Day: September 29, 2022

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษาและการเรียนรู้ | Innovation and Information Technology for Educational Communication and Learning

การออกแบบระบบการเรียนการสอน การออกแบบระบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยกระบวนการต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางไปสู่ความสำเร็จในการเรียนการสอนตามที่ตั้งจุดมุ่งหมายไว้ ดังนั้น เมื่อมีการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องดำเนินงานตามกระบวนการ 5 ขั้นตอน ในการออกแบบ โดยหลักการพื้นฐานในการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional Systems Design (ISD) model/framework) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ADDIE Model หรือแบบจำลอง ADDIE ที่มีองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ (Analysis) การออกแบบ (Design) การพัฒนา (Development) การนำไปใช้ (Implementation) และการประเมินผล (Evaluation)  การวิเคราะห์ (A: Analysis) การวิเคราะห์เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการออกแบบระบบการเรียนการสอน ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดความจำเป็นในการเรียน ทำการวิเคราะห์เนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอน คุณลักษณะของผู้เรียน และวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับใช้เป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตของบทเรียน ขั้นการวิเคราะห์ การออกแบบ (D: Design) การออกแบบในระบบการเรียนการสอนจะใช้ข้อมูลที่ได้รับจากขั้นกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อการตัดสินใจว่าจะสอนอย่างไรจึงจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การออกแบบเป็นกระบวนการกำหนดว่าจะดำเนินการเรียนการสอนอย่างไร โดยมีการเขียนวัตถุประสงค์ กำหนดวิธีสอนและกลยุทธ์ในการเรียนการสอนเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ กำหนดเนื้อหาบทเรียนและแบ่งย่อยหัวข้อและลำดับการนำเสนอเนื้อหาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้สูงสุด […]

ออกแบบ BANNER ด้วยเทคนิคการเลือกสี

การออกแบบ Banner เป็นงานที่นำเสนอความเป็นตัวตนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การจะออกแบบ Banner ดี ๆ สักอันหนึ่งจะต้องมีส่วนผสมที่สำคัญ คือ สี ซึ่งในที่นี้หมายถึง จะเลือกสียังไงให้เหมาะกับชิ้นงานนั้นๆ และให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ด้วย มาดูกันว่า การออกแบบ Banner ด้วยเทคนิคการเลือกสี มีอะไรบ้าง 1. ใช้เทคโนโลยี ดูดค่าสี เลือกภาพที่ชอบ หรือภาพที่มีโทนสีถูกใจมาหนึ่งภาพ จากนั้นก็นำมาดูดค่าสี อาจจะใช้เป็นโปรแกรม Photoshop หรือโปรแกรม Paint ก็สามารถเลือกสีที่ต้องการ เพื่อใช้สำหรับนำไปออกแบบ Banner ที่ถูกใจ 2. ใช้ทฤษฎีวงล้อสี ทฤษฎีวงล้อสีจะมีดังนี้ ขั้นสีที่ 1 ก็คือแม่สี ได้แก่ สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง ขั้นสีที่ 2 คือสีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 มาผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน ได้แก่ สีส้ม สีม่วง สีเขียว ขั้นสีที่ 3 คือสีที่เกิดจาก สีขั้นที่ […]

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creative Thinking and Innovations)  

ความคิดสร้างสรรค์ ( Creative Thinking )  เป็นกุญแจสำคัญสู่การพัฒนาอันยั่งยืน เคล็ดลับในการมีความคิดสร้างสรรค์  คือ  อย่าหยุดคิด แต่อาจพักได้บ้าง ความคิดสร้างสรรค์ มาจากไหน? จากพรสรรค์  อัจฉริยะ มาตั้งแต่เกิด จากพรแสวง   การฝึกคิดอย่างสร้างสรรค์บ่อย ๆ  ฝึกอ่าน ฝึกเขียน ฝึกพูด  ฝึกลงมือทำ     จนเกิดเป็นความคิดสร้างสวรรค์ สิ่งจำเป็นที่ต้องมี เพื่อเตรียมรับกับความคิดสร้างสรรค์ คือ เชื่อมั่นในตนเองว่าเราทำได้  อย่าปิดกั้นความคิด อย่าหยุดคิด อ่านให้มากจะได้มีไอเดีย มองประโยชน์ที่เกิดขึ้นในอนาคต มีทิศทางที่ชัดเจน เราได้อะไรจากความคิดสร้างสรรค์ การทำงานที่รวดเร็วขึ้น  ในงานประจําหากปรับเล็กน้อย ฝึกสังเกตุ ฝึกคิดจะสามารถทํางานได้ดีขึ้น รวดเร็วเร็วขึ้น  ลดขึ้นตอนในการทำงาน ทำให้เกิดชิ้นงานใหม่ ๆ จินตนาการ ทําให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมได้  ต้องรู้จักว่าเราต้องการทำอะไร  นำเสนอชิ้นงานลักษณะไหน  ดังนั้นแล้ว ก่อนจะเป็นนักคิด นักสร้างสรรค์ความคิด เพื่อออกแบบนวัตกรรมในการทำงานขึ้นมา  จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ต้องสร้างมุมมอง ทัศนะคติใหม่ ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราอาจจะได้มาจากการฟัง  […]

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย  (Thai for Contemporary Communication)  

การสื่อสารเพื่อความเข้าใจร่วมกัน” เป็นกุญแจดอกสำคัญ ในการดำรงอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข บนหลักของ ความเคารพ ความแตกต่าง ความหลากหลาย ด้วยจุดยืนที่สร้างสรรค์ “๊WU014 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารร่วมสมัย” องค์ประกอบของการสื่อสารร่วมสมัย ผู้ส่งสาร (Transmitter, Source, Sender, Originator) คือ แหล่งกำเนิดของสารที่เกี่ยวกับความคิด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วส่งต่อไปยังผู้รับสาร ซึ่งการสื่อสารจะบรรลุผลได้นั้นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) ทัศนคติ (Attitude) และระดับความรู้(Level of Knowledge) ในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน และอยู่ในระบบสังคม (Social System) และวัฒนธรรม (Culture) เดียวกัน สาร (Message)  คือ เรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งไปยังผู้รับสาร อาจจะเป็น ความคิดหรือเรื่องราว ทั้งวัจนภาษา และอวัจนภาษา องค์ประกอบของสารมี 3 ประการ คือ สัญลักษณ์ของ สาร (Message Code) เนื้อหาของสาร (Message […]

การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives)  

ขั้นแรกในการเปิดมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ คือต้องละวางการตัดสินใจที่อยู่ในใจของเราก่อนและต้องมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น “Empathy” การสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ เริ่มต้นด้วยการสำรวจมุมมองในมุมของตนเองในแต่ละพฤติกรรมก่อน แล้วจึงนำความเข้าใจตัวเองนั้น ไปประยุกต์ใช้กับการสื่อสารในการการทำงานและชีวิตประจำวัน ซึ่งสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการสร้างความเข้าอกเข้าใจ “Empathy” ด้วยการละวางคำตัดสินในใจ ถ้าเราเอามุมมอง ความรู้สึกของเราไปวัดคนอื่น ว่ามันใช่ หรือ ไม่ใช่ ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น เมื่อเกิดสิ่งเหล่านี้ในใจเรา ก็จะทำให้เกิดความคิดตัดสินใจคนอื่นทันที  มัก จะมีคำว่า ทำไมไม่ทำแบบนี้  ทำไมเป็นแบบนี้  น่าจะทำอย่างนี้นะ  ไม่ไหวเลยนะทำแบบนี้  ถ้าเป็นเราจะทำแบบนี้ ดังนั้นจะต้องลดคำตัดสินใจในใจลงก่อน  ซี่งเป็นประตูบานใหญ่ในการโอบรับความรู้สึกของคนอื่น หากเรามีคำตัดสินในใจ เท่ากับเราปิดประตูในการเปิดรับ การสร้าง Empathy  Empathy  เป็นส่วนซ้อนทับความรู้สึกระหว่างคนสองคนเราและอีกคน เป็นเรื่องมุมมองความคิดต่าง  ๆ ที่มีส่วนร่วมด้วยกัน การสร้าง Empathy  สามารถสร้างได้ด้วยการสังเกต การถามด้วยคำถามปลายเปิดและคำถามปลายปิด เพื่อให้รับรู้ว่าเราเข้าใจเขาถูกต้อง ดังนั้นการสร้างมุมมองและทัศนะใหม่ ๆ (Adopting different perspectives)    คือ  การมีมุมมอง มีทัศนคติที่ดี  ดังนั้นแล้ว รายวิชานี้จะเป็นการเปิดมุมมอง ทัศนคติของเราต่อเรื่องราว […]

เส้นทางสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์  (Influencer)

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ต้องมีความอดทนและความพยายามอย่างมาก เพราะคนยังไม่รู้จักเราและเรายังเป็นมือใหม่คอนเทนต์ที่ทำออกมาอาจยังมีข้อบกพร่องอยู่หรือไม่โดนใจผู้ติดตาม เราต้องทุ่มเทและปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา สักวันเราก็จะประสบความสำเร็จเป็น “อินฟลูเอนเซอร์” ที่มากด้วยประสบการณ์และมีผู้ติดตามจำนวนมากในที่สุด การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) ที่ดีต้องคุณสมบัติอย่างไรบ้าง 1. มีสไตล์ของตัวเอง           การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ สิ่งที่จำเป็นประการแรกคือ ต้องเป็นคนที่มีสไตล์ของตัวเอง เพราะคนส่วนใหญ่ที่ติดตามเรามักจะติดตามจากตัวตนของเราเป็นสำคัญ เช่น เป็นคนเฮฮา สนุกสนาน จริงจัง หรือรักสวย รักงาม  เป็นต้น 2. มีความน่าเชื่อถือ            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ถึงจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์สายตลกเฮฮา สนุกสนาน แค่ไหนเราก็ต้องมีขอบเขตของความตลก รู้จักกาลเทศะ หากไม่มีขอบเขตเลย อาจจะมีคนชอบแค่ช่วงแรกๆ แต่นาน ๆ ไปผู้ติดตามอาจจะลดลงเพราะทำตัวไม่เหมาะ ถ้ามากเข้าก็อาจถึงขั้นอาจโดนชาวเน็ตแบน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง และการทำงานได้ ดังนั้นถ้าจะให้ข้อมูลต่าง ๆ กับผู้ติดตาม ก็ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ 3. มีความใส่ใจในการทำคอนเทนต์            การเป็นอินฟลูเอนเซอร์นอกจากมีความเป็นตัวตนของอินฟลูเอนเซอร์แล้ว สิ่งที่จะทำให้คนติดตามคือคอนเทนต์ ไม่ว่าจะในรูปแบบภาพ คลิปวิดีโอ หรือบทความ ควรมีการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบด้าน และผนวกกับไอเดียความคิดสร้างสรรค์ในการนำเสนอ […]

การฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ

“การฟังอย่างใส่ใจ (Active Listening) เป็นทักษะที่สำคัญมาก ในการสื่อสาร การทำงาน การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพ หากเราเรียนรู้ ที่จะฟัง  เราก็จะได้ความรู้” การฟังอย่างใส่ใจ รายวิชานี้มุ่งเน้นให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการฟังอย่างใสใจ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการทำงาน รวมไปถึงทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟังอย่างใส่ใจ รวมไปถึงการเรียนรู้ผ่านการดูตัวอย่างของการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการฟังอย่างใส่ใจ เพื่อที่จะนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิต                การฟังอย่างใส่ใจ โดยเอาใจเขามาใส่ใจเราแต่ไม่ได้เป็นทุกข์ตามการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของเพื่อน ๆ หรือ การฟังสื่อสังคมออนไลน์  ข้อแตกต่างระหว่างการฟังและการได้ยิน    ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การทวนความเข้าใจ การสรุปความ การแสดงความเข้าใจความรู้สึก / ความคิด  และ ทักษะการฟังอย่างใส่ใจแสดงออกโดยการใช้คำพูด ได้แก่ การถาม การใช้เทคนิคการสื่อสารทางจิตวิทยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟัง                   ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้  เมื่อได้ศึกษา เรื่องการฟังอย่างใส่ใจอย่างละเอียดแล้ว  ทำให้รู้สึกว่า จากที่เราเคยคิดว่าเราเป็นผู้ฟังที่ดี  หรือ การฟังเป็นเรื่องง่าย  ๆ ใคร ๆ ก็ฟังเป็นอยู่แล้ว เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด  ในบทเรียนนี้สอนให้เราเป็นผู้ฟังที่ดี  คือ การฟังอย่างเข้าอก […]

Google Scholar เพื่อการค้นหาข้อมูลสนับสนุนเชิงวิชาการ

การใช้งาน Google scholar เพื่อการค้นคว้าหาความรู้ทางวิชาการรับประกันเลยว่าเครื่องมือตัวนี้มีประโยชน์แน่นอน เพราะว่าเวลาเราต้องการหาบทความวิชาการ หรือความรู้ใหม่ ๆ ที่มีอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ตเครื่องมือตัวนี้จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มาก ๆ ขั้นตอนการใช้งานโปรแกรมตัวนี้ ก่อนอื่นเลยเราต้องเปิดเข้ามาที่ scholar.google.co.th หรืออาจจะเป็น.com ก็ได้ เมื่อเปิดเข้ามาแล้วถ้าเรา Login เข้าด้วยชื่อของ Gmail อยู่แล้วก็สามารถเข้าได้เลย แต่ถ้าใครไม่เคยสมัครบางทีอาจจะต้องกดลงชื่อเข้าสู่ระบบอีกครั้งหนึ่งตัวอย่างเช่น pthawatc2545@gmail.com แล้วก็ถัดไปใส่รหัสผ่าน เรียบร้อยและเข้ามาสู่หน้าต่างนี้ อันนี้คือ Google scholar เราสามารถ Search article ต่าง ๆ จาก เมนูอยู่ฝั่งซ้ายมือซึ่งจะมีเมนู – my profile – My library – Alerts -Metrics – Advanced Search มาดูเมนูแรกกัน เมื่อกดไปที่ My profile ก็คือหน้าประวัติของเรา ว่าเรามี paper อะไรที่เคยไปอยู่ในระบบของฐานของ Google scholar […]

Back To Top