจะต้องแยกโฟลเดอร์ภาพประกอบตาม Contents และนำไฟล์ภาพประกอบมาใส่ให้ตรงตาม Contents ซึ่งในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะพบว่าในเนื้อหาบางส่วนจะมีภาพประกอบไม่ครบ ผู้ออกแบบก็จะต้องติดต่อผู้ขอใช้บริการให้ส่งไฟล์ภาพประกอบที่ยังขาดมาใหม่อีกครั้ง ทำให้เสียเวลาในการออกแบบเพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องหาแนวทางปฏิบัติในการรับไฟล์สำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล เพื่อให้ผู้ขอใช้บริการสามารถจัดส่งไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตาม Contents ทำให้การทำงานในขั้นตอนการออกแบบมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและใช้เวลาน้อยลง วัตถุประสงค์1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล โดยผู้ขอใช้บริการ สามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ2. เพื่อลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. เพื่อเพิ่มความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ผลที่คาดว่าจะได้รับ1. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อน ส่งมาออกแบบ2. ลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ3. มีความสะดวกในการนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ขอบเขตของผลงานการส่งไฟล์เนื้อหาและภาพประกอบสำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การคัดเลือกกระบวนการเพื่อปรับปรุง1. เพิ่มประสิทธิภาพในการส่งไฟล์ภาพประกอบสิ่งพิมพ์ดิจิทัล2. ผู้ขอใช้บริการสามารถตรวจสอบไฟล์ภาพประกอบให้ครบถ้วนตรงตามเนื้อหาก่อนส่งมาออกแบบ3. สามารถลดเวลาในการค้นหาภาพสำหรับนำมาออกแบบ4. ทำให้การนำไฟล์ภาพประกอบมาใช้ในงานอื่นๆ ได้สะดวกมากขึ้น การวิเคราะห์กระบวนการ ด้วย SIPOC Modelการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ขอใช้บริการจะติดต่อประสานงานกับงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งสิ่งพิมพ์เพื่อให้ออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลสำหรับใช้เผยแพร่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยผู้ขอใช้บริการจะส่งเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดใน Folder เดียว ซึ่งในขั้นตอนการออกแบบถ้าหากผู้ออกแบบดำเนินการออกแบบสิ่งพิมพ์ดิจิทัลโดยใช้ข้อมูลและภาพประกอบดังกล่าว จะทำให้เสียเวลามากในการค้นหาภาพประกอบที่ตรงกับเนื้อหา ดังนั้นผู้ออกแบบจะต้องนำเนื้อหาและภาพประกอบทั้งหมดมาจัดเรียงใหม่ให้สอดคล้องกับ […]

การเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วย Google Sheet ผ่าน Glide app

งานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ให้บริการผลิตสำเนาข้อสอบ ทั้งในตารางและนอกตารางของทุกสำนักวิชา รวมทั้งการผลิตสำเนาข้อสอบในโครงการต่าง ๆ เช่น ข้อสอบโครงการโอลิมปิก เพื่อเพิ่มคุณภาพการผลิตสำเนาข้อสอบให้มีประสิทธิ์  จำเป็นต้องมีการควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลือง ให้มีความพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา  Google Sheet เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ สามารถติดตามจำนวนวัสดุสิ้นเปลืองคงเหลือ การสั่งซื้อวัสดุสิ้นเปลืองใหม่ และบันทึกการใช้วัสดุสิ้นเปลือง ในส่วน Glide app ยังช่วยให้สามารถสร้างรายงานเกี่ยวกับการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ ซึ่งสามารถนำไปใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพวัสดุสิ้นเปลืองได้             การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้แรงงานคนจำนวนมากในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการการใช้วัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว คลังวัสดุสิ้นเปลืองของงานออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ มีจำนวนหลากหลายยากต่อการจดบันทึก ด้วยเหตุผลนี้จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลทั้งหมดที่จัดเก็บไว้ใน Google Sheet และได้พัฒนามาเป็น Application Gilde App เพื่อสะดวกในการใช้งาน และผู้ปฏิบัติงานในงานออกแบบและผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้งานได้สะดวก ข้อมูลมีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ การวางแผนและทบทวนสภาพปัจจุบัน (Plan – P) การวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค การควบคุมคลังวัสดุสิ้นเปลืองด้วยกระดาษนั้นมีความยุ่งยากและซับซ้อนต้องใช้ขั้นตอนหลายขั้นตอนในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อกซึ่งอาจทำให้เกิดความผิดพลาด มีความล่าช้าเนื่องจากต้องใช้ระยะเวลาในการบันทึกข้อมูลและตรวจสอบสต็อก ซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการวัสดุสิ้นเปลืองได้ทันเวลา มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่องจากไม่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เจ้าหน้าที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำทะเบียนวัสดุสิ้นเปลือง การจัดเก็บวัสดุสิ้นเปลืองและการจัดซื้อจัดหาวัสดุสิ้นเปลือง แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรค   จากปัญหาดังกล่าวจึงได้นำ […]

PDCA : การปรับปรุงวิธีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลพัสดุส่งซ่อมด้วย Google sheets

PDCA : การปรับปรุงวิธีการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลพัสดุส่งซ่อมด้วย Google sheets 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา                งานบริการโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มีหน้าที่ ให้บริการและดูแล ซ่อมบำรุงครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ประจำห้องบรรยาย ห้องประชุม ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ                ในด้านการดูแล และซ่อมบำรุงโสตทัศนูปกรณ์ที่มีให้บริการ ที่มีการใช้งานมาเป็นระยะนานและต่อเนื่อง จึงทำให้มีการชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้ จึงต้องมีการส่งซ่อมเพื่อให้กลับมาใช้งานได้อีกระยะ ประกอบกับในปัจจุบันมีครุภัณฑ์ที่ต้องส่งซ่อมจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกปี ที่จะต้องส่งไปซ่อมยังศูนย์บริการ โดยผ่านหน่วยงานที่รับดูแล คือส่วนพัสดุ และบางรายการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาส่งซ่อมได้เลย                 ก่อนหน้านี้การรับรายการซ่อมจากช่างเทคนิค โดยใช้ ”ฐานข้อมูลระบบให้บริการโสตทัศนูปกรณ์”ที่สามารถรับ-ส่งรายการและจัดเก็บรายละเอียดของโสตทัศนูปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้ แต่ในขณะนี้ฐานข้อมูลดังกล่าว ไม่สามารถใช้งานได้ ทำให้ไม่มีระบบบันทึก ควบคุม […]

PDCA : การพัฒนากระบวนการการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีบทบาทหน้าที่ในการรวบรวมจดหมายเหตุหรือเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อการปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ผ่านการประเมินแล้วว่ามีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อเป็นหลักฐานปกป้องคุ้มครองสิทธิ เป็นหลักฐานซึ่งจะสะท้อนถึงประวัติพัฒนาการ เหตุการณ์ กิจกรรม ของหน่วยงาน อันมีคุณค่าต่อการศึกษาและการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณค่าในทางการดำเนินงานและบริหารงานของมหาวิทยาลัย คำกล่าว คำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถาหรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัย จัดเป็นจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประเภทเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ (Audio-Visual Archives) ซึ่งเป็นการบันทึกถ้อยคำของบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเป็นแหล่งข้อมูลมิติใหม่ในเชิงจดหมายเหตุที่มาจากการบันทึกเสียงของบุคคล การบันทึกถ้อยคำในงานจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลจากเหตุการณ์สำคัญที่จะได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเพื่อให้บริการสำหรับการศึกษาอ้างอิงในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการจัดเก็บข้อมูลประวัติของบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่มีผลงานโดดเด่น หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ได้รับการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัย งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับนโยบายจากผู้บริหารให้ดำเนินการรวบรวมคำกล่าว คำสัมภาษณ์ คำปราศรัย ปาฐกถา หรือถ้อยแถลงของอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ด้วยวิธีการบันทึกเสียง เพื่อรวบรวมจัดทำเป็น Speech Recording ของอธิการบดี งานจดหมายเหตุฯ จึงได้ออกแบบและพัฒนากระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการได้รับทราบและเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนและเป็นระบบ โดยกระบวนการรวบรวม Speech Recording ของอธิการบดีนั้น งานจดหมายเหตุฯ ได้ปฏิบัติงานร่วมกับงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ฯ และงานผลิตสื่อการศึกษา ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานควบคุมห้องประชุม หรือสถานที่ที่อธิการบดีไปร่วมพิธี กิจกรรม […]

การพัฒนากระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์ ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา (PDCA)

สืบเนื่องด้วยคณะทำงานของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้จัดตั้งเพจ “ชวนอ่าน”เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่สารนิเทศทางวิชาการ โดยการคัดเลือกบทความ หนังสือ และวารสารที่น่าสนใจ ในหมวดต่างๆ ให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์การประชาสัมพันธ์วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Journal) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการใช้เฟสบุ๊ก (Facebook) ชื่อเพจชวนอ่าน เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้บริการของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เข้าถึง E-Journal และ E-Book อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งผู้รับผิดชอบในการประชาสัมพันธ์ในเพจชวนอ่านได้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้1. ประเภทข้อมูล E-Journal / E-Book 2. ภาพปก3. รายชื่อ4. URL เพื่อเชื่อมโยงในการเข้าถึงข้อมูล ในส่วนของการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น ประกอบด้วย ข้อมูลภาพปกบทความ หนังสือ วารสาร และภาพประกอบ ตลอดทั้งตราสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ จำเป็นต้องมีขนาดพอเหมาะและชัดเจน รวมทั้งโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบ และรูปแบบตัวอักษร ตลอดจนแนวโน้มของการออกแบบกราฟิกในยุคปัจจุบัน เพื่อให้มีความทันสมัยและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นกระบวนการออกแบบเทมเพลตแบนเนอร์นั้น สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ ระยะเวลาของกระบวนการการออกแบบและปริมาณ ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนารูปแบบและขั้นตอนให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน 1.2 วัตถุประสงค์1.2.1 เพื่อลดระยะเวลาการประสานงานในการออกแบบ1.2.2 […]

PDCA : การควบคุมระบบปรับอากาศ อาคารศูนย์บรรณสารฯ

ปัจจุบันระบบเครื่องปรับอากาศนับเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกที่ขาดไม่ได้สำหรับสำนักงานต่าง ๆ ส่วนมากจะนิยมใช้เพื่อให้ความเย็นสบายภายในอาคารที่ปฏิบัติงานหรือห้องอำนวยความสะดวกให้บริการแก่ลูกค้า เพราะจะทำให้วันที่อากาศร้อนอบอ้าวกลายเป็นวันที่เย็นได้อย่างสบายๆ นอกจากนี้ยังสามารถลดความเครียดไม่รู้สึกหงุดหงิดเพราะอากาศที่ร้อนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีความสุข ศูนย์บรรณสารฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบุคลากรปฏิบัติงานในวิชาชีพเพื่อสนับสนุนภารกิจของมหาวิทยาลัยและให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด เช่น นักศึกษา อาจารย์และบุคคลทั่วไป ภายในอาคารมีระบบเครื่องปรับอากาศและซิลเลอร์ทำความเย็นแบบรวม กระจายความเย็นทั่วอาคารทั้ง 3 ชั้น ทำให้สถิติการไฟฟ้าของอาคารสูงเป็นอันดับต้น ๆ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 100,000-300,000 บาท โดยเฉพาะในส่วนของระบบเครื่องปรับอากาศที่ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 60-70% ของค่าไฟฟ้าทั้งหมดภายในอาคาร จากการศึกษาระบบเครื่องควบคุมระบบปรับอากาศแบบรวม พบว่าใช้โปรแกรมซอฟแวร์ควบคุม ชื่อว่า IX Chiller plant System เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานระบบอัตโนมัติและแสดงหน้าจอการทำงานแบบ Real Time สามารถป้อนค่าหรือคำสั่งต่าง ๆ ให้ระบบทำงาน เช่น การตั้งเวลา เปิด – ปิด หรือการปรับตั้งค่าอุณภูมิ ตลอดจนควบคุมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบปั๊มน้ำเย็น ปั๊ม Condenser และตู้ Cooling เดิมทีการตรวจสอบและป้อนคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของงานระบบปรับอากาศ ส่วนบริการกลางที่ดำเนินการซึ่งไม่ค่อยมีเวลามาตรวจสอบและป้อนคำสั่งเนื่องจากมีงานภารกิจดูระบบรป ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมระบบปรับอากาศมีความเหมาะสมกับการใช้งานและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกทั้งยังสามารถทำหน้าที่แทนบุคคลของหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบปรับอากาศได้โดยตรง สามารถลดคน […]

ลาน ฮ.มวล.

ตั้งแต่วันรับปริญญามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2563 สนามหญ้าเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาไม่มีเฮลิคอปเตอร์มาลงให้ตื่นเต้นกับเสียงดังของเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กันอีกแล้ว เนื่องจากได้มีการสร้าง ลานเฮลิคอปเตอร์ใหม่ตั้งอยู่ริมถนนวงใน ก่อนถึงสะพานยกระดับหน้าอาคารบริหาร แต่สนามกว้างเขียวขจีหน้าศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะปรากฎซุ้มสวยๆ จากความร่วมมือของนักศึกษาสำนักวิชาต่างๆ มาแทนที่ให้บัณฑิตถ่ายรูปกับหมู่ญาติ เพื่อนฝูง ศิษย์พี่ศิษย์น้อง ท่ามกลางท้องฟ้าสดใส ตั้งแต่วันซ้อมย่อย จนถึงวันรับพระราชทานปริญญาจริง คณาจารย์ บุคลากร บัณฑิต และผู้ปกครองจะมาหลบร้อนที่ร้านกาแฟหน้าศูนย์บรรณสารฯ และศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาก็เป็นจุด Check in ที่ฮ็อตอีกที่หนึ่ง โดยใช้จุดเช็คอินว่า Walailak University Library เป็นบรรยากาศที่สดชื่นอบอวลไปด้วยความสุข ภาพเครื่องเฮลิคอปเตอร์จึงเป็นการย้อนระลึกบรรยากาศช่วงพิธีรับปริญญาในอดีต เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กรมพระศรีสวางควัฒนฯ เสด็จแทนพระองค์มาในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปี พ.ศ. 2545 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ก็จะเป็นพื้นที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ที่ได้รับการประสานจากตำรวจฝ่ายรักษาความปลอดภัยเข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณศูนย์บรรณสารฯ เพื่อเคลียร์พื้นที่เส้นทางเสด็จมายังลานจอดเฮลิคอปเตอร์ หน้าอาคารบรรณสารฯ และมีภารกิจพิเศษเพิ่มคือการรับรองดูแลนักบินที่นำเครื่องเฮลิคอปเตอร์มาจอดเตรียมพร้อมที่สนามหญ้าหน้าอาคารบรรณสารฯ หลายๆ ท่านที่ได้บันทึกภาพช่วงเวลาพิเศษนี้ ก็จะกลายเป็นภาพหายากบันทึกความทรงจำในอดีตของอาคารบรรณสารและสื่อการศึกษาอีกเหตุการณ์หนึ่ง Visits: 50

ลดปัญหาการจองห้องประชุม (No Show) ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆจาก Meet in Touch

ปัญหา No-Show ในการจองห้องประชุม หรือเรียกง่ายๆคือ “จองกั๊กห้องประชุม” ซึ่งเป็นปัญหาที่หลายคนคงพบบ่อยได้ทั่วไปในที่ทำงาน บางครั้งเมื่อเราได้เวลาที่ต้องการจองห้องประชุมแล้ว แล้วนำไปหาในตารางจองห้องประชุม ไม่ว่าจะเป็น กระดาษหน้าห้องประชุม ตารางห้องประชุมในระบบอีเมล หรือวิธีอื่นๆ แล้วพบว่าไม่มีห้องประชุมห้องไหนว่างเลย เป็นต้น ปัญหาของการจองห้องประชุมแล้วไม่มาใช้ คือ ห้องประชุมที่ถูกจองไว้ จะยังคงสถานะจองไว้ แม้ว่าผู้เข้าร่วมประชุมไม่เข้ามาใช้งานนั่นเอง เรื่องเหล่านี้ส่งผลเสียในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพื้นที่ที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ การที่คนต้องการจะใช้ห้องจริงๆไม่ได้ใช้ รวมไปถึง Productivity ของพนักงานที่ลดลงอีกด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ออฟฟิศคุณควรมีวิธีการจัดการปัญหาการห้องประชุมที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับการลงทุน นอกจากนี้ผู้ที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ห้องประชุมอย่างเช่น ฝ่ายอาคาร, ฝ่านส่วนกลางที่ดูแลเกี่ยวกับออฟฟิศอาจจะโดนรบกวนอยู่บ่อยๆ เพราะจะต้องเข้ามารับผิดชอบและแก้ปัญหาเรื่องนี้ เมื่อพนักงานต้องการจองห้องประชุมอย่างเร่งด่วน ในบทความนี้มาพบว่าการจองกั๊ก คืออะไร และทำไมถึงเป็นเรื่องสำคัญที่ออฟฟิศต่างๆจะต้องเข้ามาแก้ปัญหา รวมถึง 3 วิธีที่จะช่วยให้คุณแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ NO-SHOW คืออะไร? ในกรณีที่มีการจองห้องประชุมแล้วไม่ใช้ โดยปกติทั่วไปคนที่เหลือในออฟฟิศแทบจะไม่มีใครรู้เลยห้องประชุมนี้ว่าง ในมุมมองคนทั่วไปจะคิดว่าห้องประชุมในปกติว่างน้อยมากในแต่ละวัน หลายๆคนเลยจบด้วยการจองห้องประชุมแบบต่อเนื่องหรือ Recurring แทนเผื่อในกรณีที่ต้องการใช้ในอนาคต ซึ่งเมื่อมีการทำแบบนี้เป็นจำนวนมาก จะยิ่งทำให้ออฟฟิศมีห้องประชุมที่ว่างน้อยลงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การจองห้องประชุมกั๊กยังส่งผลเสียให้กับบริษัททั้งในเรื่องของความพึงพอในพนักงานที่ไม่สามาถหาห้องประชุมได้ และอาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อวัฒนธรรมองค์กรอีกด้วย อีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญคือ พื้นที่ห้องประชุมต่อตารางเมตรที่เสียเปล่าในแต่ละเวลาที่ผ่านไป โดยหากเกิดปัญหานี้หลายๆห้อง ยิ่งส่งผลให้บริษัทสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากจากการไม่สามารถใช้งานพื้นที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 3 วิธีลดปัญหา NO-SHOW จากการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณ รู้หรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยพนักงานในออฟฟิศจะเสียเวลาในการหาห้องประชุม 30 นาทีต่อวัน (ถ้านับเป็นสัปดาห์เท่ากับ 2.5 ชั่วโมงเลยทีเดียว) และนี่คือ 3 วิธีที่ระบบจองห้องประชุมจะช่วยให้คุณสามารถลดปัญหาในเรื่องการจองกั๊กห้องประชุมได้ ระบบจองห้องประชุม เช่น ระบบจองห้องประชุม Meet in Touch สามารถช่วยให้คุณสามารถจัดการเรื่องเหล่านี้ในทุกห้องประชุมที่คุณมีได้อย่างง่ายดาย 1. เช็คอิน (CHECK-IN) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม หนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะลดการการจองกั๊กในห้องประชุมของออฟฟิศคุณ คือ ผู้จองห้องประชุมต้องเช็คอิน (Check-in) ห้องประชุมก่อนถึงเวลาประชุม ซึ่งทำให้ผู้ประชุมมาประชุมตรงต่อเวลามากขึ้นและจะทำให้มั่นใจได้ว่ามาจองห้องประชุมแล้วมาใช้จริงๆ โดยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch ผู้จองห้องประชุมสามารถเช็คอินผ่านหน้าจอหน้าห้องประชุม โดยผู้จองห้องประชุมสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนผ่านสีสถานะหน้าจอหน้าห้องประชุม เช่น สีเขียว หมายถึงห้องประชุมว่าง สีเหลือง หมายถึงอยู่ระหว่างการรอเช็คอิน และสีแดง หมายถึง มีผู้ใช้งานอยู่ ณ ขณะนี้ 2. ยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้มาเช็คอิน อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหานี้ในการจองห้องประชุมในออฟฟิศของคุณคือ การที่คุณมีระบบที่สามารถยกเลิกห้องประชุมได้อัตโนมัติ ในกรณีที่ไม่มีผู้ Check-in ภายในระยะเวลาที่กำหนด ประโยชน์คือ ทำให้ผู้อื่นสามารถมาใช้งานต่อได้และช่วยให้การประชุมที่จองแบบ Recurring แล้วไม่มาใช้ถูกยกเลิกไปเช่นเดียวกัน ด้วยระบบจองห้องประชุม Meet in Touch มาพร้อมความสามารถในการยกเลิกห้องประชุมตามระยะเวลาที่กำหนด 3. รายงานการใช้งานห้องประชุม ทำให้รู้ว่าห้องประชุมถูกใช้งานอย่างไร อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการที่คุณสามารถเห็นภาพรวมการใช้งานห้องประชุมทั้งหมดในออฟฟิศของคุณ ยกตัวอย่างเช่น รายงานการใช้งานห้องประชุมในแต่ละเดือน […]

มุมลึกลับในศูนย์บรรณฯ

อาคารบรรณสารและสื่อการศึกษา ที่ใครๆ เรียกติดปากว่า “ศูนย์บรรณฯ”เริ่มเปิดใช้เป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยย้ายมาจากอาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (คนรุ่นเก่าเรียกว่า D4) เป็นหนึ่งในอาคารที่มีพื้นที่การใช้สอยมากอาคารหนึ่งในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์บรรณสารฯ เป็นตึก 3 ชั้น ซึ่งแน่นอนว่าจะมีการจัดสรรพื้นที่ แบ่งซอยห้องเล็กห้องน้อยออกไปทุกชั้น ผู้ใช้บริการบางท่านก็ไม่เคยใช้งาน ไม่เคยใช้พื้นที่ จนนักศึกษาบางคนเรียกว่ามุมลึกลับ เรามาดูกันว่าคำว่ามุมลึกลับในที่นี้ จริงๆ แล้วลึกลับเพราะมีเรื่องสยองขวัญซ่อนอยู่? หรือลึกลับเพราะผู้ใช้บริการเข้าไม่ถึง ไม่รู้จักกันแน่… งั้นเรามาทำความรู้จักมุมลึกลับ เริ่มไปจากชั้น 1 ห้องถัดไปจากเคาน์เตอร์บริการ ชั้น 1 จัดเป็นห้องมินิสตูดิโอบันทึกการเรียนการสอน Online ฝั่งตรงข้ามเป็นศูนย์จัดเก็บเอกสารกลางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ งานหอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์รับผิดชอบดูแลพื้นที่ส่วนนี้ ส่วนลึกเข้าไปในชั้น 1 โซนห้องประชุมประเภทต่างๆ มี โรงหนัง 72 ที่นั่ง ซึ่งจะเปิดให้บริการเป็นหมู่คณะตามระเบียบการใช้งาน ข้างห้องน้ำหลังห้องประชุมระเบียงบรรณ 1 มีทางออกสู่เทอเรซ Terrace ที่นั่งอ่านชิคๆ ชมวิวหลักล้าน รองรับการใช้พื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ 24 ชม. และสามารถขอใช้เป็นมุมจัดเลี้ยงอาหารและเครื่องดื่มได้ เมื่อมีการจัดประชุมที่ห้องประชุมระเบียงบรรณ 1-3 […]

การพัฒนาระบบควบคุมการเปิด – ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ

อาคารเรียนรวม6(ST) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการห้องเรียนแบบ Smart Classroom เพื่อสนับสนุนงานการเรียนการสอน จำนวน 72 ห้องเรียน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.30 – 19.30 น. โดยมีนายช่างเทคนิคของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เป็นผู้ควบคุมดูแลระบบสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งในแต่ละชั้นเรียนจะมีนายช่างเทคนิครับผิดชอบ 1 อัตรา มีภาระหน้าที่รับผิดชอบดูแลควบคุมการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์และทดสอบระบบของห้องเรียน ที่มีผู้ขอใช้บริการผ่านระบบจองห้องบรรยายอาคารเรียนรวมของศูนย์บริการการศึกษาให้เสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ก่อนเริ่มเรียนคาบแรกเวลา 08.00 น. และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแก่อาจารย์ผู้สอน/นักศึกษา ปัจจุบันการขอใช้บริการห้องเรียนในช่วงเวลาดังกล่าวเต็มทุกวันทำการ ทำให้ประสบปัญหาไม่สามารถเปิดอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ และทดสอบระบบให้เสร็จเรียบร้อยได้ทันตามเวลาที่กำหนด     จึงเป็นที่มาของการพัฒนาระบบควบคุมการเปิด-ปิดโสตทัศนูปกรณ์ ของอาคารเรียนรวม6 ด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ คล่องตัว และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยการนำเอา โปรแกรมควบคุมอัจฉริยะ/อุปกรณ์ Sensors ที่สามารถสั่งการควบคุมแบบไร้สาย เพื่อสั่งการเปิด – ปิด อุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ผ่านทางแอพ eWeLink ใน iOS, Android ตามช่วงเวลาที่ต้องการ โดยไม่แตะต้องระบบเดิมที่มีอยู่ เพื่อช่วยลดระยะเวลาและขั้นตอนการเปิด-ปิดของอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์ให้ได้รับความรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถควบคุม ณ จุดเดียว […]

การปรับปรุงการปฎิบัติงานแบบเหลื่อมเวลา

การให้บริการโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน ห้องประชุม และงานบริการโสตทัศนูปกรณ์อื่นฯช่างเทคนิคงานบริการโสตฯได้รับมอบหมายให้บริการควบคุมโสตทัศนูปกรณ์ ตามทีมีการจองใช้เพื่อการเรียนการสอน ตั้งแต่เวลา 07.30-19.30 น.ทุกวัน โดยไม่มีวันหยุดราชการ การให้บริการที่ผ่านมามักมีปัญหาในเรื่องการให้บริการทีไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม ตามเวลาการจองห้องที่ผู้ขอใช้บริการต้องการได้ เนื่องจากเวลาปฎิบัติงานของพนักงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปฎิบัติงานวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.ทำให้มีช่วงเวลาก่อน 08.30 น และหลังจาก 16.30 น. เป็นช่วงเวลาทีไม่มีช่างเทคนิคค่อยให้บริการห้องเรียนทีมีการจองของผู้ใช้บริการทำให้เกิดช่องว่างเป็นปัญหาในการเรียนการสอน ส่งผลกระทบต่อนโยบายการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบจึงจำเป็นต้องจัดหาช่างเทคนิคควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประจำอาคาร เนื่องจากอาคารที่ใช้ในการเรียนการสอน มีหลายอาคารและอาคารแต่ละหลังอยูห่างไกลกัน จึงต้องมีช่างเทคนิคประจำอาคารสำหรับให้บริการในแต่ละกลุ่มอาคารในช่วงเวลาวันทำการปกติจะมีช่างเทคนิคค่อยให้บริการตลอดเวลา ผู้ใช้บริการสามารถเรียกช่างเทคนิคได้ในกรณีอุปกรณ์สื่อโสตฯในห้องเรียนมีปัญหา แต่หากมีการเรียนการสอนนอกเวลาทำการเช่น ช่วงเวลา 07.30-08.30 น.และเวลา 16.30-19.30 น. ต้องมีช่างเทคนิคทำงานนอกเวลาประจำอาคารสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาคารเรียนรวม ค่อยให้บริการแก้ไขปัญหาสื่อโสตทัศนูปกรณ์ในอาคารเรียนให้กับผู้ใช้บริการ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องของงบประมาณค่าทำงานล่วงเวลาของช่างควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์ ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการทำงานล่วงเวลาของนายช่างเทคนิคซึ่งผู้บริหารมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ยังสูงอยู่ ต้องหาวิธีการปรับลดค่าใช่จ่ายในส่วนนี้ และต้องไม่กระทบต่อการให้บริการควบคุมสื่อโสตทัศนูปกรณ์การเรียนการสอนจากปัญหาดั่งกล่าวข้างต้นผู้รับผิดชอบจึงได้หาแนวทางการปรับปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการเป็นแบบเหลื่อมเวลาเพื่อลดค่าทำงานล่วงเวลา ลดจำนวนคนทำงาน และลดเวลาการทำงานที่ต่อเนื่องกันในแต่ละวันของช่างเทคนิค จึงได้บทสรุปในการทำงานแบบเหลื่อมเวลาของงานบริการโสตทัศนูปกรณ์ การปฎิบัติงานควบคุมสื่อโสตฯสำหรับการเรียนการสอน ในอาคารเรียนรวมแบบเดิมก่อนทีจะมีการปรับปรุงใหม่ แบบเหลื่อมเวลา ตามตารางที่ปรากฎจะเห็นว่าช่างเทคนิคจำนวน 6 ท่าน เข้าทำงานเวลา 07.30 น. เพื่อเตรียมห้องเรียนให้พร้อมใช้งาน และออกงาน 16.30 น. […]

PDCA : แนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib

งานจัดระบบทรัพยากรสารสนเทศ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา รับผิดชอบภาระงานใน     การวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการหัวเรื่อง รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ของฐานข้อมูล WALAI AutoLib อีกด้วย บรรณารักษ์ผู้ตรวจสอบทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง และแก้ไขรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานตามตัวอักษร ก-ฮ  ผนวกระเบียนจากหัวเรื่องที่ผิดไปยังหัวเรื่องที่ถูกต้อง หรือหัวเรื่องที่ไม่ใช้ไปยังหัวเรื่องที่ใช้ และตรวจสอบการสะกดคำ ถ้ามีคำผิดแก้ไขให้ถูกต้อง ในการตรวจสอบหัวเรื่องจะต้องตรวจสอบจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทุกครั้ง จากการตรวจสอบความถูกต้องของหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง จะเห็นได้ว่ารายการหัวเรื่องมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น เนื่องจากมีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคน และยังไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ความผิดพลาดและซ้ำซ้อนของหัวเรื่องเกิดมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ได้แก่ 1. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ ของคณะทำงานฝ่ายวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา 2. ไม่ได้ตรวจสอบหัวเรื่องจากระเบียนหลักฐานหัวเรื่อง   3. ลงรายการหัวเรื่องผิดเขตข้อมูล (Tag) ของ MARC 21 เกิดจากจำแนกข้อมูลผิดประเภทรวมถึงการใช้รหัสเขตข้อมูลของหัวเรื่องย่อย และกำหนดตัวบ่งชี้ผิด 4. การสะกดคำผิดหรือพิมพ์หัวเรื่องผิด 5. ไม่มีแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน รายการหัวเรื่องในระเบียนหลักฐานมีความผิดพลาดและซ้ำซ้อนเกิดขึ้น  มีบรรณารักษ์ลงรายการหัวเรื่องในระเบียนบรรณานุกรมหลายคนและไม่ได้ลงรายการหัวเรื่องไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้คัดเลือกกระบวนการจัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Walai AutoLib ขึ้น จากการปรับปรุงกระบวนการทำงานดังกล่าวจึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการลงรายการหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยสำหรับบรรณารักษ์ผู้ลงรายการหัวเรื่องให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อลดและป้องกันข้อผิดพลาด ลดความซ้ำซ้อน และให้รายการหัวเรื่องภาษาไทยในระเบียนหลักฐานมีความถูกต้องสมบูรณ์ […]

เทคนิคการค้น Google

Google คงไม่มีใครไม่รู้จัก คำว่า Google เพราะการหาข้อมูลปัจจุบันนี้ มีอยู่ใน Google มากที่สุด เป็นแหล่งความรู้ที่ทุกคนหาอ่านได้ง่ายที่สุด และด้วยที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ใหญ่โตมาก ทำให้มีข้อมูลที่ค้นหามีมากเช่นกัน การหาข้อมูลบน Google ถ้าไม่มีเทคนิค ตัวกรอง ตัวดำเนินการแล้ว ผลการสืบค้นจะเป็นขยะเสียเยอะ ผลการสืบค้นจะไม่ตรงกับความต้องการ หรือข้อมูลที่ตรงความต้องการหาได้ยาก ใช้เวลานานกว่าจะได้คำตอบ เทคนิคการค้น Google ในเนื้อหาบทนี้ จะแนะนำเทคนิค ตัวดำเนินการ ให้นักสืบค้นข้อมูลได้คำตอบที่ตรงใจมากที่สุด ผู้เขียนขอเลือกเฉพาะตัวดำเนินการที่จำง่ายและใช้งานบ่อยมาแนะนำ ตัวดำเนินการ เครื่องหมาย “……” การใช้เครื่องหมายคำพูด คือค้นหากลุ่มคำในเครื่องหมายคำพูดเท่านั้น ไม่แยกคำค้นหา เช่น “สหกรณ์นอกภาคการเกษตร” + vs and & or คือ รวมคำค้นหา ทั้งคำหน้าและคำหลัง เช่น ไอแพด+แท็บเล็ต – คือการยกเว้น หรือไม่ต้องการ เครื่องหมาย – อยู่หน้าคำไหน คือไม่เอาผลการสืบค้นคำนั้น เช่น มะเร็ง –เต้านม […]

Back To Top