รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2564

ส่วนที่ 1

ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์การบริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก
(World Class University)

ส่วนที่ 2

ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงตามนโยบายเร่งด่วนของอธิการบดี หรือยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่องค์กรสมรรถนะสูง (HPO)

ส่วนที่ 3

ผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินหน่วยงาน

ผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของหน่วยงานที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินหน่วยงาน
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจ (Function Base)
ผลลัพธ์ของภารกิจตามแผนงบประมาณ 4 ด้าน ได้แก่ (1) ภารกิจด้านการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเพื่อบริการการเรียนการสอน (2) ภารกิจการพัฒนาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ (3) ภารกิจด้านบริการสารสนเทศและส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (4) ภารกิจการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศ
ผลสำเร็จ
0%
  • คำนวณจากประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ
  • การใช้จ่ายงบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ไตรมาส 3-4
  • ภารกิจด้านสื่อยังอยู่ระหว่างการผลิต
(5) ผลสำเร็จในการดำเนินงานตามตัวชี้วัดพื้นฐาน 16 ตัวชี้วัด
ผลสำเร็จ
0%
  • ไม่บรรลุ 1 ตัวชี้วัด
  • บรรลุ 15 ตัวชี้วัด
ผลการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวม
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ นโยบายเร่งด่วน หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายพิเศษ (Agenda Base)

ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผลสำเร็จ
0%

ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามนโยบายหรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษจากอธิการบดี

ผลสำเร็จ
0%

ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามข้อตกลงการปฏิบัติงานที่ได้ลงนามกับอธิการบดี

ผลสำเร็จ
0%

ระดับความสำเร็จการดำเนินงานตาม OKRs

ผลสำเร็จ
0%
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม (Innovation Base)

1. พัฒนาเว็บไซต์ฝ่าย/ทีมงาน 

        เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ให้บริการสนับสนุน และให้บริการผู้ใช้ห้องสมุดให้สามารถทำงานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ (Line Application, Chatbot, etc) ทำงานร่วมกับ สวน & ศกน. สร้างงานใหม่ทางด้าน Digital Archive & Research Repositories

2. เพิ่มสมรรถนะและพัฒนากระบวนการงานใหม่  
  • การทำงานข้ามสายงาน หมายถึง ในปีงบประมาณ 2564 การมอบหมายภาระงานบริการส่วนกลางที่เป็นงานประจำ และต้องปฏิบัติซ้ำๆ เพื่อเป็นการลดค่าโอทีของหน่วยงาน ได้แก่ งานผลิตสำเนาข้อสอบ, งานอบรม CLM Training ซึ่งได้เปิดโอกาสให้พนักงานทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในงาน และเขียน Job agreement เป็นภาระงาน Job 2
  • มอบหมายภาระงานใหม่ และการ Reskill-Upskill ของพนักงานเพื่อให้พร้อมสำหรับการมอบหมายภาระงานใหม่ เช่น มอบหมายภาระงานเป็นวิทยากรให้กับพนักงานที่มีศักยภาพและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน , พนักงานที่ได้รับการมอบหมายภาระงานใหม่ เช่น งาน WU MOOc โดยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานรายวิชา ทำกราฟิก ทำซับไตเติ้ล ตรวจซับไตเติ้ล เป็นต้น ซึ่งต้องมีการเพิ่มพูนศักยภาพให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยการ Reskill-Upskill
  • สร้างเครื่องมือสำหรับช่วยในการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน โดยศูนย์บรรณสารฯ ได้สร้างระบบงานบนเว็บไซต์ http://clmmanual.wu.ac.th/workmanual/ ซึ่งเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสนับสนุนการเขียนคู่มือปฏิบัติงานในทุกๆ ระบบงานของศูนย์บรรณสารฯ ให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น สามารถค้นหา หรือปรับปรุงแก้ไข อัพโหลดข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และง่ายดายกว่าการเขียนคู่มือไว้ในกระดาษ
  • พนักงานทุกคนมีคู่มือ และมีส่วนร่วมในโครงการอย่างน้อย 1 โครงการ
  • จัดให้มีทีม CLM Training ทำหน้าที่จัดอบรมให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยทุกกลุ่ม ในหลักสูตรที่ศูนย์บรรณสารฯ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • สร้างเครื่องมือเพื่อให้การทำงานและการออกแบบชิ้นงานรวดเร็วยิ่งขึ้น ได้แก่ e-Template
  • เพิ่มบริการใหม่ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการของห้องสมุดให้มากขึ้น ได้แก่ ตั้งคณะทำงานการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย, บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาบนหน้าเว็บไซต์ใหม่ของศูนย์บรรณสารฯ https://library.wu.ac.th โดยให้บริการจัดหมวดหมู่เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ประกอบด้วยกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ, กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถค้นหาได้จากหัวเรื่อง, บริการ Drive Thru จุดรับส่งหนังสือนอกห้องสมุด ณ จุดBook point ลานจอดรถอาคารบรรณสารฯ, จัดตั้งคณะกรรมการอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีหน้าที่ จัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมของหน่วยงานตลอดจนจัดทำแผนความปลอดภัย แก้ไขปัญหา ความเสี่ยงให้เป็นตามมาตรฐานของสำนักงานสีเขียว และรายงานต่อผู้บริหาร
  • บริการ WU Photo & VDO รวมรวมภาพเหตุการณ์ และภาพถ่ายอาคารสถานที่ต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่สวยงามไว้จัดกลุ่มตามหมวดหมู่ สะดวกในการค้นหา และผู้ใช้บริการดึงไฟล์ภาพถ่ายไปใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ผ่านทางเว็บไซต์ https://library.wu.ac.th
  • บริการสำหรับผู้ใช้บริการช่วงสถานการณ์โควิด ได้แก่
    • บริการ Book Delivery Service รับส่งหนังสือให้กับผู้ใช้ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยในสถานการณ์โควิด = 151 Request 430 รายการ
    • ขยายเวลานำส่ง โดยปรับให้ผู้ใช้ยืมต่อด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดได้นานติดต่อกัน 5 ครั้ง (ลดค่าปรับ)
    • บริการ Full text Finder service ค้นหาและจัดส่งเอกสารฉบับเต็มภายใน 1-3 วันทำการ